จงยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้ประโยชน์ภูมิสารสนเทศในด้านต่าง ๆ

Page 32 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)

P. 32

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน 21 1) รูปแบบจุด (point features) เป็นลักษณะของจุดในตําแหน่งใดๆ ซึ่งจะสังเกตได้จาก ขนาดของจุดนั้นๆ โดยจะอธิบายถึงตําแหน่งที่ตั้งของข้อมูล เช่น ที่ตั้งของจังหวัด โรงเรียน และโรงพยาบาล เป็นต้น 2) รูปแบบของเส้น (linear features) ประกอบไปด้วยลักษณะของเส้นตรง เส้นหักมุม และเส้นโค้ง ซึ่งรูปร่างของเส้นเหล่านี้จะอธิบายถึงลักษณะต่างๆ โดยอาศัยทั้งขนาด ความกว้าง และความยาว เช่น ถนน หรือแม่น้ํา เป็นต้น 3) รูปแบบของพื้นที่ (areal features) เป็นลักษณะของขอบเขตที่เรียกว่า polygon ซึ่งประกอบด้วยลักษณะต่างๆ คือ convex concave และ area with a hold ลักษณะเหล่านี้จะใช้อธิบาย ขอบเขตของข้อมูลต่างๆ เช่น ขอบเขตพื้นที่ป่าไม้ ขอบเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละชนิด เป็นต้น ส่วนข้อมูลเชิงบรรยาย (attribute data หรือ non-graphic data) หมายถึง ลักษณะ ประจําตัว หรือลักษณะที่มีความแปรผันในการชี้วัดปรากฏการณ์ต่างๆ ตามธรรมชาติ โดยระบุสถานที่ ทําการศึกษา ในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ ซึ่งจะมีลักษณะต่อเนื่องกัน ได้แก่ เส้นชั้นความสูง หรือลักษณะที่ไม่ต่อเนื่อง เช่น จํานวนพลเมือง ชนิดของสิ่งปกคลุมดิน เป็นต้น โดยค่าความผันแปรของลักษณะข้อมูลเชิงเฉพาะนี้ จะทํา การชี้วัดออกมาในรูปของตัวเลข (numeric) โดยกําหนดเกณฑ์การวัดออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับที่มีการวัด ข้อมูลอย่างหยาบ (nominal level) ระดับการเปรียบเทียบลักษณะของแต่ละปัจจัย (ordinal level) และ ระดับการพิจารณาถึงความสัมพันธ์ปัจจัยของ ordinal level (interval-ratio level) 4.3.4 บุคลากร (people) คือ ผู้ปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เช่น ผู้นําเข้าข้อมูล ช่างเทคนิค ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญสําหรับวิเคราะห์ข้อมูล และผู้บริหาร ซึ่งต้องใช้ ข้อมูลในการตัดสินใจ บุคลากรจะเป็นองค์ประกอบที่สําคัญที่สุดในระบบ GIS เนื่องจากถ้าขาดบุคลากร ข้อมูล ที่มีอยู่มากมายมหาศาลนั้น ก็จะเป็นเพียงขยะไม่มีคุณค่าใดเลยเพราะไม่ได้ถูกนําไปใช้งาน กล่าวได้ว่า ถ้าขาด บุคลากรก็จะไม่มีระบบ GIS 4.3.5 วิธีการหรือขั้นตอนการทํางาน (methods) คือ วิธีการที่องค์กรนั้นๆ นําเอาระบบ GIS ไปใช้งานโดยแต่ละระบบแต่ละองค์กรย่อมมีความแตกต่างกันออกไป ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานต้องเลือกวิธีการใน การจัดการกับปัญหาที่เหมาะสมที่สุดสําหรับของหน่วยงานนั้นๆ 4.4 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในด้านต่างๆ เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (Geo-Informatics) เป็นระบบสารสนเทศของข้อมูลในเชิงพื้นที่ สนับสนุนผู้ใช้ให้เข้าถึงข้อมูลที่มีความซับซ้อน หรือมีการวิเคราะห์หลายตัวแปรในเชิงพื้นที่ เพื่อตัดสินใจ วางแผนหรือแก้ปัญหา ทําให้เกิดความเข้าใจข้อมูลในพื้นที่ที่ศึกษาวิจัย และมีการจัดการข้อมูลอย่างเป็น ระบบ โดยสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศตอบคําถามหรือสนับสนุนการตัดสินใจ ตั้งแต่คําถาม ที่ไม่ซับซ้อนเกี่ยวกับการหาตําแหน่งที่ตั้ง ไปจนสร้างแบบจําลองหลายตัวแปรเพื่อทดลองตั้งสมมติฐาน เช่น ที่ตั้งอําเภออยู่ที่ใด ผู้ป่วยที่มารับการรักษาอาศัยอยู่ ณ ที่ใด พื้นที่ในตําบลใดเหมาะสมที่จะส่งเสริมการปลูก พืชเศรษฐกิจชนิดต่างๆ ควรตั้งป้อมตํารวจ ณ จุดใด รถดับเพลิงจะวิ่งผ่านถนนเส้นใดเพื่อให้ถึงจุดเกิดเหตุ เร็วที่สุด โดยใช้ระยะทางสั้นที่สุด การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในด้านต่างๆ มีดังนี้ (วรเดช และคณะ, 2545) ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ในต่างประเทศมีการประยุกต์ใช้ GIS เพื่อช่วยเหลือในการพัฒนาทางด้าน เศรษฐกิจกันอย่างแพร่หลาย เช่น การวางแผนทรัพยากรเพื่อการผลิต การวิเคราะห์ความพร้อมของวัตถุดิบและ แรงงาน รวมถึงความต้องการของประชากรในแต่ละพื้นที่จากข้อมูลพื้นฐาน เช่น อายุ การศึกษา รายได้ เป็นต้น

การประยุกต์ใช้ภูมิสารสนเทศเพื่อกู้วิกฤติสิ่งแวดล้อมและพิบัติภัยธรรมชาติ

กลุ่มโครงงาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โดย   สมบัติ อยู่เมือง ผู้รับผิดชอบโครงการ

วัตถุประสงค์ของโครงงาน
ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังเผชิญกับวิกฤติจากปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติจากธรรมชาติ เช่น การเกิดดินถล่ม น้ำท่วมฉับพลัน การทรุดตัวของแผ่นดินและการพังทลายของชายฝั่ง เป็นต้น ซึ่งสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง เกิดจากการนำทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้ จนเกินความสมดุลที่ธรรมชาติจะรองรับได้ ซึ่งเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) และเทคโนโลยีการสำรวจระยะไกล (Remote Sensing) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในต่างประเทศที่นำมาประยุกต์ใช้ในการติดตาม (Monitoring) ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม และภัยพิบัติธรรมชาติ รวมถึงการนำมาประยุกต์ใช้ในการวางแผน การบริหารจัดการและการปฏิบัติงานทางด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ธรรมชาติกันอย่างแพร่หลาย
ในการจัดทำโครงงานนี้จะเป็นการนำเสนอโดยการใช้ข้อมูลจากการสำรวจระยะไกล ในหลายช่วงเวลา ทำการวิเคราะห์ร่วมกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และจัดทำเป็นภาพจำลองสามมิติในเชิงพื้นที่ เพื่อนำเสนอให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมตามช่วงระยะเวลาที่ เปลี่ยนไป ตลอดจนความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมกับการเกิดพิบัติภัยธรรมชาติ ทั้งในระดับพื้นที่เฉพาะแห่ง และในระดับภูมิภาคของประเทศ

ประโยชน์ของโครงงาน
เป็น การนำเสนอการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และเทคโนโลยีการสำรวจระยะไกล กับงานทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ เพื่อให้ผู้เข้าชมทราบถึงแนวคิดและ ตระหนักถึงการให้ความสำคัญกับการประยุกต์ใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่ในการติดตาม ตรวจสอบ เฝ้าระวัง รวมทั้งการประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการบริหาร และการตัดสินใจสำหรับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและพิบัติภัยธรรมชาติใน พื้นที่ต่างๆ ของประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นพลวัต (Dynamics) มากขึ้น โดยยกตัวอย่างบางส่วนของงานศึกษาวิจัยในหลายพื้นที่มาประกอบ

จุดเด่นของโครงงาน
การ นำเสนอการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศเชิงพื้นที่ในการวางแผน การติดตามตรวจสอบ การบริหารและการวางแผน การตัดสินใจด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติธรรมชาติของประเทศไทย ซึ่งเป็นข้อมูลจริงจากพื้นที่ของประเทศ โดยทำการนำเสนอในลักษณะโปสเตอร์ ซึ่งเป็นผลผลิตจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประมวลผลโดยเทคโนโลยีระบบสารสนเทศเชิงพื้นที่ ทั้ง GIS และ RS โดยประกอบด้วยภาพจำลองสามมิติ ในลักษณะต่าง ๆ ร่วมกับการนำเสนอแบบสื่อผสม (Multimedia) โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์

รูปแบบการนำเสนอ
ทำ การจัดนิทรรศการและสาธิตเพื่อให้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในการ ประยุกต์ใช้ข้อมูลดาวเทียมและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เกี่ยวกับการจัดการด้านวิกฤตสิ่งแวดล้อมและด้านพิบัติภัยธรรมชาติโดยเป็นการ นำเสนอผลการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในการวางแผนจัดการแก้ไขปัญหา ด้านสิ่งแวดล้อมและพิบัติภัยธรรมชาติ ในลักษณะของการนำเสนอผ่านโปสเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อแสดงผลการศึกษาซึ่งครอบคลุมบริเวณต่าง ๆ ของประเทศ ได้แก่

1. แผนที่ภาพจำลองลักษณะภูมิประเทศของประเทศไทย
2. การเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมดินและการใช้ประโยชน์ที่ดินและการเกิดดินถล่ม-น้ำ ท่วมฉับพลัน บริเวณ บ้านน้ำก้อ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
3. การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และข้อมูลการสำรวจระยะไกล เพื่อการประเมินความเสี่ยงจากน้ำท่วมของประเทศไทย กรณีศึกษาในลุ่มแม่น้ำป่าสัก
4. การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในช่วงปี พ.ศ.2531 - 2545
5. การเปลี่ยนแปลงลักษณะชายฝั่งทะเลของอ่าวไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2535 - 2545 (บริเวณจังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์)
6. การเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมดิน บริเวณเกาะภูเก็ต ในช่วงปี พ.ศ. 2540 - 2544
7. ภาพ ข้อมูลจากดาวเทียมบริเวณภาคเหนือและภาคกลางของประเทศไทยเปรียบเทียบกับ แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินในปี พ.ศ. 2543 - 2544 ที่จัดทำโดยกรมพัฒนาที่ดิน
8. การ ประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการจัดทำแบบจำลองสามมิติแสดงลักษณะ ภูมิประเทศก่อนและหลังเกิดการถล่มบริเวณเขานางพันธุรัต (เขาเจ้าลายใหญ่) จังหวัดเพชรบุรี

แหล่งข้อมูลอ้างอิง :
ได้รับความอนุเคราะห์ข้อมูลภาพดาวเทียม จาก สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) - สทอภ. (GISTDA)

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita