แบตเตอรี่ 70 แอ ม ป์ เท่ากับ กี่วัตต์

บทความนี้ผมจะอธิบายเรื่อง หน่วย Wh และ Ah ซึ่งเป็นหน่วยที่มือใหม่มักจะ งง มากที่สุด แต่ก่อนจะไปถึงตรงนั้นเรามาดูกันก่อนดีกว่าว่าทั้ง Wh และ Ah คืออะไร

ทั้งสองหน่วยมีความหมายคล้ายกัน แต่ในการใช้งานมีความแตกต่างกันเล็ก หากเทียบกับน้ำที่เราคุ้นเคยกันแล้วทั้งสองหน่วยหมายถึง ปริมาณน้ำเช่นเดียวกัน เช่นน้ำปริมาณ 1 ลิตร เป็นต้น การใช้หน่วยสองหน่วยนี้แตกต่างกันอย่างไรผมจะอธิบายให้ฟังครับ

สารบัญ

บทความต่อไปนี้ ผมสรุปมาจากคลิปด้านล่างครับ ใครขี้เกียจอ่านก็ฟังในคลิปเอานะ ใครอยากฟังใน Youtube ไปที่ “แบตเตอรี่ Wh และ Ah คืออะไรในงานโซล่าเซลล์ off-grid”

ถ้าใครคิดว่ามีประโยชน์ อยากสนับสนุน ฟังสาระดีๆ ช่วยกด Like กด Share กด Subscribe

“Energy for Dummies” ให้ผมด้วยนะ

Wh และ Ah คืออะไร

Wh คือ W x hours ส่วน Ah ก็คือ Amp x hours ซึ่งทั้งสองหน่วยมันก็คือหน่วยวัดปริมาณไฟฟ้าที่เราใช้นั่นเอง เช่น เราใช้ไฟกระแส 5 Amp เป็นเวลา 10 ชั่วโมง ก็คือเราใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 5 Amp x 10 hours = 50Ah นั่นเองครับ แต่เราจะสังเกตุว่าโดยมากเราจะใช้ Ah กับแบตเตอรี่มากกว่า

ตัวอย่างเช่น เราต้องการแบตเตอรี่ 1 ชุดที่สามารถจ่ายไฟให้แอร์ขนาด 600W เป็นระยะเวลา 5 ชั่วโมง จะได้ว่าต้องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 600W x 5 hours = 3,000Wh แต่เราอาจจะเอาเลขนี้มาใช้ทันทีไม่ได้นะ ต้องมีขั้นตอนเพิ่มอีกเล็กน้อยในการคำนวณขนาดแบตเตอรี่ ถ้าใครอยากรู้ว่าทำยังไงโดยละเอียดให้ไปดูที่ “ขั้นตอนการคำนวณ ออกแบบระบบโซล่าเซลล์ off-grid”

แต่เอาเป็นว่าเราใช้เลขนี้ก่อนเพื่อความง่ายต่อการเข้าใจ สมมติว่าเราต้องใช้แบตเตอรี่ขนาด 3,000Wh ซึ่งโดยปกติใครที่อยู่ในวงการ หรือไปร้านแบตเตอรี่ เรามักจะไม่ค่อยได้ยินคนพูดว่า “ต้องการซื้อแบต 3,000Wh” เหตุผลเป็นเพราะอะไรกัน?

สาเหตุที่คนส่วนมากไม่ค่อยใช้หน่วย Wh สำหรับแบตเตอรี่ เนื่องจากความแตกต่างของ Voltage ของระบบ รวมถึงความแตกต่างของ Voltage ของแบตเตอรี่แต่ละชนิด มีความแตกต่างกันเป็นสาเหตุทำให้ค่า Wh ไม่สามารถบอกอะไรได้มากนัก เราจึงมักจะใช้หน่วย Ah แทน เช่นขอซื้อแบตเตอรี่ 125Ah 8 ก้อน แบบนี้มากกว่า

พอเราเอา 8 ก้อนนี้มาต่ออนุกรมกัน ก็จะเรียกแบตเตอรี่แพค (Battery pack) ขนาด 8S 125Ah ถ้าเอามาต่อขนาน เราก็จะเรียกแบตเตอรี่แพคนี้ว่าแบตเตอรี่ 1S 1,000 Ah ซึ่งทั้งสองอย่างมันก็คือแบตเตอรี่ที่มีความจุประมาณ 3,000Wh นั่นแหละ

แต่อย่างตัวอย่างแบตลิเธียมฟอสเฟต 1 เซลล์ จะมีค่า Voltage อยู่ที่ประมาณ 3.2V ดังนั้นหากเราต่อแบตเตอรี่แพคขนาด 1S 1000Ah แสดงว่าระบบของเราต้องการแรงดันไม่เกินราวๆ 2.5-3.2V ซึ่งเรามักไม่เห็นระบบไฟฟ้าที่ต้องการแรงดันเท่านี้ซักเท่าไหร่ โดยส่วนมากระบบที่เรามักจะเห็นในงานโซล่าร์ก็จะเป็น 12V (4S) 24V (8S) 48V (16S) หรือมากกว่านั้นขึ้นไป

แบตเตอรี่ 125Ah 8 ก้อน ต่ออนุกรมกันเรียกว่า แบตเตอรี่ 8S 125Ah หากต่อขนานกันทั้งหมดจะเรียกว่า 1S 1,000Ah

การคำนวณหา Ah จาก Wh

มาดูตัวอย่างจริงกันดีกว่าว่า แล้วถ้าเราคำนวณการใช้ไฟฟ้าของเราออกมาได้หน่วยเป็น Wh เราจะแปลงเป็นหน่วย Ah เพื่อเอาไปซื้อแบตเตอรี่ได้ยังไง
ตัวอย่างเช่นเราคำนวณการใช้ไฟของเรา ได้ข้อสรุปว่าเราต้องใช้แบตเตอรี่ 3,000Wh ในขณะที่เราใช้ระบบ 24V ดังนั้นหากเรียกเป็น Ah เราจะเอา 3000Wh / 24V = 125Ah ซึ่งหมายความว่าเราใช้แบตลิเธียมฟอสเฟตขนาด 125Ah ต่ออนุกรมกัน 8 ก้อน (ก้อนละ 3.2V x 8 = 25.6V) เราจะเรียกมันว่าแบตเตอรี่ 8S 125Ah เราก็ซื้อแบตเตอรี่ลิเธียมฟอสเฟต 125Ah มาทั้งหมด 8 ก้อน แล้วเอามาต่ออนุกรมกัน เราก็จะสามารถใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า 24V ได้แล้วครับ

แบตเตอรี่ 3,000Wh ระบบ 24V = 3,000Wh/24V = 125Ah ทั้งหมด 8 ก้อน

ทำไมต้องใช้ Ah

จากด้านบนถือว่าเพียงพอต่อการใช้งานจริงแล้วนะครับ แต่หากสงสัยว่าทำไมเค้าไม่เรียกเป็น Wh ทำไมเค้าต้องใช้เป็น Ah ผมจะอธิบายให้ต่อจากนี้นะ ถ้าใครไม่ได้สนใจก็จำวิธีด้านบนแล้วข้ามไปได้เลยนะ

กลับมาว่าทำไมเราต้องใช้ Ah สาเหตุเนื่องจากว่า ปกติแบตเตอรี่ทั่วๆไป จะมีสเปคที่แตกต่างกัน อย่างเช่น แบตก้อนนี้สามารถดึงไฟได้ 2C

ทีนี้คำถามต่อมาคือตัว C คืออะไรกัน? C ในความหมายตรงนี้คือ “กระแสไฟที่ใช้แล้วทำให้แบตก้อนนั้นๆหมดภายใน 1 ชั่วโมง” ผมขออธิบายด้วยตัวอย่างน่าจะเข้าใจง่ายกว่า

แบตเตอรี่มักบอกสเป็คเป็น Max discharge rate 2C, Max charge rate 0.33C

ตัวอย่างของการใช้ค่า C rate เช่น แบตของเรา 8S 125Ah ตัว C ของแบตเตอรี่ทั้งชุดนี้จะเป็น 125A ก็คือหากเราใช้ไฟฟ้าด้วยกระแส 125A แบตเตอรี่ชุดนี้จะหมดภายใน 1 ชั่วโมง (พยายามทำความเข้าใจตรงนี้นะครับ)

ดังนั้น สเปคแบตมันบอกว่าเราสามารถดึงไฟออกมาได้ในอัตรา 2C ความหมายคือ เราสามารถดึงไฟออกมาจากแบตเตอรี่ชุดที่เราประกอบขึ้นนี้ได้ 125A x 2 = 250A โดยไม่ทำให้แบตเตอรี่เสียหายนั่นเอง

แบตของเรา 125Ah ค่า C จะเท่ากับ 125A ดังนั้นหากสเป็คแบตเตอรี่ 2C แบตของเราจะสามารถใช้ด้วยกระแส 250A โดยไม่เป็นอันตรายต่อแบตเตอรี่

หากเราประมาณขนาดระบบได้อย่างเหมาะสม เลือกใช้แรงดันที่เหมาะสมกับขนาดการใช้งาน และ กะขนาด inverter อย่างถูกต้องตามบทถัดไป โดยมากกระแสที่เราดึงจากแบตเตอรี่มักจะไม่ค่อยเกิน สเปคของแบตเตอรี่อยู่แล้ว

ผมเข้าใจว่าหลายคนก็อาจจะยังกังวลอยู่ แต่ก็ไม่อยากมานั่งวุ่นวายในการประมาณขนาดระบบให้ยุ่งยาก ทางแก้อีกวิธีหนึ่งคือ ให้เราเลือกใช้แบต 8S 125Ah ตามที่คำนวณได้นั่นแหละ แต่เราแค่ใส่ฟิวส์เพิ่มเข้าไปเท่านั้นเอง

ซึ่งในการออกแบบตรงนี้จะมีข้อจำกัดตรงที่เราจะต้องดูขนาดฟิวส์ที่เหมาะสมกับขนาดของสายไฟด้วย ดังนั้นการคำนวณขนาดสายไฟจึงเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน

สรุป

จากบทความทั้งหมดเรา เราพอจะทราบว่า Ah คืออะไร ซึ่งหากพูดง่ายๆ Ah ก็เหมือน Wh แต่เรามักใช้ Ah กับแบตเตอรี่เพื่อที่เราจะดูกำลังไฟสูงสุดที่เราดึงได้นั่นเอง

เราแค่หาขนาดแบตเตอรี่ Ah ที่เราต้องใช้ และจำนวนแบตเตอรี่ เท่านี้ก็ถือว่าเพียงพอ ทีเหลือก็ให้เราคำนวณขนาดฟิวส์ที่ใส่ในระบบให้ถูกต้องเท่านั้นครับ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita