แนวทางการสืบสานประเพณีสงกรานต์

               จากการศึกษาวิเคราะห์การสืบสานประเพณีสงกรานต์ของวัดในอำเภอลำปลายมาศ พบว่ามีการสืบสานประเพณีสงกรานต์ประกอบด้วย การสืบสานด้านการอนุรักษ์ เช่นการจัดกิจกรรมต่างๆ ในวันสงกรานต์เช่น การทำบุตรตักบาตร สรงน้ำพระ ก่อเจดีย์ทรายหรือการจักกิจกรรมในท้องถิ่นของตนเองในแต่ละหมู่บ้าน เช่นวัดโพธิ์ย่อยบ้านยางมีการทำพิธีลอยบาปเป็นต้น การสืบสานด้านการสืบทอด มีการให้ความรู้แก่ชาวพุทธเกี่ยวกับประเพณีสงกรานต์ การจัดกิจกรรมในวันสงกรานต์เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้สืบทอดประเพณีสืบไป อิทธิพลของประเพณีสงกรานต์ที่มีต่อความเชื่อของชาวพุทธนั้น เช่นความเชื่อเรื่องราศี ความเชื่อในอานิสงส์การทำบุญ การปล่อยสัตว์ การกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ เป็นต้น ความเชื่อเหล่านี้ยังมีอยู่ในประเพณีสงกรานต์

สยามรัฐออนไลน์ วัฒนธรรม

นำแนวทางและมาตรการรณรงค์เทศกาลสงกรานต์ไทย เพื่อสืบสานคุณค่าทางวัฒนธรรมมากำชับกัน ข้อควรปฏิบัติและงด สังเขปอีกหน กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) ได้ประกาศแนวทางและมาตรการรณรงค์เพื่อสืบสานคุณค่าทางวัฒนธรรม เนื่องในประเพณีสงกรานต์ พุทธศักราช 2565 ภายใต้แนวคิด “ร่วมสืบสานวัฒนธรรมไทย สงกรานต์วิถีใหม่ รับผิดชอบต่อครอบครัวและสังคม” โดยขอความร่วมมือหน่วยงานต่างๆ และประชาชนจัดกิจกรรมประเพณีสงกรานต์แบบวิถีใหม่ (New Normal) เน้นเรื่องวัฒนธรรม ประเพณี การท่องเที่ยวและสุขภาพ สืบสานขนบธรรมเนียมที่ดีงาม และดำเนินกิจกรรมสงกรานต์ให้สอดคล้องกับแนวทางมาตรการเทศกาลดังกล่าวของศบค.ชุดใหญ่ และมาตรการความปลอดภัยป้องกันโรคติดเชื้อโควิด 19 ของกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)

ในส่วนของกิจกรรมทางศาสนา ได้แก่ ทำบุญที่วัด สรงน้ำพระพุทธรูป ตักบาตร ขนทรายเข้าวัด พระสงฆ์ บุคลากรในวัดและประชาชนที่ไปทำบุญต้องได้รับการฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์และปฏิบัติตาม “COVID Free Setting (CFS)” อย่างเคร่งครัด การสรงน้ำพระพุทธรูปขอให้เตรียมอุปกรณ์ของแต่ละคนมาเอง ห้ามนำน้ำที่สรงมาใช้ต่อ หากจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์และของใช้ร่วมกันให้มีเจล/สเปรย์แอลกอฮอล์ทำความสะอาดก่อนและหลังหยิบจับ กรณีสรงน้ำพระสงฆ์และรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ให้ปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด การร่วมกิจกรรมในครอบครัว เช่น กราบไหว้ขอพรพ่อแม่ รดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่ ทุกคนในครอบครัวต้องได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัวและสมาชิกครอบครัวควรตรวจ ATK ภายใน 72 ชั่วโมงก่อนเข้าร่วมกิจกรรม หรือไปเยี่ยมผู้สูงอายุ และกรณีผู้ที่มาจากต่างพื้นที่ขอให้ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาโดยเฉพาะเมื่อต้องใกล้ชิดผู้สูงอายุ และจัดกิจกรรมในพื้นที่ที่มีการระบายอากาศได้ดี เป็นต้น
ส่วนการข้าร่วมเทศกาลประเพณีสงกรานต์นั้น หน่วยงานต่างๆ จัดกิจกรรมที่สามารถทำได้ ได้แก่ การละเล่นที่จัดได้ตามมาตรการผ่อนปรนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อาทิ การเล่นน้ำสงกรานต์ในพื้นที่ จัดงานที่มีการควบคุมการแสดงทางวัฒนธรรม การแสดงมหรสพ ประเพณีท้องถิ่น ขบวนแห่ การแสดงดนตรี ตลอดจนการเปิดร้านอาหารให้ปฏิบัติตามมาตรการ CFS และมาตรการ DMHTA อย่างเคร่งครัด ส่วนกิจกรรมที่ให้งด ได้แก่ งดเล่นสาดน้ำในที่สาธารณะ เช่น บนท้องถนน กระแป้ง ปาร์ตี้โฟม หรือกิจกรรมที่สัมผัสใกล้ชิด งดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่สาธารณะ
สำหรับการรณรงค์ “สืบสานวัฒนธรรมไทย” ในการจัดกิจกรรมการละเล่น การแสดงทางวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นตามแนวทางมาตรการเทศกาลสงกรานต์ 2565 ของศบค.ชุดใหญ่ อีกทั้งขอเชิญชวนประชาชนแต่งกายชุดสุภาพด้วยผ้าไทย ผ้าพื้นเมืองหรือชุดไทยย้อนยุคเข้าร่วมกิจกรรมสงกรานต์เพื่อร่วมสืบสานคุณค่าและสาระอันดีงามของประเพณีสงกรานต์ เช่น การทำความสะอาดบ้านเรือน วัด ศาสนสถาน สถานที่สาธารณะ ทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระพุทธรูป ฟังเทศน์ ปฏิบัติธรรม รดน้ำขอพรผู้สูงอายุ เป็นต้น

วันสงกรานต์ถือเป็นประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาแต่โบราณ เป็นประเพณีที่งดงามแสดงออกถึงขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมของไทย ควรได้รับการอนุรักษ์และส่งเสริมให้เป็นมรดกอันดีงามด้านประเพณีสืบไป เป็นการแสดงออกถึงความเป็นไทยอย่างแท้จริง นอกจากนี้ ยังมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่อย่างมีความสุข การแสดงออกถึงความกตัญญูรู้คุณผู้มีพระคุณ การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ และการให้เกียรติเคารพซึ่งกันและกัน สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะของความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน โดยใช้น้ำเป็นสื่อในการเชื่อมสัมพันธไมตรี ประเพณีสงกรานต์จึงเป็นประเพณีที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมายาวนาน
การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เป็นภารกิจหนึ่งของภาควิชาชีววิทยาที่ร่วมอนุรักษ์และสืบสานประเพณีที่สำคัญนี้ รวมถึงเป็นวันที่บุคลากร และนักศึกษาของภาควิชาชีววิทยาจะได้พบปะกัน และแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณต่อภาควิชา จึงได้จัดโครงการสืบสานประเพณีสงกรานต์และรดน้ำดำหัว ภาควิชาชีววิทยา ประจำปี 2560 ขึ้น เพื่อให้นักศึกษา และบุคลากรรดน้ำดำหัวอาจารย์อาวุโส และสรงน้ำพระ อันเป็นการสืบสานประเพณีสงกรานต์ของไทยให้อยู่สืบไป

เรื่อง แนวทางและมาตรการรณรงค์เพื่อสืบสานคุณค่าทางวัฒนธรรมเนื่องในประเพณีสงกรานต์ ประจำปีพุทธศักราช 2560 (สงกรานต์แบบไทย ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ทุกชีวาปลอดภัย)

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแนวทางและมาตรการรณรงค์ตามแนวคิด “สงกรานต์แบบไทย ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ทุกชีวาปลอดภัย” เนื่องในประเพณีสงกรานต์ ประจำปีพุทธศักราช 2560 ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

แนวทางการดำเนินการภายใต้แนวคิด “สงกรานต์แบบไทย ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ทุกชีวาปลอดภัย” สื่อความหมาย ดังนี้

1) สงกรานต์แบบไทย หมายถึง การอนุรักษ์ สืบสานและส่งเสริมประเพณีสงกรานต์แบบไทย ที่ทรงคุณค่าสาระอันดีงาม และการปฏิบัติตามแบบของประเพณีวัฒนธรรมที่เหมาะสม

2) ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า หมายถึง การเล่นน้ำในประเพณีสงกรานต์อย่างเหมาะสมมีการวางแผนในการใช้น้ำอย่างประหยัด มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟื่อย และมีจุดมุ่งหมายการใช้น้ำที่ชัดเจน โดยที่ยังคงไว้คุณค่าและสาระในการใช้น้ำในเทศกาลสงกรานต์ และ

3) ทุกชีวาปลอดภัย หมายถึง การรักษาความปลอดภัยในเทศกาลสงกรานต์ด้วยการเคารพกฎจราจรอย่างเคร่งครัด การรักษาระเบียบวินัยจราจร รวมถึงการแสดงความมีน้ำใจต่อผู้อื่นในการใช้ถนนหนทางการขับขี่ยานพาหนะด้วยความระมัดระวัง

1. การรณรงค์เรื่อง “สงกรานต์แบบไทย” ประกอบด้วย

1) การส่งเสริมให้เกิด “1 อำเภอ 1 ลานวัฒนธรรม” เพื่อเปิดพื้นที่ส่งเสริมการจัดกิจกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมสำหรับประชาชนในเทศกาลสงกรานต์ และร่วมกันสืบสานประเพณีที่ดีงาม เหมาะสม เช่น การจัดกิจกรรมฟังเทศน์ ฟังธรรม การทำบุญ ตักบาตร การจัดรดน้ำขอพรผู้ใหญ่และจัดการแสดงทางวัฒนธรรม เป็นต้น รวมถึงการละเล่นสงกรานต์ที่เหมาะสม

2) ขอความร่วมมือประชาชนช่วยกันสืบสานประเพณีสงกรานต์แบบไทย โดยการปฏิบัติตามแนวทางประเพณีสงกรานต์ที่เหมาะสม เช่น การเข้าวัด ตักบาตร ทำบุญ ฟังเทศน์ ฟังธรรมหรือส่วนผู้ที่นับถือศาสนาอื่นก็สามารถ ปฏิบัติตามหลักศาสนาของตน

3) ขอความร่วมมือรณรงค์เรื่องการแต่งกายในเทศกาลสงกรานต์ด้วยความสุภาพเหมาะสมกับเทศกาลฯ รวมถึงการแต่งกายที่เหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น การแต่งกายด้วยผ้าไทย เสื้อลายดอกหรือลายผ้าขาวม้าที่เหมาะสม และ

4) ขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการในการจัดแสดงทางวัฒนธรรมหรือการแสดงต่าง ๆ ให้คำนึงถึงความเหมาะสมต่อคุณค่าและเนื้อหาสาระของประเพณีสงกรานต์ สถานการณ์ กาลเทศะของประเทศไทยในปัจจุบัน

2. การรณรงค์เรื่อง “การใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า” ประกอบด้วย 1) ขอความร่วมมือประชาชนในการเล่นน้ำอย่างรู้คุณค่าโดยไม่สิ้นเปลือง เช่น การใช้ขันน้ำรดน้ำ เป็นต้น 2) ขอความร่วมมือหน่วยงานต่าง ๆ ที่จัดสถานที่ในการเล่นสาดน้ำให้แก่ประชาชนหรือการกำหนดพื้นที่เล่นสาดน้ำ (Zoning) ให้คำนึงถึงความเหมาะสมของอุปกรณ์ ปริมาณการใช้น้ำอย่างเหมาะสม

3. การรณรงค์เรื่อง “การกำหนดมาตรการด้านความปลอดภัย ประกอบด้วย

1) ขอความร่วมมือจากหน่วยงานเอกชน ผู้ประกอบการสถานบันเทิงหรือผู้จัดกิจกรรมการแสดงรื่นเริงในพื้นที่ต่าง ๆ สำรวจความเรียบร้อยของประชาชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อความปลอดภัยให้แก่ประชาชน

2) ขอความร่วมมือประชาชนปฏิบัติตามคุณค่าของประเพณีสงกรานต์และตามกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อให้เทศกาลสงกรานต์เป็นเทศกาลที่งดงามทรงคุณค่า และสามารถสื่อไปยังสายตาของชาวต่างชาติ ถึงความปลอดภัย

3) ขอความร่วมมือประชาชนที่ขับขี่ยานพาหนะและประชาชนที่ใช้ถนนหนทางต่าง ๆ ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎจราจรอย่างเคร่งครัด รวมถึงร่วมกันช่วยสอดส่อง ดูแล ตักเตือน หรือแจ้งเจ้าหน้าที่ ในกรณีที่พบเห็นผู้ที่ปฏิบัติตนไม่เหมาะสม เช่น การขับขี่ด้วยความมึนเมา เป็นต้น และ

4) ขอความร่วมมือสถานประกอบการขนส่ง และประชาชนเตรียมพร้อมในการขับขี่ยานพาหนะในระยะทางไกล โดยขอความร่วมมือในการตรวจสภาพยานพาหนะเพื่อให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานมากที่สุด

การสืบสานประเพณีสงกรานต์ให้ดำรงอยู่ในสังคมไทยควรทำอย่างไร

๒.๑ ส่งเสริมให้จังหวัดต่างๆ ใช้พื้นที่จัดกิจกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมในเทศกาล สงกรานต์ ร่วมกันสืบสานประเพณีที่ดีงาม เหมาะสม ๒.๒ ขอความร่วมมือจากประชาชนในการสืบสานคุณค่าสาระและสิ่งที่ควรทำของประเพณี สงกรานต์ เช่น การทำความสะอาดบ้านเรือน วัด สถานที่สาธารณะ ทำบุญตักบาตร ปฏิบัติธรรม ฟังเทศน์ สรงน้ำพระ ขอพรผู้สูงอายุ

ทำไมต้องอนุรักษ์ประเพณีสงกรานต์

วันสงกรานต์ถือเป็นประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาแต่โบราณ เป็นประเพณีที่งดงามแสดงออกถึงขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมของไทย ควรได้รับการอนุรักษ์และส่งเสริมให้เป็นมรดกอันดีงามด้านประเพณีสืบไป เป็นการแสดงออกถึงความเป็นไทยอย่างแท้จริง นอกจากนี้ ยังมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่อย่างมีความสุข การ ...

งานประเพณีสงกรานต์มีความเป็นมาอย่างไร

สงกรานต์ คือ ประเพณีของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนาม และมนฑลยูนานของจีน รวมถึงศรีลังกา และประเทศทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สันนิษฐานกันว่า ประเพณีสงกรานต์นั้นได้รับวัฒนธรรมมาจากเทศกาลโฮลีในอินเดีย แต่เทศกาลโฮลีจะใช้การสาดสีแทน โดยจะจัดให้มีขึ้นในทุกวันแรม 1 ค่ำ เดือน 4 ซึ่งก็คือเดือนมีนาคม

สงกรานต์เป็นประเพณีประเภทใด

ประเพณีสงกรานต์ถือเป็นมรดกร่วมทางวัฒนธรรมของผู้คนในกลุ่มวัฒนธรรมลุ่มแม่น ้า โขง เป็นประเพณีฉลองปีใหม่ของภูมิภาคลุ่มแม่น ้าโขง และเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดมาแต่ โบราณคู่กับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่ง ท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่ ค าว่า สงกรานต์ มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita