พอลิเมอร์สามารถจําแนกตามลักษณะการเกิดออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

พอลิเมอร์

พอลิเมอร์ (Polymer) เป็นสารประกอบที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ ที่เกิดจากโมเลกุลเล็กๆ เรียกว่า มอนอเมอร์ (Monomer) จำนวนมากมาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ ปฏิกิริยาที่มอนอเมอร์รวมตัวกันเป็นพอลิเมอร์ เรียกว่า ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน (Polymerization)

ประเภทของพอลิเมอร์

แบ่งโดยใช้เกณฑ์พิจารณาดังต่อไปนี้

การแบ่งตามแหล่งกำเนิด

แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. พอลิเมอร์ธรรมชาติ (Natural polymer)เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติช่น แป้ง ไกลโคเจน และเซลลูโลส พอลิเมอร์ทั้งสามชนิดมีโมเลกุลของกลูโคสเป็นมอนอเมอร์ โปรตีน เป็นพอลิเมอร์ที่มีกรดอะมิโนเป็นมอนอเมอร์ DNA และ RNA เป็นพอลิเมอร์ที่มีนิวคลีโอไทด์เป็นมอนอเมอร์ ยางธรรมชาติ และเส้นใยธรรมชาติ ฝ้าย ใยไหม เป็นต้น
  2. พอลิเมอร์สังเคราะห์ (Synthetic polymer)เป็นพอลิเมอร์ที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้น เช่น พลาสติกชนิดต่างๆ ยางสังเคราะห์ เส้นใยสังเคราะห์ และเมลามีน เป็นต้น

การแบ่งตามส่วนประกอบของพอลิเมอร์

แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. โฮโมพอลิเมอร์ (Homopolymer) เป็น พอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยมอนอเมอร์ชนิดเดียวกันหลายๆ โมเลกุลมาเชื่อมต่อกัน เช่น พอลิเอทิลีน (PE) เกิดจากโมเลกุลของเอทิลีน (CH2=CH2) หลายโมเลกุลมาเชื่อมต่อกัน

    โฮโมพอลิเมอร์จากธรรมชาติ เช่น แป้ง ไกลโคเจน เซลลูโลส มีโมเลกุลของกลูโคสเป็นมอนอเมอร์  ยางธรรมชาติ มีโมเลกุลของไอโซพรีนเป็นมอนอเมอร์ เป็นต้นโฮโมพอลิเมอร์จากการสังเคราะห์ เช่น พอลิเอทิลีนมีโมเลกุลของเอทิลีนเป็นมอนอเมอร์ และพอลิไวนิลคลอไรด์มีโมเลกุลของไวนิลคลอไรด์เป็นมอนอเมอร์ เป็นต้น
  2. โคพอลิเมอร์หรือพอลิเมอร์ร่วม (Copolymer) เป็น พอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยมอนอเมอร์ที่เป็นสารต่างชนิดกันมาเชื่อมต่อกัน เช่น ไนลอน 6,6 เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างเฮกซะเมทิลีนไดเอมีนกับกรดอะดิปิก

โคพอลิเมอร์ธรรมชาติ เช่น โปรตีนที่มีกรดอะมิโนหลายชนิดมาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเพปไทด์

โคพอลิเมอร์สังเคราะห์ เช่น ยางเอสบีอาร์ที่มีบิวทาไดอีนและสไตรีนเป็นมอนอเมอร์ เป็นต้น

การแบ่งตามปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน

แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบควบแน่น (Condensation polymerization) เกิดจาก มอนอเมอร์ที่มีหมู่ฟังก์ชันมากกว่า 1 หมู่ ทำปฏิกิริยากันเกิดเป็นพอลิเมอร์และสารโมเลกุลเล็กเป็นผลพลอยได้ เช่น น้ำ ไฮโดรเจนคลอไรด์ แอมโมเนีย หรือเมทานอล เช่น การสังเคราะห์ไนลอน 6,10 (พอลิเอไมด์) ที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างเฮกซะเมทิลีนไดเอมีนกับซีบาคอลคลอไรด์และเกิดไฮโดรเจนคลอไรด์เป็นผลพลอยได้

  2. ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบเติม (Addition polymerization) เกิดจาก โมเลกุลของมอนอเมอร์ที่มีพันธะคู่ระหว่างคาร์บอนอะตอม เช่น เอทิลีน โพรพิลีน ไวนิลคลอไรด์ และสไตรีน เป็นต้น ทำปฏิกิริยาต่อกันบริเวณพันธะคู่ ได้ผลิตภัณฑ์เป็นพอลิเมอร์โดยไม่มีสารโมเลกุลเล็กเกิดขึ้น เช่น การสังเคราะห์พอลิไวนิลคลอไรด์จากไวนิลคลอไรด์มอนอเมอร์

เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  สามารถพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด  โดยพอลิเมอร์ธรรมชาติเหล่านี้เป็น

สิ่งที่สิ่งมีชีวิตผลิตขึ้นโดยอาศัยกระบวนการทางเคมีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในเซลล์  และมีการเก็บสะสมไว้ใช้

ประโยชน์ตามส่วนต่าง ๆ ดังนั้นพอลิเมอร์ธรรมชาติจึงมีความแตกต่างกันไปตามชนิดของสิ่งมีชีวิตและตำแหน่งที่พบ

ในสิ่งมีชีวิต  ตัวอย่างพอลิเมอร์ธรรมชาติ  ได้แก่  เส้นใยพืช  เซลลูโลส  และไคติน  เป็นต้น

  ชนิดของพอลิเมอร์

          เราสามารถจำแนกชนิดของพอลิเมอร์โดยใช้เกณฑ์ในการจำแนกได้หลายแบบ ทำให้ได้ชนิดของพอลิเมอร์ ต่างๆดังนี้

          เมื่อจำแนกตามลักษณะการเกิด ได้ 2 ชนิดดังนี้

  1. พอลิเมอร์ธรรมชาติ ( Natural polymers) เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น เซลลูโลส DNA โปรตีน แป้ง ยางธรรมชาติ เป็นต้น

  2. พอลิเมอร์ที่เกิดจากการสังเคราะห์ ( Synthetic polymers ) เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากการสังเคราะห์โดยปฏิกิริยาเคมี เช่น พลาสติก ไนล่อน เมลามีน เป็นต้น

เมื่อจำแนกตามชนิดของมอนอเมอร์ที่เป็นองค์ประกอบได้  2 แบบ ดังนี้

  1. โฮโมพอลิเมอร์ ( Homopolymers ) เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากมอนอเมอร์ชนิดเดียวกันมาเชื่อมต่อกัน เช่น แป้ง และเซลลูโลส ซึ่งเกิดจากมอนอเมอร์กลูโคสมาเชื่อมต่อกัน

  2. โคพอลิเมอร์ ( Co – polymer ) เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากด้วยมอนอเมอร์มากกว่า 1 ชนิด มาเชื่อมต่อกัน เช่น โปรตีน เกิดจากกรดอะมิโนชนิดต่าง ๆ มาเชื่อมต่อกัน ซึ่งกรดอะมีโนมีหลายชนิด และเมื่อมีการเชื่อมต่อกลายเป็นโปรตีนก็อาจมีการสลับที่กันไปมา ซึ่งโปรตีนแต่ละชนิดก็อาจเกิดมาจากกรดอะมิโนคนละชนิดกัน จำนวนก็อาจไม่เท่ากัน และรูปร่างและความยาวของสายพอลิเมอร์ที่แตกต่างกัน จึงทำให้โปรตีนมีความหลากหลาย

โคพอลิเมอร์ สามารถแบ่งตามลักษณะการเรียงตัวของโมเลกุลได้ 4 แบบ

          2.1  โคพอลิเมอร์ที่จัดแบบสุ่ม ( Random Copolymer ) เกิดจากมอนอเมอร์ 2 ชนิดขึ้นไป เรียงตัวกันไม่มีรูปแบบแน่นอน

ตัวอย่างลักษณะการจัดเรียง เช่น A-A-B-A-B-B-A-B-A-B-A-A-A-B-B-B-A-A-B-B-A-A-A-B

          2.2  โคพอลิเมอร์ที่จัดแบบสลับกัน ( Alternating Copolymer ) เกิดจากมอนอเมอร์ 2 ชนิด เรียงตัวสลับที่กันไปมา

ตัวอย่างลักษณะการจัดเรียง เช่น A-B-A-B-A-B-A-B-A-B-A-B-A-B-A-B-A-B-A-B-A-B-A-B

          2.3  โคพอลิเมอร์ที่จัดแบบบล็อก ( Block Copolymer ) เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากมอนอเมอร์ชนิดที่ 1 ต่อกันเป็นระยะหนึ่ง แล้วมอนอเมอร์ชนิดที่ 2 ก็มาต่อ และสลับกันต่อเป็นช่วงๆ จนกลายเป็นสายโซ่พอลิเมอร์

ตัวอย่างลักษณะการจัดเรียง เช่น A-A-A-A-B-B-B-B-B-B-A-A-A-A-A-B-B-B-B-B-B-A-A-A-A-A-A

          2.4  โคพอลิเมอร์ที่จัดแบบบล็อก ( Graft Copolymer ) เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากมอนอเมอร์ชนิดที่ 1 สร้างสายยาว แล้วมอนอเมอร์ชนิดที่ 2 ต่อเป็นกิ่ง

เมื่อจำแนกตามโครงสร้างของพอลิเมอร์ได้  3 แบบ ดังนี้

  1. พอลิเมอร์แบบเส้น ( Linear polymer ) เกิดจากมอนอเมอร์ต่อกันเป็นเส้นยาว ๆ ใน 2 มิติ เช่น เซลลูโลส เกิดจากกลูโคสต่อกันเป็นเส้นตรง และ ( Polyethylene ) ที่นำมาใช้ทำเป็นขวด กล่องพลาสติก  หีบห่ออาหาร ของเล่น เกิดจากเอทิลีนต่อกันเป็นเส้นตรง

  1. พอลิเมอร์แบบกิ่ง ( Branch polymer ) เกิดจากมอนอเมอร์ต่อกันเป็นสายยาวและบางจุดมีการแตกกิ่ง จึงทำให้สายพอลิเมอร์มีกิ่งก้านสาขา ไม่สามารถเรียงชิดติดกันแบบพอลิเมอร์แบบเส้น เช่น พอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ ที่นำมาใช้ทำเป็นถุงเย็น ฟิล์มหดฟิล์มยืด ขวดน้ำ ฝาขาด

         *** พอลิเมอร์แบบเส้นและแบบกิ่ง มีโครงสร้างที่จับกันแบบหลวม ๆ  ถ้าให้ความร้อนสูง จะสามารถหลอมเหลวได้ สามารถรีไซเคิลแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ***

  1. พอลิเมอร์แบบร่างแห ( Network polymer ) เกิดจากมอนอเมอร์ต่อกันเป็นสายยาวและมีการเชื่อมโยงแต่ละสายพอลิเมอร์เข้าหากัน โครงสร้างพอลิเมอร์ชนิดนี้ทำให้พอลิเมอร์มีความแข็งมาก จึงมีความทนทาน ไม่หลอมเหลว และไม่ยืดหยุ่นเช่น เมลามีน ที่ใช้ทำภาชนะบรรจุอาหาร

ปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์

         ปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์ เรียกว่า ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน ( Polymerization ) คือกระบวนการสร้างสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ จากสารที่มีโมเลกุลเล็ก ( Monomer ) ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันจะเกิดภายใต้สภาวะต่าง ๆ เช่น ตัวเร่งปฏิกิริยา อุณหภูมิ ความดัน เป็นต้น ทำให้เกิดพอลิเมอร์ชนิดต่าง ๆ ขึ้นมากมาย ทั้งที่เป็นพอลิเมอร์ในธรรมชาติ และพอลิเมอร์สังเคราะห์

  1. ปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชั่นแบบเติม ( Addition polymerization ) ปฏิกิริยานี้เกิดกับมอนอเมอร์ที่ไม่อิ่มตัว เช่น เอทิลีน โพรพิลีน อะไครโลไนทริล สไตรีน โดยมีตัวเร่งปฏิกิริยา และอุณหภูมิที่เหมาะสมทำให้พันธะคู่แตกออก แล้วเกิดการสร้างพันธะกับโมเลกุลข้างเคียงต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งโมเลกุลขนาดใหญ่ขึ้น สายพอลิเมอร์ยาวขึ้น ปฏิกิริยาจะเกิดไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งมอนอเมอร์หมดไป ปฏิกิริยาแบบนี้จะเกิดปฏิกิริยาที่พันธะคู่ของคาร์บอน ไม่มีการสูญเสียของอะตอมใด ๆ ทำให้ไม่มีผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ข้างเคียงเกิดขึ้น ตัวอย่าง พอลิเมอร์ที่เกิดจากปฏิกิริยาชนิดนี้ได้แก่ Polyethylene, Teflon, Polyvinyl Choride

  2. ปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชั่นแบบควบแน่น ( Condensation polymerization ) ปฏิกิริยานี้เกิดกับมอนอเมอร์ที่มีหมู่ฟังก์ชั่น 2 หมู่ อยู่ด้านซ้ายและขวาของมอนอเมอร์ เพื่อให้สามารถเกิดปฏิกิริยาควบแน่นกับโมเลกุลข้างเคียงได้ทั้งสองด้าน และต่อขยายความยาวสายโมเลกุลออกไป โดยในปฏิกิริยาจะกำจัดโมเลกุลขนาดเล็กออกมาจากปฏิกิริยา เช่น H2O  NH3  HCl หรือ CH3OH เป็นต้น ตัวอย่าง พอลิเมอร์ที่เกิดจากปฏิกิริยาชนิดนี้ได้แก่ Polyester, Polyurethane, polyamide

สรุปพอลิเมอร์

ประเภทของพอลิเมอร์

    พอลิเมอร์ แบ่งเป็นประเภทย่อยๆ โดยใช้เกณฑ์ ดังนี้

6.2.1  การแบ่งประเภทของพอลิเมอร์ตามแหล่งกำเนิด

        เป็นวิธีการพิจารณาโดยดูจากวิธีการกำเนิดของพอลิเมอร์ชนิดนั้น ซึ่งจะสามารถจำแนกพอลิเมอร์ได้เป็น 2 ประเภท คือ        พอลิเมอร์ธรรมชาติ และพอลิเมอร์สังเคราะห์

        1)  พอลิเมอร์ธรรมชาติ (Natural Polymers)
        เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ สามารถพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด โดยพอลิเมอร์ธรรมชาติเหล่านี้เป็นสิ่งที่สิ่งมีชีวิตผลิตขึ้น โดยอาศัยกระบวนการทางเคมีต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ และมีการเก็บสะสมไว้ใช้ประโยชน์ตามส่วนต่าง ๆ ดังนั้นพอลิเมอร์ธรรมชาติจึงมีความแตกต่างกันไปตามชนิดของสิ่งมีชีวิตและตำแหน่งที่พบในสิ่งมีชีวิต ตัวอย่างพอลิเมอร์ธรรมชาติ ได้แก่ เส้นใยพืช เซลลูโลส และไคติน เป็นต้น
         2)  พอลิเมอร์สังเคราะห์ (Synthetic Polymers)
        เกิดจากการสังเคราะห์ขึ้นโดยมนุษย์ ด้วยวิธีการนำสารมอนอเมอร์จำนวนมากมาทำปฏิกิริยาเคมีภายใต้สภาวะที่เหมาะสม   ทำให้มอนอเมอร์เหล่านั้นเกิดพันธะโคเวเลนต์ต่อกันกลายเป็นโมเลกุลพอลิเมอร์ โดยสารมอนอเมอร์ที่มักใช้เป็นสารตั้งต้นในกระบวนการสังเคราะห์พอลิเมอร์ คือ สารไฮโดรคาร์บอนที่เป็นผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมันดิบและการแยกแก๊สธรรมชาติ เช่น   เอททีลีนสไตรีนโพรพิลีนไวนิลคลอไรด์ เป็นต้น

6.2.2  การแบ่งประเภทของพอลิเมอร์ตามส่วนประกอบ
        เป็นวิธีการพิจารณาโดยดูจากลักษณะมอนอเมอร์ที่เข้ามาสร้างพันธะร่วมกัน โดยจะสามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
     1)  โฮโมพอลิเมอร์ (Homopolymer)
        คือ พอลิเมอร์ที่เกิดจากมอนอเมอร์ชนิดเดียวกันทั้งหมด  เช่น แป้ง พอลิเมอร์ และพีวีซี เป็นต้น
    2)  โคพอลิเมอร์ (Copolymer)
        คือ พอลิเมอร์ที่เกิดจากมอนอเมอร์มากกว่า 1 ชนิดขึ้นไป เช่น  โปรตีน ซึ่งเกิดจากกรดอะมิโนที่มีลักษณะต่างๆ มาเชื่อมต่อกันและพอลิเอสเทอร์ เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูล //www.scimath.org

Author: Tuemaster Admin

ทีมงานจากเว็บไซต์ติวกวดวิชาออนไลน์ที่ดีที่สุด !! สำหรับ การเรียนออนไลน์ ม.ปลาย (ม.4, ม.5, ม.6)

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita