ฮาร์ดดิสก์แบบ sata สามารถต่อได้กี่ตัวต่อ 1 เมนบอร์ด

SATA คืออะไร
ซาต้า คือระบบการรับส่งข้อมูลแบบอนุกรม ซึ่งเร็ว และมีประสิทธิภาพมากกว่าแบบเดิม

SATA คืออะไร
           SATA ย่อมาจาก Serial Advanced Technology Attachment คือระบบการรับส่งข้อมูลแบบอนุกรม โดยจะส่งข้อมูลทีละบิตเรียงกัน ทำให้ SATA สามารถรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่า และมีประสิทธิภาพมากกว่าเทคโนโลยีแบบขนาน (IDE) ความเร็วที่เพิ่มขึ้นของ SATA นี้ยังช่วยให้การเรียกใช้โปรแกรมและข้อมูลต่าง ๆ ทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย โดยตามท้องตลาดมี Hard disk อยู่สองรูปแบบ คือ รุ่นใหม่เรียกว่า Serial ATA หรือ SATA และอีกแบบคือ แบบ IDE ซึ่งทั้งสองแบบใช้สายสัญญาณและสายไฟในการเชื่อมต่อที่แตกต่างกัน การเลือกใช้งานต้องตรวจสอบว่า เมนบอร์ดรองรับการทำงานกับฮาร์ดิสค์แบบใดด้วย
            ฮาร์ดดิสก์ SATA จะมีคุณสมบัติพิเศษอยู่ 2 อย่างนั้นคือ
            -Native Command Queuing (NCQ) เป็นการเข้าถึงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์แบบใหม่ทั้งในการอ่านและเขียน
            -Hot Plugging Hard Drives เป็นการช่วยในการเพิ่มหรือเอาออกของฮาร์ดดิสก์โดยที่ไม่ต้องรีสตาร์ต

Windows
            สำหรับสายของฮาร์ดดิสค์แบบ SATA นั้นจะเป็นสายเส้นเดียวที่ด้านหนึ่งจะเชื่อมต่อเข้ากับตัวเมนบอร์ด และปลายอีกด้านหนึ่งจะเชื่อมต่อเข้าที่ตัวฮาร์ดดิสค์แบบ SATA ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบนี้ก็คือความเป็นระเบียบเรียบร้อยของตัวสายอัน เนื่องมาจากขนาดที่เล็กกว่าของสาย IDE ทำให้การจัดวางสายใช้เนื่อที่ภายในเคสน้อย

เปรียบเทียบสายแบบ IDE และสายแบบ SATA

แบบ IDE


แบบ SATA

ข้อมูลอ้างอิง
//www.adslcool.com
//notebookspec.com

Harddisk คืออะไร

Harddisk Drive (HDD) คือ เป็นส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ ที่ขาดไม่ได้ เพราะเป็นส่วนสำคัญที่ใช้ทำหรับเก็บข้อมูลต่างๆของคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบปฏิบัติการ (Windows) หรือ ไฟล์รูป เพลง ไฟล์งาน หรือโปรแกรมต่างๆ โดยอาศัยการเขียนข้อมูลลงบนจานแม่เหล็ก เพื่อเป็นการเก็บข้อมูล โดยการเก็บข้อมูลบน Harddisk นี้จะสามารถลบออกแล้วเขียนทับใหม่ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ซึ่งก็คือใช้งานได้ยาวนานจนกว่าจะเกิดข้อผิดพลาดต่างๆถึงจะใช้งานไม่ได้ เช่น ไฟตกบ่อยๆ เครื่องเคลื่อนที่บ่อยๆ อาจจะทำให้เกิดการกระทบกระเทือนกับตัว Harddisk ได้

Harddisk กับการเชื่อมต่อ

ฮาร์ดดิสก์แบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่ IDE ,E-IDE ,SCSI และ Serial ATA ซึ่งแต่ละชนิดมีลักษณะที่ต่างกัน ดังนี้

  1. แบบ IDE เป็นการเชื่อมต่อแบบเก่า โดยใช้สายแพขนาด 40 เส้น (ปัจจุบันเลิกใช้กันแล้ว)
  2. แบบ E-IDE เป็นการเชื่อมต่อที่มีการถ่ายโอนข้อมูลที่สูงขึ้นจากแบบ IDE และเชื่อมต่อด้วยสายแพขนาด 80 เส้น (ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว)
  3. แบบ SCSI เป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีการความคุมการทำงานที่แตกต่างจากรูปแบบอื่น โดยต้องใช้การ์ด SCSI ควบคุมการทำงานโดยเฉพาะ และมีราคาค่อนข้างสูง ส่วนใหญ่นำไปใช้กับ Server ต่างๆ
  4. แบบ SATA (Serial ATA) เป็นรูปแบบที่กำลังนิยมใช้กันอย่างแพร่แหลายในปัจจุบัน เนื่องจากมีความเร็วในการเชื่อมต่อสูง และรูปแบบ SATA นี้ยังรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์อื่นๆ เช่น Optical Drive (หรือที่เรียกกันว่าหัวอ่าน CD DVD) ได้อีกด้วย

การทำงานของ Harddisk

Harddisk นั้น จะทำงานโดยใช้มอเตอร์ที่ติดตั้งอยู่ด้านใน หมุนจานแม่เหล็กอย่างรวดเร็ว และมีหัวอ่านการทำงานคล้ายๆกับเครื่องเล่น DVD แต่แผ่น CD DVD นั้นสามารถอ่านได้อย่างเดียว ส่วน Haddisk นั้นสามารถอ่านและเขียนข้อมูลซ้ำๆได้ตลอด มีความแข็งแรงทนทาน และมีความจุที่มากกว่าแผ่น CD DVD หลายเท่าตัว

ขนาดของฮาร์ดดิสก์

ขนาดของฮาร์ดดิสก์นั้นปัจจุบันมีใช้กัน จะมีอยู่ 2 ขนาด ได้แก่ ขนาด 2.5 นิ้ว และ 3.5 นิ้ว โดยทั้ง 2 ขนาดทำงานเหมือนกัน เพียงแต่ย่อขนาดลงเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน และติดตั้งบนอุปกรณ์ต่างๆเท่านั้น Harddisk ขนาด 3.5 นิ้ว จะใช้กันในเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และขนาด 2.5 นิ้ว จะนำมาใช้ในโน๊ตบุ๊ค หรือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เป็นต้น

ข้อเสียของ Harddisk

  • มีความร้อนสูง จากการหมุนของจานแม่เหล็ก
  • มีเสียงการทำงานเล็กน้อย ถ้าไม่ฟังดีๆก็ไม่ได้ยิน
  • ต้องใช้ไฟเลี้ยงมากพอสมควรสำหรับการทำงาน
  • ห้ามตกหล่นหรือกระแทก เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายได้
  • มีน้ำหนักค่อนข้างเยอะ

Solid State Drive (SSD) คือ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชนิดหนึ่ง ที่เปลี่ยนจากจานแม่เหล็กมาเป็น Flash Memory ซึ่งมีความคล้ายกับการเก็บข้อมูลของ Flash Drive เพื่อจัดเก็บข้อมูลเหมือน Harddisk เทคโนโลยีของ SSD ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดแทนฮาร์ดดิสก์ จึงทำให้มีอินเทอร์เฟส อินพุต/เอ้าพุต เหมือนกันและสามารถใช้งานแทนกันได้ และเนื่องจาก SSD ออกแบบมาโดยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ จึงไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหว ส่งผลให้ทนต่อแรงกระแทก หรือแรงสันสะเทือนได้ดี เพราะไม่มีจานหมุนอยู่ด้านใน และยังสามารถอ่านเขียนข้อมูลได้เร็วกว่าฮาร์ดดิสแบบจานหมุน มากกว่า 10 เท่า และกินไปน้อย

ตัวอย่างประเภทของ SSD

แบบ SATA III

แบบ SATA III เป็นแบบมาตรฐาน SSD โดยจะออกเบบมาให้เชื่อมต่อเหมือน HDD ทั่วไป ขนาด 2.5 นิ้ว เหมาะกับคอมพิวเตอร์ และโน๊ตบุ๊คทั่วไป

แบบ mSATA

แบบ mSATA เป็น SSD ที่มีความเร็วเหมือน SATA III แต่ขนาดเล็กลงเพื่อใช้สำหรับ Ultra-thin Notebook ,Tablet PC ให้มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดียิ่งขึ้น

แบบ M.2

แบบ M.2 มันคือ SSD อีกรูปแบบหนึ่ง ที่ได้ออกแบบมาใหม่และการเชื่อมต่อรูปแบบใหม่ โดยมีความพิเศษ M.2 นั้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าแบบ SATA อยู่หลายเท่าตัว และปัจจุบันมีอยู่ 3 ขนาด ได้แก่ 2242 ,2260 และ 2280 ซึ่งตัวเลขเหล่านี้จะบอกถึงความกว้างและความยาวของตัว SSD ตัวอย่างเช่น 2280 คือตัว SSD มีขนาดความกว้างอยู่ที่ 22 MM และความยาวอยู่ที่ 80MM นั่นเองครับ และจุดนี้คือสิ่งสำคัญเหมือนกัน เพราะเราต้องเช็คสล๊อตบนเมนบอร์ดของเราด้วยว่า รองรับความยาวสูงสุดที่เท่าไหร่

แบบ PCIe

แบบ PCIe ออกแบบมาสำหรับเสียบลงบนสล๊อต PCI Express x16 เพื่อประสิทธิภาพและการทำงานที่ดีมากขึ้น

> อ่านบทความ PCI Express คืออะไร

แบบ M.2 NVMe

แบบ M.2 NVMe เป็นเทคโนโลยีที่ใหม่ล่าสุดทำหรับ SSD ในปัจจุบัน แต่ก็มีคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ เท่านั้นที่รองรับการทำงานแบบ NVMe ได้ (NVMe หรือที่เรียกกันอีกอย่างว่า MVM Express ย่อมาจาก Non-Volatile Memory Express คือ เทคโนโลยีที่มีความสามารถในการเชื่อมต่อ การรับส่งข้อมูลจาก SSD กับ CPU โดยตรง)

ขอเสียของ Solid State Drive (SSD)

  • มีความจุน้อย และราคาสูงเมื่อเปรียบเทียบกับ Harddisk
  • มีขีดจำกัดในการเขียนซ้ำข้อมูล
  • หากเกิดความเสียหายแล้วจะไม่สามารถกู้ข้อมูลได้

สำหรับท่านที่ต้องการเลือกซื้อ Computer หรือ Notebook ความจุของอุปกรณ์ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญมากๆ โดยทาง Add In Business เรามีอุปกรณ์ความจุหลายขนาดให้เลือกสรรมากมาย ท่านผู้อ่านสามารถเข้าไปเลือกซื้อได้ที่หน้าสินค้า Computer และ Notebook ของเราได้เลย

สนใจสั่งซื้อหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่หน้า Contact

หรือ

 
  
 
 

คลิปตัวอย่างแสดงการทำงานของ HDD โดย Seagate

Harddisk กับ SSD นั้นมีหน้าที่เดียวกันคือ เป็นหน่วยบันทึกข้อมูลสำหรับคอมพิวเตอร์ และมีข้อแตกต่างกันที่ SSD มีความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูลที่สูงกว่า Harddisk หลายเท่าตัว มีน้ำหนักเบา กินไฟน้อย ไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหว แต่มีอายุการใช้งานที่สั้นกว่าฮาร์ดดิสก์

ส่วน Harddisk นั้น มีความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูลที่ต่ำ แต่สามารถเก็บความจุได้เยอะ ในราคาที่ไม่แพง ไม่มีขีดจำกัดในการเขียนทับข้อมูล สามารถเก็บข้อมูลได้ยาวนาน

โดยส่วนมากจะใช้งานคู่กันคือ ใช้ SSD เป็นตัวเก็บไฟล์ Windows และ โปรแกรมต่างๆ หรือไฟล์งานต่างๆที่เรียกใช้งานบ่อยครั้งเพื่อให้มีความรวดเร็วต่อการใช้งาน และมักจะนำฮาร์ดดิสก์มาเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน เช่น ไฟล์ภาพต่างๆ ไฟล์เพลงๆ หรือไฟล์สำรองข้อมูลต่างๆ เพราะฮาร์ดดิสก์มีความจุที่เยอะและทนทานกว่า SSD นั่นเอง

สรุป

หากท่านผู้อ่านมีความสนใจเพิ่มเติมในการสั่งซื้อ สอบถามข้อมูล หรือขอใบเสนอราคา ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของอุปกรณ์ใดๆก็ตาม สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่

Facebook Inbox : //goo.gl/9wo8oL
Hotline : 063-819-7299
Call : 02-713-2261
[email protected] : @addinonline
Email : [email protected]

ผู้เขียน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita