ภาษาระดับสูง ข้อดี ข้อเสีย

                ภาษาโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาใช้งานนั้น มีอยู่ด้วยกันหลายภาษา
ซึ่งแต่ละภาษาจะมีคุณสมบัติและความเหมาะสมในการนำมาใช้ในการพัฒนาโปรแกรมแตกต่าง
กัน ซึ่งภาษาโปรแกรมที่ใช้งานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น สามารถแบ่งได้เป็น 5 ยุค ดังนี้

           ยุคที่ 1 : ภาษาเครื่อง (Machine Language)

                ภาษาเครื่อง เป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระดับต่ำที่สุด ซึ่งคอมพิวเตอร์เข้าใจ
ได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านตัวแปลภาษาเพราะเขียนคำสั่งและแทนข้อมูลด้วยเลขฐานสอง (Binary
Code) ทั้งหมด ซึ่งเป็นการเขียนคำสั่งด้วยเลข 0 หรือ 1 ดังตัวอย่างคำสั่งภาษาเครื่อง ดังนี้

คำสั่งภาษาเครื่อง (Machine Code)

ความหมาย

0010 0000

โหลดข้อมูลจากหน่วยความจำ

0100 0000

ดำเนินการบวกข้อมูล

0011 0000

เก็บข้อมูลลงในหน่วยความจำ

                ก่อนปี ค.ศ. 1952 มีการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาเครื่องเพียงภาษาเดียว
เท่านั้นที่ใช้ ติดต่อกับคอมพิวเตอร์โดยตรง และคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีภาษาเครื่องแตกต่าง
กันขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์และหน่วยประมวลผลกลาง (Central Processor
Unit: CPU) โดยมีรูปแบบคำสั่งเฉพาะเครื่อง

                ดังนั้นนักเขียนโปรแกรมจึงไม่นิยมที่จะเขียนโปรแกรมด้วยภาษาเครื่อง เพราะทำการ
แก้ไข และเขียนโปรแกรมได้ยากทำให้เกิดยุ่งยากในการจดจำ และเขียนคำสั่งต้องใช้เวลามากใน
การเขียนโปรแกรม รวมทั้งการหาข้อผิดพลาดจากการทำงานของโปรแกรม และโปรแกรมที่เขียน
ขึ้นทำงานเฉพาะคอมพิวเตอร์ที่มีฮาร์ดแวร์เดียวกันเท่านั้น (Machine Dependent)

               ข้อดีของภาษาเครื่อง คือสามารถเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานคอมพิวเตอร์ได้
โดยตรง และสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างรวดเร็ว

           ยุคที่ 2 ภาษาแอสเซมบลี ( Assembly Language)

               ภาษาแอสเซมบลี จัดอยู่ในภาษาระดับต่ำ และเป็นภาษาที่พัฒนาต่อมาจากภาษา
เครื่องในปี ค.ศ. 1952 ภาษาแอสเซมบลีมีความใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมาก คือ 1 คำสั่งของ
ภาษาแอสเซมบลีจะเท่ากับ 1 คำสั่งของภาษาเครื่อง โดยที่ภาษาแอสเซมบลีจะเขียนคำสั่งเป็น
ตัวอักษรภาษาอังกฤษ เพื่อใช้แทนคำสั่งภาษาเครื่อง ทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถเขียน
โปรแกรมได้ง่ายขึ้น โดยการจดจำรหัสคำสั่งสั้น ๆ ที่จำได้ง่าย ซึ่งเรียกว่า นิวมอนิกโค้ด
(Mnemonic code) เช่น

คำสั่งนิวมอนิกโคด
( Mnemonic code)

คำสั่งภาษาเครื่อง

ความหมาย

LOAD

0010 0000

โหลดข้อมูลจากหน่วยความจำ

ADD

0100 0000

ดำเนินการบวกข้อมูล

SUB

1101 0000

ดำเนินการลบข้อมูล

MOV

1001 0000

ย้ายข้อมูลเข้าออกจากหน่วยความจำ

STROE

0011 0000

เก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำ

                ตัวอย่างของคำสั่งภาษาแอสเซมบลี ดังตัวอย่าง เช่น

                    CALL MySub ;transfer of control

                    MOV AX, 5 ;data transfer

                    ADD AX, 20 ;arithmetic

                    JZ Next 1 ;logical (jump if zero)

                    IN A 1, 20 ;input/output (read from hardware port)

                    RET ;return

                เมื่อนักเขียนโปรแกรม เขียนโปรแกรมด้วยภาษาแอสเซมบลีแล้ว ต้องใช้ตัวแปล
ภาษาที่เรียกว่า แอสเซมเบลอ ( Assembler) เพื่อแปลภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง จึง
จะสามารถสั่งงานคอมพิวเตอร์ให้ทำงานได้

                สรุปคำสั่งที่เขียนด้วยภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในยุคที่ 1 และที่ 2 จะต้องใช้
เทคนิคการเขียนโปรแกรมสูง เพราะมีความยืดหยุ่นในการเขียนน้อยมาก และมีความยากในการ
เขียนคำสั่งสำหรับผู้เขียนโปรแกรม แต่สามารถควบคุมและเข้าถึงการทำงานของเครื่อง
คอมพิวเตอร์ได้โดยตรง และมีความรวดเร็วกว่าการใช้ภาษาระดับอื่น ๆ

             ยุคที่ 3 ภาษาระดับสูง ( High-level Language)

                ภาษาระดับสูงถือว่าเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในยุคที่สาม ( Third-generation
language) ที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในปี ค.ศ. 1960 โดยมีโครงสร้างภาษาและชุดคำสั่ง
เหมือนกับภาษาอังกฤษ รวมทั้งสามารถใช้นิพจน์ทางคณิตศาสตร์ในการคำนวณได้ด้วย ทำให้ผู้
เขียนโปรแกรมสะดวกในการเขียนคำสั่งและแสดงผลลัพธ์ได้ตามต้องการ ลดความยุ่งยากใน
การเขียนโปรแกรมลงได้มาก ทั้งยังทำให้เกิดการใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลเพิ่มขึ้น
เช่น การควบคุมและสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม การแก้ปัญหาเฉพาะด้านทางด้าน
อุตสาหกรรม เช่น การควบคุมเครื่องจักรกลต่าง ๆ เป็นต้น

                การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงจะต้องใช้ตัวแปลภาษา ที่เรียกว่า คอมไพเลอร์
(Compiler) เพื่อแปลภาษาระดับสูงโดยการตรวจสอบไวยากรณ์ของภาษาระดับสูงไปเป็นภาษา
เครื่องเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่อไป โดยคอมไพเลอร์ของภาษาระดับสูงแต่ละ
ภาษาจะแปลเฉพาะภาษาของตนเอง และทำงานได้เฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดเดียวกัน
เท่านั้น เช่น คอมไพเลอร์ของภาษา COBOL บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ จะแปลภาษาเฉพาะ
คำสั่งของภาษา COBOL และจะทำงานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมือนกันเท่านั้น ถ้าต้องการ
นำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบอื่น ๆ เช่น เมนเฟรม จะต้องใช้คอมไพเลอร์ของภาษา
COBOL แบบใหม่

               ตัวอย่างของภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงได้แก่ ภาษา BASIC ภาษา COBOL ภาษา
FORTRAN และ ภาษา C ที่ได้รับความนิยมมากเช่นกัน สามารถเขียนโปรแกรมแก้ปัญหาเฉพาะ
ด้าน เช่น การควบคุมหุ่นยนต์ การสร้างภาพกราฟิก ได้เป็นอย่างดีเพราะมีความยืดหยุ่นและเหมาะ
กับการใช้งานทั่ว ๆ ไปได้

                สรุปภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3 มีการเขียนโปรแกรมที่ง่ายกว่าในยุคที่ 2
สามารถทำงานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์หลายระดับ (Machine Independent) โดยต้องใช้ควบคู่
กับตัวแปลภาษา (Compiler or Interpreter) สำหรับเครื่องนั้น ๆ และมีความยืดหยุ่นในการแก้
ปัญหาได้มากกว่าภาษาระดับต่ำ

          ยุคที่ 4 ภาษาระดับสูงมาก ( Very high-level Language)

               ภาษาระดับสูงมากเป็นภาษา โปรแกรมคอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ( Fourth-generation language)
ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมด้วยคำสั่งสั้น ๆ และง่ายกว่าภาษาในยุคก่อน ๆ มีการ
ทำงานแบบไม่จำเป็นต้องบอกลำดับของขั้นตอนการทำงาน ( Nonprocedural language) เพียง
นักเขียนโปรแกรมกำหนดว่าต้องการให้โปรแกรมทำอะไรเท่านั้นโดยไม่ต้อง ทราบว่าทำได้
อย่างไร ทำให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายและรวดเร็วกว่าภาษาระดับสูงในยุคที่ 3 ที่มีการเขียน
โปรแกรมแบบบอกขั้นตอนการทำงาน ( Procedural language) ภาษาระดับสูงมากทำงานเหมือน
กับภาษาพูดว่าต้องการอะไรและเขียนเหมือนภาษาอังกฤษ ดังตัวอย่าง เช่น

                    TABLE FILE SALES

                    SUM UNITS BY MONTH BY CUSTOMER BY PRODUCT

                    ON CUSTOMMER SUBTOTAL PAGE BREAK

                    END

                ข้อดีของภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 4

                    • การเขียนโปรแกรมจะสั้นและง่าย เพราะเน้นที่ผลลัพธ์ของงานว่าต้องการอะไร
โดยไม่สนใจว่าจะทำได้อย่าง ไร
                    • การเขียนคำสั่ง สามารถทำได้ง่ายและแก้ไข เปลี่ยนแปลงโปรแกรมได้สะดวก
ทำให้พัฒนาโปรแกรมได้รวดเร็วขึ้น
                    • ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมได้เร็ว โดยไม่ต้องเสียเวลาอบรม หรือ
มีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมหรือไม่ เพราะชุดคำสั่งเหมือนภาษาพูด
                    • ผู้เขียนโปรแกรมไม่จำเป็นต้องทราบถึงฮาร์ดแวร์ ของเครื่องและโครงสร้างคำสั่ง
ของภาษาโปรแกรม

                ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 4 ประกอบด้วย Report Generators, Query
Language, Application Generators และ Interactive Database Management System Programs

                ภาษาที่ใช้สำหรับเรียกดูข้อมูลจากฐานข้อมูลได้เรียกว่า ภาษาสอบถาม ( Query
languages) จัดเป็นภาษาในยุคที่ 4 ซึ่งสามารถใช้ค้นคืนสารสนเทศของฐานข้อมูล มาตรฐาน
ของภาษาชนิดนี้ขึ้นอยู่กับฐานข้อมูลที่แตกต่างกัน ที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ SQL(Structured
Query Language) และนอกจาก นี้ยังมีภาษา Query By Example หรือ QBE ที่ได้รับความนิยม
ในการใช้งาน

                Report Generator หรือ Report Writer คือโปรแกรมสำหรับผู้ใช้ ( End user) ที่ใช้สำหรับ
สร้างรายงาน รายงานอาจแสดงที่เครื่องพิมพ์หรือจอภาพก็ได้อาจจะแสดงทั้งหมดหรือบางส่วน
ของฐานข้อมูลก็ได้ อาจจะกำหนดรูปแบบบรรทัดคอลัมน์ส่วนหัวรายงาน และอื่น ๆ ได้

                Application Generators คือเครื่องมือของผู้เขียนโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างโปรแกรม
ประยุกต์จากการอภิปรายปัญหาได้เร็วกว่าการเขียนโปรแกรมทั่วๆไป

           ยุคที่ 5 ภาษาธรรมชาติ ( Natural Language)

                ภาษาธรรมชาติจัดเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า ( Fifth generation language)
คือ การเขียนคำสั่ง หรือสั่งงานคอมพิวเตอร์ทำงานโดยการใช้ภาษาธรรมชาติต่าง ๆ เช่น ภาพ
หรือ เสียง โดยไม่สนใจรูปแบบไวยากรณ์หรือโครงสร้างของภาษามากนัก ซึ่งคอมพิวเตอร์จะ
พยายามคิดวิเคราะห์ และแปลความหมายโดยอาศัยการเรียนรู้ด้วยตนเองและระบบองค์ความรู้
( Knowledge Base System) มาช่วยแปลความหมายของคำสั่งต่าง ๆ และตอบสนองต่อผู้ใช้งาน

                ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 5 เช่น

                    SUM SHIPMENTS BY STATE BY DATE

                ข้อดีของภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 5 คือผู้เขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรม
ได้เร็ว โดยไม่ต้องมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรม แต่คอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรแกรมต้องมีระบบรับ
คำสั่ง และประมวลผลแบบอัจฉริยะ สามารถตอบสนองและทำงานได้หลายแบบ

ข้อใดคือข้อดีของภาษาระดับสูง

ข้อดีของภาษาระดับสูง คือเป็นภาษาที่ไม่ผูกพันหรือขึ้นตรงกับตัวเครื่อง ดังนั้นผู้เขียนโปรแกรมสามารถเขียนได้อย่างอิสระภายใต้กฎเกณฑ์ของภาษานั้น ๆ โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางฮาร์ดแวร์ ก็สามารถใช้ประโยชน์ได้ จะอย่างไรก็ตาม ภาษาระดับสูงเมื่อจะนำไปใช้ควบคุมสั่งการเครื่องก็ต้องนำไปแปลเป็นภาษาเครื่องก่อนเช่นเดียวกัน โปรแกรมที่ ...

ภาษาเครื่องมีข้อดีอย่างไร

ข้อดีของภาษาเครื่อง คือสามารถเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานคอมพิวเตอร์ได้ โดยตรง และสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างรวดเร็ว ยุคที่ 2 ภาษาแอสเซมบลี ( Assembly Language) ภาษาแอสเซมบลี จัดอยู่ในภาษาระดับต่ำ และเป็นภาษาที่พัฒนาต่อมาจากภาษา

ภาษาระดับสูงมากหมายถึงมีอะไรบ้าง

ภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรมกล่าวคือลักษณะของคำสั่ง จะประกอบด้วยคำต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้อ่านสามารถเข้าใจความหมายได้ทันที ผู้เขียนโปรแกรมจึงเขียน โปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงได้ง่ายกว่าเขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีหรือภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีมากมายหลายภาษา

ข้อเสียของภาษาจาวามีอะไรบ้าง

- ทำงานได้ช้ากว่า native code (โปรแกรมที่ compile ให้อยู่ในรูปของภาษาเครื่อง) หรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาอื่น อย่างเช่น C หรือ C++ ทั้งนี้ก็เพราะว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาจาวาจะถูกแปลงเป็นภาษากลาง ก่อน แล้วเมื่อโปรแกรมทำงานคำสั่งของภาษากลางนี้จะถูกเปลี่ยนเป็นภาษาเครื่องอีก ทีหนึ่ง ทีล่ะคำสั่ง (หรือกลุ่มของคำ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita