การปรับปรุงกฎหมายและการศาลในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการปรับปรุงอย่างไร

       สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นระยะเวลาที่ชาวยุโรปเริ่มแสวงหาอาณานิคมและแผ่อิทธิพลเข้ามาในเมืองไทย พระองค์จึงได้ทรงตรากฎหมายและประกาศต่างๆ ขึ้นใช้บังคับมากมาย เพื่อให้ทันสมัยเหมาะสมกับสภาพบ้านเมืองในขณะนั้น เช่น พระราชบัญญัติมรดกสินเดิมและสินสมรส ใน พ.ศ. 2394 พระราชบัญญัติพระสงฆ์สามเณร และศิษย์วัด พ.ศ. 2402

 ในการติดต่อกับต่างประเทศ ทำให้ไทยเสีย “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” โดยต่างชาติอ้างว่ากฎหมายไทยป่าเถื่อนและรังเกียจวิธีการพิจารณาคดีแบบจารีต นครบาล (คือวิธีการไต่สวนคดีของตุลาการอย่างทารุณ เช่น การตอกเล็บ บีบขมับ รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯยกเลิก เมื่อ พ.ศ.2439) จึงไม่ยอมให้ใช้บังคับคนต่างชาติหรือคนในบังคับบัญชา ทำให้ไทยต้องทำการปฏิรูปกฎหมายในสมัยรัชกาลที่ 5

การปฏิรูปกฎหมายไทย การปฏิรูปกฎหมายไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มเมื่อ พ.ศ.2440 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชุรีดิเรกฤทธิ์ พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาตลับ ได้ทรงศึกษาวิชากฎหมายจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมและได้รับยกย่องว่าเป็น “พระบิดาแห่งกฎหมายและการศาลไทย” ทรงตั้งโรงเรียนสอนวิชากฎหมายขึ้น โดยดำเนินการสอนเอง โรงเรียนกฎหมายแห่งนี้ต่อมาได้กลายเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจชำระและร่างกฎหมาย ได้แก่ กฎหมายลักษณะอาญา ประกาศใช้ใน พ.ศ.2451 จัดเป็นกฎหมายฉบับใหม่และทันสมัยที่สุดฉบับแรกของไทย ต่อมาได้ประกาศใช้กฎหมายอีกหลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ.116 พระราชบัญญัติสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ ร.ศ.120 กฎหมายว่าด้วยการเลิกทาส พ.ศ2448 ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีการปฏิรูปภาษากฎหมายไทยให้รัดกุม ชัดเจนและเหมาะสมยิ่งขึ้น

สมัยรัชกาลที่ 6 ได้โปรดเกล้าฯให้ดำเนินงานร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ต่อจากที่ทำไว้ใน สมัยรัชกาลที่ 5 และ พ.ศ.2466 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมร่างกฎหมายขึ้น

การศาล ในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้ตั้งกระทรวงยุติธรรมใน พ.ศ.2434 เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น ตุลาการขาดความยุติธรรม ทุจริตตัดสินคดีความล่าช้า เป็นต้น โดยแยกตุลาการออกจากฝ่ายธุรการ และรวมศาลที่กระจายอยู่ตามกระทรวงต่างๆ มาไว้ที่กระทรวงยุติธรรมเพียงแห่งเดียว และใน พ.ศ.2435 ได้มีการเปลี่ยนแปลงงานด้านการศาล คือ รวมศาลอุทธรณ์คดีราษฎร์ ตั้งศาลราชทัณฑ์พิเฉทขึ้น ยกเลิกกรมรับฟ้องโดยตั้งจ่าศาลเป็นพนักงานรับฟ้องประจำศาลต่างๆ ต่อมารวมศาลราชทัณฑ์พิเฉทกับศาลอาญา รวมศาลแพ่งเกษมกับศาลแพ่งไกรศรีเป็นศาลแพ่ง ใน พ.ศ.2441 จัดแบ่งศาลออกเป็น 3 แผนก ได้แก่ ศาลฎีกา ศาลกรุงเทพฯ และศาลหัวเมือง

ความสำเร็จในการปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลของไทยนั้น นอกจากจะเป็นผลงานของพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการไทยที่มีความรู้ความ สามารถ เช่นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัฒนวิศิษฐ์ เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม องค์แรก และขุนหลวงพระยาไกรสี ผู้พิพากษาไทยคนแรกที่เรียนวิชากฎหมายสำเร็จได้เป็นเนติบัณฑิตอังกฤษแล้ว ไทยยังได้จ้างนักกฎหมายชาวต่างประเทศที่มีความรู้มาเป็นที่ปรึกษากฎหมายอีก ด้วย บุคคลสำคัญ ได้แก่ นายโรลัง ยัคมินส์ ขาวเบลเยี่ยม นายโตกิจิ มาซาโอะ ชาวญี่ปุ่น นายวิลเลียม อัลเฟรด ติลเลเก ชาวลังกา และนายยอร์ช ปาดู ชาวฝรั่งเศส

บุคคลต่างชาติที่มีส่วนร่วมในการปฏิรูปกฎหมายเเละการศาล

เจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ

เกิด(31 มกราคม พ.ศ. 2378 - 9 มกราคม พ.ศ. 2445) มีนามเดิมว่า ดร.โรแลง ยัคแมงส์ (Gustave Rolin-Jaequemyns) เป็นชาวเบลเยี่ยม มีความชำนาญในด้านการปกครองเคยดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดี ในประเทศเบลเยี่ยม ได้เดินทางเข้ามารับราชการในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2435 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน ฐานะ ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินทั่วไป มีตำแหน่งเป็นอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำกระทรวงการต่างประเทศ เนื่องจากขณะนั้นประเทศไทย กำลังมีข้อพิพาทกับฝรั่งเศสในเรื่องดินแดนเมืองขึ้น จึงว่าจ้าง ม.ร. คุสตาฟ โรลิน ยัคมินส์ เข้ามาช่วยราชการแก้ปัญหาสำคัญ ที่รัฐบาลไทยจะต้องปรับปรุงแก้ไข 3 ประการ คือ

1. ปรับปรุงการศาลยุติธรรมให้เป็นที่เชื่อถือของต่างประเทศ เพราะขณะนั้นอังกฤษและฝรั่งเศส เริ่มเข้ามาตั้งศาลกงสุลในประเทศไทย และไม่ยอมรับรองการอยู่ใต้กฎหมายไทย เพราะถือว่ากฎหมายไทยยังไม่มีระเบียบแบบแผนรัดกุมที่ดีพอ

2. ปรับปรุงการปกครองบ้านเมืองให้ทัดเทียมกับอารยประเทศ มีการร่างรัฐธรรมนูญ แบ่งแยกกระทรวง ทบวง กรม มีการจัดตั้งสภารัฐมนตรี ขึ้นเป็นครั้งแรก ในช่วงเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งให้เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) นักเรียนไทย คนแรกที่กลับจากอังกฤษ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ภาษาอังกฤษดี มีตำแหน่งเป็นราชเลขาธิการในพระองค์ แปลเอกสารภาษาอังกฤษ เพื่อจะใช้เป็นหลักในการปรับปรุงการปกครองบ้านเมือง โดยมีกรมพระยาเทววงศ์วโรปการเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศเป็น ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ ตามแนวที่พระยาภาสกรวงศ์เป็นผู้แปลและได้ร่างเสร็จเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2432 เรียกรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นนี้ว่า “พระราชประเพณี” ได้มีการจัดตั้งสภารัฐมนตรี และได้ประกาศตั้งเสนาบดี 12 กระทรวงใหม่ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435

3. ปรับปรุงปัญหาด้านการต่างประเทศ หลังจากที่ประเทศไทยได้เซ็นสัญญาทางพระราชไมตรีกับอังกฤษ อเมริกา ฝรั่งเศส ตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่ 4 ประเทศยุโรปก็ได้ส่งกงสุลใหญ่เข้ามาดูแลด้านการค้า การปกครองคนของตนอย่างเป็นเอกเทศไม่ยอมให้คนในบังคับ ของตนมาขึ้นศาลไทย ซึ่งในขณะนั้นประเทศไทยยังไม่มีกงสุลใหญ่หรือทูตไทยไปประจำในประเทศต่าง ๆ เหล่านั้น ทำให้เกิดปัญหา ความขัดแย้ง ความไม่พอใจระหว่างรัฐบาลไทยกับกงสุลของประเทศต่าง ๆ เหล่านั้นบ่อย ๆ เกิดข้อพิพาทบาดหมางกัน พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงต้องส่งทูตพิเศษออกไปติดต่อกับรัฐบาลในทวีป ยุโรปเสมอ ๆ จึงจำเป็นต้องจ้าง ม.ร. โรลิน ยัคมินส์ เข้ามาเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินทั่วไปขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นงานหนักในฐานะที่เป็นอัครราชทูตไทย ผู้มีอำนาจเต็มประจำ กระทรวงการต่างประเทศ บทบาทที่สำคัญอย่างหนึ่งของท่าน คือ การที่ช่วยรัฐบาลไทยเจรจาและทำความเข้าใจกับรัฐบาลฝรั่งเศส กรณีพิพาท ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) ซึ่งประเทศไทยถูกฝรั่งเศสยึดดินแดน ทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบต่างชาติน้อยที่สุด และช่วยรักษาเอกราชของประเทศไทยไว้ได้อย่างปลอดภัย ด้วยการดำเนินรัฐประศาสโนบายในทางที่ควรจนรอดพ้นจากการสูญเสีย ประเทศมาได้

คุณ ความดีและความสามารถหลายด้านของ ม.ร. คุสตาฟ โรลิน ยัคมินส์ ที่มีต่อประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรให้ ม.ร. โรลิน ยัคมินส์ เป็นเจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจฯ เป็นที่ปรึกษาราชการทั่วไป ถือศักดินา 10000 ในวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 นับเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งฝรั่งเป็นเจ้าพระยาเทียบชั้นเสนาบดี ส่วนในด้านการศึกษาของเจ้าฟ้าชายผู้เป็นรัชทายาท และพระราชโอรสทุกพระองค์ เจ้าพระยาอภัยราชาได้เสนอความคิดว่าควรจะศึกษาวิชาใดในต่างประเทศ และควรจะเรียนในประเทศใด เพื่อนำความรู้มาพัฒนาประเทศชาติบ้านเมืองและเป็นการเชื่อมโยงสร้างสัมพันธ ไมตรีอันดีกับประเทศต่าง ๆ ด้วย และยังถวายคำแนะนำ ให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเยือนประเทศต่าง ๆ ในยุโรปเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2441 ภายหลังที่มีกรณีพิพาท กับฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2436 เพื่อบรรเทาความตึงเครียดในทางการเมือง และเพื่อให้ประเทศอื่น ๆ รู้จักประเทศไทยและหันมาสนับสนุน ประเทศไทยในทางการเมือง เพื่อเป็นการถ่วงดุลกับอิทธิพลของฝรั่งเศสในขณะนั้น

ในการเสด็จเยือนยุโรปเป็นครั้งแรก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงตั้งสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เป็น ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตลอดเวลาที่ไม่ได้ประทับอยู่ในประเทศ เป็นเวลานาน 9 เดือน และได้แต่งตั้งองค์ที่ปรึกษาราชการ แผ่นดินขึ้น 5 นาย เพื่อถวายคำปรึกษาราชการแผ่นดินให้สมเด็จพระนางเจ้าฯ ในจำนวนบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งมี เจ้าพระยาอภัยราชา ได้รับการไว้วางพระราชหฤทัยให้อยู่ในตำแหน่งที่ปรึกษาราชการแผ่นดินทั่วไป ด้วย

เจ้า พระยาอภัยราชามีส่วนช่วยสร้างและนำความเจริญก้าวหน้าให้ประเทศไทยเป็นอย่าง มาก ทำหน้าที่ติดต่อกับเสนาบดีกระทรวงต่าง ๆ ช่วยเร่งรัดงานให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว มีระเบียบเรียบร้อยยิ่งขึ้น ภายหลังเจ้าพระยาอภัยราชาได้เดินทางกลับไปยังประเทศเบลเยี่ยม และถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 9 มกราคม ปีฉลู พ.ศ. 2444 อายุได้ 66 ปี

นายวิลเลี่ยม อัลเฟรด ติลเลกี (William Alfred Tilleke)

 
ภาพนายวิลเลี่ยม อัลเฟรด ติลเลกี

นายวิลเลี่ยม อัลเฟรด ติลเลกี เป็นนักกฎหมายชาวลังกาที่เข้ามาตั้งสำนักงานทนายความส่วนตัวในประเทศไทย ในปี ๒๔๓๕ และรับว่าความคดีพระยอดเมืองขวาง ในปี ๒๔๓๖ ทำให้ไทยพอใจมาก ต่อมาจึงเข้ารับราชการเป็นพนักงานว่าความกรมอัยการในศาลกงสุลต่างชาติ ภายหลังได้ขอเปลี่ยนสัญชาติเป็นไทย และได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมอัยการ
ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ รวมทั้งได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรี โดยได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์เป็น มหาอำมาตย์โท พระยาอรรถการประสิทธิ ต้นสกุล
“คุณะดิลก“ ซึ่งจากบันทึกของนายยอร์ช ปาดูซ์ พบว่า นายวิลเลี่ยม อัลเฟรด ติลเลกี เป็นหนึ่งในคณะกรรมการร่างกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. ๑๒๗ ด้วย (ท่านผู้สนใจสามารถหาอ่านประวัติเพิ่มเติมของนายวิลเลี่ยม อัลเฟรด ติลเลกี ได้จากในหนังสือ ๑๐๐ ปีกระทรวงยุติธรรม) 


นักกฎหมายชาวญี่ปุ่น
นายมาซาโอะ โทคิจิ (Tokichi Masao)

ภาพพระยามหิธรมนูปกรณ์ โกศลคุณ (Tokichi Masao)

หนังสือราชการของไทยเรียกชื่อว่า “หมอมาเซา“ ท่านเป็นนักกฎหมายชาวญี่ปุ่นที่จบการศึกษาปริญญาเอกทางกฎหมายจาก Yale University และมหาวิทยาลัยโตเกียว เข้ามารับราชการในประเทศไทยเมื่อ ปี ๒๔๔๐ ทำหน้าที่ให้ข้อแนะนำและช่วยในการตรวจชำระกฎหมายลักษณะอาญา พระราชกำหนดบทพระอัยการเก่าใหม่ นายมาซาโอะรับราชการในประเทศไทยเป็นเวลานานถึง ๑๕ ปี โดยตำแหน่งสุดท้ายเป็นกรรมการศาลฎีกา และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยามหิธรมนูปกรณ์ โกศลคุณ หลังจากนั้นในปี ๒๔๕๖ นายมาซาโอะได้ลาออกจากราชการ เพื่อกลับไปรักษาอาการป่วยที่ประเทศญี่ปุ่น ต่อมาในปี ๒๔๖๓ นายมาซาโอะ ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัคราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย จึงได้เดินทางมาปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทย จนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรมเมื่อเดือนสิงหาคม ๒๔๖๔ ที่กรุงเทพมหานคร (ท่านผู้สนใจสามารถหาอ่านประวัติเพิ่มเติมของนายมาซาโอะได้จากในหนังสือ ๑๐๐ ปีกระทรวงยุติธรรม และหนังสือประวัติและผลงานของชาวต่างชาติในประเทศไทย เล่ม ๒ กรมศิลปากร พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๓๙)

นักกฎหมายชาวต่างประเทศเหล่านี้มีคุณูปการต่อการปฏิรูปกฎหมายและการศาลไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดานักกฎหมายชาวเบลเยี่ยม ซึ่งถือเป็นชาติที่เป็นกลาง เมื่อมาปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอังกฤษและฝรั่งเศสก็ย่อมไม่มีข้อรังเกียจสงสัยต่าง ๆ ในระหว่างสองชาติดังกล่าว ผลงานของนักกฎหมายชาวเบลเยี่ยมเหล่านี้มีมากมาย ดังจะเห็นได้จากคำกล่าวของ ชาร์ลส บุลส์ นายกเทศมนตรีบรัสเซลส์ พ.ศ. ๒๔๓๔ ถึง พ.ศ. ๒๔๔๗ ในหนังสือ “ล้านนาไทยในแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง“ ที่พิษณุ จันทร์วิทัน แปลและเรียบเรียงจากบันทึกต้นฉบับของหอจดหมายเหตุแห่งชาติกรุงบรัสเซลส์ดังนี้

“ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นการสมควรจะกล่าวเพิ่มเติมสักเล็กน้อยถึงภารกิจของ

เมซิเออร์ โรลัง จักแมงส์ และบรรดาผู้ช่วยชาวเบลเยี่ยม ภารกิจของคนเหล่านี้ได้แก่ การทำให้ชาวสยามซึ่งกำลังถูกคุกคาม ได้ตระหนักถึงความสำคัญในคุณค่าแห่งการธำรงอยู่อย่างเป็นเอกราช การติดอาวุธแห่งความรู้ด้านกฎหมายยุโรปเพื่อให้ชนชาวสยามสามารถใช้หลัก นิติศาสตร์ตะวันตกในการขัดขวางการรุกรานจากตะวันตก การช่วยจัดกระบวนการยุติธรรมเพื่อให้ชาวสยามสามารถจะเรียกร้องความไม่ชอบ ธรรมเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต การจัดระเบียบการบริหารเพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรของชาติอย่างมีแบบแผน ทั่งหลายทั้งปวงนี้คือการฟูมฟักให้ประเทศเล็ก ๆ ได้เติบใหญ่เป็นรัฐอันมั่นคงในภายภาคหน้า ข้าพเจ้าเห็นว่าภารกิจเหล่านี้นับเป็นสิ่งอันสมควรแก่การยกย่องบรรดาที่ ปรึกษาเหล่านี้ล้วนมีความกล้าหาญและอดทนในการจากบ้านเกิดเมืองนอนมาอยู่ใน ดินแดนอันห่างไกล ทั้งยังต้องเสี่ยงต่อสภาวะอากาศอันร้อนระอุและไม่เอื้ออำนวยต่อสุขภาพเช่นใน สยาม”

                   ที่มา://www.baanjomyut.com/library_2/extension-2/historical_period/03.html
                          //tanya-imtua.blogspot.com/p/blog-page.html
                          //www.museum.coj.go.th/malao/botbat.htm

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita