การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว บัญชี 3

พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 เป็นกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อควบคุมการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว โดยกฎหมายดังกล่าวอนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจในประเทศไทยได้ ยกเว้นธุรกิจที่อยู่ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติ ซึ่งห้ามคนต่างด้าวประกอบธุรกิจ หรือต้องดำเนินการตามเงื่อนไขก่อน จึงจะประกอบธุรกิจได้

สาระสำคัญของพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวมีสองส่วน ส่วนแรกคือการกำหนดนิยามของ ‘คนต่างด้าว’ และส่วนที่สองคือการกำหนดประเภทธุรกิจที่ห้ามคนต่างด้าวประกอบกิจการ

สำหรับนิยามของคนต่างด้าว มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติ กำหนดไว้ว่า ‘คนต่างด้าว’ หมายความว่า

(1) บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (2) นิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย (3) นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทย ซึ่งมี ‘คนต่างด้าว’ ตาม (1) หรือ (2) ถือหุ้นอันเป็นทุนจดทะเบียน หรือลงทุนเกินกึ่งหนึ่ง หรือห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียน ซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้จัดการเป็นคนต่างด้าว และ (4) นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทย ซึ่งมี ‘คนต่างด้าว’ ตาม (1) หรือ (2) หรือ (3) ถือหุ้นอันเป็นทุนจดทะเบียน หรือลงทุนเกินกึ่งหนึ่ง

ในส่วนของการกำหนดประเภทธุรกิจที่ห้ามคนต่างด้าวประกอบกิจการ บัญชีท้ายพระราชบัญญัติแบ่งเป็น 3 บัญชีย่อย ดังนี้ บัญชีหนึ่ง ธุรกิจที่ไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบกิจการด้วยเหตุผลพิเศษ  บัญชีสอง ธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือความมั่นคงของประเทศ ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี หัตถกรรมพื้นบ้าน หรือธุรกิจที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  และบัญชีสาม ธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคนต่างด้าว

ทั้งนี้ มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติ กำหนดห้ามคนต่าวด้าวประกอบกิจการที่กำหนดไว้ในบัญชีหนึ่ง ขณะที่การประกอบกิจการที่กำหนดไว้ในบัญชีสองและบัญชีสาม คนต่างด้าวที่ต้องการประกอบกิจการต้องได้รับอนุญาต จึงจะประกอบกิจการได้

จากสาระสำคัญทั้งสองส่วนของพระราชบัญญัติ มีข้อสังเกตว่า การนิยามคนต่างด้าวตาม ‘หุ้นอันเป็นทุนจดทะเบียน’ โดยไม่ได้พิจารณาทุนของคนต่างด้าวในนิติบุคคลอื่นที่ร่วมลงทุนในบริษัทนั้นๆ ไม่ได้สะท้อนสภาพ ‘ความเป็นเจ้าของ’ ที่แท้จริง เนื่องจากมิได้พิจารณาถึงที่มาของทุน หรืออำนาจในการบริหารจัดการนิติบุคคลนั้นๆ ส่งผลให้ในทางปฏิบัติ นักลงทุนต่างชาติจึงสามารถมีอำนาจในการบริหารจัดการนิติบุคคลหนึ่งๆ ได้ เช่น ใช้วิธีการถือหุ้นโดยตรงในสัดส่วนร้อยละ 49 และถือหุ้นโดยอ้อมผ่านนิติบุคคลไทยอีกชั้นหนึ่ง

จากสาเหตุดังกล่าว นักลงทุนต่างชาติจึงสามารถประกอบธุรกิจในประเทศไทยได้อย่างเต็มที่ เช่น ใน ‘ภาคการผลิต’ ซึ่งไม่ต้องขออนุญาตประกอบธุรกิจ และไม่มีข้อกำหนดเรื่องสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มิได้อยู่ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติ  ต่างจาก ‘ภาคบริการ’ อันเป็นธุรกิจตาม (21) ของบัญชีสาม ซึ่งห้ามคนต่างด้าวประกอบธุรกิจ “บริการอื่นๆ ยกเว้นธุรกิจบริการที่กำหนดในกฎกระทรวง” ทว่าจนถึงปัจจุบัน มีการออกกฎกระทรวงเพียงฉบับเดียวในปี 2556 ซึ่งธุรกิจบริการที่คนต่างด้าวประกอบกิจการได้ มีเพียงแค่ (1) ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจอื่นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (2) ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และ (3) การประกอบธุรกิจเป็นทรัสตีตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน

การกำหนดรายการธุรกิจไว้เช่นนี้ ทำให้เกิดปัญหาอย่างน้อย 3 ด้าน

ด้านแรก การกำหนดรายการประเภทธุรกิจที่ได้รับความคุ้มครองแบบ ‘ครอบจักรวาล’ ดังกล่าว ทำให้ทุนต่างชาติจำนวนมากอำพรางตนเข้ามาประกอบธุรกิจในฐานะนิติบุคคลไทย ทั้งอย่างถูกกฎหมาย ด้วยการถือหุ้นทางอ้อม และอย่างผิดกฎหมาย ด้วยการถือหุ้นผ่านบุคคลหรือนิติบุคคลไทย (nominee) เพื่อลดความยุ่งยากในการขออนุญาต

ด้านที่สอง การกำหนดประเภทธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคนต่างด้าว เป็นการปิดกั้นการลงทุนโดยตรงในภาคบริการจากต่างประเทศ ซึ่งไม่สอดคล้องกับทั้งแนวโน้มการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ

ด้านที่สาม การกำหนดประเภทธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคนต่างด้าว เป็นการสร้างอุปสรรคในการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ  การเปลี่ยนแปลงประเภทธุรกิจที่ได้รับการคุ้มครองเหล่านี้แทบไม่เกิดขึ้นเลยตลอดช่วงเวลา 40 ปี ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยขาดแผนที่ชัดเจนในการเปิดเสรีภาคบริการ

ประเทศไทยต้องการการลงทุนจากต่างประเทศในภาคบริการ ทั้งเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของภาคบริการผ่านเงินลงทุนและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และเพื่อเพิ่มสภาพการแข่งขันในสาขาของภาคบริการที่มีการผูกขาดหรือมีลักษณะกึ่งผูกขาด แต่พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 กลับเป็นอุปสรรคสำคัญที่กีดขวางการลงทุนในภาคบริการของไทย

การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงมีความจำเป็น เช่นเดียวกันกับการปรับปรุงกฎกติกาในรายสาขาของภาคบริการภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแข่งขัน รวมไปถึงการทบทวนนโยบายการลงทุนที่เน้นส่งเสริมเฉพาะภาคการผลิตเพียงด้านเดียว ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไป

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita