การวางแผน การเงิน มี กี่ ขั้น ตอน

ก่อนอื่นใครที่เข้ามาอ่านคอนเทนต์นี้ พี่ทุยขอแสดงความยินดีกับความสำเร็จทางการเงินกันก่อนล่วงหน้าเลย เพราะการเริ่มต้น “วางแผนการเงิน” นี่แหละ คือก้าวแรกของความสำเร็จทางด้านการเงินอย่างแท้จริง

เริ่มต้น วางแผนการเงิน จากการทำบัญชีรายรับรายจ่าย

สิ่งแรกที่พี่ทุยแนะนำเลยก็คือ ให้เริ่มต้นจากการทำบัญชีรายรับรายจ่าย (แวะเข้าไปดูแอปพลิเคชันสำหรับการทำบัญชีรายรับรายจ่ายได้ ที่นี่) เพื่อทำให้เราเหลือเงินออม และนำเงินออมไปทำให้เงินงอกเงยอีกทีหนึ่ง ซึ่งสมการเงินออมที่พี่ทุยแนะนำเสมอก็คือ

รายได้ – เงินออม = ค่าใช้จ่าย

หลักการก็คือ เมื่อมีรายได้เข้ามาแล้วให้รีบหักนำมาออมกันก่อน อย่าใช้ก่อนแล้วค่อยออมเงินทีหลัง เพราะสุดท้ายจากที่พี่ทุยเห็น หลาย ๆ คน ก็ไม่เคยเหลือเงินออมเลยเมื่อถึงสิ้นเดือน และหลังจากที่เราเริ่มมีเงินออม พี่ทุยว่าหลาย ๆ คนคงมีอาการเหมือนกัน นั่นก็คือ

  • อยากจะเริ่มลงทุน
  • อยากจะซื้อ SSF RMF เพื่อลดหย่อนภาษี
  • อยากจะได้เงินปันผลเยอะ ๆ

แต่ในความเป็นจริงแล้ว พี่ทุยอยากที่จะให้ลืมความคิดเหล่านี้ไปก่อน เพราะการวางแผนการเงินแบบพื้นฐาน เราควรเริ่มต้นที่สามเหลี่ยมการเงินหรือพีระมิดทางการเงิน (Financial Pyramid) ก่อนเสมอ

รูปร่างหน้าตาของสามเหลี่ยมการเงิน

ตามหลักการที่ถูกต้องแล้ว เราจะวางแผนการเงินจากด้านล่างขึ้นข้างบนเสมอ โดยเริ่มจากฐานด้านล่างของสามเหลี่ยมทางการเงินที่ใช้สำหรับวางแผนการเงินกันก่อน

1. ความต้องการพื้นฐาน และการบริหารความเสี่ยง

เริ่มต้นที่ความต้องการพื้นฐาน (Basic Needs) และการบริหารความเสี่ยง โดยในส่วนนี้จะเริ่มที่เงินสำรองฉุกเฉิน (Emergency Cash) 3-6 เดือน ก่อนเสมอ โดยเงินส่วนนี้ คือ เงินที่เก็บไว้ให้พอเพียงกับค่าใช้จ่ายเป็นเวลา 3-6 เดือน

เงินสำรองฉุกเฉินก้อนนี้ มีเพื่อไว้ทำอะไรบ้าง ?

พี่ทุยคิดว่าหลาย ๆ คนน่าจะตอบว่าเป็นเงินเผื่อไว้ตอนที่เราประสบอุบัติเหตุ หรือปัญหาเรื่องสุขภาพที่ต้องใช้เงินเยอะ ๆ ซึ่งพี่ทุยอยากจะบอกว่าเกือบถูกต้องแล้ว แต่ในความเป็นจริงเงินก้อนนี้เอาไว้ใช้เผื่อในกรณีที่รายได้เราหยุดลง ไม่ว่าจะเป็นการโดนไล่ออกจากงาน ตกงาน ยอดขายไม่ดี อะไรก็ตามแต่ที่ทำให้รายรับเราไม่เหมือนเดิม ซึ่งในเวลานั้นอย่าลืมว่ารายจ่ายของเราไม่เคยหยุดตามรายได้ที่ปรับตัวลดลงเลย

สำหรับการ วางแผนการเงิน เราควรจะเตรียมเงินเผื่อไว้ใช้ 3 เดือน หรือ 6 เดือนดีกว่ากัน ?

ส่วนตัวพี่ทุยมองว่าขึ้นอยู่กับ “แหล่งรายได้” ของเรา ถ้าเรามีอาชีพที่สามารถหางานใหม่ได้รวดเร็ว ก็อาจจะเตรียมเผื่อไว้เพียงแค่ 3 เดือนก็พอแล้ว แต่ถ้าเราทำงานที่ขยับตัวได้ยาก ไม่ค่อยมีความแน่นอน เช่น ดารา-นักแสดง นายแบบ-นางแบบ ควรสำรองไว้เกิน 6 เดือนด้วยซ้ำ เพราะมักไม่มีความแน่นอน ถ้าหากงานไม่เข้าหรือเจอข่าวด้านลบ อยู่ดี ๆ อาจจะทำให้รายได้หายไปเป็นปี ๆ เลยก็เป็นไปได้เหมือนกัน

หรือถ้าใครมีแหล่งรายได้ทางเดียว เช่น มนุษย์เงินเดือน และไม่มีรายได้ทางอื่นเลย ก็ควรมีอย่างน้อย ๆ 6 เดือน ซึ่งแน่นอนว่าการมีเหลือไว้ย่อมดีกว่าขาดแน่นอน

หลังจากที่เราเตรียมเงินสำรองฉุกเฉินเรียบร้อยแล้ว เราจะมาดูที่การทำประกันให้เพียงพอ (Sufficient Insurance) ซึ่งตรงนี้จะเป็นเบาะคอยรองรับเราเมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือประสบปัญหาทางสุขภาพ ซึ่งสิ่งที่พี่ทุยเน้นมากเลยก็คือ การที่มีประกันอุบัติเหตุและประกันสุขภาพอย่างเพียงพอ พี่ทุยขอเน้นย้ำคำว่าเพียงพอ

การทำประกันให้เพียงพอ (Sufficient Insurance) ควรมีเท่าไหร่ ?

พี่ทุยไม่สามารถบอกได้ว่า เราควรต้องมีเท่าไหร่ เพราะแต่ละคนมีความต้องการไม่เท่ากัน และโรงพยาบาลแต่ละแห่งก็มีค่ารักษาพยาบาลไม่เท่ากัน ดังนั้นทางที่ดีก็คือ เรากลับไปตรวจสอบว่าโรงพยาบาลที่เราเข้าใช้บริการบ่อย ๆ หรือว่าในกรณีที่ฉุกเฉินแล้วต้องเข้าโรงพยาบาลจะเป็นที่ไหน ก็ลองไปสอบถามพวกค่ารักษาพยาบาลต่าง ๆ และนำมาซื้อประกันให้ครอบคลุมค่ารักษาไว้ก่อนดีที่สุด

ค่ารักษาพยาบาลในระดับ 2,000-3,000 บาท อาจจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เพราะยังไงก็น่าจะสามารถนำมาจ่ายได้อย่างไม่มีปัญหาอยู่แล้ว แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่านั้น คือ ค่ารักษาพยาบาลในระดับหลักแสนถึงหลักล้านบาท ว่าเราสามารถเบิกประกันได้หรือไม่ มีเพียงพอหรือเปล่า นี่คือสิ่งที่สำคัญมากที่สุด

ประกันยังคงเป็นผลิตภัณฑ์เพียงอย่างเดียวในตลาดที่สามารถใช้บริหารความเสี่ยงได้ ก่อนที่เราจะลงทุนกันอย่างเป็นจริงเป็นจัง เราควรเริ่มจากสิ่งเหล่าที่เรียกว่า ความต้องการพื้นฐาน (Basic Needs) เพราะถ้าหากยังไม่ได้เตรียมพร้อมด้านความมั่นคงทางการเงิน ในระยะยาวจะเกิดปัญหาอย่างแน่นอน พี่ทุยอยากให้ลองนึกภาพว่า เหมือนกับตอนที่เราสร้างบ้าน ถ้าหากลงเสาเข็ม เทพื้นไม่ดี ต่อให้สร้างสูงหรือสวยแค่ไหน สักวันก็น่าจะต้องพังลงมาอยู่ดีนั่นเอง

2. การออมเงิน หรือการเก็บสะสมความมั่งคั่ง (Accumulation)

หลังจากที่พี่ทุยแนะนำให้จัดการเรื่องความต้องการพื้นฐานเรียบร้อยแล้ว ก็มาดูเรื่องการออมเงินหรือการเก็บสะสมความมั่งคั่ง (Accumulation) โดยเป็นการวางแผนเก็บออมเงินเพื่อจุดประสงค์บางอย่าง เช่น การวางแผนเกษียณ (Retirement Planning) ซึ่งหลาย ๆ คนมักชอบมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็น

สำหรับใครที่มองว่าการวางแผนเกษียณ (Retirement Planning) เป็นเรื่องที่ไม่จำเป็น อาจจะต้องคิดใหม่ เพราะเมื่อเราต้องการเกษียณอายุ พี่ทุยเชื่อว่าคนส่วนใหญ่มักจะไม่รู้เลยว่าต้องใช้เงินเป็นจำนวนเท่าไหร่ และสิ่งที่เตรียมเอาไว้เพียงพอต่อการใช้หรือไม่

การวางแผนเกษียณอายุเป็นการวางแผนระยะยาว จึงควรวางเงินลงทุนแบบระยะยาวเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น RMF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) และกองทุนรวมตราสารทุน (หุ้น) ซึ่งการออมเงินนั้นควรออมเงินเดือนละเท่าไหร่เพื่อให้เพียงพอกับเป้าหมาย ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนเลยว่า

  • ต้องการเกษียณอายุเท่าไหร่ — ถ้าเกษียณเร็ว ก็ต้องออมเยอะ
  • ค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณ เดือนละเท่าไหร่ — ถ้ายิ่งเยอะ ก็ต้องยิ่งออมเยอะ
  • ความสามารถในการลงทุน — ถ้ามีมาก ก็ออมน้อย
  • อายุปัจจุบัน — ถ้าอายุยิ่งสูง ก็อาจจะต้องยิ่งเหนื่อย ต้องออมเยอะ (ดังนั้น การเริ่มต้นวางแผนเร็วกว่ามักจะได้เปรียบมากกว่า)

และอีกแผนการเงินหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันสำหรับคนที่มีครอบครัวและมีลูกน้อยอยู่ นั่นก็คือ การวางแผนเพื่อการศึกษาบุตร (Education Planning) ซึ่งเป็นการคำนวณว่า หากลูกเราเกิดมา ก็จะต้องมีการวางแผนว่าจะต้องใช้เงินเป็นจำนวนเท่าไหร่ เพื่อให้ลูกสามารถเรียนจบปริญญาตรีหรือโทได้เป็นอย่างน้อย

แต่นอกจาก 2 แผนการเงินนี้ จริง ๆ แล้ว ยังมีแผนการเงินอื่น ๆ อีกพอสมควร เช่น การวางแผนเพื่อซื้อคอนโดในอีก 5 ปี ก็เป็นการวางแผนการเงินได้เช่นกัน

โดยการวางแผนเพื่อซื้อคอนโดนี้ ก็เป็นการที่เราจะต้องคิดว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า เราจะต้องใช้เงินดาวน์เท่าไหร่ เพื่อจะได้รู้ว่าเราต้องออมเงินเดือนละเท่าไหร่ และนำไปลงทุนที่ไหนบ้าง ฯลฯ อย่างกรณีการวางแผนซื้อคอนโดนี้เป็นการลงทุนระยะกลาง

หรือถ้าอยากลงทุนระยะยาว ก็ควรวางเงินใน SSF หุ้นกู้เอกชน กองทุนรวมต่าง ๆ ก็เหมาะสมอยู่เหมือนกัน แต่ต้องมาดูด้วยว่าเรารับความเสี่ยงได้ขนาดไหนอีกครั้งหนึ่ง

หรือจะเป็นการวางแผนเพื่อการเที่ยวรอบโลก ก็เป็นแผนการเงินได้เหมือนกัน แต่อย่าลืมจัดความสำคัญของเป้าหมายก่อน เพราะโดยธรรมชาติของมนุษย์แล้วความต้องการของเรามักจะเยอะ แต่ที่แน่ ๆ เลย คือ เราไม่สามารถทำทุกเป้าหมายได้พร้อมกัน ยกเว้นว่าเราจะมีรายได้ที่มากพอ

ดังนั้น พี่ทุยก็จะแนะนำว่าให้เริ่มจัดการเป้าหมายที่จำเป็นก่อน เช่น วางแผนการเงินเพื่อการเกษียณอายุหรือวางแผนการศึกษาบุตร แล้วค่อยจัดการเรื่องเป้าหมายที่ไม่จำเป็นรอง ๆ ลงมาที่เพียงเพื่อตอบสนองความต้องการอื่น ๆ ในชีวิตเพิ่มเติม

จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าไม่จัดการเรื่องความต้องการพื้นฐาน และ การออมเงิน (สะสมความมั่งคั่ง) ก่อน ?

สมมติว่าวันนี้เราเก็บเงินเพื่อการศึกษาของลูกเรา อยู่ดี ๆ เกิดโชคร้ายประสบอุบัติเหตุ หรือ ตรวจพบเนื้อร้าย (มะเร็ง) จนทำให้เราจะต้องนำเงินที่ตั้งใจว่าจะเอาไปจ่ายค่าเทอมของลูก ไปจ่ายให้กับหมอและไม่มีเงินนำไปจ่ายค่าเทอม แน่นอนว่าพอเจอปัญหาแบบนี้ไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ดีแน่นอน การป้องกันเอาไว้ก่อนจึงน่าจะเป็นสิ่งที่ดีกว่า

เมื่อมีเหตุการณ์ที่เราไม่อยากจะให้มันเกิดขึ้น แต่เรามีการวางแผนจัดการเรื่องความต้องการพื้นฐานเรียบร้อย ชีวิตของคนในครอบครัวทุกคนยังสามารถใช้ได้อย่างปกติสุขดี นี่คือสิ่งที่สำคัญของการวางแผนการเงิน ซึ่งยิ่งเริ่มต้นวางแผนเร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งดีมากขึ้นเท่านั้น เพราะจะทำให้เราเหนื่อยน้อยลงนั่นเอง

การปลูกต้นไม้ที่ดีที่สุด คือ เมื่อ 20 ปีที่แล้ว และเวลาที่ดีรองลงมา คือ วันนี้

3. การลงทุน (Investment)

หลังจากที่เราจัดการเป้าหมายทางการเงินที่สำคัญเรียบร้อยแล้ว พี่ทุยว่าก็ถึงเวลาที่หลายคนถนัด เพราะนี่คือสิ่งที่หลายคนคิดว่าจะต้องทำเป็นอันดับแรก นั่นก็คือ การลงทุน (Investment) ซึ่งการลงทุนนี้เป้นการลงทุนที่สามารถลงทุนได้ตามใจชอบได้เลย เอาในสิ่งที่ตนเองถนัด ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนหุ้น (อ่านซีรีส์การเงิน ลงทุนหุ้นเป็นใน 30 วัน ได้เลยที่นี่) ทำธุรกิจส่วนตัว ลงทุนอสังหาริมทรัพย์

เพราะเงินก้อนนี้สามารถรับความเสี่ยงได้และเป้าหมายของเงินก้อนนี้ คือ การทำให้ความมั่งคั่งหรือเงินของเราเพิ่มขึ้น

ข้อดีที่สุดที่พี่ทุยชอบการวางแผนการเงินในลักษณะนี้ คือ ต่อให้เงินลงทุนทั้งก้อนนี้หายไปทั้งหมด ไม่ว่าจะเจอวิกฤตทางการเงินหรือว่าลงทุนผิดพลาดไป เราก็ยังสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนเดิม เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เจ็บป่วยมีเงินรักษา ตกงานก็ยังมีเงินใช้ สามารถปรับตัวได้สบาย ๆ ลูกของเรายังได้เรียนเหมือนอย่างที่เราตั้งใจไว้ และตอนเราแก่ตัวไปก็ยังมีเงินใช้ ไม่เดือดร้อนใคร

แต่สิ่งที่น่าเศร้าที่สุด คือ คนส่วนใหญ่ในปัจจุบันยังคง วางแผนการเงิน แบบนี้อยู่

การวางแผนการเงินที่ผิดพลาดแบบนี้ คือ การที่เอาเรื่องการลงทุนมานำทุกอย่าง โดยไม่มีการวางแผนการเงินที่ถูกต้อง ผลที่ตามมา ก็คือ เมื่อการลงทุนเกิดความผิดพลาด สิ่งที่เราตั้งใจเอาไว้ทุกอย่างก็จะหายไปกับตา

ด้วยการวางแผนการเงินในลักษณะนี้ (หรืออาจจะไม่ได้ตั้งใจวางแผนการเงินที่ถูกต้อง) ทำให้ในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 2540 เกิดอัตราการฆ่าตัวตายที่สูง เพราะเงินทุกบาททุกสตางค์หมดไปกับการลงทุนทั้งในธุรกิจและตลาดหุ้น พอการลงทุนไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ทุกอย่างก็พังตามไปด้วย

สำหรับใครที่ไปกู้เงินจากต่างประเทศในช่วงนั้น อยู่ดี ๆ หนี้สินก็เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า เพราะค่าเงินบาทปรับตัวจาก 25 บาทเท่ากับ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ กลายเป็น 56 บาทเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในชั่วข้ามคืน

อ่านกันมาถึงตรงนี้แล้ว ทุกคนน่าจะเห็นภาพกันแล้วว่าทำไมการวางแผนการเงินถึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ การเตรียมตัวที่ดีจะช่วยลดความเสี่ยงในชีวิตได้ อย่าปล่อยให้เราต้องมาบ่นกับตัวเองว่า รู้งี้น่าจะทำแบบนั้นแบบนี้ พอถึงตอนนั้นก็น่าจะสายเกินไปแล้ว

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita