การสืบพันธุ์ของมนุษย์มีความสําคัญอย่างไร

ระบบสืบพันธุ์ (REPRODUCTIVE SYSTEM)

     สิ่งมีชีวิตทั้งหลายมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งคือ มีการสืบพันธุ์ เพื่อการดำรงเผ่าพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ  การสืบพันธุ์ การเจริญเติบโต และพัฒนาการ และการส่งต่อลักษณะต่างๆ ทางพันธุกรรมไปให้ลูกหลาน จะดำเนินไปไม่ได้เลยถ้าปราศจากการสืบพันธุ์ของเซลล์ หรือการแบ่งเซลล์ เซลล์สืบพันธุ์ในเพศชาย คือ อสุจิ และเซลล์สืบพันธุ์ในเพศหญิง คือ ไข่ เมื่ออสุจิและไข่ มีการปฏิสนธิ จะมีการแบ่งเซลล์ เจริญและพัฒนาจนเป็นเอมบริโอ และเป็นตัวที่สมบูรณ์แล้ว เมื่อคลอดออกมาก็จะมีการเจริญและพัฒนาอีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งเข้าสู่วัยรุ่นจะมีการเจริญทางเพศที่สมบูรณ์ และสามารถที่จะสืบพันธุ์ได้อีก

     ระยะพัฒนาการของชีวิตมนุษย์

ระยะพัฒนาการของชีวิตมนุษย์  แบ่งออกได้เป็นระยะต่างๆ ดังนี้

1.  ระยะก่อนเกิด (Prenatal Life)

     1.1  ระยะไข่สุก (Period of Ovum)   เริ่มตั้งแต่มีการปฏิสนธิ(Fertilization) ไปจนถึงปลายสัปดาห์ที่ 2

     1.2  ระยะเอมบริโอ (Period of Embryo)   เริ่มจากสัปดาห์ที่ 3 จนถึงปลายเดือนที่ 2

     1.3  ระยะเป็นตัว (Period of Fetus)  เริ่มจากต้นเดือนที่ 3 ไปจนถึงปลายเดือนที่  9  หรือ คลอด

2.  ระยะหลังเกิด (Postnatal Life

     2.1  ระยะแรกเกิด (Period of Newborn)  เริ่มตั้งแต่แรกเกิด จนถึงปลายสัปดาห์ที่ 2

     2.2  ระยะทารก  (Period of Infant)  เริ่มจากสัปดาห์ที่ 3 จนถึงสิ้นปีที่ 1

     2.3  ระยะเด็กเล็ก  (Period of  Childhood)  เริ่มจากสิ้นปีที่ 1 จนย่างเข้าสู่วัยรุ่น คือ ในเด็กหญิงอายุประมาณ  14  ปี  และในเด็กชายอายุประมาณ  16  ปี    

     2.4  ระยะวัยรุ่น (Period ofAdolescence)  จากระยะเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น จนถึงอายุ  20 ปี

     2.5  ระยะผู้ใหญ่  (Period of  Maturity)  เริ่มตั้งแต่อายุ  20  ปี ไปจนถึงแก่ชรา

ระยะที่มนุษย์มีความพร้อมในการสืบพันธุ์ คือ ระยะตั้งแต่วัยรุ่นขึ้นไป ร่างกายทั้งชาย และหญิง จะมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเพศ (Secondary sex development)  ผู้ชายส่วนใหญ่กล่องเสียงจะยื่นโตออกมา  ทำให้มองเห็นเป็นลูกกระเดือก (Adam’s apple)  เสียงเริ่มเปลี่ยนห้าวขึ้น มีหนวดเครา และขนที่บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ รักแร้ มีการขับน้ำกาม และอสุจิออกมา  ส่วนใหญ่ในหญิงรูปร่างค่อยเปลี่ยนแปลงทีละน้อย สะโพกและทรวงอกขยายใหญ่ มีขนที่บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ และรักแร้ เริ่มมีประจำเดือน (Menstruation)  เสียงแหลม  การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เนื่องจากระบบสืบพันธุ์เตรียมพร้อมเพื่อการสืบพันธุ์

อวัยวะที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ เรียกว่า โกแนด (Gonads)  ในเพศชายคือ อัณฑะ(Testis) ส่วนในเพศหญิง  คือ  รังไข่ (Ovary)  โกแนดทำหน้าที่  2  ประการ คือ 

1.  ผลิตอสุจิ (Spermatozoa) ในชาย   และผลิตไข่ (Ova)  ในหญิง

2.  ผลิตฮอร์โมน และ ถ่ายทอดลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางเพศ

  อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย  (Male GenitalOrgan) 

อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย  แบ่งเป็น  2  ส่วน คือ 

1.  อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก ได้แก่  ถุงอัณฑะ ลึงค์

     1.1  ถุงอัณฑะ (Scrotum)  เป็นส่วนของผิวหนังที่ไม่มีไขมันใต้ผิวหนัง  ยื่นลงมาจากหน้าท้อง มีกล้ามเนื้อเรียบปรากฏอยู่ (Dartus muscle)  เป็นกล้ามเนื้อที่ช่วยปรับอุณหภูมิของอัณฑะ ให้ต่ำกว่าอุณหภูมิของร่างกาย ประมาณ 3-5 องศาเซลเซียส

1.2  ลึงค์ (Penis)  ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของปัสสาวะ และเป็นอวัยวะในการร่วมเพศ ลึงค์เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดพิเศษ โดยปกติจะหดตัวอยู่ (Detumescence)  แต่ถ้ามีความรู้สึกทางเพศ จะสามารถแข็งตัว (Erection of penis) ได้

 

2.  อวัยวะสืบพันธุ์ภายใน ได้แก่ อัณฑะ ท่อและต่อมต่างๆ

     2.1  อัณฑะ (Testis)  เป็นอวัยวะสำคัญที่สุดในระบบสืบพันธุ์เพศชาย ทำหน้าที่สร้างอสุจิ และฮอร์โมนเพศชาย อัณฑะมีลักษณะรูปไข่อยู่ในถุงอัณฑะ ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศชาย   คือ

 เทสโทสเตอโรน  โดยมีท่อนำอสุจิ  ออกสู่ภายนอก คือ เอพิดิไดมิส (Epididymis)

     2.2  หลอดเก็บอสุจิ (Epididymis)  เป็นท่อขดไปมา วางตัวติดกับด้านหลังของอัณฑะ ประกอบด้วยส่วนหัว ส่วนลำตัว และส่วนหาง หลอดเก็บอสุจิยาวประมาณ 4-6  เซนติเมตร ทำหน้าที่เป็นที่เก็บอสุจิที่สร้างสมบรูณ์แล้ว

     2.3  ท่อนำอสุจิ (Vas Deferens)  เป็นท่อต่อจากส่วนหางของหลอดเก็บอสุจิ ยาวประมาณ 1 นิ้ว ทำหน้าที่นำอสุจิจากอัณฑะเข้าไปในช่องท้อง

     2.4  ถุงพักอสุจิ (Seminal Vescicle)  เป็น  2  ถุง  อยู่หลังและต่อกับกระเพาะอาหาร ทำหน้าที่สร้างอาหารสำหรับอสุจิ (Seminal fluid)  ในอาหารประกอบด้วยน้ำตาลฟรักโทส กับโปรตีนโกลบูลิน

     2.5  ท่อฉีดอสุจิ (Ejaculatory Duct)  เป็นท่อสั้นๆ เปิดเข้าสู่ท่อปัสสาวะ ตรงบริเวณต่อมลูกหมากยาวประมาณ  2  เซนติเมตร บางครั้งเรียกว่า หลอดฉีดน้ำกาม ท่อนี้ทำหน้าที่บีบตัว ขับน้ำอสุจิ (Semen)

     2.6  ต่อมลูกหมาก (Prostate Gland)  เป็นต่อมที่อยู่รอบท่ออสุจิ อยู่ด้านล่างกระเพาะปัสสาวะ ทำหน้าที่สร้างน้ำกาม (Prostate Gland)  ซึ่งมีลักษณะ คล้ายน้ำนม มีฤทธิ์เป็นเบสเล็กน้อย มีกลิ่นเฉพาะตัว

    2.7  ต่อมกลั่นเมือก (Urethral Gland)  ได้แก่  ต่อมคาวเปอร์(Cowper gland) อยู่ใต้ต่อมลูกหมาก ทำหน้าที่สร้างสารหล่อลื่นท่อปัสสาวะ มีฤทธิ์เป็นเบส

     ในเพศชาย  เมื่อเข้าสู่ระยะที่สืบพันธุ์ได้ จะมีการสร้างอสุจิได้เป็นจำนวนมาก และเป็นช่วงเวลานานกว่าเพศหญิง  จนถึงอายุประมาณ  80-90  ปี โดยเฉพาะในระยะหลังๆ นี้ อสุจิที่สร้างได้จะมีจำนวนน้อยลง  ปกติในการหลั่งน้ำอสุจิ (Insemination) ในแต่ละครั้ง จะมีปริมาณประมาณ 3-5 มิลลิลิตร โดยมีอสุจิอยู่ประมาณ 300-400 ล้านตัว  หากมีจำนวนอสุจิน้อยกว่านี้ อาจเป็นสาเหตุทำให้เป็นหมันได้   อสุจิเมื่อเข้าไปในช่องคลอดเพศหญิง จะมีชีวิตอยู่ได้ถึง  48  ชั่วโมง  อสุจิสามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยความเร็ว  3  มิลลิเมตรต่อนาที  โดยการว่ายน้ำไป และจะเคลื่อนที่ไปถึงท่อนำไข่ในเวลา  30-60  นาที

     อสุจิ (Spermatozoa)  เป็นเซลล์ที่เจริญเติบโตไปเป็นตัวใหม่โดยลำพังไม่ได้  จะต้องรวมกับไข่เสียก่อนเสมอไป 

     อสุจิ  ประกอบด้วยโครงสร้าง  3  ส่วน คือ

     1.  ส่วนหัว เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการผสมพันธุ์ ที่ปลายหัวเรียกว่า อะโครโซม ใช้สำหรับเจาะไข่ในส่วนหัวนี้จะมี  DNA  อยู่มาก

     2.  ส่วนลำตัว  มีลักษณะเป็นทรงกระบอก  ส่วนบนสุดจะคอดเรียกว่า คอ

     3.  ส่วนหาง  ประกอบด้วย  2  ส่วน คือ  ต้นหาง  และ  ปลายหาง

J อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง  (Female GenitalOrgan) 

     อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิงแบ่งเป็น  2  ส่วน คือ

1.  ส่วนภายนอก  ได้แก่  คลิทอริส แคมใหญ่ แคมเล็ก เวสทิบุล เยื่อพรหมจารีย์ รวมทั้งต่อมสร้างน้ำเมือกบริเวณช่องคลอด

     1.1  คลิทอริส  (Clitoris) เทียบได้กับลึงค์ในเพศชาย  ประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่ทำให้เกิดการแข็งตัว โดยให้เลือดมาคั่ง

     1.2  แคมใหญ่ (Labia Majora) เป็นปุ่มนูนขนาดใหญ่  2  อัน ซึ่งประกอบด้วย ต่อมน้ำมัน ไขมัน มีขน(Pubic hair) ปกคลุมอยู่ด้านบนของแคมใหญ่จะรวมกันเป็นเนินหัวเหน่า (Mons pubis)     

     1.3  แคมเล็ก (Labia Majora) มีลักษณะเป็นเนื้อนิ่มของปุ่มนูนของผิวหนังเหมือนกัน  แต่ไม่มีไขมัน ไม่มีขน   ด้านหลังจะมารวมกันเป็นฝีเย็บ (Fourchette)  ซึ่งจะฉีกขาดในตอนคลอด

     1.4  เวสทิบุล (Vestibule)  เป็นส่วนที่อยู่นอกสุดของช่องคลอด  จะมีเยื่อพรหมจารีย์ (Hymen) ปิดอยู่ มีช่องเปิดของท่อปัสสาวะ และช่องเปิดของช่องคลอดรวมอยู่ มีต่อมน้ำเมือกและต่อมเหงื่อมาเปิดด้วย

     1.5  ต่อมสร้างน้ำเมือก  (Vestibula Gland)  อยู่ที่บริเวณแคมเล็ก  ทำหน้าที่สร้างสารเมือก เพื่อการหล่อลื่น

2.  ส่วนภายใน  ได้แก่  รังไข่  มดลูก  และ ช่องคลอด 

     2.1  รังไข่ (Ovary)  เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง  มีอยู่ 2 ข้างในช่องท้องน้อยยึดติดกับมดลูกโดยเอ็น ส่วนด้านนอกยึดติดกับลำตัว ภายในรังไข่จะพบไข่มากมาย  ประมาณ  3-4  แสนใบ  รังไข่ทำหน้าที่  2  อย่าง คือ สร้างไข่  และสร้างฮอร์โมนเพศหญิง  ไข่ใบที่สุกเต็มที่แล้ว จะหลุดออกมาจากรังไข่ เรียกว่า การตกไข่ (Ovulation) ซึ่งถูกควบคุมและกระตุ้นโดยฮอร์โมน  LH  และ FSH  จากต่อมใต้สมอง รังไข่จะสร้างฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน

      F ในรอบ  28  วัน ไข่จะสุกเพียงในเดียว และ ระยะตกไข่จะมีเวลาประมาณ  14  วัน  หากไข่ไม่ได้รับการผสม ก็จะสลายไป และหลุดออกมาสู่ภายนอกพร้อมๆ กับผนังมดลูก เรียกว่า  ประจำเดือน (Menstruation)  ประจำเดือน จะหมดเมื่ออายุประมาณ 45-50  ปี

     

2.2  ท่อนำไข่ (Oviduct)  เป็นท่อซึ่งด้านหนึ่งติดกับมดลูกอีกด้านหนึ่งอิสระอยู่ใกล้ๆ รังไข่ เป็นทางผ่านของไข่และอสุจิ  ซึ่ง จะพบกันประมาณ 1 ใน 3  ของท่อนำไข่

2.3  ช่องคลอด (Vagina)  อยู่ระหว่างทวารหนัก กับปากท่อปัสสาวะผนังด้านในมีเยื่อเมือกบุอยู่ ยืดหดได้ดี ที่ปากช่องคลอดมีกล้ามเนื้อหูรูสามารถบังคับได้

2.4  มดลูก (Uterus)  มีขนาดกว้าง  2  นิ้ว  ยาว  3  นิ้ว และหนา  1  นิ้ว อยู่ในช่องท้องน้อย ผนังยืดหดได้มากเป็นพิเศษ  และขยายตัวได้มากในเวลาตั้งครรภ์

     ในระยะคลอด ฮอร์โมนออกซิโทซิน จะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อบริเวณนี้หดตัวอย่างรุนแรง ทำให้คลอดได้ง่ายขึ้น

      การตั้งครรภ์

  หญิงสามารถมีบุตร หลังจากมีประจำเดือนแล้ว  3  ปี โดยเฉลี่ยหญิงมีบุตรได้เมื่ออายุประมาณ  17  ปี พบว่ามารดาที่อายุยังน้อยจะให้บุตรผิดปกติ เนื่องจากสภาพทางสรีรวิทยาของร่างกายยังไม่พร้อมที่จะมีบุตร หญิงพร้อมที่จะมีบุตรได้อย่างสมบูรณ์เมื่ออายุ 21-28 ปี

     หลังจากมีการร่วมเพศแล้ว  อสุจิจะเคลื่อนผ่านมดลูกเข้าไปทางท่อนำไข่  การบีบตัวของมดลูก และท่อนำไข่ ก็มีผลช่วยทำให้อสุจิเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น อสุจิเจาะเข้าไปผสมกับไข่โดยอาศัยเอนไซม์จากส่วนหัวของอสุจิไปย่อยเยื่อหุ้มไข่ (Corona  radiata) อสุจิตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถผสมกับไข่ได้ ซึ่งหลังจากการผสมแล้วเรียกว่า ไซโกต   จะเคลื่อนตัวมาฝังตัวที่ผนังชั้นในสุดของมดลูก

การคลอด (Parturiticn)  การตั้งครรภ์ในคน  กินเวลาประมาณ  270  วัน  นับตั้งแต่การผสมของไข่ หรือ  284 วัน  นับตั้งแต่วันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย  ในระยะสุดท้ายของการตั้งครรภ์ มดลูกจะบีบตัวเป็นครั้งคราว และการบีบตัวนี้จะเกิดบ่อยขึ้น ในระยะนี้ กล้ามเนื้อมดลูกจะมีความไวในการตอบสนองต่อ ออกซิโทซิน มากขึ้น  เมื่อเริ่มเจ็บท้อง  ศีรษะของเด็กที่ดันขยายส่วนล่างของมดลูก จะมีผลกระตุ้นให้มีการขับออกซิโทซินออกมามากขึ้น มีผลทำให้มดลูกบีบตัวแรงขึ้น ทำให้เกิดการคลอดได้

การมีลูกแฝด

     การมีลูกแฝด  เกิดจากการแบ่งเซลล์  ของไข่ที่ได้รับการผสมแล้วผิดปกติ หรือเกิดจากการสุกของไข่ผิดปกติ ฝาแฝด แบ่งออกเป็น  2  ลักษณะ คือ

1.  ฝาแฝดแท้ (Indentical Twins)  เกิดจากไข่ใบเดียวผสมกับอสุจิตัวเดียว แต่เมื่อมีการแบ่งเซลล์แล้ว เกิดแยกออกเป็น  2  กลุ่ม ฝังตัวอยู่ในผนังมดลูกที่เดียวกัน จีนส์เหมือนกัน เด็กเพศเดียวกัน หน้าเหมือนกัน และลำตัวจะติดกันด้วย

2.  ฝาแฝดเทียม (Fraternal Twins)  เกิดจากไข่ 2 ใบ และอสุจิ 2 ตัวผสมกัน ฝังตัวในผนังมดลูกคนละที่กัน รกและถุงหุ้มตัวอ่อนแยกจากกัน แต่ละส่วนจะแบ่งเซลล์ด้วยตัวเอง จีนส์ต่างกัน เด็กจะไม่ติดกัน อาจเป็นเพศเดียวกัน หรือ ต่างเพศ กันก็ได้

การเลือกเพศบุตร

C ในน้ำอสุจิของเพศชาย จะมีอสุจิอยู่ 2 ชนิด คือ อสุจิ X และ อสุจิ Y โดยเฉพาะอสุจิ X จะมีขนาดใหญ่กว่าและเคลื่อนที่ได้ช้ากว่าอสุจิ Y

C  เมื่อ อสุจิ  X  หรือ  อสุจิ  Y  เดินทางผ่านช่องคลอด ผ่านเข้าสู่ปากมดลูก และเข้าไปผสมกับไข่ในท่อนำไข่ได้นั้น ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ในช่องคลอด และปากมดลูกของเพศหญิง

C  โดยปกติในช่องคลอดจะมีสภาพเป็นกรด ส่วนบริเวณปากมดลูก และมดลูกมีสภาพเป็นเบส ขณะที่ใกล้ไข่สุก หรือในขณะที่เพศหญิงมีความรู้สึกทางเพศถึงจุดสุดยอด (Orgasm)   น้ำเมือกจากมดลูกมีเพิ่มมากขึ้น ทำให้บริเวณปากมดลูกเป็นเบสมากขึ้น ในช่องคลอดจะมีความเป็นกรดลดลง

C  ถ้าในสภาพที่เป็นกรด อสุจิ Y  ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าอสุจิ  X  ถูกทำลายก่อน  แต่ในสภาพที่เป็นเบส  ทั้งอสุจิ X และ อสุจิ Y  จะไม่ถูกทำลาย อสุจิ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า และเคลื่อนที่ได้เร็วกว่า อสุจิ

 M   เมื่อทราบความจริงข้อนี้แล้ว  สามารถจะช่วยให้อสุจิ  หรือ  อสุจิ Y  ว่ายไปผสมกับไข่ เพื่อให้ ได้บุตรที่มีเพศตามความต้องการได้

 ถ้าต้องการบุตรเพศหญิง 

  ให้ร่วมเพศก่อนไข่สุก 2-3 วัน

  ก่อนร่วมเพศให้ล้างช่องคลอดด้วยน้ำส้มสายชู  2  ช้อนโต๊ะผสมน้ำ  1  ลิตร เพื่อให้ช่องคลอดเป็นกรดมากขึ้น

  หญิงขณะร่วมเพศไม่ควรมีความรู้สึกถึงจุดสุดยอด เพราะจะทำให้น้ำเมือกจากปากมดลูกซึ่งมีฤทธิ์เป็นเบสถูกปล่อยออกมา 

  ขณะที่ชายหลั่งน้ำอสุจิไม่ควรให้ลึงค์อยู่ลึก จุดประสงค์เพื่อให้อสุจิถูกกรดในช่องคลอดมากที่สุด

  ถ้าต้องการบุตรเพศชาย

  ควรร่วมเพศเวลาไข่สุกมากที่สุด หรือ เวลาที่ไข่สุกพอดี ได้ยิ่งดี เพราะสภาพ บริเวณปากมดลูกจะเป็นเบสมากขึ้น

 ล้างช่องคลอดด้วยน้ำโซดาไฮโดรเจนคาร์บอเนต  2  ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 1  ลิตร เพื่อให้ช่องคลอดมีสภาพเป็นเบส   

  หญิงขณะร่วมเพศควรมีความรู้สึกถึงจุดสุดยอด และ ขณะที่ชายหลั่งน้ำอสุจิ ควรให้ลึงค์อยู่ลึกมากที่สุด

 การคุมกำเนิด

      การคุมกำเนิด เป็นการป้องกันการตั้งครรภ์  แบ่งออกเป็น  2  แบบ คือ

1.  การคุมกำเนิดแบบชั่วคราว  สามารถทำได้หลายวิธี   ได้แก่

     1.1  การนับระยะปลอดภัย โดยไม่ร่วมเพศในระหว่างวันที่  11-17  ของรอบประจำเดือน ซึ่งระยะปลอดภัยจริงๆ คือ  7  วัน  ก่อนมีประจำเดือน และ อีก  7  วัน นับตั้งแต่วันมีประจำเดือนรวมเป็น  14  วัน

     1.2  การใช้ยาคุมกำเนิด ทั้ง ชนิดฉีด หรือ ยาเม็ดรับประทาน ซึ่งมีผลป้องกันการสุกของไข่

     1.3  การใช้ห่วงคุมกำเนิด

     1.4  การใช้วัสดุอื่นๆ คุมกำเนิด เช่น โฟม เยล

     1.5  การใช้ถุงยางอนามัย สำหรับเพศชาย

     1.6  การหลั่งน้ำอสุจิภายนอก

     1.7  การทำแท้ง

2.  การคุมกำเนิดแบบถาวร  ได้แก่

2.1  การทำหมันในเพศหญิง  โดยการผูก หรือ ตัดท่อนำไข่  มี  2  แบบ  คือ  การทำหมันเปียกภายหลังคลอดใหม่ๆ  และ การทำหมันแห้งในระยะอื่นๆ

2.2   การทำหมันในเพศชาย  โดยการผูก หรือ ตัดท่อนำอสุจิ

อ้างอิง

พิชิต  ภูติจันทร์   ผู้ช่วยศาสตราจารย์  พลศึกษาและนันทนาการ สหวิทยาลัยอีสานใต้  อุบลราชธานี  สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.  2535

ภาพ          จากอินเทอร์เนต

การสืบพันธุ์มีความสําคัญอย่างไร

1. การสืบพันธุ์ เป็นขบวนการที่สำคัญที่สุดในการสร้างหน่วยสิ่งมีชีวิตขึ้นมาใหม่ เพื่อทดแทนหน่วยสิ่งมีชีวิตเดิมที่ตายและดับสูญไป ทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงพันธุ์สืบต่อเนื่องกันไปเป็นระยะอันยาวนาน เช่น บรรพบุรุษของมนุษย์ กำเนิดเมื่อ 2-5 ล้านปี มาแล้ว หรือพืชเกิดขึ้นในโลกเมื่อ 200 กว่าล้านปีมาแล้ว ก็เนื่องมาจากสมบัติที่สำคัญ คือ ...

การสืบพันธุ์ของมนุษย์มีอะไรบ้าง

การสืบพันธุ์ของคนก็เหมือนกับสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ คือมีการรวมตัวกันของอสุจิกับเซลล์ไข่ในร่างกายของเพศหญิ งเกิดเป็นไซโกตจากนั้นไซโกต จะเจริญเติบโตเป็นเอ็มบริโอ เอ็มบริโอที่เข้าสู่เดือนที่ 3 ของการตั้งครรภ์เรียกว่า ฟีตัส

การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

การสืบพันธุ์ หรือ การขยายพันธุ์ (อังกฤษ: Reproduction) หมายถึง การเพิ่มจำนวนลูกหลานที่มีลักษณะเหมือนเดิมของสิ่งมีชีวิต โดยที่สิ่งมีชีวิตรุ่นใหม่ที่เกิดขึ้นนี้จะทดแทนสิ่งมีชีวิตรุ่นเก่าที่ล้มหายตายจากไป ทำให้สิ่งมีชีวิตเหลือรอดอยู่ในโลกได้โดยไม่สูญพันธุ์ไป

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศมีข้อดีอย่างไร

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ถือว่ามีผลดีในทางวิวัฒนาการ เพราะทำให้เกิดการแปรผันของลักษณะทางกรรมพันธุ์ คือเกิดสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะแตกต่างไปจากบรรพบุรุษ ซึ่งถือว่ามีโอกาสอยู่รอดได้มากกว่าตามหลักการคัดเลือกตามธรรมชาติของชาลส์ ดาร์วิน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita