อาชีพอิสระ ยื่นภาษี อย่างไร

​​ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น แพทย์ ผู้สอบบัญชี นักกฎหมาย วิศวกร สถาปนิก นักแสดง ตัวแทนสินค้าขายตรง ตัวแทนประกันชีวิต ฯลฯ  เป็นอาชีพที่ทำงานโดยอาจไม่ได้มีสถานะเป็นพนักงานหรือลูกจ้างประจำ และมีรายรับไม่เท่ากันทุกเดือน มากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป ตามแต่ปริมาณงาน ดังนั้น เมื่อมีรายได้ที่แตกต่างกันไป การวางแผนทางการเงิน  จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง เช่น ต้องมีวิธีการจัดสรรรายได้ที่ได้มาแต่ละครั้งเป็นเงินออมและการลงทุน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนและจัดการให้ตัวเองมีเงินพอใช้สอดคล้องกับรายจ่ายที่จะเกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา รวมไปถึงการประกันสุขภาพ การประกั​นชีวิต  ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงทางการเงิน และบรรเทาความเดือดร้อน กรณีมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด หรือหากเป็นการจะลงทุนเปิดกิจการ SMEs ของตัวเองก็ควรเริ่มจากการวางแผนธุรกิจ  และหากยังมีเงินทุนไม่พอ การขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินก็อาจเป็นตัวช่วยให้คุณสร้างความฝันจนสำเร็จได้

นอกจากนี้ ยังมีข้อได้เปรียบในการจัดการภาษี ตรงที่เสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในอัตราต่ำเพียง 3% รวมทั้งสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง เช่น แพทย์ 60% ของรายได้ อาชีพอิสระอื่น ๆ 30% โดยถูกไม่จำกัดไว้ที่ 40% แต่ไม่เกิน 60,000 บาทเช่นกรณีลูกจ้าง พนักงานที่รับเงินเดือน

ทำงานเป็นฟรีแลนซ์ หรือคนที่ประกอบอาชีพอิสระไม่สังกัดออฟฟิศ ไม่ได้ชิลสบายแบบที่ใคร ๆ คิดหรอกนะ เพราะต้องดูแลจัดการเงินของตัวเองให้เป็นระบบระเบียบด้วย ไม่อย่างนั้นคงสับสนวุ่นวายแย่ โดยเฉพาะการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี แล้วฟรีแลนซ์ต้องรู้อะไรบ้างเพื่อเป็นการวางแผนภาษีสำหรับฟรีแลนซ์หากจำเป็นต้องจ่ายรวมถึงภาษีของผู้ที่ทำงานฟรีแลนซ์นั้นแตกต่างจากพนักงานในองค์กรทั่วไปอย่างไรบ้าง มาเรียนรู้ไว้จะได้ใช้สิทธิ์ของตัวเองได้อย่างคุ้มค่า

Freelance หรือฟรีแลนซ์ คือผู้ที่มีอาชีพรับจ้างอิสระ ไม่ได้สังกัดบริษัท องค์กร หรือหน่วยงานใด ๆ ฟรีแลนซ์จะเป็นคนรับงานตรงจากนายจ้าง และส่งงานตรงกับนายจ้าง ดังนั้นฟรีแลนซ์จึงเป็นเจ้านายตัวเอง ต้องกำกับเวลาตัวเอง ติดตามงานเอง รับค่าจ้างเอง รวมถึงต้องจัดการเรื่องภาษีด้วยตัวเอง ซึ่งควรศึกษาคู่มือจัดการภาษีสำหรับฟรีแลนซ์เอาไว้ให้ดี เพื่อให้เกิดความคล่องตัวกับการใช้จ่ายมากที่สุด

สำหรับพนักงานประจำหรือคนที่ทำงานบริษัท มีสังกัดองค์กรหรือหน่วยงานนั้น การจัดการเรื่องภาษีจะเป็นหน้าที่ของบริษัท โดยพนักงานจะทำหน้าที่ยื่นเสียภาษีตามข้อมูลที่บริษัทแจ้งมาให้ตามใบ 50 ทวิ หรือเรียกเต็ม ๆ ว่า หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ภายในใบ 50 ทวินั้น ผู้จ่ายเงินได้หรือบริษัทได้แจ้งข้อมูลเงินเดือน โบนัส ค่าประกันสังคม ค่าภาษีที่หักไว้ รวมทั้งข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการยื่นภาษี เป็นข้อมูลที่พร้อมให้พนักงานสามารถยื่นภาษีได้ทันที

แต่ฟรีแลนซ์ไม่ได้มีคนเตรียมข้อมูลเหล่านี้ให้ ดังนั้นข้อมูลที่จำเป็นต่อการยื่นภาษีนั้น คนที่มีอาชีพฟรีแลนซ์ต้องเตรียมเก็บไว้เอง วันนี้จะนำคู่มือจัดการภาษีมาฝากฟรีแลนซ์โดยเฉพาะ

1. ต้องรับทราบเงินได้พึงประเมิน

เนื่องจากฟรีแลนซ์ไม่ได้มีคนคำนวณยอดเงินเดือนไว้ให้ ฟรีแลนซ์จึงต้องทำหน้าที่ตรงนี้เอง โดยต้องเป็นคนรวบรวมเอกสารหักภาษี ณ ที่จ่ายจากผู้ว่าจ้างให้ครบทุกบิลที่มีการจ่ายชำระค่าจ้าง รวมถึงใบเสร็จในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่มในงานที่ทำทุกงานด้วย ทั้งนี้ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยืนยันรายได้ต่อสรรพากร

สิ่งที่ฟรีแลนซ์ต้องทำอีกอย่างคือ ต้องคำนวณรายได้ไว้ทุก ๆ เดือน โดยแยกระหว่างรายได้ที่หักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว กับรายได้ที่ยังไม่ได้หักภาษี โดยให้ดูว่าผู้ว่าจ้างรายไหนเคยขอบัตรประจำตัวประชาชนไว้ ให้สันนิษฐานว่าผู้ว่าจ้างรายนั้นมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว แยกเป็นรายได้ไว้กองหนึ่ง และผู้ว่าจ้างที่ไม่ได้ขอบัตรประจำตัวไว้ แยกไว้อีกกอง เป็นรายได้ที่ยังไม่ได้หักภาษี และรายได้ทั้งสองกองคือเงินเดือนของฟรีแลนซ์ โดยจะนำรายได้นี้ไปรวมกับรายได้อื่น ๆ (ถ้ามี) เพื่อคำนวณหาเงินได้พึงประเมิน และเมื่อรู้จำนวนเงินคร่าวๆ แล้วก็จะง่ายต่อการ วางแผนภาษีสำหรับฟรีแลนซ์ด้วยนั่นเอง

2. ตรวจสอบกฎเกณฑ์ของกรมสรรพากร

ฟรีแลนซ์ต้องตรวจสอบว่าในหมวดอาชีพของฟรีแลนซ์ มีค่าใช้จ่ายอะไรที่สามารถนำมาหักภาษีหรือจ่ายภาษีเหมาได้บ้าง และนำเงินได้พึงประเมินมาหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน เพื่อจะได้รายได้สุทธิออกมา นำรายได้สุทธินี้ไปใช้คำนวณฐานภาษี หากคำนวณแล้วยังเข้าข่ายต้องจ่ายภาษี การใช้คู่มือจัดการภาษีสำหรับฟรีแลนซ์ที่น่าสนใจมาปรับใช้ก็จะช่วยในการลดหย่อนได้ในส่วนนี้

3. ตัดรายได้ 30% สำรองไว้จ่ายภาษี

สำหรับคนทำงานประจำนั้น ทุกครั้งที่เงินเดือนออก บริษัทจะหักภาษีไว้ตามฐานภาษีของแต่ละคน ฟรีแลนซ์ก็ควรทำแบบนี้เช่นเดียวกัน โดยควรตัดรายได้ 30% หรือมากกว่านั้น เพื่อกันไว้เป็นภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี

ปัญหาอย่างหนึ่งของฟรีแลนซ์คือ มักชะล่าใจว่าการเป็นฟรีแลนซ์นั้นไม่ต้องเสียภาษีเพิ่มแล้ว เนื่องจากไม่ได้สังกัดองค์กร หรือหน่วยงานใด ๆ หรือฟรีแลนซ์บางคนก็คิดไปเองว่าได้โดนหักภาษี ณ ที่จ่ายไปเรียบร้อยแล้ว ทำให้เมื่อถึงเวลายื่นภาษีคำนวณพบว่าต้องจ่ายภาษีเพิ่ม กลับไม่มีเงินไปจ่ายภาษี เพราะไม่ได้กันรายได้ไว้สำรองสำหรับจ่ายภาษีนั่นเอง ทำให้การวางแผนภาษีสำหรับฟรีแลนซ์มีความจำเป็นอย่างมาก

4. จัดการหาวิธีลดหย่อนภาษี

เมื่อคำนวณรายได้สุทธิและได้ฐานภาษีแล้ว ก็พอทราบตัวเองแล้วว่ามีจำนวนเงินภาษีที่ต้องนำจ่ายเท่าไหร่ หากยังมียอดที่ต้องจ่ายภาษีสูงอยู่ ก็ต้องหาวิธีเพื่อลดหย่อนภาษี แต่สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่าควรเริ่มวางแผนภาษีสำหรับฟรีแลนซ์อย่างไร สามารถทำได้ด้วยวิธีเหล่านี้

4.1 ลดหย่อนภาษีด้วยค่าเดินทางท่องเที่ยว
เป็นฟรีแลนซ์ก็เครียดพอดูอยู่แล้ว ต้องหางานเอง ต้องจัดการงานเองหมด เมื่อได้เวลาพักผ่อน ก็ควรจะวางแผนภาษีสำหรับฟรีแลนซ์ไปด้วย เรียกว่ายิงนกนัดเดียวได้ถึงสองตัว โดยสามารถนำใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษีฉบับเต็มของค่าบริการนำเที่ยวหรือค่าที่พักที่ได้จ่ายไปมาขอลดหย่อนภาษีได้

4.2 ลดหย่อนภาษีด้วยค่าซื้อสินค้าและบริการ
เป็นฟรีแลนซ์นอกจากจะจัดการเรื่องงานให้ลงตัวแล้ว ยังจะต้องมีความเตรียมพร้อมในเรื่องของการเงินด้วย เหล่าฟรีแลนซ์ควรมีคู่มือจัดการภาษีสำหรับฟรีแลนซ์ที่ต้องจ่ายทุกปีเอาไว้ เพราะจะช่วยในเรื่องการจัดการเรื่องค่าใช้จ่ายได้อย่างลงตัว ซึ่งวิธีที่ทำได้ง่ายๆ คือการเลือกซื้อสินค้าและบริการที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้

สิ่งที่ผู้เสียภาษีต้องนำมาใช้เป็นหลักฐานลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปที่เกิดขึ้นจากการซื้อสินค้าหรือใช้บริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยที่ผู้เสียภาษีต้องเรียกขอจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับค่าใช้จ่ายที่ได้สิทธิลดหย่อนภาษี เช่น ค่าซื้อสินค้าจากร้านสะดวกซื้อ หรือจากห้างสรรพสินค้า ค่าอาหาร และเครื่องดื่มในร้านอาหารหรือในโรงแรม บริการนวดหน้า ค่าบริการสปา ค่าซื้ออุปกรณ์ตกแต่งรถ อะไหล่รถ ค่าซ่อมรถที่มีการซ่อมแล้วเสร็จ และชำระค่าบริการตามช่วงเวลาที่รัฐกำหนดในแต่ละปี

4.3 ลดหย่อนภาษีด้วยประกันชีวิต
ยังคงเป็นวิธียอดฮิตที่ทั้งพนักงานบริษัทหรือฟรีแลนซ์มักเลือกใช้สำหรับใช้สิทธิลดหย่อนภาษี ด้วยเพราะได้ประกันความเสี่ยงไปด้วย ได้ออมเงินด้วย และยังได้ลดหย่อนภาษีไปด้วย ช่วงปลายปีเป็นช่วงที่บริษัทประกันต่าง ๆออกประกันดี ๆ มาให้เลือกมากมาย จึงเป็นช่วงที่ฟรีแลนซ์สามารถเลือกใช้โอกาสนี้ในการหากรมธรรม์ที่เหมาะสมกับตัวเองสักฉบับ เพื่อผลประโยชน์ทางด้านการออมเงินและที่สำคัญยังจะเป็นวางแผนภาษีสำหรับฟรีแลนซ์ที่ช่วยให้เหล่าฟรีแลนซ์สามารถจัดสรรเรื่องเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับตัวเองด้วย

4.4 ลดหย่อนภาษีด้วยการลงทุนใน LTF หรือ RMF
เป็นอีกวิธีที่นิยมเลือกมาใช้ในการวางแผนภาษีสำหรับฟรีแลนซ์ นั่นคือการเลือกซื้อกองทุน LTF หรือ RMF ไว้ได้ ผลประโยชน์ของการลงทุนใน LTF และ RMF นอกจากจะช่วยเรื่องออมเงิน และลดหย่อนภาษีได้แล้ว เมื่อขายหน่วยลงทุนคืนยังไม่ต้องเสียภาษีอีกด้วย ถ้าอยากได้ไอเดียในการลงทุนเพิ่มเติม ก็ลองอ่านได้ที่บทความ กองทุนแบบไหนตอบโจทย์ฟรีแลนซ์ (ตอนที่ 1)

4.5 ลดหย่อนภาษีด้วยการบริจาคเงิน
การบริจาคเงินเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่ช่วยลดหย่อน ที่สามารถนำไปเป็นคู่มือจัดการภาษีของฟรีแลนซ์ ซึ่งมีด้วยกันสองประเภทคือ การบริจาคเงินเพื่อการศึกษาและกีฬา และการบริจาคอื่น ๆ ที่น่าสนใจ คือการบริจาคเงินเพื่อการศึกษาและกีฬานั้น สามารถลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่าของเงินบริจาค ส่วนการบริจาคอื่น ๆ เช่น การบริจาคให้วัด หรือมูลนิธิ สามารถลดหย่อนภาษีได้ 1 เท่า เป็นอีกวิธีที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้อย่างคุ้มค่าเลยทีเดียว เพราะถือว่าเป็นการทำบุญไปในตัวด้วย

สำหรับฟรีแลนซ์ไม่แนะนำให้มาจัดการเรื่องลดหย่อนภาษีในช่วงปลายปี แต่ควรวางแผนภาษีสำหรับฟรีแลนซ์ให้ดีตั้งแต่ต้นปี ยกเว้นต้องการลดหย่อนภาษีด้วยการซื้อประกัน และ LTF หรือ RMF เนื่องจากประกันและกองทุน LTF หรือ RMF ดี ๆ มักมีให้เลือกเยอะในช่วงปลายปี ฟรีแลนซ์ควรวางแผนเรื่องภาษีอย่างดีและรอบคอบ เมื่อไม่มีความรู้ด้านไหนก็ควรรีบศึกษาหาความรู้ หรือไม่ก็ต้องปรึกษาผู้รู้ เพราะหากวางแผนภาษีสำหรับฟรีแลนซ์ได้ไม่ดีพอ อาจจะมีผลต่อการเรียกจ่ายภาษีย้อนหลังได้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita