ประเภทของยาเสพติดแบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

สารเสพติดเป็นปัญหาหลักของสังคมไทย เพราะผู้เสพสารเหล่านี้เข้าไปแล้วร่างกายจะทำงานผิดปกติจากอาการอยากยา และขาดการยับยั้งชั่งใจกับเหตุต่างๆ ในชีวิตทำให้เกิดอันตรายกับคนในครอบครัว และคนรอบข้าง ปัจจุบันมีกฎหมายที่เอาผิดกับผู้เสพ และผู้ขาย และยังคงมีข่าวจับกุมยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง

สารเสพติด หมายถึง สารหรือยาที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ หรือจากการสังเคราะห์ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดย การกิน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วจะทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเรื่อยๆ, มีอาการอยากยาเมื่อขาดยา, มีความต้องการเสพทั้งร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง ส่งผลต่อสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง

สารเสพติด มีกี่ประเภท

การแบ่งประเภทของสารเสพติด แบ่งได้ 4 วิธี คือ

1. แบ่งตามแหล่งกำเนิด
2. แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522
3. แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
4. แบ่งตามองค์การอนามัยโลก

กฎหมายประเทศไทยยึดการกำหนดโทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 โดยแบ่งสารเสพติดให้โทษ เป็น 5 ประเภท ดังนี้

-

ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 1

ได้แก่ เฮโรอีน แอลเอสดี แอมเฟตามีน หรือยาบ้า ยาอีหรือยาเลิฟ

-

ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 2

ยาเสพติดประเภทนี้สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่ต้องใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์ และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคน หรือโคคาอีน โคเคอีน และเมทาโดน

-

ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 3

ยาเสพติดประเภทนี้เป็นยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดประเภทที่ 2 ผสมอยู่ด้วย มีประโยชน์ทางการแพทย์ การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติด จะมีบทลงโทษกำกับไว้ ยาเสพติดประเภทนี้ ได้แก่ ยาแก้ไอ ที่มีตัวยาโคเคอีน ยาแก้ท้องเสีย ที่มีฝิ่นผสมอยู่ด้วย ยาฉีดระงับปวดต่างๆ เช่น มอร์ฟีน เพทิดีน ซึ่งสกัดมาจากฝิ่น

-

ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 4

คือสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2 ยาเสพติดประเภทนี้ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดโรคแต่อย่างใด และมีบทลงโทษกำกับไว้ด้วย ได้แก่ น้ำยาอะเซติคแอนไฮไดรย์ และอะเซติลคลอไรด์ ซึ่งใช้ในการเปลี่ยนมอร์ฟีนเป็นเฮโรอีน สารคลอซูโดอีเฟดรีน สามารถใช้ในการผลิตยาบ้าได้ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก 12 ชนิด ที่สามารถนำมาผลิตยาอีและยาบ้าได้

-

ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5

เป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในยาเสพติดประเภทที่ 1 ถึง 4 ได้แก่ ทุกส่วนของพืชกัญชา ทุกส่วนของพืช กระท่อม เห็ดขี้ควาย เป็นต้น

ส่วนการแบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

1. ยาเสพติดประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน สารระเหย และยากล่อมประสาท
2. ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน กระท่อม และโคคาอีน
3. ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มพี และ เห็ดขี้ควาย
4. ยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน กล่าวคือ อาจกดกระตุ้น หรือหลอนประสาทได้พร้อมๆ กัน ตัวอย่างเช่น กัญชา

สารเสพติดอยู่ในร่างกายได้กี่วัน

ขั้นตอนตรวจสอบสารเสพติดในร่างกายของผู้เสพประจำ และผู้เสพไม่ประจำ ตรวจจากปัสสาวะ และมีโอกาสพบตกค้างอยู่ในร่างกาย ดังนี้

ผู้เสพไม่ประจำ

1. แอมเฟตามีน พบอยู่ในร่างกาย 1-3 วัน
2. เมทแอมเฟตามีน พบอยู่ในร่างกาย 1-3 วัน
3. ยาอี พบอยู่ในร่างกาย 1-3 วัน
4. กัญชา พบอยู่ในร่างกาย 2-5 วัน
5. โคเคน พบอยู่ในร่างกาย 12-48 ชั่วโมง
6. มอร์ฟีน พบอยู่ในร่างกาย 12-48 ชั่วโมง
7. โคเคอีน พบอยู่ในร่างกาย 1-3 วัน
8. เบนโซไดอาซิปินส์ พบอยู่ในร่างกาย 2-5 วัน

ผู้เสพประจำ

1. แอมเฟตามีน พบอยู่ในร่างกาย 2-6 วัน
2. เมทแอมเฟตามีน พบอยู่ในร่างกาย 2-6 วัน
3. ยาอี พบอยู่ในร่างกาย 2-6 วัน
4. กัญชา พบอยู่ในร่างกาย 4-14 วัน
5. โคเคน พบอยู่ในร่างกาย 1-4 วัน
6. มอร์ฟีน พบอยู่ในร่างกาย 2-6 วัน
7. โคเคอีน พบอยู่ในร่างกาย 2-5 วัน
8. เบนโซไดอาซิปินส์ พบอยู่ในร่างกาย 4-14 วัน

ผู้เสพเรื้อรัง

1. แอมเฟตามีน พบอยู่ในร่างกาย 2-3 สัปดาห์
2. เมทแอมเฟตามีน พบอยู่ในร่างกาย 2-3 สัปดาห์
3. ยาอี พบอยู่ในร่างกาย 2-3 สัปดาห์
4. กัญชา อาจพบอยู่ในร่างกาย 2-3 เดือน
5. โคเคน อาจพบอยู่ในร่างกาย 2-3 สัปดาห์
6. มอร์ฟีน อาจพบอยู่ในร่างกาย 2-3 สัปดาห์
7. โคเคอีน อาจพบอยู่ในร่างกาย 2-3 สัปดาห์
8. เบนโซไดอาซิปินส์ อาจพบอยู่ในร่างกาย 1 เดือน

โทษของคดียาเสพติดไม่ได้มีแค่ผู้เสพ และผู้ขายอย่างเดียว ผู้ผลิตและผู้ที่ครอบครองไว้ก็มีโทษเช่นกัน คนในครอบครัวควรสังเกตญาติพี่น้อง ที่มีอาการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ น้ำหนัก รูปร่าง ควบคู่กัน เพื่อให้คำแนะนำและช่วยเหลือให้ห่างไกลสารเสพติดเหล่านี้ได้

ที่มา : สำนักงานชันสูตร สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร,
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข


บทลงโทษเกี่ยวกับยาเสพติด

ยาเสพติดให้โทษในประเภท 1

ความผิด

บทกำหนดโทษ

มาตรา

ผลิต นำเข้า หรือส่งออก ( ฝ่าฝืนมาตรา 15 )

จำคุกตลอดชีวิต

และปรับตั้งแต่1,000,000-5,000,000 บาท

มาตรา 65

ผลิตโดยการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุและมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ หรือมีจำนวนหน่วยการใช้หรือมีน้ำหนักสุทธิ ไม่เกินปริมาณที่กำหนด ตามมาตรา15วรรค3
จำคุกตั้งแต่ 4-15 ปี หรือปรับตั้งแต่ 80,000-300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 65

ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่กำหนด ตามมาตรา15วรรค3 จะถือว่า เป็นการ ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่าย

จำคุกตั้งแต่ 4 ปี – ตลอดชีวิต

และปรับตั้งแต่ 400,000 – 5,000,000 บาท

มาตรา 65

จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ หรือมีจำนวนหน่วยการใช้หรือมีน้ำหนักสุทธิ ไม่เกินปริมาณที่กำหนด ตามมาตรา15วรรค3

จำคุกตั้งแต่ 4 ปี – ตลอดชีวิต

และปรับตั้งแต่ 400,000 – 5,000,000 บาท

มาตรา 66

จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ หรือมีจำนวนหน่วยการใช้หรือมีน้ำหนักสุทธิ เกินปริมาณที่กำหนด ตามมาตรา15วรรค3แต่ไม่ถึง20 กรัม

จำคุกตั้งแต่ 4 ปี ถึงจำคุกตลอดชีวิต 

และปรับตั้งแต่ 400,000 –5,000,000 บาท

มาตรา 66

 จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ หรือมีจำนวนหน่วยการใช้หรือมีน้ำหนักสุทธิ เกิน 20 กรัมขึ้นไป

จำคุกตลอดชีวิต และ

ปรับตั้งแต่ 1,000,000 –5,000,000 บาท 

หรือประหารชีวิต

มาตรา 66

ครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ หรือมีจำนวนหน่วยการใช้หรือมีน้ำหนักสุทธิ ไม่เกินปริมาณที่กำหนด ตามมาตรา 15 วรรค 3 จำคุกตั้งแต่ 1-10ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 –200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 67

ผู้ใดเสพ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 57

จำคุกตั้งแต่ 6 เดือน – 3 ปี

หรือปรับตั้งแต่ 10,000 – 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ( มาตรา 91)

มาตรา91

 ผู้ใดยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพ

จำคุกตั้งแต่ 1 ปี – 5 ปี

หรือ ปรับตั้งแต่ 20,000 – 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ( มาตรา 93/1 วรรค 1)

มาตรา 93/1

ผู้ใดใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย หรือข่มขืนใจ ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย ครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษ

ต้องระวางโทษเป็น 2 เท่าของโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้

สำหรับความผิดนั้น  ( มาตรา 93/2)

มาตรา 93/2

การผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามปริมาณดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย (ตามมาตรา 15 วรรค 3)

ชื่อยาเสพติดให้โทษ

มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่

หรือมียาเสพติดที่มีสารดังกล่าวผสมอยู่ จำนวนหน่วยการใช้

หรือมีน้ำหนักสุทธิตั้งแต่

1. เด็กซ์โตรไลเซอร์ไยด์ หรือ แอล เอส ดี 0.75 มก.ขึ้นไป 15 หน่วยการใช้ขึ้นไป 300 มก.ขึ้นไป
2. แอมเฟตามีน หรืออนุพันธ์แอมเฟตามีน 375 มก.ขึ้นไป 15 หน่วยการใช้ขึ้นไป 1.5 กรัม ขึ้นไป
3. ยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 นอกจากข้อ1และ2 3 กรัม   ขึ้นไป

ยาเสพติดให้โทษในประเภท 2

ความผิด

บทกำหนดโทษ

มาตรา

 • ผลิต นำเข้า หรือส่งออก อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 16

จำคุกตั้งแต่ 1 ปี – 10 ปี 
และปรับตั้งแต่ 100,000 – 1,000,000 บาท

มาตรา 68 วรรค 1

 • ผลิต นำเข้า หรือส่งออก ซึ่งมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน

จำคุกตั้งแต่ 20 ปี – ตลอดชีวิต 
และปรับตั้งแต่ 2,000,000 – 5,000,000 บาท

มาตรา 68 วรรค 2

 • ครอบครอง อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 17

จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท 
หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 69 วรรค 1

 • จำหน่าย หรือครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 17

จำคุกตั้งแต่ 1 ปี – 10 ปี 
หรือปรับตั้งแต่ 20,000 – 200,000 บาท 
หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 69 วรรค 2

 • จำหน่าย หรือครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 100 กรัม

จำคุกตั้งแต่ 3 ปี – 20 ปี 
หรือปรับตั้งแต่ 60,000 – 400,000 บาท 
หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 69 วรรค 3

 • จำหน่าย หรือครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 100 กรัมขึ้นไป

จำคุกตั้งแต่ 5 ปี – ตลอดชีวิต 
และปรับตั้งแต่ 500,000 – 5,000,000 บาท

มาตรา 69 วรรค 3

 • ผู้ได้รับใบอนุญาตจำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง ตามมาตรา 17 กระทำการฝ่าฝืนตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง หรือวรรคสาม

จำคุกไม่เกิน 5 ปี 
และปรับไม่เกิน 100,000 บาท

มาตรา 69 วรรค 4

 • ผู้ใดเสพ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 58

จำคุกตั้งแต่ 6 เดือน – 3 ปี 
หรือปรับตั้งแต่ 10,000 – 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 91

 • ผู้ใดใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด ให้ผู้อื่นเสพ

จำคุกตั้งแต่ 1 ปี – 10 ปี 
และปรับตั้งแต่ 100,000 – 1,000,000 บาท

มาตรา 93

 • ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพ

จำคุกตั้งแต่ 1ปี – 5 ปี 
หรือปรับตั้งแต่ 20,000 – 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 93/1 วรรค 1

ยาเสพติดให้โทษประเภท 3

ความผิด

บทกำหนดโทษ

มาตรา

 • ผลิต หรือนำเข้า โดยมิได้รับอนุญาต 
อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 20

จำคุกตั้งแต่ 1 ปี – 3 ปี 
และปรับตั้งแต่ 100,000 – 300,000 บาท

มาตรา 70

 • จำหน่าย ครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือส่งออก โดยมิได้รับอนุญาต โดยมีจำนวนยาเสพติดให้โทษ ไม่เกินที่กำหนดตาม มาตรา 20 วรรค 4 จำคุกไม่เกิน 1 ปี 
หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 71 วรรค 1

 • จำหน่าย ครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือส่งออก โดยมิได้รับอนุญาต โดยมีจำนวนยาเสพติดให้โทษ เกินจำนวนตามมาตรา 20 วรรค 4

จำคุกไม่เกิน 2 ปี 
และปรับไม่เกิน 200,000 บาท

มาตรา 71 วรรค 2

 • นำเข้า หรือส่งออก อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 22 (ผู้รับอนุญาตจะต้องได้รับใบอนุญาตทุกครั้ง ที่มีการนำเข้า หรือส่งออก)

จำคุกไม่เกิน 1 ปี 
และปรับไม่เกิน 100,000 บาท

มาตรา 72

 • ผลิต นำเข้า หรือส่งออก ซึ่งยาปลอม อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 39(1)

จำคุกตั้งแต่ 3 ปี – 20 ปี 
และปรับตั้งแต่ 300,000 – 2,000,000 บาท

มาตรา 82

 • จำหน่ายซึ่งยาปลอม อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 39(1)

จำคุกไม่เกิน 5 ปี 
และปรับไม่เกิน 500,000 บาท

มาตรา 83

 • ผลิต นำเข้า หรือส่งออก ซึ่งยาผิดมาตรฐาน หรือเสื่อมคุณภาพ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 39(2) หรือ (3)

จำคุกไม่เกิน 3 ปี 
หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 84

 • จำหน่ายซึ่งยาผิดมาตรฐาน หรือเสื่อมคุณภาพ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 39(2) หรือ (3)

จำคุกไม่เกิน 1 ปี 
หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 85

 • ผลิต นำเข้า หรือส่งออก ซึ่งยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา หรือเพิกถอนทะเบียนตำรับยา อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 39(4) หรือ (5)

จำคุกไม่เกิน 5 ปี 
และปรับไม่เกิน 500,000 บาท

มาตรา 86

 • จำหน่ายยาที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา หรือเพิกถอนทะเบียนตำรับยา อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 39(4) หรือ (5)

จำคุกไม่เกิน 3 ปี 
และปรับไม่เกิน 300,000 บาท

มาตรา 87

 • ผู้รับอนุญาตฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวง ตามมาตรา 20

ผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ มีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ โดยมีกำหนดครั้งละไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน

มาตรา 52

ยาเสพติดให้โทษในประเภท 4

ความผิด

บทกำหนดโทษ

มาตรา

 • ผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 26

จำคุกตั้งแต่ 1 ปี – 10 ปี 
และปรับตั้งแต่ 20,000 – 200,000 บาท

มาตรา 73 วรรค 1

 • ผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย ตั้งแต่ 10 กิโลกรัมขึ้นไป

จำคุกตั้งแต่ 1 ปี – 15 ปี 
และปรับตั้งแต่ 100,000 – 1,500,000 บาท

มาตรา 73 วรรค 2

 • ครอบครอง

จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท 
หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 74

ยาเสพติดให้โทษในประเภท 5

ความผิด

บทกำหนดโทษ

มาตรา

 • ผลิต นำเข้า หรือส่งออก อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 26/2

จำคุกไม่เกิน 5 ปี 
และปรับไม่เกิน 500,000 บาท

มาตรา 75 วรรค 1

 • ผลิต นำเข้า หรือส่งออกพืชกระท่อม

จำคุกไม่เกิน 2 ปี 
และปรับไม่เกิน 200,000 บาท

มาตรา 75 วรรค 2

 • ครอบครอง

จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 76 วรรค 1

 • ครอบครองพืชกระท่อม

ปรับไม่เกิน 20,000 บาท

มาตรา 76 วรรค 2

 • จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยมีจำนวนไม่ถึง 10 กิโลกรัม

จำคุกไม่เกิน 5 ปี 
หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 76/1 วรรค 1

 • จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยมีจำนวนตั้งแต่ 10 กิโลกรัมขึ้นไป

จำคุกตั้งแต่ 1 ปี – 15 ปี 
และปรับตั้งแต่ 100,000 -1,500,000 บาท

มาตรา 76/1 วรรค 2

 • จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายพืชกระท่อม โดยมีจำนวนไม่ถึง 10 กิโลกรัม

จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 76/1 วรรค 3

 • จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายพืชกระท่อม โดยมีจำนวนตั้งแต่ 10 กิโลกรัมขึ้นไป

จำคุกไม่เกิน 2 ปี 
และปรับไม่เกิน 200,000 บาท

มาตรา 76/1 วรรค 4

 • ผู้ใดเสพ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 58 วรรคสอง

จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 92 วรรค 1

 • ผู้ใดเสพพืชกระท่อม

ปรับไม่เกิน 2,000 บาท

มาตรา 92 วรรค 2

 • ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพ

จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 93/1 วรรค 2

บทกำหนดโทษนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งจากพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

กองควบคุมวัตถุเสพติด โทร 0 2590 7346

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita