มาตรฐานสินค้าเกษตร มีกี่ประเภท

  การรับรองมาตรฐาน GAP ที่ผ่านมา ใช้มาตรฐาน GAP ของกรมวิชาการเกษตรในการตรวจรับรองแปลง โดยที่ผ่านมา มกอช. (สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ) ได้พัฒนามาตรฐาน GAP สำหรับพืชอาหาร (มกษ.9001-2552) โดยปรับปรุงและประกาศใช้ในปี 2552 โดยอ้างอิงและเทียบเคียงมาตรฐาน Codex มาตรฐาน ASEAN และมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร และในปัจจุบันได้มีการใช้ มกษ. GAP พืชอาหาร (มกษ.9001-2556) ที่ได้ปรับให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ASEAN ซึ่งได้ประกาศเป็นมาตรฐานของประเทศ

สำหรับเกษตรกรที่ทำธุรกิจเกษตรมาแล้วระยะหนึ่งอาจจะเริ่มมองหาช่องทางการผลิตสินค้าให้ได้ มาตรฐานสินค้าเกษตร เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตร อาจจะเพื่อส่งจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า ส่งออกไปยังต่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งการขอรับรองมาตรฐานมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้สินค้านั้นมีคุณภาพเหมาะสมกับการความต้องการเฉพาะตามข้อกำหนดในมาตรฐานเดียวกัน

สำหรับ มาตรฐานสินค้าเกษตร มีหลากหลายแบบครับ ไม่ว่าจะเป็น GAP, GLOBAL G.A.P, ORGANIC EU, GMP, HACCP, BRC, EL, CM ผู้อ่านคงเริ่มมีคำถาม เกี่ยวกับชื่อย่อ มาตรฐานต่างๆ ที่กล่าวไปเหล่านี้และทำไมถึงต้องทำ ซึ่งในบทความนี้ผมจะมาเล่าให้ผู้สนใจทำธุรกิจส่งออกผักผลไม้สดได้เข้าใจกัน

กลุ่มมาตรฐาน แหล่งผลิตพืช

GAP (GOOD AGRICULTURAL PRACTICES)

คือมาตรฐานสำหรับการส่งออกผักผลไม้สดซึ่งจำเป็นจะต้องขอการรับรอง GAP พืชอาหาร ของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งเป็นมาตรฐานบังคับสำหรับการส่งออกในบางประเทศ โดยเฉพาะประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป ข้อกำหนดมาตรฐานจะเกี่ยวข้องกับคุณภาพ ความปลอดภัยสินค้า การสอบกลับ สุขอนามัยในแปลง การจดบันทึกเป็นต้น ซึ่งผู้ต้องการใบรับรอง สามารถติดต่อได้ที่ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร ในแต่ละท้องที่ ค้นหาข้อมูลติดต่อสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร ได้ที่เว็บไซต์ของกรมวิชาการเกษตร //www.doa.go.th/th/

 

 

GLOBAL G.A.P.

มาตรฐานของกลุ่มห้างค้าปลีกที่เป็นสมาชิกของ GLOBAL G.A.P. สามารถดูรายชื่อ ห้างค้าปลีกที่เป็นสมาชิกและที่ปรึกษาที่ได้รับการรับรองมาตรฐานประจำประเทศไทย ได้ใน  www.globalgap.org  มาตรฐานนี้ไม่ใช่มาตรฐานบังคับ เป็นความสมัครใจระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย จะตกลงกัน GLOBAL G.A.P. เป็นมาตรฐานการรับรองแหล่งผลิตพืชอาหาร ที่เป็นที่ยอมรับระดับโลก มีข้อกำหนด คล้ายกับ GAP ของกรมวิชาการเกษตร เนื่องจาก GAP ของกรมวิชาการเกษตร ได้นำข้อกำหนดใน GLOBAL G.A.P. มาใช้ แต่ GLOBAL G.A.P. จะมีรายละเอียดที่ต้องปฏิบัติมากกว่า ซึ่งไม่เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ไม่ถนัดการจัดทำระบบเอกสาร มาตรฐานนี้สามารถขอการรับรองได้จากหน่วยงานเอกชน ที่เรียกว่าหน่วยตรวจรับรอง ซึ่งสามารถดูรายชื่อ หน่วยตรวจรับรองที่ได้รับอนุญาตได้ใน เว็บไซต์ GLOBAL G.A.P. เช่นเดียวกัน

 

 

ORGANIC

มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เป็นมาตรฐานรับรองแหล่งผลิตพืชที่ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมี นอกจากไม่ใช้สารเคมีแล้ว เมล็ดพันธุ์ต้องไม่มีการคลุกสารเคมี หรือมาจากกระบวนการปลูกที่ใช้สารเคมี และมีระยะปรับเปลี่ยนจากการปลูกแบบใช้สารเคมีมาเป็นเกษตรอินทรีย์ เพื่อให้สารเคมีในแปลงปลูกสลายตัวไปในระดับที่ปลอดภัย จึงจะได้รับการรับรอง ซึ่งผู้ปลูกต้องเลือกขอการรับรองตามตลาดที่สนใจ เช่น ตลาดในประเทศสามารถขอมาตรฐาน ORGANIC THAILAND ก็เพียงพอ หากต้องการส่งตลาด EU ต้องขอเป็นรับรองมาตรฐาน ORGANIC EU ซึ่งสามารถขอรับบริการฝึกอบรมและตรวจรับรองได้จากหน่วยงานเอกชน เช่น บริษัท ECOCERT บริษัท BIOAGRICERT ซึ่งหากต้องการส่งสินค้า ORGANIC ไปต่างประเทศ โรงคัดบรรจุต้องขอการตรวจรับรองมาตรฐานด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าในกระบวนการคัดบรรจุจะไม่มีการปะปนกันระหว่างพืชที่ได้รับรองและไม่ได้รับการรับรอง รวมถึงในกระบวนการคัดบรรจุ พืช ORGANIC ต้องไม่สัมผัสสารเคมีที่ไม่อนุญาตให้ใช้

 

 

ไม่ว่าผู้ปลูกจะส่งสินค้าไปยังประเทศไหน ควรต้องขอการรับรองมาตรฐาน GAP ของกรมวิชาการเกษตร ก่อนเป็นพื้นฐาน เนื่องจากทำง่ายและเป็นมาตรฐานบังคับในการส่งออกตามกฎระเบียบของ กรมวิชาการเกษตร ในหลายกลุ่มประเทศ หลังจากนั้นจึงพิจารณาขอการรับรองตามลักษณะการปลูก หรือความต้องการของลูกค้าปลายทาง ในตอนต่อไป ผมจะมาพูดถึงมาตรฐานสำคัญที่โรงคัดบรรจุเพื่อการส่งออกต้องมีครับ

 

คุณดนุพล แสงไชย เป็นที่ปรึกษาวางระบบคุณภาพสำหรับธุรกิจส่งออกผักผลไม้สด ทั้งในฟาร์มและโรงคัดบรรจุ เช่น ระบบ GAP, GLOBAL G.A.P, ORGANIC EU, GMP, HACCP, BRC, EL, CM มีลูกค้าใช้บริการงานที่ปรึกษาวางระบบคุณภาพ ทั้งสวนและโรงคัดบรรจุ จนถึงปัจจุบัน 13 บริษัท ซึ่งมีทั้งบริษัทที่เพิ่งเริ่มทำธุรกิจ จนถึงบริษัทที่ทำธุรกิจส่งออกมาแล้วมากกว่า 10 ปี ปัจจุบันจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกผักผลไม้สดใน ตรา คิววีเอฟ จำหน่ายสินค้าไปยังประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และเป็นที่ปรึกษามาตรฐาน GLOBAL G.A.P. รายแรกของประเทศ E-mail : [email protected]

มาตรฐานสินค้าเกษตรมี 2 มาตรฐาน อะไรบ้าง

มาตรฐานสินค้าเกษตร ที่กําหนดขึ้นภายใต้พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ.2551 แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ มาตรฐานบังคับ และ มาตรฐานทั่วไป

สินค้าเกษตรมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

เกษตรกรรมแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ 1.กสิกรรม หมายถึง การเพาะปลูกพืช เช่น การทำนา การทำสวนผลไม้ การทำไร่ การปลูกพืชไม่ใช้ดิน เป็นต้น 2.ปศุสัตว์ หมายถึง การประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์บนบก เช่น การทำฟาร์มปศุสัตว์ การทำฟาร์มโคนม การทำฟาร์มหมู การทำฟาร์มสัตว์ปีก การทำฟาร์มแกะ เป็นต้น

มาตรฐาน GAP มีกี่ประเภท

มาตรฐาน GAP เป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมการผลิตสินค้าเกษตรอย่างครบวงจร ตั้งแต่ ปัจจัยการผลิต การผลิต การเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การบรรจุหีบห่อ และการขนส่งการผลิต สาหรับการผลิต สินค้าเกษตร 3 ประเภท ได้แก่ 1. พืชผล เช่น ผัก ผลไม้ชา กาแฟ ฝูาย ฯลฯ 2. ปศุสัตว์เช่น วัวควาย แกะ หมูไก่ ฯลฯ

มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มีอะไรบ้าง

มาตรฐานของเกษตรอินทรีย์.
ระบบนิเวศการเกษตร ... .
การปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ ... .
การผลิตพืช ... .
การจัดการดิน และธาตุอาหาร ... .
การป้องกันกำจัดศัตรูพืช ... .
การป้องกันมลพิษ การปนเปื้อน และการปะปน.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita