ยูเนสโกได้แบ่งให้กลุ่มบุคคลที่มีสิทธิได้รับการเรียนรู้เรื่องเพศวิถีศึกษาได้เหมาะสมกับช่วงอายุต่าง ๆ ไว้กี่กลุ่ม *

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติประเภทรัสพจน์หัวหน้าจัดตั้งสำนักงานเว็บไซต์ต้นสังกัด
หน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติ
ยูเนสโก (UNESCO)
Audrey Azoulay
ผู้อำนวยการองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1945[1]
ปารีส, ฝรั่งเศส
www.unesco.org
คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ

องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (อังกฤษ: United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (อังกฤษ: UNESCO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ก่อตั้งโดยได้มีการลงนามในธรรมนูญขององค์การ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 และต่อมาเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศสมาชิกก่อตั้ง 20 ประเทศ ได้ร่วมมือกันให้สัตยาบันธรรมนูญองค์การ ซึ่งเริ่มด้วยข้อความที่ว่า

"สงครามเริ่มต้นที่จิตใจของมนุษย์ฉันใด ความหวงแหนสันติภาพก็ต้องสร้างขึ้นในจิตใจของมนุษย์ด้วยฉันนั้น"

นอกจากนี้ ธรรมนูญยูเนสโกยังบ่งชี้ไว้ด้วยว่า สันติภาพที่เกิดจากการตกลงทางการเมือง ทางเศรษฐกิจระหว่างรัฐบาลเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่แท้จริงและยืนนาน จากประเทศชาติต่าง ๆ ในโลก สันติภาพจะต้องวางรากฐานอยู่บนความร่วมมือทางภูมิปัญญา และจิตสำนึกของมนุษยชาติ ดังนั้นองค์การยูเนสโกจึงมุ่งเน้นการส่งเสริมสันติภาพ ด้วยการส่งเสริมความร่วมมือของนานาชาติ ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม เพื่อให้ทั่วโลกเคารพในความยุติธรรม กฎหมาย สิทธิ และเสรีภาพ ที่มนุษย์พึงมี โดยไม่ถือเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา ตามกฎบัตรสหประชาชาติ ยูเนสโกมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

ปัจจุบัน ยูเนสโกมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ สมาชิกสมทบอีก 11 ประเทศ[2] ประเทศไทยเข้าเป็นรัฐสมาชิกขององค์การยูเนสโกเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2492 (ลำดับที่ 49)

โดยปกติ ยูเนสโกจะใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ แต่ในระหว่างการประชุมสมัยสามัญของยูเนสโกและการประชุมคณะกรรมการบริหารของยูเนสโก จะใช้ภาษาที่เกี่ยวข้องถึง 6 ภาษา คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเชีย อาหรับ สเปน และจีน

การดำเนินงานของยูเนสโกนั้นจะปรากฏในรูปของการประชุมสมัยสามัญ ซึ่งมีทุก ๆ 2 ปี โดยคณะกรรมการประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม จำนวน 58 คน ที่เลือกมาจากผู้แทนของประเทศสมาชิก กรรมการจะอยู่ในวาระ 4 ปี โดยจัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการใหม่ครึ่งหนึ่งทุก 2 ปี ผู้อำนวยการใหญ่ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สูงสุดขององค์การ จะอยู่ในวาระ 6 ปี

ยูเนสโกได้จัดให้มีสำนักงานส่วนภูมิภาคและสำนักงานย่อยประจำพื้นที่ เพื่อให้ยูเนสโกประสานงานกับประเทศต่าง ๆ ได้อย่างใกล้ชิด แต่ละประเทศสมาชิกจะจัดให้มีสำนักผู้แทนถาวรประจำยูเนสโก และสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยยูเนสโกของประเทศนั้น ๆ เพื่อดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับขอบข่ายงานของยูเนสโกโดยเฉพาะ

กิจกรรม/โครงการ[แก้]

ยูเนสโกกำหนดและดำเนินการกิจกรรมภายใต้ 5 หัวข้อ คือ การศึกษา วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ สังคมและมนุษยศาสตร์ วัฒนธรรม และการสื่อสารและข้อมูล

  • ยูเนสโกสนับสนุนการวิจัยในการศึกษาเปรียบเทียบ (comparative education) โดยจัดหาผู้เชี่ยวชาญและส่งเสริมความร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความเป็นผู้นำด้านการศึกษาระดับชาติและศักยภาพของประเทศต่าง ๆ ในการนำเสนอการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับทุกคน โดยไม่จัดว่าเป็นการอุดมศึกษา อาทิ[3]
    • UNESCO Chairs
    • Convention against Discrimination in Education
    • UNESCO ASPNet
  • ยูเนสโกออกแถลงการณ์ Seville Statement on Violence
  • กำหนดโครงการและสถานที่ ที่มีความสำคัญทางวัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์ อาทิ:
    • เครือข่ายอุทยานธรณีโลก (Global Geoparks Network)
    • เครือข่ายพื้นที่สงวนชีวมณฑลโลก (World Network of Biosphere Reserves) ภายใต้โครงการมนุษย์และชีวมณฑล ตั้งแต่ พ.ศ. 2514
    • เมืองแห่งวรรณกรรม (City of Literature)
    • โครงการภาษาใกล้สูญและความหลากหลายทางภาษา (Endangered languages and linguistic diversity projects)
    • ผลงานชิ้นเอกด้านมุขปาฐะและมรดกที่ไม่เป็นกายภาพของมนุษยชาติ (Masterpieces of the Oral and Intangible Heritage of Humanity) ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็น มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ หรือ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (Intangible Cultural Heritage)
    • ความทรงจำแห่งโลก (Memory of the World) ตั้งแต่ พ.ศ. 2540
    • การจัดการทรัพยากรน้ำ ภายใต้โครงการอุทกวิทยานานาชาติ (International Hydrological Programme: IHP),
    • แหล่งมรดกโลก (World Heritage Sites)
    • หอสมุดดิจิทัลแห่งโลก (World Digital Library)
  • ส่งเสริม "การไหลของความคิดอย่างอิสระด้วยภาพและคำพูด" โดยวิธี:
    • ส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงออก รวมทั้งเสรีภาพสื่อและกฎหมายเสรีภาพด้านข้อมูลข่าวสาร ผ่านแผนกเสรีภาพในการแสดงออกและการพัฒนาสื่อ (Division of Freedom of Expression and Media Development)[4] รวมถึงโครงการระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาการสื่อสาร (International Programme for the Development of Communication)[5]
    • ส่งเสริมความปลอดภัยของสื่อและต่อสู้กับการไม่ต้องรับโทษสำหรับผู้ที่โจมตีพวกเขา[6] ผ่านการประสานงานตาม "แผนปฏิบัติการสหประชาชาติว่าด้วยความปลอดภัยของนักข่าวและประเด็นการไม่ต้องรับโทษ" (the UN Plan of Action on the Safety of Journalists and the Issue of Impunity)[7]
    • ส่งเสริมการเข้าถึงและการเก็บรักษาข้อมูลอย่างทั่วถึง และการแก้ปัญหาแบบเปิดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านแผนกสมาคมความรู้ (Knowledge Societies Division)[8] รวมถึงโครงการความทรงจำแห่งโลก (Memory of the World Programme)[9] และโครงการสารสนเทศเพื่อปวงชน (Information for All Programme)[10]
    • ส่งเสริมพหุนิยมทางการเมือง ความเท่าเทียมทางเพศ และความหลากหลายทางวัฒนธรรมในสื่อ
    • ส่งเสริมความเป็นสากลของอินเทอร์เน็ตและหลักการของอินเทอร์เน็ต ว่าอินเทอร์เน็ตควรตั้งอยู่บนพื้นฐาน (I) สิทธิมนุษยชน (ii) เปิดกว้าง (iii) เข้าถึงได้ทุกคน และ (iv) หล่อเลี้ยงโดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่าย (สรุปเป็นคำย่อ R.O.A.M.)[11]
    • การสร้างความรู้ผ่านสิ่งพิมพ์ เช่น World Trends in Freedom of Expression and Media Development,[12] the UNESCO Series on Internet Freedom,[13] and the Media Development Indicators,[14] ตลอดจนการศึกษาตามตัวบ่งชี้อื่น ๆ
  • สนับสนุนกิจกรรม อาทิ:
    • ทศวรรษสากลเพื่อวัฒนธรรมสันติภาพและความไม่รุนแรงเพื่อเด็กของโลก (International Decade for the Promotion of a Culture of Peace and Non-Violence for the Children of the World) ระหว่าง ค.ศ. 2001–2010
    • วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก (World Press Freedom Day) ในทุกวันที่ 3 พฤษภาคมของทุกปี เพื่อส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพของสื่อ ในฐานะที่เป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานและเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสังคมที่มีสุขภาพดี เป็นประชาธิปไตยและเสรี
    • วันการรู้หนังสือสากล (International Literacy Day)
    • ปีสากลเพื่อวัฒนธรรมเชิงสันติ (International Year for the Culture of Peace)
  • ก่อตั้งแต่ให้ทุกสนับสนุนโครงการ อาทิ:
    • โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การย้ายถิ่น (Migration Museums Initiative)[15]
    • สำนักข่าวแห่งเอเชียและแปซิฟิก (OANA)
    • สภาวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ (International Council of Science)
    • ทูตสันถวไมตรียูเนสโก (UNESCO Goodwill Ambassador)
    • UNESCO Collection of Representative Works เพื่อแปลผลงานวรรณกรรมโลกให้เป็นหลายภาษาระหว่างปี 1948 ถึง 2005
    • GoUNESCO[16]

นอกจากนี้ มีการเสนอให้จัดตั้งโครงการใหม่โดยรัฐสมาชิก ได้แก่ โครงการที่มุ่งเน้นมรดกทางวัฒนธรรมที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ (movable cultural heritage) อาทิ สิ่งประดิษฐ์ ภาพวาด และ biofact ตัวอย่างวัตถุทางวัฒนธรรม เช่น ภาพวาดโมนาลิซา ประติมากรรมดาวิด ทองสัมฤทธิ์เบนิน และมงกฎแห่งแพ็กเจ เป็นต้น และโครงการที่มุ่งเน้นสิ่งชีวิต เช่น มังกรโกโมโด แพนด้ายักษ์ อินทรีหัวขาว อาย-อาย เป็นต้น[17][18]

ผู้อำนวยการ[แก้]

รายชื่อผู้อำนวยการองค์การยูเนสโก ดังนี้ [19]

ชื่อ สัญชาติ ดำรงตำแหน่ง (ค.ศ.)
Julian Huxley
 
สหราชอาณาจักร
1946–48
Jaime Torres Bodet
 
เม็กซิโก
1948–52
John Wilkinson Taylor
 
สหรัฐ
รักษาการ 1952–53
Luther Evans
 
สหรัฐ
1953–58
Vittorino Veronese
 
อิตาลี
1958–61
René Maheu
 
ฝรั่งเศส
1961–74; รักษาการ 1961
Amadou-Mahtar M'Bow
 
เซเนกัล
1974–87
Federico Mayor Zaragoza
 
สเปน
1987–99
Koïchiro Matsuura
 
ญี่ปุ่น
1999–2009
Irina Bokova
 
บัลแกเรีย
2009–2017
Audrey Azoulay
 
ฝรั่งเศส
2017–ปัจจุบัน

สำนักงาน[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ history
  2. "List of UNESCO members and associates". UNESCO. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 March 2019. สืบค้นเมื่อ 11 March 2019.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-13. สืบค้นเมื่อ 2021-10-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์), Information Centre on Academic Mobility and Equivalence (CIMEA), Italy. and UNESCO "Alert: Misuse of UNESCO Name by Bogus Institutions"
  4. "Fostering Freedom of Expression". UNESCO. 30 January 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 December 2019. สืบค้นเมื่อ 19 December 2016.
  5. "International Programme for the Development of Communication (IPDC) | United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization". www.unesco.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 June 2017. สืบค้นเมื่อ 19 December 2016.
  6. "Safety of Journalists". UNESCO. 22 May 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 January 2020. สืบค้นเมื่อ 19 December 2016.
  7. "UN Plan of Action | United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization". www.unesco.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2017. สืบค้นเมื่อ 19 December 2016.
  8. "Building Knowledge Societies". UNESCO. 18 June 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2020. สืบค้นเมื่อ 19 December 2016.
  9. "Memory of the World | United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization". www.unesco.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2017. สืบค้นเมื่อ 19 December 2016.
  10. "Information for All Programme (IFAP) | United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization". www.unesco.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 September 2017. สืบค้นเมื่อ 19 December 2016.
  11. "Internet Universality | United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization". www.unesco.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2017. สืบค้นเมื่อ 19 December 2016.
  12. "World Trends in Freedom of Expression and Media Development | United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization". www.unesco.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 August 2017. สืบค้นเมื่อ 19 December 2016.
  13. "UNESCO Series on Internet Freedom | United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization". www.unesco.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 August 2017. สืบค้นเมื่อ 19 December 2016.
  14. "Media Development Indicators (MDIs) | United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization". www.unesco.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2017. สืบค้นเมื่อ 19 December 2016.
  15. "Migration Institutions – Home". Migrationmuseums.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2007. สืบค้นเมื่อ 23 April 2010.
  16. "Official support for GoUNESCO from UNESCO New Delhi". GoUNESCO – Make Heritage Fun! (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 24 March 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 August 2019. สืบค้นเมื่อ 15 August 2019.
  17. "Tangible Cultural Heritage – United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization". www.unesco.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2018. สืบค้นเมื่อ 18 March 2018.
  18. Centre, UNESCO World Heritage. "UNESCO World Heritage Centre – Document – Discovered artifacts under preservation, Archaeological Site, 18 Hoang Dieu street". whc.unesco.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 November 2019. สืบค้นเมื่อ 26 December 2019.
  19. UNESCO official site: Directors-General เก็บถาวร 18 กรกฎาคม 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

  • องค์การยูเนสโก สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ

ดูเพิ่ม[แก้]

  • มรดกโลก
  • มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
  • ความทรงจำแห่งโลก
  • ภูมิทัศน์วัฒนธรรม
  • ทูตสันถวไมตรียูเนสโก

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • UNESCO เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
  • UNESCO Bangkok เว็บไซต์สำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ
  • สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ เก็บถาวร 2005-04-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Thai National Commission for UNESCO

ยูเนสโกได้ให้คำจำกัดความของเพศวิถีศึกษาไว้ว่าอย่างไร

องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก(UNESCO) ได้ให้คำจำกัดความของเพศวิถีศึกษาว่า หมายถึง “การเรียนการสอนเกี่ยวกับเรื่องเพศ และความสัมพันธ์ที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียนและบริบททางวัฒนธรรมโดยการให้ความรู้ที่ถูกต้องชัดเจน ข้อมูลที่ปราศจากการตัดสินคุณค่าบนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์”

ยูเนสโกแบ่งเพศวิถีกี่กลุ่ม

องก์การยูเนสโก ระบุว่าเด็กและเยาวชนจำเป็น และมีสิทธิที่จะได้รับการเรียนรู้เรื่องเพศวิถีศึกษาให้เหมาะสมกลุ่มอายุต่างๆ แบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ตามช่วงอายุ 1. อายุ 5 - 8 ปี 2. อายุ 9 - 12 ปี 3. อายุ 13-15 ปี

เรื่องเพศศึกษามีอะไรบ้าง

เพศศึกษานั้นเป็นความรู้ที่ครอบคลุมถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆของร่างกาย ระบบการเจริญพันธุ์ ระดับของฮอร์โมนเพศ อารมณ์เพศ ความรัก กามารมณ์ การครองชีวิตคู่ การวางแผนครอบครัว การคุมกำเนิด การตั้งครรภ์และมีบุตร การดูแลสุขอนามัยของอวัยวะเพศและส่วนที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมกับวัย

คนกลุ่มใดควรได้รับการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษามากที่สุด

ระยะเด็กอายุ 12-18 ปี วัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด การเรียนรู้ในวัยนี้มีความจำเป็นมาก เด็กเรียนรู้เรื่องเพศจากการหาความรู้ด้วยตัวเอง จากกลุ่มเพื่อน และจากครูมากขึ้น การสอนสามารถจัดเป็นกลุ่มในโรงเรียน ให้ครอบคลุมสิ่งที่วัยรุ่นต้องรู้ ก่อนจะเป็นผู้ใหญ่ต่อไป(10) แบ่งเป็น 2 ช่วงอายุ คือ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita