จังหวัดลําพูน มีกี่อําเภอ อะไรบ้าง

เปิด/ปิดแถบข้าง

ค้นหา

  • สร้างบัญชี

เครื่องมือส่วนตัว

สร้างบัญชี

เข้าสู่ระบบ

หน้าสำหรับผู้แก้ไขที่ออกจากระบบ เรียนรู้เพิ่มเติม

  • คุย
  • ส่วนร่วม

การนำทาง

  • หน้าหลัก
  • ถามคำถาม
  • เหตุการณ์ปัจจุบัน
  • สุ่มบทความ
  • เกี่ยวกับวิกิพีเดีย
  • ติดต่อเรา
  • บริจาคให้วิกิพีเดีย

มีส่วนร่วม

  • คำอธิบาย
  • เริ่มต้นเขียน
  • ศาลาประชาคม
  • เปลี่ยนแปลงล่าสุด
  • ดิสคอร์ด

เครื่องมือ

  • หน้าที่ลิงก์มา
  • การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวโยง
  • อัปโหลดไฟล์
  • หน้าพิเศษ
  • ลิงก์ถาวร
  • สารสนเทศหน้า
  • สิ่งนี้ใน วิกิสนเทศ

พิมพ์/ส่งออก

  • สร้างหนังสือ
  • ดาวน์โหลดเป็น PDF
  • รุ่นพร้อมพิมพ์

ในโครงการอื่น

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์

ภาษา

ลิงก์ข้ามไปยังรุ่นภาษาอื่นของบทความนี้ถูกย้ายไปด้านบนแล้วที่ทางขวาของชื่อหน้า ไปด้านบน

หมวดหมู่:อำเภอในจังหวัดลำพูน

8 ภาษา

  • Deutsch
  • English
  • Italiano
  • 日本語
  • 한국어
  • Română
  • اردو
  • Tiếng Việt

แก้ไขลิงก์

  • หมวดหมู่
  • อภิปราย

ไทย

    • อ่าน
    • แก้ไข
    • ดูประวัติ

    เพิ่มเติม

    • อ่าน
    • แก้ไข
    • ดูประวัติ

    คำอธิบาย

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมของจังหวัด ดูบทความหลักที่ จังหวัดลำพูน

    หมวดหมู่ย่อย

    หมวดหมู่นี้มี 2 หมวดหมู่ย่อยต่อไปนี้ จากทั้งหมด 2 หมวดหมู่

    • อำเภอบ้านธิ‎ (8 น)

    • อำเภอเมืองลำพูน‎ (8 น)

    หน้าในหมวดหมู่ "อำเภอในจังหวัดลำพูน"

    มีบทความ 8 หน้าในหมวดหมู่นี้จากทั้งหมด 8 หน้า รายการที่ปรากฏด้านล่างอาจไม่รวมการแก้ไขล่าสุด

    • อำเภอทุ่งหัวช้าง

    • อำเภอบ้านธิ
    • อำเภอบ้านโฮ่ง

    • อำเภอแม่ทา
    • อำเภอเมืองลำพูน

    • อำเภอลี้

    • อำเภอเวียงหนองล่อง

    • อำเภอป่าซาง

    เข้าถึงจาก "//th.wikipedia.org/w/index.php?title=หมวดหมู่:อำเภอในจังหวัดลำพูน&oldid=10367586"

    หมวดหมู่:

    • อำเภอของประเทศไทย
    • จังหวัดลำพูน
    • หน่วยการบริหารในจังหวัดลำพูน

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    จังหวัดลำพูน

    การถอดเสียงอักษรโรมัน • อักษรโรมันประเทศการปกครอง • ผู้ว่าราชการ พื้นที่[1] • ทั้งหมดอันดับพื้นที่ประชากร

     (พ.ศ. 2564)[2]

     • ทั้งหมด • อันดับ • ความหนาแน่น • อันดับความหนาแน่นรหัส ISO 3166ชื่อไทยอื่น ๆสัญลักษณ์ประจำจังหวัด • ต้นไม้ • ดอกไม้ • สัตว์น้ำศาลากลางจังหวัด • ที่ตั้ง • โทรศัพท์เว็บไซต์

    จังหวัด

    Changwat Lamphun

    จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:

    • อุทยานแห่งชาติแม่ปิง
    • วัดพระธาตุหริภุญชัย
    • อุโมงค์ขุนตาน
    • ประตูเมืองลำพูน
    • เจดีย์แปดเหลี่ยม วัดจามเทวี


    ธง


    ตรา

    คำขวัญ: 

    พระธาตุเด่น พระรอดขลัง ลำไยดัง กระเทียมดี
    ประเพณีงาม จามเทวีศรีหริภุญไชย

    แผนที่ประเทศไทย จังหวัดลำพูนเน้นสีแดง

     
    ไทย
    สันติธร ยิ้มละมัย
    (ตั้งแต่ พ.ศ. 2565)
    4,505.882 ตร.กม. (1,739.731 ตร.ไมล์)
    อันดับที่ 48
    401,139 คน
    อันดับที่ 63
    89.03 คน/ตร.กม. (230.6 คน/ตร.ไมล์)
    อันดับที่ 52
    TH-51
    นครหริภุญชัย
    ก้ามปู (จามจุรีแดง)
    ทองกวาว
    อึ่งปากขวด
    ถนนอินทยงยศ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน 51000
    0 5351 1000
    //www.lamphun.go.th/
    ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

    ลำพูน (คำเมือง: ᩃᨻᩪᩁ, หละปูน) เป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กที่สุดในภาคเหนือ นับเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ เคยเป็นที่ตั้งของนครหริภุญชัย ในสมัยพระนางจามเทวี เดิมชื่อเมืองหริภุญไชย เป็นเมืองโบราณมีอายุประมาณ 1,343 ปี ตามพงศาวดารโยนกเล่าสืบต่อกันถึงการสร้างเมืองหริภุญไชย โดยฤๅษีวาสุเทพเป็นผู้เกณฑ์พวกเม็งคบุตรหรือชนเชื้อชาติมอญมาสร้างเมืองนี้ขึ้นในพื้นที่ระหว่างแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำกวงและแม่น้ำปิง เมื่อมาสร้างเสร็จได้ส่งทูตไปเชิญราชธิดากษัตริย์เมืองละโว้พระนาม "จามเทวี" มาเป็นปฐมกษัตริย์ปกครองเมืองหริภุญไชยสืบราชวงศ์กษัตริย์ต่อมาหลายพระองค์ จนกระทั่งถึงสมัยพญายีบาจึงได้เสียการปกครองให้แก่พญามังราย ผู้รวบรวมแว่นแคว้นทางเหนือเข้าเป็นอาณาจักรล้านนา

    ชื่อภาษาไทยอักษรไทยอักษรโรมันชื่อคำเมืองอักษรธรรมล้านนาอักษรไทย
    จังหวัดลำพูน

    "ลำพูน" ในภาษาไทย (บน)
    และในคำเมืองอักษรธรรมล้านนา (ล่าง)

    ลำพูน
    Lamphun
    ᩃᨻᩪᩁ
    ลพูร (คำอ่าน: ละปูน)

    ถึงแม้ว่าเมืองลำพูนจะตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนา แต่ก็ได้เป็นผู้ถ่ายทอดมรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมให้แก่ผู้ที่เข้ามาปกครอง ดังปรากฏหลักฐานทั่วไปในเวียงกุมกาม เชียงใหม่ และเชียงราย เมืองลำพูนจึงยังคงความสำคัญในทางศิลปะและวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนา จนกระทั่งสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมืองลำพูนจึงได้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย มีผู้ครองนครสืบต่อกันมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เมื่อเจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้าย คือ พลตรี เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ถึงแก่พิราลัย เมืองลำพูนจึงเปลี่ยนเป็นจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปกครองสืบมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน นอกจากจังหวัดลำพูนจะมีชื่อเสียงในฐานะเป็นเมืองประวัติศาสตร์แล้ว ยังเป็นแหล่งเพาะปลูกลำไย พระเครื่อง โบราณสถานที่สำคัญ และผ้าทอฝีมือดี ปัจจุบันมีประตูเมืองหลักทั้งสี่ทิศคือ ทิศเหนือประตูช้างสี ทิศตะวันออกประตูท่าขาม ทิศใต้ประตูลี้ ทิศตะวันตกประตูมหาวัน มีกำแพงเมืองเก่าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือคือ ประตูท่านาง

    ภูมิศาสตร์[แก้]

    อาณาเขต[แก้]

    ลำพูนมีพื้นที่ติดกับจังหวัดอื่น ๆ 3 จังหวัด ดังนี้

    • ทิศเหนือ จรดอำเภอสารภี อำเภอสันกำแพง และอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
    • ทิศตะวันออก จรดอำเภอห้างฉัตร อำเภอสบปราบ และอำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง
    • ทิศใต้ จรดอำเภอเถิน อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง และอำเภอสามเงา จังหวัดตาก
    • ทิศตะวันตก จรดอำเภอฮอด อำเภอจอมทอง อำเภอหางดง และอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

    ที่ตั้ง[แก้]

    • จังหวัดลำพูน ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (สายเอเซีย) เป็นระยะทาง 689 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินสายพหลโยธิน เป็นระยะทาง 724 กิโลเมตร และตามทางรถไฟ 729 กิโลเมตร ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 18 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศาตะวันออก อยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน อยู่ห่างจากจังหวัดเชียงใหม่เพียง 22 ก.ม. เป็นพื้นที่ ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นศูนย์กลางความเจริญของภาคเหนือตอนบน และอนุภูมิภาค ลุ่มน้ำโขง หรือพื้นที่สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจร่วมกับ จังหวัดเชียงใหม่
    • จังหวัดลำพูนเป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กที่สุดของภาคเหนือมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 4,505.882 ตร.กม. หรือประมาณ 2,815,675 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 4.85 ของพื้นที่ ภาคเหนือตอนบน บริเวณที่กว้างที่สุดประมาณ 43 กม. และยาวจากเหนือจดใต้ 136 กม.[3]
    • ลักษณะภูมิอากาศ จังหวัดลำพูนตั้งอยู่ในภาคเหนือ ซึ่งตามตำแหน่งที่ตั้งอยู่ในเขตร้อนที่ค่อนไปทาง เขตอากาศอบอุ่น ในฤดูหนาวจึงมีอากาศเย็นค่อนข้างหนาว แต่เนื่องจากอยู่ลึกเข้าไปใน แผ่นดินห่างไกลจากทะเล จึงมีฤดูแล้งที่ยาวนานและอากาศจะร้อนถึงร้อนจัดในฤดูร้อน จังหวัดลำพูนมีสภาพภูมิอากาศแตกต่างกันอย่างเด่นชัด 3 ช่วงฤดู คือช่วงเดือนมีนาคม กับเมษายนมีอากาศร้อน ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม จะมีฝนตกชุกเป็นฤดูฝน และช่วงเดือนพฤศจิกายนถึง เดือนกุมภาพันธ์มีอากาศหนาวเย็นเป็นฤดูหนาว ซึ่งฤดูหนาวและฤดูร้อนนั้น เป็นช่วงฤดูแล้ง ที่มีระยะเวลาติดต่อกันประมาณ 6 เดือน ในช่วงฤดูฝนอีก 6 เดือน นั้น อากาศจะไม่ร้อนเท่ากับ ในฤดูร้อน และไม่หนาวเย็นเท่า ฤดูหนาว คือมีอุณหภูมิปานกลางอยู่ระหว่างสองฤดูดังกล่าว

    อุทยานแห่งชาติ[แก้]

    • อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล
    • อุทยานแห่งชาติแม่ปิง

    สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้]

    • คำขวัญประจำจังหวัด : พระธาตุเด่น พระรอดขลัง ลำไยดัง กระเทียมดี ประเพณีงาม จามเทวีศรีหริภุญไชย
    • ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นก้ามปูหรือจามจุรีแดง (Samanea saman)
    • ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกทองกวาว (Butea monosperma)
    • สัตว์น้ำประจำจังหวัด : อึ่งปากขวดหรืออึ่งเพ้า (Glyphoglossus molossus)

    การเมืองการปกครอง[แก้]

    หน่วยการปกครอง[แก้]

    แผนที่อำเภอในจังหวัดลำพูน

    จังหวัดลำพูนแบ่งการปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 51 ตำบล 574 หมู่บ้าน ดังนี้

    ที่ ชื่ออำเภอ ตัวเมืองอักษรโรมัน ตำบล หมู่บ้าน ประชากร
    (พ.ศ. 2560)[2]พื้นที่
    (ตร.กม.) ความหนาแน่น
    (คน/ตร.กม.)
    1 เมืองลำพูน
    Mueang Lamphun 15 159 146,098 479.83 304.48
    2 แม่ทา
    Mae Tha 6 68 39,107 762.63 51.27
    3 บ้านโฮ่ง
    Ban Hong 5 62 40,199 596.90 67.34
    4 ลี้
    Li 8 99 69,806 1,701.99 41.01
    5 ทุ่งหัวช้าง
    Thung Hua Chang 3 35 20,173 486.13 41.49
    6 ป่าซาง
    Pa Sang 9 90 55,321 299.95 184.43
    7 บ้านธิ
    Ban Thi 2 36 17,698 129.02 137.16
    8 เวียงหนองล่อง
    Wiang Nong Long 3 25 17,516 49.43 354.33
    รวม 51 574 405,918 4,505.88 90.08

    การเลือกตั้ง[แก้]

    ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา จังหวัดลำพูน แบ่งเขตการเลือกตั้งเป็น 2 เขต โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 2 คน คือ สงวน พงษ์มณี และรังสรรค์ มณีรัตน์

    รายพระนามเจ้าผู้ครองนคร[แก้]

    รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัด[แก้]

    ลำดับ รายชื่อ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
    1 พระยาประศาสน์วิริยะกิจ พ.ศ. 2450 – 2460
    2 พระยาวิชิตรักษาตกศิลาบุรินทร์ พ.ศ. 2461 – 2472
    3 พระยากำธรพยัพทิศ พ.ศ. 2472 – 2475
    4 พระประชากรบริรักษ์ พ.ศ. 2475 – 2475
    5 พระสำเริงนฤประการ พ.ศ. 2476 – 2477
    6 พระยาบรรหารวรพจน์ พ.ศ. 2478 – 2482
    7 พระภูมิพิชัย พ.ศ. 2483 – 2484
    8 พระพิชิตบัญชาการ พ.ศ. 2484 – 2487
    9 หลวงอนุมัติราชกิจ พ.ศ. 2487 – 2490
    10 ขุนบุรีภิรมย์กิจ พ.ศ. 2490 – 2491
    11 ขุนสนิทประชาราษฏร์ พ.ศ. 2491 – 2498
    12 นายสุจิตต์ สมบัติศิริ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2498 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2501
    13 นายมานิต ปุรณะพรรค์ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2501 – 30 กันยายน พ.ศ. 2509
    14 นายจำนง เทพหัสดิน ณ อยุธยา 1 ตุลาคม พ.ศ. 2509 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2510
    15 นายรง ทัศนาญชลี 28 ตุลาคม พ.ศ. 2510 – 7 ธันวาคม พ.ศ. 2516
    16 นายบรรโลม ภุชงคกุล 1 เมษายน พ.ศ. 2517 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518
    17 นายธวัช มกรพงศ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519
    18 หม่อมหลวงภัคศุก กำภู 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 – 30 กันยายน พ.ศ. 2521
    19 นายพิสนย์ สุนทรธรรม 1 ตุลาคม พ.ศ. 2521 – 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522
    20 นายศักดิ์ โกไศยกานนท์ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2523
    21 นายจริญญา พึ่งแสง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2523 – 30 กันยายน พ.ศ. 2527
    22 ร้อยโท สุชาติ รัฐคำไทย 1 ตุลาคม พ.ศ. 2527 – 30 กันยายน พ.ศ. 2529
    23 นายประถม ศิริมาลา 1 ตุลาคม พ.ศ. 2529 – 30 กันยายน พ.ศ. 2532
    24 นายสว่าง อินทรนาค 1 ตุลาคม พ.ศ. 2532 – 30 กันยายน พ.ศ. 2534
    25 นายสนิทวงศ์ อุเทศนันทน์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2534 – 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2535
    26 ร้อยตรี พยนต์ พิเรนทร 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 – 30 กันยายน พ.ศ. 2536
    27 นายเถกิงศักดิ์ พัฒโน 18 ตุลาคม พ.ศ. 2536 – 30 กันยายน พ.ศ. 2539
    28 นายสุจริต นันทมนตรี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2539 – 19 ตุลาคม พ.ศ. 2540
    29 นายชัยพร รัตนนาคะ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2540 – 15 เมษายน พ.ศ. 2541
    30 นายประพัฒน์พงษ์ บำเพ็ญสิทธิ์ 16 เมษายน พ.ศ. 2541 – 30 กันยายน พ.ศ. 2542
    31 นายเรียบ นราดิศร 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 – 30 กันยายน พ.ศ. 2545
    32 นายธวัช เสถียรนาม 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 30 กันยายน พ.ศ. 2547
    33 นายอุดม พัวสกุล 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 2 มิถุนายน พ.ศ. 2549
    34 นายชิดพงษ์ ฤทธิประศาสน์ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2549 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
    35 นายอมรพันธุ์ นิมานันท์ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 – 19 ตุลาคม พ.ศ. 2551
    36 นายดิเรก ก้อนกลีบ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2551 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2554
    37 นายสุรชัย ขันอาสา 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 – 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555
    38 นายพินิจ หาญพาณิชย์ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 – 30 กันยายน พ.ศ. 2556
    39 นายสุวรรณ กล่าวสุนทร 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 – 30 กันยายน พ.ศ. 2557
    40 นายณรงค์ อ่อนสอาด 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 – 30 กันยายน พ.ศ. 2559
    41 นายวีระชัย ภู่เพียงใจ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 30 กันยายน พ.ศ. 2560
    42 นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 – 30 กันยายน พ.ศ. 2562
    43 นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 – 30 กันยายน พ.ศ. 2563
    44 นายวรยุทธ เนาวรัตน์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 30 กันยายน พ.ศ. 2565
    45 นายสันติธร ยิ้มละมัย 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน

    ประชากร[แก้]

    เชื้อชาติและภาษา[แก้]

    ภาษายองเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายในจังหวัดลำพูน คนในจังหวัดลำพูนมักจะพูดสำเนียงเมืองยอง เพราะชาวลำพูนส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากไทลื้อในรัฐฉานประเทศพม่าและสิบสองปันนาประเทศจีน จึงมีสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นแตกต่างจากคำเมืองของภาคเหนือ และประชากรส่วนหนึ่งของจังหวัดลำพูนเป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงปกาเกอะญอ โดยเฉพาะหมู่บ้านพระบาทห้วยต้มหมู่บ้านเดียว มีประชากรของกะเหรี่ยงปกาเกอะญออาศัยพันกว่าหลังคาเรือน และเป็นหมู่บ้านต้นแบบ หมู่บ้านรักษาศีล 5

    สถานศึกษา[แก้]

    อุดมศึกษา

    • มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน
    • มหาวิทยาลัยธนบุรี ศูนย์ลำพูน
    • มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง วิทยาเขตลำพูน
    • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์หริภุญชัย จังหวัดลำพูน
    • สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ๑ วิทยาลัยเทคนิคลำพูน

    อาชีวศึกษา

    • วิทยาลัยเทคนิคลำพูน
    • วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู ภาคเหนือ
    • วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน
    • วิทยาลัยการอาชีพป่าซาง
    • วิทยาลัยการอาชีพบ้านโฮ่ง
    • วิทยาลัยเทคโนโลยีชรินรัตน์ลำพูน

    โรงเรียน

    สถานที่สำคัญของจังหวัด[แก้]

    • วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร (พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิด วรมหาวิหาร)
    • วัดพระพุทธบาทตากผ้า (พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิด สามัญ)
    • พระบรมราชานุสาวรีย์พระนางจามเทวี
    • วัดจามเทวี
    • วัดพระธาตุดอยเวียง
    • วัดประตูลี้
    • วัดมหาวัน
    • วัดพระคงฤๅษี
    • วัดพระยืน
    • วัดธงสัจจะ
    • วัดสันป่ายางหลวง
    • วัดสันป่ายางหน่อม
    • วัดช้างรอง
    • วัดช้างสี
    • วัดไก่แก้ว
    • กู่ช้าง - กู่ม้า
    • วัดเจดีย์กู่เต้าจุฬามณี
    • วัดต้นแก้ว
    • วัดรมณียาราม
    • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย
    • วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม
    • ดอยขะม้อ
    • สะพานขาวทาชมภู
    • วัดดอยติ อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย องค์ใหญ่ที่สุดในลำพูน
    • อุโมงค์ขุนตาน เป็นอุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทย
    • อนุสาวรีย์สุเทวฤๅษี
    • The Sun New Center สวนน้ำและสวนสนุก
    • ถนนคนเดินจังหวัดลำพูน หน้าวัดพระธาตุหริภุญชัย ทุกวันศุกร์
    • ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงพระบาทห้วยต้ม
    • น้ำตกก้อ แก่งก้อ อุทยานแห่งชาติแม่ปิง
    • สวนสายน้ำแร่
    • หมู่บ้านแกะสลักบ้านทา
    • หมู้บ้านกะเหรี่ยงพัฒนาห้วยหละ
    • ถ้ำเอราวัณ
    • ถ้ำหลวงผาเวียง
    • ขัวมุงท่าสิงห์ และชุมชนเวียงยอง
    • ดอยช้างป๋าแป่ เป็นยอดดอยที่สุดที่ในจังหวัดลำพูน
    • ศาลเจ้าพ่อขุนตาล
    • ตลาดหนองดอก
    • ตลาดเกษตรดอยแก้ว (กาดป่าเปา)
    • อ่างเก็บน้ำแม่ตีบ
    • ตลาดลำพูนจตุจักร

    วัฒนธรรมและประเพณี[แก้]

    • งานของดีศรีหริภุญชัย
    • งานประเพณีสงกรานต์
    • งานประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัย (แปดเป็ง)
    • งานสลากย้อมเมืองหละปูน หนึ่งเดียวในโลก
    • งานเทศกาลลำไย
    • งานพระนางจามเทวี
    • งานฤดูหนาวและกาชาด
    • งานแห่แคร่หลวง ลอยกระทง อำเภอบ้านโฮ่ง
    • งานแต่งสีอวดลาย ผ้าฝ้ายดอนหลวง อำเภอป่าซาง
    • งานต้นกำเนิดไม้แกะสลัก และของดีอำเภอแม่ทา
    • งานเทศกาลโคมแสนดวงที่เมืองลำพูน[4]

    บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]

    • ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา
    • ครูบาอภิชัยขาวปี ศิษย์เอกครูบาศรีวิชัยนักพัฒนานักปฏิบัติ
    • ครูบาวงศ์ นักพัฒนานักปฏิบัติ
    • พระสุพรหมยานเถร (พรหมา พฺรหฺมจกฺโก) พระนักปฏิบัติ
    • พระพุทธพจนวราภรณ์ (จันทร์ กุสโล) พระราชาคณะเจ้าคณะรอง อดีตเจ้าคณะภาค๔-๕-๖-๗ (ธรรมยุต) อดีตเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่
    • หลวงปู่ครูบาผัด พระนักปฏิบัติ
    • ภานุทัต อภิชนาธง ครูสอนศิลปินพื้นบ้านล้านนาและนักร้อง
    • สุพจน์ จันทร์เจริญ นักร้อง นักแสดง
    • ศตวรรษ ดุลยวิจิตร นักแสดง
    • อาจารียา พรหมพฤกษ์ นักร้อง
    • ภัทรากร ตั้งศุภกุล นักแสดง
    • เคนี สไตลส์ นักแสดงภาพยนตร์ผู้ใหญ่ชาวอังกฤษ
    • วิทยา เลาหกุล อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทยและอดีตผู้ฝึกสอนทีมชาติไทย
    • หัตฐพร สุวรรณ อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย
    • พรรษา มีสัตย์ธรรม อดีตผู้รักษาประตูทีมชาติไทย
    • นพพร อินสีลอย (กิ่งซาง) นักมวย ครู
    • สถาพร ริยะป่า (อู๋) ผู้ประกาศข่าวช่อง 8
    • วีนัส นันทะชัย รองอันดับหนึ่ง Miss Thailand World 2014
    • ณัฐธยาน์ ธนรณวัฒน์ นักกีฬาเหรียญทองมาราธอนกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 28
    • เอ็ดดี้ ตลาดแตก ศิลปินนักร้อง
    • อินสนธ์ วงสาม ศิลปินแห่งชาติ
    • ทวี นันทขว้าง ศิลปินแห่งชาติ
    • เรวิญานันท์ ทาเกิด (เบญ) นักแสดง

    กีฬา[แก้]

    • ทีมฟุตบอล สโมสรฟุตบอลลำพูน วอริเออร์ เป็นแชมป์ ไทยลีก 2 2021-2022 [5]

    อ้างอิง[แก้]

    1. "ข้อมูลการปกครอง". ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-10. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2553.
    2. ↑ 2.0 2.1 "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน พ.ศ. 2564 จังหวัดลำพูน". กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. 2564. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2565.
    3. "เกี่ยวกับจังหวัด : ลักษณะภูมิประเทศ / ภูมิอากาศ". จังหวัดลำพูน กระทรวงมหาดไทย. ม.ป.ป. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2562.
    4. "งานเทศกาลโคมแสนดวงที่เมืองลำพูน". avengo.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-29. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2562.
    5. สโมสรลํา พูนเอฟซี "สโมสรฟุตบอลลำพูน วอร์ริเออร์", วิกิพีเดีย, 2022-05-02, สืบค้นเมื่อ 2022-05-10

    ดูเพิ่ม[แก้]

    • รายชื่อวัดในจังหวัดลำพูน
    • รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดลำพูน
    • รายชื่อห้างสรรพสินค้าในจังหวัดลำพูน

    แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

    • เจ้าเมืองลำพูน
    • เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด

    พิกัดภูมิศาสตร์: 18°30′N 99°05′E / 18.5°N 99.08°E

    • แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ จังหวัดลำพูน
      • แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแผนที่
      • ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
      • ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย

    จังหวัดลําพูนมีตำบลอะไรบ้าง

    อำเภอเมืองลำพูนแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 15 ตำบล 159 หมู่บ้าน ประกอบด้วย.
    ตำบลเหมืองง่า 10 หมู่บ้าน.
    ตำบลอุโมงค์ 11 หมู่บ้าน.
    ตำบลหนองช้างคืน 6 หมู่บ้าน.
    ตำบลประตูป่า 9 หมู่บ้าน.
    ตำบลริมปิง 10 หมู่บ้าน.
    ตำบลต้นธง 11 หมู่บ้าน.
    ตำบลบ้านแป้น 9 หมู่บ้าน.
    ตำบลเหมืองจี้ 14 หมู่บ้าน.

    อําเภอป่าซาง มีกี่หมู่บ้าน

    2. ตำบลป่าซาง 5 หมู่บ้าน 3. ตำบลแม่แรง 11 หมู่บ้าน 4. ตำบลม่วงน้อย 8 หมู่บ้าน 5. ตำบลบ้านเรือน 8 หมู่บ้าน

    ลําพูนอยู่จังหวัดอะไร

    จังหวัดลำพูน ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (สายเอเซีย) เป็นระยะทาง 689 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินสายพหลโยธิน เป็นระยะทาง 724 กิโลเมตร และตามทางรถไฟ 729 กิโลเมตร ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 18 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศาตะวันออก อยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอน ...

    อําเภอลี้มีกี่ตําบล

    อำเภอลี้แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 ตำบล 99 หมู่บ้าน ประกอบด้วย 1. ตำบลลี้ 17 หมู่บ้าน 2. ตำบลแม่ตืน 17 หมู่บ้าน

    กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

    Toplist

    โพสต์ล่าสุด

    แท็ก

    flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita