Shopee หักกี่เปอร์เซ็นต์ 2565

Shopee ได้ออกประกาศแจ้งว่าจะเก็บค่าธรรมเนียมการขาย (Sale Transaction Fee) สำหรับร้าน Non-Mall Sellers เพิ่มอีก 1% ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป โดยค่าธรรมเนียมนี้จะคิดจากราคาเต็มของสินค้า

เดิม Shopee จะเก็บค่าบริการและค่าธุรกรรมการชำระเงินจากร้านค้าในระบบอยู่แล้วที่ 3% โดยจะคำนวณจากยอดที่ลูกค้าชำระเงิน (ยอดที่หักส่วนลดต่างๆแล้ว) เมื่อ Shopee เก็บค่าธรรมเนียมการขายเพิ่ม ทางร้านค้าก็จะถูกหักเพิ่มอีก 1% โดยจะคำนวณจากราคาเต็มของสินค้า เช่น สินค้าราคา 100 บาท ลูกค้าชำระเงินโดยใช้ Coins และส่วนลดต่างๆเหลือชำระเงินเพียง 80 บาท ทางร้านก็เสียค่าธรรมเนียม 2 ส่วนคือ 100 บาทเสีย 1%  (1 บาท) และ 80 บาทจะเสีย 3% (2.4 บาท) เท่ากับว่าร้านจะเสียค่าธรรมเนียมทั้งหมดของคำสั่งซื้อนี้ให้ Shopee ทั้งหมด 3.4 บาท

อีกค่ายหนึ่งอย่าง Lazada ก็ออกมาประกาศเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการมาร์เก็ตเพลส (Marketplace Service Fee) อีก 1% ของราคาขาย (ราคาสินค้า-ส่วนลด) และยังมีภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7% เริ่มมีผลกับคำสั่งซื้อที่จัดส่งสำเร็จตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 เวลา 00:00 น. เป็นต้นไป

ซึ่งเดิมร้านค้าใน Lazada จะต้องเสียค่าธรรมเนียมการชำระเงินอยู่แล้วที่ 3% (อาจแตกต่างกันตามหมวดหมู่สินค้า) เมื่อรวมกับค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นอีก 1% ก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมรวม 4% (ยังไม่รวม VAT)

สำหรับร้านค้าที่สมัครโปรแกรม “ร้านค้าแนะนำ” (LazPick) และเข้าร่วมโปรแกรมส่งฟรีแบบฟรีพิเศษ จะได้รับส่วนลดค่าธรรมเนียม 1% ด้วยค่ะ

ดังนั้นร้านค้าทั้งหลายที่เข้าร่วมค้าขายในแพลตฟอร์มทั้งสองแห่งนี้ อย่าลืมคำนวณราคาสินค้าเผื่อค่าธรรมเนียมที่จะเพิ่มขึ้นกันด้วยนะคะ 😊

👉 ใช้ได้กับทุกสินค้าภายในร้านค้า 😊
 สูตรนี้เป็นสูตรที่เมื่อพ่อค้าแม่ค้าจัดแคมเปญลดราคา โดยลดตามเปอร์เซ็นต์กำไรของท่าน จะไม่ขาดทุนเหมือนกับวิธีการคิดทั่วไป

สูตรปกติลองจิ้มเครื่องคิดเลขตามนี้ดูนะ
– ราคาทุน 950 บาท
– กำไรที่ต้องการคือ 30%
👉 ลองเอา 950 + 30% ( กด 950 + 30 แล้วกดเครื่องหมาย % ตามด้วยปุ่ม = ) ผลลัพธ์ของราคาขายคือ 1,235 บาท
และเมื่อลดราคา (เท่าทุน) กลับคือ 1,235฿ – 30% (วิธีการกดเครื่องคิดเลขเหมือนเดิม) ผลลัพธ์จะเท่ากับ 864.5 บาท ขาดทุน❗️ (เพราะต้นทุนอยู่ที่ 950 บาท) ทั้ง ๆ ที่ก็ลดตามเปอร์เซ็นต์กำไรที่ตั้งไว้นี่น่า
 พ่อค้าแม่ค้าหลายท่านมีสินค้าหลายรายการ บางท่านจะจำแค่ว่าปกติตัวเองตั้งอัตรากำไรที่ที่เท่าไหร่ เช่น บางท่านตั้งไว้ที่ 30% ก็จำแค่นี้ ไม่ได้จำราคาทุน เพราะสินค้าหลายรายการมาก ทำให้บางครั้งเมื่อเข้าร่วมแคมเปญต่าง ๆ หรือตั้งลดราคา อาจขาดทุนได้โดยไม่รู้ตัว

📌 เอาล่ะมาดูสูตรการตั้งราคาขายในช้อปปี้ที่แอดมินแนะนำกัน
👉 สิ่งที่ต้องเตรียม
1. ต้นทุนสินค้าชิ้นนั้น รวมต้นทุนค่าแพ็ค (บาท)
2. เปอร์เซ็นต์กำไรที่ต้องการ (เปอร์เซ็นต์)
3. เปอร์เซ็นต์ค่าธรรมเนียมช้อปปี้ที่จ่ายอยู่ (เปอร์เซ็นต์)
👉 เบื้องต้นทุกร้านค้าต้องเสียค่าธรรมเนียมการชำระเงินของลูกค้าที่ 2%
👉 หากพ่อค้าแม่ค้าเข้าร่วมแคมเปญต่าง ๆ ของช้อปปี้ให้บวกเปอร์เซ็นต์ที่จะต้องเสียเพิ่มเข้าไป

👌 ตัวอย่าง เตรียมยังไงมาดู
1. ต้นทุนสินค้า ซื้อมาเท่าไหร่ เช่น ซื้อมา 70 บาท และมีต้นทุนค่ากล่อง บับเบิ้ลกันกระแทกและสก็อตเทปอีก รวม ๆ เลย 5 บาท ดังนั้นรวมต้นทุนสินค้าชิ้นนี้คือ 75 บาท (สินค้าแต่ละตัวที่พ่อค้าแม่ค้าขาย ก็มีต้นทุนของตัวเองที่แตกต่างกัน)

2. เปอร์เซ็นต์กำไรที่ต้องการ เช่น อยากได้กำไร 35% หรือ 30% หรือ 25% เป็นต้น อัตรากำไรในส่วนนี้ขึ้นอยู่กับสินค้าที่เราขายและราคาตลาดด้วย ลองค้นหาใน Google ดูว่าสินค้าที่เราขายอยู่ปกติแล้วอัตรากำไรเขาขายกันอยู่ที่กี่ % แต่เพื่อให้ง่ายตอนนี้ลองสมมุติเอาก่อนก็ได้ครับแนะนำเป็น 20-35% ก่อน

3. เปอร์เซ็นต์ค่าธรรมเนียมของช้อปปี้ (ดูกรอบเส้นประในภาพประกอบ) โดยปกติพ่อค้าแม่ค้าจะเสียค่าธรรมเนียมการชำระเงินยืนพื้นอยู่แล้วที่ 2% ในทุก ๆ ออเดอร์ และหากท่านเข้าร่วมแคมเปญการขายต่าง ๆ ของช้อปปี้ด้วยและเป็นร้านค้า Shopee Mall ด้วย ก็จะมีค่าธรรมเนียมที่เพิ่มเข้ามา บวกให้ครบทุกรายการที่โดยหัก จนได้เป็นเปอร์เซ็นต์ค่าธรรมเนียมรวมที่เสียให้กับช้อปปี้
* หมายเหตุ ค่าธรรมเนียมการชำระเงิน 2% เอาจริง ๆ เวลาคำนวณเผื่อไว้เป็นราคาขาย ราคามันก็ไม่ได้ 100% (เมื่อเราโดนหักจริงๆ) เพราะตอนนี้เรายังไม่รู้ว่าลูกค้าจะใช้ Coin เป็นส่วนลดไหม หรือในอนาคตเราอาจมีการจัดโปรโมชั่น หรือช้อปปี้อาจให้ส่วนลดอะไรแก่ลูกค้าบ้าง หรือสินค้านี้มีค่าจัดส่งเท่าไหร่ในช่วงเวลานั้น ๆ ดังนั้นคิดเผื่อไว้ก่อน ดีกว่าไม่คิดเลย เพราะสินค้าชิ้นเดียวกันบางครั้งลูกค้าซื้อก็ไม่ได้ชำระเงินเท่ากัน (ค่าธรรมเนียมตรงนี้คิดจากราคาสินค้า + ค่าขนส่ง และหัก Coin ที่ลูกค้าใช้ รวมถึงส่วนลดต่าง ๆ ทั้งที่ร้านค้าให้ลูกค้าเองและช้อปปี้ให้กับลูกค้า)

🛎 เริ่มกันเลย!
ยกตัวอย่างเคสของแอดมิน สำหรับพ่อค้า/แม่ค้า ก็ใช้ข้อมูลของตัวเองได้เลย
👉 ต้นทุนสินค้า รวมต้นทุนแพ็คของ 75 บาท
👉 กำไรที่ต้องการ 35 (เปอร์เซ็นต์)
👉 แอดมินเสียค่าธรรมเนียมให้กับช้อปปี้ทั้งหมด 7% แบ่งเป็น
👉 ค่าธรรมเนียมการชำระเงินที่ 2%
👉 เข้าร่วมแคมเปญ ส่งฟรี 99.- และแคมเปญ Coins Cashback, เมื่อเข้าทั้งสองแคมเปญ เสียแบบเหมา ๆ ที่ 5%

🛎 เอาล่ะ สูตรการคิดคือ..
(100 x ต้นทุนต่อชิ้น) / 100 – (% กำไรที่ต้องการ + % ค่าธรรมเนียมรวมของช้อปปี้)
* ให้คำนวณในวงเล็บก่อน

👉 มาดูกัน (ยกตัวอย่างจากเคสของแอดมิน)
Step 1 : (100 x 75) / 100 – (35 + 7)
Step 2 : 7500 / 100 – 42
Step 3 : 7500 / 58
Step 4 : 129.31.- หรือ 129.- #นี่คือราคาขายของสินค้า

🔑 มาดูเพิ่มอีกซัก 1 ตัวอย่าง เพื่อความเข้าใจ
สินค้า : หูฟังไร้สาย (สินค้านี้อยู่ในหมวดหมู่อิเล็กทรอนิกส์)
* สมมุติว่าเคสนี้ร้านค้าของแอดมินเป็นร้าน Shopee Mall
👉 ต้นทุนสินค้า รวมต้นทุนแพ็คของ 950 บาท
👉 กำไรที่ต้องการ 30 (เปอร์เซ็นต์)
👉 เสียค่าธรรมเนียมให้กับช้อปปี้ทั้งหมด 11% แบ่งเป็น
👉 ค่าธรรมเนียมร้านค้า Shopee Mall และขายสินค้าในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ เสียที่ 5%
👉 ค่าธรรมเนียมการชำระเงินที่ 2%
👉 เข้าร่วมแคมเปญ ส่งฟรี 99.- ที่ 4%
* ค่าธรรมเนียมการขายของร้านค้า Shopee Mall คิดที่ 3% ยกเว้นสินค้าที่ลงขายนั้นอยู่ในหมวดหมู่อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics) คิดที่ 5% (เฉพาะสินค้านะ ชิ้นไหนไม่ใช่หมวดอิเล็กฯ ก็คิดแค่ 3%)
* สินค้าในหมวดหมู่อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics) หมายถึงสินค้าที่อยู่ในหมวดหมู่ต่อไปนี้ กล้องและอุปกรณ์ถ่ายภาพ (Cameras) มือถือและอุปกรณ์เสริม (Mobile & Gadgets)
คอมพิวเตอร์และแล็ปท็อป (Computers & Laptops) เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน (Home Appliances) สื่อบันเทิงภายในบ้าน (Home Entertainment) และเกมและอุปกรณ์เสริม (Games and Accessories)

👉 ลองคำนวณเคสนี้ดู
Step 1 : (100 x 950) / 100 – (30 + 11)
Step 2 : 95000 / 100 – 41
Step 3 : 95000 / 59
Step 4 : 1,610.16.- หรือ 1,611.- #นี่คือราคาขายของสินค้า สำหรับเคสนี้

สมมุติว่าเอาเคสนี้เอามาจัดโปรลดราคา (เท่าทุน) ดูนะว่าจะขาดทุนไหม
👉 ราคาสินค้าปกติ 1,611.- บาท
👉 ลดราคา 30% (ลดเท่าทุน) เหลือราคาขายที่ 1,127.70 หรือ 1,128.- บาท
👉 ค่าบริการจัดส่งที่ลูกค้าชำระ 40 บาท (ทดไว้ก่อนจะต้องคำนวณค่าธรรมเนียมการชำระเงิน)
 เสียค่าธรรมเนียมร้านค้า Shopee Mall (ที่ 5% ของราคาสินค้าหลังลด) = 56.4 บาท
 เสียค่าธรรมเนียมแคมเปญ ส่งฟรี 99.- (ที่ 4% ของราคาสินค้าหลังลด) = 45.12 บาท
 เสียค่าธรรมเนียมการชำระเงิน (คิดจากราคาสินค้า + ค่าบริการจัดส่ง ที่ 2%) 23.36 บาท

-:- สรุป -:-
👉 ราคาสินค้าหลังลด 1,128.- บาท
 รวมเสียค่าธรรมทั้งหมด 124.88.- (ช้อปปี้ปัดเศษขึ้น) เป็น 125.- บาท
 คงเหลือ 1,003.- บาท ยังไม่ขาดทุน!

และนี่ก็เป็นอีก 1 วิธีการตั้งราคาขายในช้อปปี้ที่แอดมินอยากจะมาแบ่งปัน จากการประยุกต์ใช้ในการคำนวณราคาขายสินค้าของแอดมินเอง

อย่าลืมว่าราคาสินค้าที่ขายนั้นต่างกันเพียงเล็กน้อยก็มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้า พ่อค้าแม่ค้าเองก็ควรดูปัจจัยอื่นร่วมด้วย

ราคาก็ยังเป็นสิ่งสำคัญของการขายสินค้าและการทำธุรกิจ พยายามอย่าแข่งขันกันด้วยสงครามราคา แต่ให้นำเสนอผ่านคุณค่าของตัวสินค้า คุณภาพของการบริการ คอนเทนต์การขาย เช่น รูปภาพสินค้า วิธีการใช้เพื่อซื้อใจลูกค้าแทน

ขอบคุณที่อยู่กันจนจบ
ขอให้ขายดีปัง ๆ ทุกชิ้น ทุกร้านนะครับ
สำหรับร้านไหนที่ต้องการขายดีเพิ่มขึ้นแนะนำให้ทดลองใช้งานช้อปปี้บูสต์ครับ ^^

เพจของเรามีทั้งเครื่องมือและเทคนิคเด็ด ๆ ที่จะช่วยให้พ่อค้าแม่ค้าขายของได้ดีขึ้น กดติดตามเพจไว้ มีอัพเดทเรื่อย ๆ แน่นอน
//www.facebook.com/maekha.th/

ขายของใน Shopee เสียค่าอะไรบ้าง 2565

ขายของใน Shopee เสียเงินไหม.
1.ค่าธรรมเนียมจากการขาย.
2.ค่าธรรมเนียม สำหรับการทำธุรกรรมแบบชำระเงินปลายทาง.
3.ค่าธรรมเนียมในการธุรกรรมผ่านบัญชีธนาคาร.
4.ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่าน AirPay Wallet..
5.ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต.
6.ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต แบบผ่อนชำระ.

ขายของในช้อปปี้ถูกหักกี่เปอร์เซ็นต์

จะมีค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม คิดเป็น 3% ของยอดเงินที่ผู้ซื้อต้องชำระบวกค่าจัดส่งสินค้า (คิดจากราคาหลังใช้โค้ดส่วนลดและ Shopee Coins) เเละค่าธรรมเนียมการขาย คิดเป็น 2% ของราคาตั้งต้นของสินค้า หักด้วยส่วนลดสินค้าที่ผู้ขายรับผิดชอบ (ไม่รวมค่าขนส่งสินค้าและส่วนลดอื่นๆ) การคำนวณค่าธุรกรรมการชำระเงินเละค่าธรรมเนียมการขาย รวม ...

ขายของใน Shopee หักกี่เปอร์เซ็นต์ Pantip

แต่ค่าส่งตรงนี้ร่วมสนับสนุนกับKerry , Ninja Van , DHL ,ไปรษณีย์ไทย(EMS) แต่ทั้งนี้Shopee จะหักค่าธรรมเนียมการขาย5%จากยอดขาย

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita