สั่งพักงานลูกจ้างได้กี่วัน

เรียนปรึกษาท่านอาจารย์ครับ ผมในนามบริษัท B จำกัด ได้รับหนังสือจาก สนง.สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ส่งคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน โดยสิ่งที่ส่งมาด้วยด้วยนั้น เป็นคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน สนง.สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กทม. จำนวน 1 ชุด โดยหนังสือฉบับดังกล่าว สนง.สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ขอส่งคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานตามคำร้องของ น.ส. A (นามสมมุติ) ซึ่งร้องว่านายจ้าง ไม่จ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย

โดยในรายละเอียดฉบับดังกล่าว มี 2 ประเด็น คือ ประเด็นที่ 1 ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่ และเป็นจำนวนเท่าใด (ในเอกสารสรุปว่า การที่นายจ้างได้สั่งพักงานลูกจ้าง ตั้งแต่วันที่ xxx จนถึงวันที่ xxx โดยไม่ได้จ่ายค่าจ้างในช่วงเวลาดังกล่าว ย่อมเป็นการเลิกจ้างแล้ว ตามมาตรา 118 วรรคสอง แห่งพระราชบัญติดังกล่าว กรณีนี้ จึงต้องนับวันนที่ xxx เป็นวันที่เลิกจ้าง เมื่อนายจ้างไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า ตามที่กฏหมายกำหนดตามมาตรา 17/1 แห่งพระราชบัญติที่อ้างแล้ว ลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างแทนการบอกกว่าล่วงหน้า ตั้งแต่วันที่ xxx ถึงวันที่ xxx เป็นเงิน 25,000 บาท)

ประเด็นที่ 2 ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือไม่ และ เป็นจำนวนเงินเท่าใด (ในเอกสารสรุปว่า เมื่อนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง โดยไม่มีเหตุหนึ่งเหตุใดที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง ตามมาตรา 118 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พศ 2541 แล้ว ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยสำหรับการทำงานตั้งแต่วันที่ xxx ถึงวันที่ xxx เป็นเงิน 50,000 บาท ตามมาตรา 118 (2) แห่งพระราชบัญบัญติดังกล่าว) *** อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พศ 2541 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญบัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พศ 2551 พนักงานตรวจแรงงานจึงมีคำสั่งให้บริษัท B จำกัด โดยกรรมการผู้มีอำนาจ จ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย ให้แก่ลูกจ้างผู้ร้อง เป็นเงิน 75,000 บาท ทั้งนี้ ให้นำจำนวนเงินดั่งกล่าวไปจ่าย ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ภายในสามสิบวันหรือวันที่ทราบหรือถือว่าได้ทราบคำสั่งนี้*** ดั่งนั้น จึงขอเรียนปรึกษากับทางอาจารย์ครับ ว่าบริษัท B จำกัด จำเป็นที่จะต้องจ่ายใช่หรือไม่ และ ถือเป็นที่สิ้นสุดในทางกฏหมายหรือไม่ครับ หากยังอ้างอิงกับข้อกฏหมายใดครับ ขอบคุณครับ 

บทลงโทษที่ยอดฮิตที่นายจ้างมักจะลงโทษลูกจ้างนอกเหนือไปจากการเลิกจ้าง คือ การหักค่าจ้าง และ การพักงาน การหักค่าจ้างเราเคยพูดกันไปแล้วว่าทำได้หรือไม่เพียงใด (สามารถหาอ่านได้จากบทความเดิมได้เลยครับ) แต่สำหรับการพักงานนายจ้างหลายคนก็ไม่รู้ว่าจริงๆแล้วตามกฎหมายสามารถพักงานของลูกจ้างได้หรือไม่แค่ไหนเพียงใด วันนี้สำนัหงานฯ เราจะมาดูข้อกฎหมายกันครับ

การพักงานมี 2 กรณี คือ การพักงานระหว่างสอบสวน กับ การลงโทษโดยการพักงาน

การพักงานในระหว่างสอบสวนความผิดลูกจ้างมีกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน       พ.ศ.2541 ในมาตรา 116 และ มาตรา 117 โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้

  • ลูกจ้างนั้นได้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด (วินัยในการทำงานตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน)
  • นายจ้างประสงค์ทำการสอบสวนลูกจ้างและประสงค์พักงานลูกจ้างนั้น
  • มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระบุว่านายจ้างมีอำนาจสั่งพักงานลูกจ้างได้
  • นายจ้างได้มีคำสั่งพักงานเป็นหนังสือระบุความผิดและกำหนดระยะเวลาพักงานซึ่งต้องไม่เกิน 7 วัน และ
  • นายจ้างได้แจ้งให้ลูกจ้างทราบก่อนการพักงานนั้นแล้ว
  • นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในระหว่างพักงานไม่น้อยกว่า 50% ของค่าจ้างปกติ

ส่วนการลงโทษลูกจ้างด้วยการพักงานนั้น ไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง แต่ก็ต้องมีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกันกับหลักเกณฑ์การพักงานในระหว่างสอบสวน คือ ต้องมีข้อบังคับกำหนดโทษพักงานไว้ด้วย , ต้องกำหนดระยะเวลาการพักงาน และ ต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าก่อนการลงโทษ

 

ท่านที่สนใจสามารถศึกษาแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4721/2541 “เมื่อไม่มีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่า จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในระหว่างพักงานลูกจ้างเมื่อผลการสอบสวนปรากฏว่าลูกจ้างไม่มีความผิด ดังนั้น การที่โจทก์ได้ส่งมอบงานในหน้าที่ก่อนที่จำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์การพักงานโจทก์จึงไม่ใช่สืบเนื่องมาจากความผิดของโจทก์ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงานโจทก์

โจทก์ขอลาออกโดยแจ้งล่วงหน้าตามระเบียบแล้ว จำเลยไม่อนุญาตให้โจทก์ลาออก แต่กลับสั่งพักงานโจทก์ โจทก์จึงยังไม่พ้นจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยและโจทก์ยังมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยอยู่ ไม่ว่าในระหว่างที่จำเลยพักงานโจทก์ จำเลยได้จ่ายงานให้โจทก์ทำหรือไม่ ส่วนจำเลยก็ยังมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ไม่ได้ทำงานให้จำเลย จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างตอบแทนการทำงานให้โจทก์หาได้ไม่ เพราะโจทก์ไม่ได้ขอพักงานเอง”

 และ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9330/2542 “ลูกจ้างฟ้องว่า นายจ้างสั่งพักงานลูกจ้างเป็นเวลา 5 วัน โดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิด ขอให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงาน ในชั้นพิจารณาลูกจ้างรับข้อเท็จจริงว่าได้กระทำความผิดจริงตามคำให้การต่อสู้คดีของนายจ้าง ดังนี้ นายจ้างย่อมมีอำนาจลงโทษลูกจ้างด้วยการพักงานได้ เมื่อการพักงานตามฟ้องเป็นการพักงานเนื่องจากการลงโทษทางวินัยแก่ลูกจ้างเพราะลูกจ้างกระทำความผิด มิใช่กรณีที่นายจ้างสั่งพักงานระหว่างทำการสอบสวนลูกจ้างซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามมาตรา 116 และ 117 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541ศาลแรงงานจึงพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงานแก่ลูกจ้างตามบทกฎหมายข้างต้นไม่ได้

            หากท่านผู้อ่านได้อ่านบทความนี้แล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์ ช่วยกดแชร์ส่งต่อเป็นกำลังใจให้สำนักงานฯและผู้เขียนด้วยนะครับ+++++

 

โดยทนายนำชัย พรมทา

โทร. 086-331-4759

ติดตามข่าวสารของเราทาง Facebook : สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา
เว็บไซต์ : //numchailawyer.com
อ่านบทความทั้งหมด : //bit.ly/2XVVfKQ

โทรปรึกษา ฟรี!
086-331-4759 | 086-847-2297 | 083-568-1148
E-mail : numchailaw.office@gmail.com
Line Official : @numchailawyers

สำนักกฎหมายนำชัยพรมทา, กฎหมาย, นำชัยพรมทา, บทความกฎหมาย, คลังความรู้กฎหมาย, ปรึกษากฎหมายฟรี, ปรึกษาด้านกฎหมาย, จ้างทนายความ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita