เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสัญลักษณ์ 220 v 44 w จะสิ้นเปลืองกระแสไฟฟ้าเท่าใดขณะใช้งาน

กำลังไฟฟ้า (Electric Power)

 กำลังไฟฟ้า คือ พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไปในเวลา 1 นาที มีหน่วยเป็นวัตต์ (w) หรือจูลต่อวินาที เขียนเป็นความสัมพันธ์ได้ว่า

        กำลังไฟฟ้า (วัตต์) = พลังงานไฟฟ้า (จูล)/เวลา (วินาที)

          เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดจะใช้พลังงานไฟฟ้าต่างกัน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดของเครื่องใช้ไฟฟ้า  ซึ่งทราบได้จากตัวเลขที่กำกับไว้บนเครื่องใช้ไฟฟ้า  ที่ระบุทั้งความต่างศักย์ (V) และกำลังไฟฟ้า (W)

    ตัวอย่าง  หลอดไฟฟ้า มีตัวเลขกำกับว่า 220V  60W

                220V  หมายถึงหลอดไฟฟ้านี้ใช้กับความต่างศักย์ 220 โวลต์

                ซึ่งเราต้องใช้ให้ตรงกับค่าความต่างศักย์ที่กำหนดมา

                60W หมายถึงค่าของพลังงานไฟฟ้าที่หลอดไฟฟ้าใช้ไปในเวลา 1 วินาที

                ซึ่งเรียกว่า กำลังไฟฟ้า  การวัดพลังงานไฟฟ้า ใช้หน่วยเป็นจูล  ตัวเลข 60W จึงหมายถึง ขณะเปิดไฟ หลอดไฟฟ้านี้จะใช้พลังงานไฟฟ้า 60 จูล ในเวลา 1 วินาที

                กำลังไฟฟ้ามีค่ามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้าและความต่างศักย์ที่เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นต่ออยู่ โดยกำลังไฟฟ้ามีค่าเท่ากับผลคูณระหว่างความต่างศักย์กับกระแสไฟฟ้า

                จะได้  P=VI

                ถ้า  P  แทนกำลังไฟฟ้ามีหน่วยเป็นวัตต์

                     V  แทนความต่างศักย์มีหน่วยเป็นโวลต์

                     I   แทนกระแสไฟฟ้ามีหน่วยเป็นแอมแปร์

                โดยทั่วไปนิยมวัดพลังงานไฟฟ้าที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นหน่วยที่ใหญ่กว่าหน่วยจูล โดยวัดกำลังไฟฟ้าเป็นกิโลวัตต์ และคิดช่วงเวลาเป็นชั่วโมง ดังนั้น พลังงานไฟฟ้าจึงวัดได้เป็น กิโลวัตต์-ชั่วโมง หรือเรียกว่าหน่วยหรือยูนิต

                ไฟฟ้าที่ใช้ในบ้านเรือนทั่วไปมีความต่างศักย์ 220 โวลต์ คงที่  ดังนั้นในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ จะใช้พลังงานไฟฟ้ามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนชนิด ขนาดของเครื่องใช้ไฟฟ้า และระยะเวลาในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า  การไฟฟ้าจะคิดเงินค่าพลังงานไฟฟ้าที่แต่ละบ้านใช้ไปโดยใช้เครื่องวัดติดไว้บนเสาไฟฟ้าหน้าบ้านของผู้ใช้ไฟฟ้า เรียกว่า กิโลวัตต์-ชั่วโมง มิเตอร์หรือมาตรไฟฟ้า  ซึ่งวัดพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไปเป็นกิโลวัตต์-ชั่วโมง เรียกกันทั่วไปว่า หน่วยหรือยูนิต

                ขณะใช้พลังงานไฟฟ้าจะมีกระแสไฟฟ้าผ่านมาตรไฟฟ้ามากหรือน้อย  ตามพลังงานไฟฟ้าที่ใช้  ดังนั้นจึงมีการออกแบบมาตรไฟฟ้าขนาดต่างๆ ตามปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านในเวลา 1 วินาที เช่น มาตรไฟฟ้าขนาด 5,15,50 แอมแปร์  สถานที่ที่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้ามาก  เช่น  โรงานอุตสาหกรรมต่างๆ โรงแรมหรือสถานที่ที่ใช้เครื่องปรับอากาศหลายเครื่อง  ต้องเลือกขนาดของมาตรไฟฟ้าให้เหมาะสม  สามารถทนต่อกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านได้  ถ้ากระแสไฟฟ้าไหลผ่านมาตรไฟฟ้ามากเกินกว่าที่กำหนด จะทำให้มาตรไฟฟ้าเกิดความร้อนสูงจนไหม้ได้

ที่มา: //www.gotoknow.org/posts/464884

ใบความรู้ รายวิชา งานอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น
เรื่อง  การคิดคำนวณทางไฟฟ้า

กำลังไฟฟ้า คือ พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไปในเวลา 1 นาที มีหน่วยเป็นวัตต์ (w) หรือจูลต่อวินาที เขียนเป็นความสัมพันธ์ได้ว่า

กำลังไฟฟ้า (วัตต์) = พลังงานไฟฟ้า (จูล)/เวลา (วินาที)

                       เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดจะใช้พลังงานไฟฟ้าต่างกัน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดของเครื่องใช้ไฟฟ้า  ซึ่งทราบได้จากตัวเลขที่กำกับไว้บนเครื่องใช้ไฟฟ้า  ที่ระบุทั้งความต่างศักย์ (V) และกำลังไฟฟ้า (W)

    ตัวอย่าง  หลอดไฟฟ้า มีตัวเลขกำกับว่า 220V  60W

                220V  หมายถึงหลอดไฟฟ้านี้ใช้กับความต่างศักย์ 220 โวลต์

                ซึ่งเราต้องใช้ให้ตรงกับค่าความต่างศักย์ที่กำหนดมา

                60W หมายถึงค่าของพลังงานไฟฟ้าที่หลอดไฟฟ้าใช้ไปในเวลา 1 วินาที

                ซึ่งเรียกว่า กำลังไฟฟ้า  การวัดพลังงานไฟฟ้า ใช้หน่วยเป็นจูล  ตัวเลข 60W จึงหมายถึง ขณะเปิดไฟ หลอดไฟฟ้านี้จะใช้พลังงานไฟฟ้า 60 จูล ในเวลา 1 วินาที

                กำลังไฟฟ้า มีค่ามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้าและความต่างศักย์ที่เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นต่ออยู่ โดยกำลังไฟฟ้ามีค่าเท่ากับผลคูณระหว่างความต่างศักย์กับกระแสไฟฟ้า

                จะได้  P=VI

                ถ้า  P  แทนกำลังไฟฟ้ามีหน่วยเป็นวัตต์

                     V  แทนความต่างศักย์มีหน่วยเป็นโวลต์

                     I   แทนกระแสไฟฟ้ามีหน่วยเป็นแอมแปร์

                โดยทั่วไปนิยมวัดพลังงานไฟฟ้าที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นหน่วยที่ใหญ่กว่าหน่วยจูล โดยวัดกำลังไฟฟ้าเป็นกิโลวัตต์ และคิดช่วงเวลาเป็นชั่วโมง ดังนั้น พลังงานไฟฟ้าจึงวัดได้เป็น กิโลวัตต์-ชั่วโมง หรือเรียกว่าหน่วยหรือยูนิต

                ไฟฟ้าที่ใช้ในบ้านเรือนทั่วไปมีความต่างศักย์ 220 โวลต์ คงที่  ดังนั้นในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ จะใช้พลังงานไฟฟ้ามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนชนิด ขนาดของเครื่องใช้ไฟฟ้า และระยะเวลาในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า  การไฟฟ้าจะคิดเงินค่าพลังงานไฟฟ้าที่แต่ละบ้านใช้ไปโดยใช้เครื่องวัดติดไว้บนเสาไฟฟ้าหน้าบ้านของผู้ใช้ไฟฟ้า เรียกว่า กิโลวัตต์-ชั่วโมง มิเตอร์หรือมาตรไฟฟ้า  ซึ่งวัดพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไปเป็นกิโลวัตต์-ชั่วโมง เรียกกันทั่วไปว่า หน่วยหรือยูนิต

                ขณะใช้พลังงานไฟฟ้าจะมีกระแสไฟฟ้าผ่านมาตรไฟฟ้ามากหรือน้อย  ตามพลังงานไฟฟ้าที่ใช้  ดังนั้นจึงมีการออกแบบมาตรไฟฟ้าขนาดต่างๆ ตามปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านในเวลา 1 วินาที เช่น มาตรไฟฟ้าขนาด 5,15,50 แอมแปร์  สถานที่ที่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้ามาก  เช่น  โรงานอุตสาหกรรมต่างๆ โรงแรมหรือสถานที่ที่ใช้เครื่องปรับอากาศหลายเครื่อง  ต้องเลือกขนาดของมาตรไฟฟ้าให้เหมาะสม  สามารถทนต่อกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านได้  ถ้ากระแสไฟฟ้าไหลผ่านมาตรไฟฟ้ามากเกินกว่าที่กำหนด จะทำให้มาตรไฟฟ้าเกิดความร้อนสูงจนไหม้ได้

งานไฟฟ้า (Electric Work) 
          งานไฟฟ้า
หมายถึง กำลังไฟฟ้าที่ถูกใช้ไปใน  1 หน่วยเวลา ตัวอย่าง เช่น ใช้หลอดไฟฟ้า 100 วัตต์
ในเวลา
2 ชั่วโมง หมายความว่า หลอดไฟฟ้า 100 วัตต์ ถูกใช้ไปในเวลาที่เพิ่มขึ้นคือ 2 ชั่วโมง เมื่อพิจารณาแล้วจะได้งานไฟฟ้า ดังนี้

                      100 วัตต์ ในเวลา 2 ชั่วโมง   =  200 วัตต์ ชั่วโมง

                                                                         
                   สูตรงานไฟฟ้า        
W   = P X I

                     W  =   งานไฟฟ้า มีหน่วยเป็น วัตต์-วินาที , กิโลวัตต์-ชั่วโมง
                     P   =   กำลังงานไฟฟ้า มีหน่วยเป็นวัตต์ หรือกิโลวัตต์
                     T   =   เวลา (time) หน่วยเป็น วินาที นาที หรือ ชั่วโมง  

 ตัวอย่าง  หลอดไฟฟ้าหลอดหนึ่งมีกำลังไฟฟ้า 40 วัตต์ ใช้งาน 4 ชั่วโมง จงคำนวณหางานค่าทางไฟฟ้าว่า  

            เป็นเท่าไร  
            วิธีทำ   จากสูตร        W   =  P x T
                                      W   =  งานไฟฟ้า
                                      
P    =  กำลังไฟฟ้า  =  40 วัตต์
                                      
t     =  เวลา         =  4  ชั่วโมง
                    แทนค่า           
W    =  40 x 4
                                            =  160 วัตต์ ชั่วโมง

      
  การคิดค่าไฟฟ้า
         
ตามปกติการคำนวณค่าใช้จ่ายในการใช้ไฟฟ้าตามบ้าน จะมีมิเตอร์วัดไฟฟ้าที่ติดอยู่ที่หน้าบ้านเป็นตัววัดซึ่งเรียกว่า วัตต์
- เอาเวอร์- มิเตอร์ (Watt-Hour-Meter) ภาษาชาวบ้านเรียกว่า หม้อยูนิต (Unit)
หรือ วัตต์มิเตอร์

           การทำงาน
           สูตรการหากำลังงานไฟฟ้า  คือ
  กำลังงาน  = แรงดันไฟฟ้า x กระแสไฟฟ้า

 ตัวอย่าง บ้านครูปอนด์มีเครื่องใช้ไฟฟ้า 3 ชนิด คือทีวีขนาด 150 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง, พัดลมขนาด 100 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง และหลอดไฟขนาด 40 วัตต์ จำนวน 5 ดวง โดยครูปอนด์จะเปิดทีวีและพัดลมพร้อมกันตั้งแต่เวลา 18.00 - 22.00 น. ทุกวัน ส่วนหลอดไฟจะเปิดพร้อมกันทั้ง 4 ดวงตั้งแต่เวลา 18.00 - 06.00 น. ทุกวัน อยากทราบว่าครูปอนด์ใช้ไฟฟ้าไปกี่ยูนิตในเดือนธันวาคม

              วิธีคิด จากตัวอย่างเราได้ข้อมูลว่า
                            1. ทีวีขนาด 150 วัตต์ ใช้งานวันละ 3 ชั่วโมง
                            2. พัดลมขนาด 100 วัตต์ ใช้งานวันละ 3 ชั่วโมง
                            3. หลอดไฟขนาด 40 วัตต์ ใช้งานวันละ 12 ชั่วโมง
              จากสมการ

              ดังนั้นใน 1 วัน เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดจะใช้ไฟฟ้าดังนี้
                            จำนวนยูนิตของทีวี = [(150 x 1) x 3] / 1000 = 0.45
                            จำนวนยูนิตของพัดลม = [(100 x 1) x 3] / 1000 = 0.30
                            จำนวนยูนิตของหลอดไฟ = [(40 x 4) x 3] / 1000 = 0.48
              รวมใน 1 วัน ครูปอนด์ใช้ไฟฟ้าทั้งสิ้น = 0.45 + 0.30 + 0.48 = 1.23
              ดังนั้น ในเดือนธันวาคม (มี 31 วัน) ครูปอนด์ใช้ไฟฟ้าทั้งสิ้น = 1.23 x 31 = 38.13 ยูนิต (ตอบ)

เพิ่มเติม...หากโจทย์ให้ค่าไฟฟ้าคิดเป็นหน่วยละ1.50 บาท เราก็เอามาคูณกับจำนวนยูนิต ผลที่ได้ก็จะเป็นจำนวนเงินที่ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าในเดือนนั้น ๆ

* หมายเหตุ – สูตรคำนวณที่นำเสนอ จะไม่รวมการคิดค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ(Ft) ของการไฟฟ้า หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ การไฟฟ้านครหลวง

 แบบฝึกหัดท้ายหน่วย


 
           ๑.  เตารีดขนาด 1,000 วัตต์ ใช้รีดผ้าเป็นเวลา  4  ชั่วโมง  จะใช้พลังงานไฟฟ้าไปเท่าไร
            ๒.  หม้อหุงข้าวไฟฟ้าเครื่องหนึ่งใช้กับแรงดันไฟฟ้า 220 โวล์ต ต้องใช้กระแสไฟฟ้า 3 แอมแปร์
 อยากทราบว่า หม้อหุงข้าวไฟฟ้าจะมีการสิ้นเปลืองกำลังไฟฟ้าไปเท่าใด
           ๓.  เตาปิ้งขนมปังเครื่องหนึ่ง มีกำลังไฟฟ้า
440 วัตต์ ใช้กับแรงดันไฟฟ้า 220 โวล์ต อยากทราบว่า
เตาปิ้งขนมปังเครื่องนี้จะทนกระแสไฟฟ้าสูงสุดกี่แอมแปร์
           ๔.  บ้านอยู่อาศัยของท่านมีเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ในบ้าน 5 ชนิด อยากทราบว่าต้องจ่ายค่าไฟฟ้าเท่าใด    
               - หลอดไฟฟ้าขนาด 36 วัตต์ (รวมบาลาสต์อีก 10 วัตต์ เป็น 46 วัตต์ ) จำนวน 10 ดวง เปิดใช้งานวันละ 6 ชั่วโมง    
              
- หม้อหุงข้าวขนาด 600 วัตต์ จำนวน 1 ใบเปิดใช้งานวันละ 30 นาที ( 0.5 ชั่วโมง )   
               - ตู้เย็นขนาด 125 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งาน 24 ชั่วโมง สมมติคอมเพรสเซอร์ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง
               - เครื่องปรับอากาศ ขนาด 20,000 บีทียู (ประมาณ 2,000 วัตต์ ) จำนวน 1 เครื่อง เปิดวันละ 12 ชั่วโมง สมมุติคอมเพรสเซอร์ทำงานวันละ 6 ชั่วโมง    
              
- ทีวีสี ขนาด 100 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 4 ชั่วโมง  
           

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita