เก๋า กี่ พุทรา จีน กระเจี๊ยบ

หากพูดถึงสมุนไพรจีนเม็ดสีส้มๆ รสชาติออกเปรี้ยวอมหวาน และมักจะอยู่ในซุปซี่โครงหมูตุ๋นเครื่องยาจีนที่มักจะเสิร์ฟตามโต๊ะจีนงานแต่ง งานบวช ทุกคนคงจะต้องร้อง “อ๋อ!” อย่างแน่นอน... ใช่แล้วค่ะ เรากำลังพูดถึง “เก๋ากี้” สมุนไพรจีนคู่ครัวที่พวกเราเคยลองลิ้มชิมรสกันมานาน วันนี้ขออาสาพาทุกท่านไปทำความรู้จัก “เก๋ากี้” ให้ลึกซึ้งกว่าเดิมก็แล้วกันนะคะ

“เก๋ากี้” มีชื่อเรียกในภาษาจีนกลางว่า “โก่วฉีจึ” และมีชื่อที่คุ้นหูอีกชื่อหนึ่งว่า “โกจิเบอร์รี่” (Goji Berry) หรือ “วูฟเบอร์รี่” (Wolfberry) เป็นผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะประเทศจีน ผลเป็นสีแดง จะสุกในช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง ชาวจีนจะนิยมเก็บผลเก๋ากี้มาตากในที่ร่มจนผิวเหี่ยว สามารถนำไปปรุงอาหารได้หลากหลาย ตลอดจนนำมาแปรรูปเป็นชาสมุนไพรดื่มบำรุงสุขภาพได้อีกด้วย

ในตำราโบราณของศาสตร์การแพทย์แผนจีนหลายเล่มได้กล่าวถึงเก๋ากี้ไว้ว่า เป็นผลไม้ที่นำมาทำเป็นยารักษาโรคได้หลายอย่าง มีรสหวาน ฤทธิ์กลางไม่ร้อนไม่เย็น ไม่มีพิษ ฤทธิ์ยามุ่งเข้าสู่เส้นลมปราณตับ ม้าม กระเพาะอาหาร และปอด มีสรรพคุณบำรุงให้ปอดและไตชุ่มชื่น บำรุงตับ บำรุงสายตา ป้องกันและรักษาอาการตาแห้งได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้แพทย์จีนยังใช้บรรเทาและรักษาอาการของโรคเบาหวาน ไอแห้งเรื้อรัง บำรุงเส้นเอ็นและกระดูก ในตำราเย่าซิ่งลุ่นของจีนบันทึกไว้ว่าเก๋ากี้เคยถูกใช้เป็นยาเพิ่มอสุจิในเพศชายได้ดีอีกด้วย

ปัจจุบันนี้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสารออกฤทธิ์ของเก๋ากี้มากมาย ซึ่งพบว่าในเก๋ากี้นั้นนอกจากจะได้ชื่อว่าเป็น “ซุปเปอร์ฟู้ด” เพราะมีไฟเบอร์สูง อุดมไปด้วยกรดอะมิโน 19 ชนิด มีแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการหลากหลายชนิด เช่น สังกะสี เหล็ก ทองแดง แคลเซียม ฟอสฟอรัส เจอร์มาเนียม และมีวิตามินซีสูงแล้ว ยังมีสารจำพวกซีแซนทีน (zeaxanthin) และลูทีน (lutein)สูงกว่าผักผลไม้ทั่วไปด้วย* ซีแซนทีนและลูทีนเป็นองค์ประกอบสำคัญในจอประสาทตา ทำหน้าที่กรองแสงที่จะผ่านเข้าสู่จอตาและช่วยลดการสะท้อนของแสง

ป้องกันรังสีจากแสงแดดที่เป็นอันตรายต่อดวงตา จึงทำให้เก๋ากี้มีคุณสมบัติช่วยป้องกันโรคหลายชนิด เช่น โรคต้อกระจก โรคจอรับภาพเสื่อม และโรคหัวใจและหลอดเลือด

การรับประทานเก๋ากี้ นอกจากนำมาต้มรวมกับสมุนไพรจีนอื่นๆรวมเป็นตำรับยารักษาโรคโดยตรงแล้ว ยังสามารถนำมาดัดแปลงรับประทานในรูปแบบอื่นๆได้ด้วย ดังนี้

-นำเก๋ากี้ชงเป็นชาดื่มต่างน้ำ โดยนำเก๋ากี้ 1-2 ช้อนโต๊ะ ล้างผ่านน้ำ แล้วชงเป็นชาด้วยน้ำร้อนหรือน้ำอุ่น ดื่มต่างน้ำ จะช่วยบำรุงสายตา เพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่อวัยวะภายใน ผิวพรรณสดใส

-นำเก๋ากี้ผสมอู่เว่ยจึ(五味子)สมุนไพรจีนรสเปรี้ยว ในอัตราส่วน 1:1 ชงเป็นชาด้วยน้ำร้อนหรือน้ำอุ่น จิบวันละ 3 ครั้งหลังอาหาร จะช่วยลดความอ่อนเพลียจากการสูญเสียเหงื่อและสารน้ำในร่างกายช่วงอากาศร้อนๆแบบนี้ได้เป็นอย่างดี

-นำเก๋ากี้ 1-2 ช้อนโต๊ะ ล้างน้ำให้สะอาด ตุ๋นร่วมกับซานเย่า พุทราจีน หวงฉี ตังกุย ลำไยอบแห้ง และซี่โครงหมู เป็นเมนูบำรุงตับ ไต ปอด และกระเพาะอาหารได้ในทุกเพศทุกวัย

-นำเก๋ากี้และลำไยอบแห้ง อัตราส่วน 2:1 ล้างผ่านน้ำ ใส่น้ำประมาณ 2.5ลิตร เคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆจนน้ำงวดและมีลักษณะเหนียวข้น ยกลงจากเตา ตักใส่ขวดแก้วเก็บไว้ในที่แห้ง เรียกว่า “ฉีหยวนเกา” นำมารับประทานครั้งละ 2-3 ช้อนโต๊ะ ช่วยบำรุงเลือด สงบจิตใจ ทำให้นอนหลับดี บำรุงกระดูกและเส้นเอ็น เพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย หรือนำมารับประทานเมื่อร่างกายขาดน้ำ ข้อเข่าหรือลูกตาแห้ง ผิวหนังขาดความชุ่มชื่น

แม้ว่าเก๋ากี้จะเป็นผลไม้ที่ไม่มีพิษ แต่อาหารทุกชนิดถ้าเราบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมก็จะให้คุณประโยชน์ แต่หากบริโภคไม่ถูกต้องหรือในปริมาณมากเกินไปก็อาจให้โทษได้เช่นกัน ดังนั้นก่อนรับประทานเก๋ากี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อน โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตต่ำหรือสูง หรือกินยาบางอย่างเป็นประจำ เช่น วาร์ฟาริน หรือยาที่ส่งผลต่อความดันโลหิต ฯลฯ เพื่อความปลอดภัยและได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการรับประทานเก๋ากี้นะคะ

*ข้อมูลจาก : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ. วีณา นุกูลการ น.ส.ธันย์ชนก ปักษาสุข. โกจิเบอร์รี่ ผลไม้บำรุงสายตาและชะลอจอประสาทตาเสื่อม. ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. www.pharmacy.mahidol.ac.th

เป็นที่รู้กันว่าโรคที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นจำนวนมากในแต่ละปีถ้าไม่นับโรคมะเร็งแล้ว ก็ต้องยกให้โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันและโรคหลอดเลือดสมองตีบ

แม้ยาแผนปัจจุบันที่ใช้รักษาโรคทั้งสองจะมีประสิทธิภาพดี แต่ก็มีผลข้างเคียงมากเช่นกัน

ผู้ที่รักสุขภาพจึงหันมานิยมยาสมุนไพรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ที่ปลอดภัยหาง่าย และมีประสิทธิภาพในการรักษาไม่แพ้กัน

สมุนไพรมีอยู่มากมายหลายตำรับ แต่ที่ตรงคำกล่าวที่ว่า “สูงสุดคืนสู่สามัญ” ยาสมุนไพรสูตรตำรับเดียว ที่ใช้ป้องกันได้ทั้งสองโรคนั้นมีอยู่ไม่กี่ตำรับ

ในที่นี้ขอแนะนำตำรับหนึ่งที่มีผู้ใช้ได้ผล และบอกต่อกันมา คือตำรับกระเจี๊ยบแดง พุทราจีน และเตยหอม

สมุนไพรชนิดแรก สีแดงและรสเปรี้ยวจี๊ดของกลีบเลี้ยงผลกระเจี๊ยบแดง

นอกจากมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ขับนิ่วในไต และในระบบทางเดินปัสสาวะแล้ว ยังมีฤทธิ์ลดไขมันในเลือด และรักษาโรคความดันโลหิตสูง รวมทั้งลดความเหนียวข้นของเลือดลง ทำให้การไหลเวียนของโลหิตทั่วร่างกายดีขึ้น ซึ่งก็ช่วยรักษาเส้นเลือดขอดให้ทุเลาลงได้ด้วย

กระเจี๊ยบแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus sabdariffa L. ชื่ออื่นว่า กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ยว ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง ส้มปู ส้มพอ และชื่อที่ฝรั่งทั่วโลกรู้จักกันดีเรียกว่า Jamaica sorrel, Roselle, Red sorrel, Rozelle กระเจี๊ยบเป็นพืชล้มลุก ชอบอากาศร้อน ทนต่อความแห้งแล้ง ไม่ชอบน้ำขัง เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด

ตลาดมีความต้องการตลอด จึงแนะนำให้ปลูกไว้เป็นยาและพืชเศรษฐกิจได้

สมุนไพรชนิดที่สอง รสหวาน มัน ฝาด ของผลพุทราจีนสุก ช่วยบำรุงโลหิต บำรุงร่างกาย บำรุงประสาท แก้โรคนอนไม่หลับ

นอกจากนี้ ยังอุดมด้วยวิตามินเอ วิตามินซี ซึ่งช่วยบำรุงสายตา และเพิ่มภูมิต้านทานโรค ที่สำคัญผลพุทราช่วยลดผลข้างเคียงจากกรดซิตริกของกระเจี๊ยบ ในขณะเดียวกันก็ช่วยเสริมฤทธิ์ป้องหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และเส้นเลือดสมองตีบ

พุทราจีนมีความหลากหลายของสายพันธุ์มาก อยู่ในวงศ์ Rhamnaceae ชื่อวิทยาศาสตร์ที่สืบค้นดูบางที่เรียก Ziziphus mauritiana บางทีก็เรียก Ziziphus jujub แค่คนจีนเรียกว่า red date หรือ Chinese date

คนไทยภาคอีสานเรียกต้นพุทราว่า บักทันหรือหมากกะทัน ภาคเหนือเรียก มะตัน มะตันหลวง นางต้มต้น

เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีหนาม ผลมีเมล็ดเดียว ผิวเรียบ ผลสุกจะเป็นสีเหลืองบางพันธุ์มีสีแดงเข้ม เป็นพืชกำเนิดในประเทศจีนตอนเหนือ ที่รู้จักกินใช้มานาน 4,000 ปีแล้ว

แต่ในอินเดียก็ปลูกพุทราเช่นกัน สืบค้นไปได้สมัยพุทธกาลช่นกัน

สมุนไพรชนิดที่สาม คือ รสหวานเย็นของใบเตย ช่วยบำรุงหัวใจ ชูกำลัง ลดพิษไข้ ดับพิษร้อนภายใน เตย มีชื่อวิทยาศาสตร์ Pandanus amaryllifolius Roxb ชื่ออื่นๆ เตยหอมใหญ่ เตยหอมเล็ก ปาแนะวองิง (มลายู)

ต้นเตยหอมเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กรู้จักกันดี ไม่จำเป็นต้องอธิบายมากนัก :

มาดูสรรพคุณโดยรวมของสมุนไพรสูตรตำรับนี้ (สามประสาน) จึงสามารถตอบโจทย์ในการดูแลสุขภาพหัวใจและสมองให้แข็งแรง

ป้องกันโรคหัวใจและเส้นเลือดในสมองตีบ อันเป็นโรคสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของประเทศไทย รวมทั้งมีผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาตเป็นจำนวนมากขึ้นทุกปี ที่เกิดจากโรคเส้นเลือดสมองตีบ เนื่องจากความเครียดของสมองและจิตใจ ในวิถีชีวิตของสังคมบริโภคนิยมที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน

วิธีปรุงยา :

นำสมุนไพรสามเกลอ คือ กระเจี๊ยบแดงแห้ง 30 กรัม เนื้อพุทราแห้งไม่มีเมล็ด 30 กรัม ใบเตยแห้ง 5 กรัม ล้างน้ำให้สะอาด แล้วเคี่ยวไฟอ่อนๆ ราว 10-15 นาที จะเติมเกลือและน้ำตาลเล็กน้อยก็ได้ เพื่อให้ได้รสชาติดีขึ้น

แต่สำหรับผู้ป่วยเบาหวานไม่ควรเติมอะไรเพิ่ม

ดื่มขณะอุ่น วันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 แก้ว เช้า-เย็น หลังอาหาร น้ำยาที่เหลือเก็บแช่ตู้เย็นได้ แล้วนำมาอุ่นเพื่อดื่มในมื้อต่อไป

สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือโรคเส้นเลือดสมองตีบเรื้อรัง สามารถดื่มคอกเทลสมุนไพรสูตรนี้ได้ทุกวัน ช่วยเสริมการบำบัดรักษาที่แต่ละคนดูแลสุขภาพตนเองอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น

ดื่มเป็นประจำรับรองว่าสมองจะแจ่มใส หัวใจสดชื่นไปอีกนาน

สำหรับผู้ที่ใช้สมองมาก เช่น นักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือผู้บริหาร สามารถดื่มสมุนไพรสามเกลอนี้แทนซุปไก่สกัด หรือผลไม้สกัดราคาแพงๆ ได้เช่นกัน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita