การกักเก็บน้ำด้วย โคก หนอง นา โมเดล มีกี่วิธี

โคก หนอง นา โมเดลเพื่อการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน

  • Climate Change Management and sustainable Development, คลิปวิดีโอ, บทความ งานวิจัย และ วิดิโอ
  • 1.07k

สื่อเรียนรู้ภายใต้โครงการบูรณาการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตร (What2Grow), วันที่ 9 พฤศจิกายน 2559

การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนด้วย “โคก หนอง นา โมเดล” เป็นวิธีการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ของตนเองให้มีน้ำใช้ในการเกษตรตลอดปีตามเกษตรทฤษฎีใหม่ เริ่มต้นด้วยการขุดหนองน้ำเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง โดยจะขุดหนองให้มีลักษณะเว้าโค้งเรียนแบบหนองน้ำธรรมชาติ ความลึกของหนองต้องมากกว่า 3.65 เมตร ขุดหนองให้เป็นขั้นๆ เพื่อให้แสงส่องถึงพื้นได้บางส่วนและพืชน้ำสามารถได้เจริญเติบโตเป็นที่อยู่อาศัยของแพลงตอนพืชและสัตว์น้ำได้ ดินจากการขุดหนองนำมาถมเป็นโคก บนโคกจะปลูกที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ และปลูกไม้ 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง (ไม้กิน ไม้ใช้สอย ไม้สำหรับสร้างที่อยู่อาศัย) ส่วนการเก็บกักน้ำบนโคกอีกวิธีหนึ่งคือ การขุดคลองไส้ไก่ให้ทั่วพื้นที่โดยขุดให้ลักษณะคลองมีความคดเคี้ยว ขุดให้เต็มพื้นที่เพื่อใช้เป็นทางน้ำบนดินและเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดินโดยไม่ต้องวางท่อหรือติดสปริงเกอร์ และสร้างฝายชะลอน้ำกั้นเพื่อให้น้ำในคลองไส้ไก่ไหลช้าลง นอกจากนี้ให้ปลูกหญ้าแฝกโดยรอบหนองน้ำและคลองไส้ไก่ การสร้างคันนาให้สร้างโดยมีฐานด้านล่างกว้าง 2 เมตร ด้านบนกว้าง 1 เมตร และสูงอย่างน้อย 1 เมตร บนคันนาให้ปลูกพืชผล ผัก และไม้ผล การบริหารจัดการน้ำด้วยวิธีนี้เป็นวิธีการบริหารอย่างยั่งยืนด้วยการพึ่งตัวเองอย่างแท้จริง

เผยแพร่โดย What2Grow NECTEC

(www.youtube.com)

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

1.โครงการบูรณาการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตร, 2559, Ct1 – โคก หนอง นา โมเดลเพื่อการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน, [online], Available: //www.youtube.com/watch?v=zFgfXWX-uGA [9 พฤศจิกายน 2559].

Post Views: 953

“ศาสตร์พระราชา” การกักเก็บน้ำใน “โคกหนองนา โมเดล” ตัวอย่าง 10 ไร่ 

หลุมขนมครก คือ การนำศาสตร์พระราชา ร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น นำมาสู่การออกแบบพื้นที่ 1 พื้นที่ จำนวนกี่ไร่ก็ได้ ให้สามารถเก็บน้ำฝนในพื้นที่นั้นๆ ไว้ให้ได้ทั้ง 100% โดยต้องมีการคำนวณปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา น้ำสำหรับการบริโภค และปลูกข้าวซึ่งเป็นหลักการสำคัญของเกษตรทฤษฎีใหม่ นอกจากนั้นยังนำศาสตร์พระราชาด้านการจัดการ ดิน น้ำ ป่า มาใช้เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศในภาพรวม ทั้งการกั้นฝายชะลอน้ำ ฝายชุ่มชื้น การบำบัดน้ำเสีย การปลูกแฝก และป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง ส่วนภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นได้แก่ การนำดินที่ขุดจากหนองมาทำโคก การขุดหนองคดโค้งเพื่อเพิ่มพื้นที่รอบหนอง และเพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยของปลา การขุดคลองไส้ไก่เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในพื้นที่ การยกหัวคันนาสูงเพื่อกักเก็บน้ำฝน การทำนาน้ำลึกโดยใช้ระดับน้ำในท้องนาควบคุมวัชพืช และศัตรูพืช

หลุมขนมครก เมื่อนำมาปฏิบัติ จะแตกต่างตามพื้นที่ลุ่ม และพื้นที่สูง แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
ในพื้นที่ลุ่มใช้รูปแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” ในพื้นที่สูง ใช้การ “เปลี่ยนเขาหัวโล้น เป็นเขาหัวจุก”

1. พื้นที่ลุ่ม : โคกหนองนา โมเดล คือ รูปธรรมของหลุมขนมครก ซึ่งเรียกให้ง่ายต่อการจดจำ

– โคก การนำดินที่ได้จากการขุดหนอง นำมาถมเป็นโคกเพื่อสร้างที่อยู่อาศัย ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งปลูกต้นไม้ตามแนวทางศาสตร์พระราชา คือ “ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” ได้แก่ ไม้เพื่อบริโภค (พอกิน) เพื่อใช้สอยในครัวเรือน (พอใช้) และเพื่อสร้างที่อยู่อาศัย (พออยู่) ป่าทั้ง 3 อย่าง ให้ประโยชน์อย่างที่ 4 คือช่วยสร้างสมดุลระบบนิเวศ (พอร่มเย็น) ปลูกเป็นป่า 5 ระดับคือ สูง กลาง เตี้ย เรี่ยดิน และพืชหัว ใบไม้ที่ร่วงหล่นช่วยปกคลุมหน้าดินเพิ่มความชุ่มชื้น

  • น้ำใต้ดินที่สะสมไว้ใต้โคก เมื่อฝนตกลงมาบนโคกที่มีต้นไม้จำนวนมาก น้ำจะค่อยๆ ไหลซึมลงมาเก็บไว้ใต้โคก รากต้นไม้ซึ่งต่างระดับกันจะช่วยรักษาหน้าดิน และกักเก็บน้ำไว้ใต้ดินกลายเป็นแหล่งกักเก็บน้ำใต้ดิน ช่วยสร้างความชุ่มชื้น เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับพื้นดิน

– หนอง ขุดหนองให้ขอบมีความคดโค้ง เพื่อให้เหมาะสมกับการอยู่อาศัยของปลา ปรับพื้นหนองให้มีความลึกหลายระดับ ส่วนที่แสงแดดส่องถึง ปลาจะสามารถวางไข่ได้ดี

  • คลองไส้ไก่ ช่วยกระจายน้ำรอบพื้นที่ ขุดให้มีลักษณะคดเคี้ยว เพื่อให้น้ำไหลผ่านทั่วพื้นที่ เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผืนดิน ส่งผลดีต่อการทำเกษตรและการปลูกพืชผล
  • ฝายชะลอน้ำ รับและชะลอน้ำที่ไหลมาจากแม่น้ำหรือพื้นที่ข้างเคียง ช่วยดักตะกอนดินไม่ให้ไหลลงมาสะสมในหนอง คลอง บึง และเขื่อน นอกจากนั้นยังเป็นการเพิ่มแหล่งกักเก็บน้ำในพื้นที่

– นา ยกหัวคันนา เพื่อเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำไว้ในนา โดยให้มีความสูงประมาณ 1 เมตร และปั้นหัวคันนาให้มีความกว้างเพื่อปลูก “ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” และปลูกแฝก เพื่อป้องกันการพังทลายของคันนา คันนาจะใช้เป็นเครื่องมือในการปรับระดับน้ำเข้านาตามความสูงของต้นข้าว เกิดเป็นนาน้ำลึก ใช้น้ำในการควบคุมวัชพืชและแมลงตามภูมิปัญญาท้องถิ่น

2. พื้นที่สูง : เปลี่ยน “เขาหัวโล้น” เป็น “เขาหัวจุก”
เมื่อประยุกต์ใช้ โคกหนองนา โมเดล ให้เข้ากับภูมิสังคม พื้นที่ภูเขาคือโคกตามธรรมชาติ จึงไม่จำเป็นต้องสร้างโคกอีก ส่วนหนองนั้นเปลี่ยนเป็นการกั้นฝายในพื้นที่ร่องเขาเพื่อเก็บน้ำไว้ ทำนาขั้นบันได โดยยกหัวคันนาสูงและกว้าง เพื่อเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาบนภูเขาให้ได้มากที่สุด สร้างบ่อเก็บน้ำจากวัสดุในพื้นที่ไว้ด้านบน เพื่อปล่อยน้ำผ่านคลองไส้ไก่ หรือที่เรียกว่าลำเหมืองกระจายให้ทั่วพื้นที่ และปลูกแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน ปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง เพื่อพอกิน พออยู่ พอใช้ และคืนความร่มเย็นให้ระบบนิเวศ รูปแบบนี้จะใช้พื้นที่เพียง 10 ไร่ สามารถให้ผลผลิตมากกว่าการปลูกข้าวโพดทั้งภูเขา

– โคก พื้นที่สูงในลักษณะภูเขาเป็นโคกโดยธรรมชาติ จึงเน้นการปลูก “ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” เพื่อช่วยสร้างสมดุลระบบนิเวศ แต่เนื่องจากพื้นที่ขาดความชุ่มชื้น จึงต้องเพิ่มความชุ่มชื้นให้กลับคืนมาด้วยการสูบน้ำจากร่องเขามาที่บ่อเก็บน้ำ และกระจายผ่านลำเหมืองให้ทั่วพื้นที่ “เขาหัวจุก”

– หนอง เกิดจากการกักน้ำไว้ในร่องเขาให้เพิ่มระดับสูงขึ้นด้วยการทำฝายชะลอน้ำ

  • บ่อเก็บน้ำ สร้างบ่อเก็บน้ำไว้บนที่สูง โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในพื้นที่ เช่น ไม้ไผ่ ทำบ่อโครงไม้ไผ่ฉาบปูน สูบน้ำจากฝายขึ้นบ่อด้วยพลังงานทดแทน เมื่อน้ำเกินปริมาณกักเก็บของบ่อ ปล่อยน้ำไหลลงคลองไส้ไก่ หรือ “ลำเหมือง” ซึ่งขุดไล่ตามระดับชั้นความสูงของพื้นที่ เพื่อกระจายความชุ่มชื้น

– นา ทำนาขั้นบันได ยกหัวคันนาสูงและกว้าง เพื่อกักเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาไว้ในท้องนา และปลูกแฝกชะลอการพังทลายของดิน ทำนาน้ำลึกเป็นนาอินทรีย์โดยการใช้น้ำควบคุมวัชพืช และเร่งระดับความสูงของต้นข้าว เพิ่มผลผลิต

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก : monmai.com

โคกหนองนาโมเดลมีกี่รูปแบบ

โดย กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้มีการขับเคลื่อนโครงการ ตามแนวทาง “โคก หนอง นา โมเดล” ทุกหมู่บ้าน โดยมี 6 รูปแบบ ดังภาพประกอบ

การเก็บน้ำตามแนวทาง โคก หนอง นา โมเดล เก็บไว้ที่ใด

2. เก็บน ้าไว้บนโคก: ท าได้โดยการปลูกป่าและเก็บในระบบรากของต้นไม้ ที่ปลูกไว้5 ระดับ ได้แก่ไม้ระดับสูง ไม้ชั้นกลาง ไม้ชั้นเตี้ย ไม้เรี่ยดิน และ ไม้หัวใต้ดิน ไม้แต่ละระดับควรจะมีอย่างน้อยไม่น้อยกว่า 21 ชนิด เพื่อสร้าง ความหลากหลายของระบบราก เมื่อฝนตกลงมาระบบรากจะช่วยอุ้มน ้าไว้ในดิน

โคกหนองนาโมเดลต้องมีอะไรบ้าง

โคกหนองนาโมเดล มีองค์ประกอบอย่างไร?.
ไม้หัวใต้ดิน อย่าง ขิง ข่า บุก มันมือเสือ กวาวเครือ ฯลฯ.
ไม้เรี่ยดิน อย่าง ไม้เลื้อยต่าง ๆ ไม่ว่าจะ รางจืด พริกไทย ฯลฯ.
ไม้เตี้ย ซึ่งเป็นไม้พุ่มเตี้ยที่ไม่ได้มีความสูงมากอยู่ใต้ไม้สูง และไม้กลางอย่าง มะเขือ พริก ติ้ว เหรียง ผักหวานบ้าน ฯลฯ.

สัดส่วนของโคกหนองนาโมเดลมีอะไรบ้าง

โคก หนอง นา โมเดล” เป็นโมเดลต้นแบบที่สถาบันเศรษฐกิจพอเพียงและมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติได้น้อมนำพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่มาใช้บริหารจัดการน้ำและพื้นที่ทำการเกษตร โดยมุ่งหวังที่จะสร้างจุดเปลี่ยนให้กับชุมชน ซึ่งแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน 30 : 30 : 30 : 10 กล่าวคือ 30% แรกสำหรับ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita