ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีกี่อย่าง อะไรบ้าง

วิทยาศาสตร์คือการศึกษาสิ่งที่เกิดขึ้นในธรรมชาติรอบ ๆ ตัวเรา โดยมีการศึกษาและอธิบายอย่างเป็นกระบวนการ นอกจาก กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ที่เป็นกระบวนการในการค้นหาคำตอบของสมมติฐานต่าง ๆ ในการศึกษาวิทยาศาสตร์ยังมี ‘ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์’ ซึ่งเป็นทักษะที่จะทำให้นักวิทยาศาสตร์หาคำตอบเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย ว่าแต่ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์คืออะไร ประกอบด้วยทักษะอะไรบ้าง ถ้าเพื่อน ๆ อยากรู้ต้องตามไปดูในบทความนี้ (หรือจะดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน StartDee แล้วไปเรียนกับครูเจินก็ได้นะ)

 

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 14 ทักษะ 

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ทักษะและความสามารถต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการแสวงหาความรู้ หรือการแก้ไขปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นทักษะการสังเกต ทักษะการคำนวณ หรือทักษะการจำแนกประเภท เป็นต้น

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีความแตกต่างจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตรงที่ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นั้นเป็นวิธีการทำงาน และหลักการค้นหาคำตอบหรือข้อสรุปของสมมติฐาน ส่วนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จะเป็นทักษะที่ช่วยให้การดำเนินงาน หรือการทดลองทางวิทยาศาสตร์เป็นไปอย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ถูกพัฒนาขึ้นโดย American association for the advancement of science (AAAS) ตามหลักสูตร Science - A Process Approach (SAPA) ประกอบด้วยทักษะทั้งหมด 14 ทักษะแบ่งเป็นทักษะพื้นฐาน 8 ทักษะและทักษะขั้นสูงอีก 6 ทักษะ

 

ทักษะทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน 8 ทักษะ (Basic science process skills)

ทักษะทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เป็นทักษะขั้นต้นที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ หรือต่อยอดไปสู่ทักษะขั้นสูงได้ในอนาคต ประกอบด้วย 8 ทักษะ ได้แก่ 

  1. การสังเกต คือการใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ เพื่อสังเกตความเป็นไป สังเกตรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ รอบตัวโดยไม่ใส่ความเห็นส่วนตัวลงไป เช่น สังเกตว่าอาหารที่ทิ้งไว้นานจะมีราขึ้น หรือสังเกตว่าในวันเสาร์อาทิตย์จะมีผู้มาใช้บริการสวนสาธารณะมากกว่าวันธรรมดา การสังเกตรายละเอียดเหล่านี้จะทำให้ผู้เรียนสามารถตั้งคำถามและหาข้อมูลจากสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ดียิ่งขึ้น

  2. การวัด คือการเลือกใช้เครื่องมือในการวัดปริมาณต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการวัดปริมาณของสิ่งต่าง ๆ จากเครื่องมือที่เลือกใช้ออกมาเป็นตัวเลข และระบุหน่วยของการวัดได้อย่างถูกต้อง เพราะในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ต้องมีการวัดค่าต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูลเยอะมาก ยกตัวอย่างเช่น การวัดความสูงของต้นไม้ที่เพิ่มขึ้นระหว่างการทดลอง การวัดปริมาตรสารที่ต้องใช้ในการทดลอง
     
  3. การจำแนกประเภท คือความสามารถในการแบ่งกลุ่มสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นหมวดหมู่โดยใช้เกณฑ์หรือคุณสมบัติบางอย่างที่เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น การแบ่งกลุ่มพืชในสวนเป็น 2 กลุ่มคือพืชใบเลี้ยงเดี่ยว และพืชใบเลี้ยงคู่ การจำแนกประเภทและการแบ่งกลุ่มสิ่งต่าง ๆ จะทำให้การศึกษาและการวางแผนการทดลองเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

  4. การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับสเปซ* และสเปซกับเวลา คือการเปรียบเทียบหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติของวัตถุต่าง ๆ หรือเชื่อมโยงมิติของวัตถุนั้น ๆ เข้ากับช่วงเวลา ยกตัวอย่างการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับสเปซ เช่น เมื่อขับรถไปต่างจังหวัดโดยใช้แผนที่ เราสามารถรู้ได้ว่ารถของเราอยู่ตรงจุดไหนเมื่อเทียบกับแผนที่ ส่วนตัวอย่างของการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับเวลา เช่น การหาความสัมพันธ์ของตำแหน่งรถที่เปลี่ยนไปเมื่อรถแล่นไปบนถนนเป็นระยะเวลา 1 ชั่วโมงเป็นต้น
    *สเปซ (Space) หมายถึงพื้นที่ที่วัตถุนั้น ๆ ตั้งอยู่หรือดำรงอยู่ ซึ่งจะมีรูปร่างและลักษณะเหมือนกับวัตถุนั้น ๆ อาจมี 1 - 3 มิติ ประกอบด้วยความยาว ความกว้าง และความสูงของวัตถุ ยกตัวอย่างเช่น สเปซของแผ่นกระดาษ A4 ที่วางอยู่บนโต๊ะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 2 มิติ (กว้าง x ยาว) ขนาดเท่ากระดาษ A4 เป็นต้น

  5. การใช้จำนวน คือการนำตัวเลขที่ได้จากการสังเกต การวัด หรือจากผลการทดลองมาจัดทำผ่านกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการบวก ลบ คูณ หาร หรือการใช้สูตรคำนวณต่าง ๆ เพื่อให้เกิดค่าใหม่ ยกตัวอย่างเช่น การคำนวณอัตราเร็วของรถยนต์จากระยะทางและเวลา โดยใช้สูตร


  6. การจัดกระทําและสื่อความหมายข้อมูล คือการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การวัด หรือการทดลองมาจัดกระทำผ่านวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ได้ชุดข้อมูลใหม่ แล้วจึงนำเสนอข้อมูลนั้น ๆ เช่น การนำเสนอข้อมูลผ่านกราฟ แผนภูมิ รูปภาพ หรือ Infographic ต่าง ๆ

  7. การลงความเห็นจากข้อมูล คือการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือการทดลอง ไปเชื่อมโยงกับความรู้หรือประสบการณ์ที่มีอยู่ เพื่อให้ได้ข้อสรุปหรือคำอธิบายสำหรับสิ่งต่าง ๆ เช่น สังเกตว่าต้นไม้ที่ไม่ได้รับแสงแดดนาน ๆ จะมีใบสีเหลือง เมื่อเชื่อมโยงกับความรู้ที่มีอยู่ว่าพืชต้องใช้แสงในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ก็ทำให้ได้ข้อสรุปว่าแสงเป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของพืชนั่นเอง
     
  8. การพยากรณ์ คือการคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นโดยอาศัยความรู้และประสบการณ์ การสังเกต การทำซ้ำผ่านกระบวนการและความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เช่นจากประสบการณ์ที่ผ่านมาเรารู้ว่า เมื่ออากาศร้อนอบอ้าวและท้องฟ้าเต็มไปด้วยเมฆฝนคิวมูโลนิมบัส เราก็สามารถรู้ล่วงหน้าได้ทันทีว่าอีกไม่นานฝนจะตก 

 

Photo by Science in HD on Unsplash

 

 

ทักษะขั้นสูง 6 ทักษะ (Integrated science process skills)

ทักษะทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง เป็นทักษะที่ต้องอาศัยประสบการณ์และองค์ความรู้ที่ซับซ้อนมากขึ้น สังเกตว่าทักษะทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงหลายข้อ มีความคล้ายคลึงกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อยู่มาก ทักษะทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงประกอบด้วย 6 ทักษะ ดังนี้

  1. การตั้งสมมติฐาน คือการคิดคำตอบล่วงหน้าเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของตัวแปร 
  2. การกําหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ คือการกำหนดความหมายและขอบเขตของคำที่จะใช้ในการทดลอง เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน และสามารถสังเกตหรือวัดได้
  3. การกำหนดและควบคุมตัวแปร คือการบ่งชี้และกำหนดลักษณะของตัวแปรในการทดลอง
    1. ตัวแปรต้น คือตัวแปรที่กำหนดขึ้นเพื่อทดสอบสมมติฐาน
    2. ตัวแปรตาม คือตัวแปรที่เปลี่ยนไปตามตัวแปรต้น เป็นตัวแปรที่เราสังเกต เก็บค่า จดบันทึกผล
    3. ตัวแปรควบคุม คือตัวแปรที่ต้องควบคุมให้คงที่ในทุกชุดการทดลอง เพราะสามารถส่งผลทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อนได้
  4. การทดลอง คือกระบวนการปฏิบัติและทำซ้ำในขั้นตอน เพื่อหาคำตอบจากสมมติฐาน แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนหลักได้แก่การออกแบบการทดลอง การปฏิบัติการทดลอง และการบันทึกผลการทดลอง
  5. การตีความหมายและลงข้อสรุป คือการแปลความหมายและการอธิบายผลข้อมูลที่เราเก็บได้จากการทดลอง ในบางครั้งอาจต้องใช้ทักษะอื่น เช่น การสังเกตและการคำนวณร่วมด้วย
  6. การสร้างแบบจำลอง คือการสร้างและใช้สิ่งที่สร้างขึ้นมา เพื่อเลียนแบบจำลองสถานการณ์และอธิบายปรากฏการณ์ที่เราศึกษาหรือสนใจ เพื่อนำเสนอและรวบยอดความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย เช่น การสร้างกราฟแผนภาพ ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น 

จะเห็นได้ว่าทักษะทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่จะทำให้เราศึกษาและหาคำตอบของประเด็นที่สนใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานหลายข้อ ยังเป็นทักษะที่เราใช้บ่อย ๆ ในชีวิตประจำวันด้วย เช่น ทักษะการวัด การใช้จำนวน หรือ การจำแนกประเภท และถ้าเพื่อน ๆ สนใจอยากเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมก็สามารถไปอ่าน บทความนี้ ต่อได้เลย หรือจะดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Startdee แล้วไปสนุกกับบทเรียนวิทยาศาสตร์ในรูปแอนิเมชันก็ได้เช่นกัน 

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 13 ทักษะ มีอะไรบ้าง

ทักษะวิทยาศาสตร์ 13 ทักษะ.
ทักษะการสังเกต.
ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล.
ทักษะการจำแนกประเภท.
ทักษะการวัด.
ทักษะการใช้ตัวเลข.
ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล.
ทักษะการพยากรณ์.
ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา.

ข้อใดคือทักษะขั้นพื้นฐานของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์.
ทักษะการสังเกต เป็นความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างหนึ่งอย่างใด หรือหลายอย่างไปสัมผัสกับเหตุการณ์หรือวัตถุเพื่อให้ได้รายละเอียดต่างๆ ให้มากที่สุด.
ทักษะการวัดเป็นความสามารถในการหาค่าที่แน่นอน โดยเลือกและใช้ข้อมูลได้อย่างถูกต้องเหมาะสม.

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีกี่ทักษะ ป.5

นักวิทยาศาสตร์แบ่งทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ออกเป็น 2 ขั้น คือ ทักษะขั้นพื้นฐาน 8 ทักษะ และทักษะขั้นสูงหรือขั้นผสม 6 ทักษะ ดังนี้ นักเรียนระดับชั้น .5 จะใช้ทักษะขั้นพื้นฐาน 8 ทักษะ ส่วนทักษะขั้นสูงหรือ ขั้นผสมอีก 6 ทักษะ จะใช้ในระดับที่สูงขึ้นไป

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีกี่ทักษะ ป.3

มี8 ทักษะ 1. ทักษะการตั้งสมมติฐาน 2. ทักษะการกําหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ 3. ทักษะการกําหนดและควบคุมตัวแปร 4. ทักษะการทดลอง 5. ทักษะการตีความหมายขอมูล และลงขอสรุป 6. ทักษะการสรางแบบจําลอง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita