ต่อ บัตร ประชาชน ใช้ เอกสาร อะไร บ้าง

คำถามที่พบบ่อย

Q

ผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลางต้องดำเนินการอย่างไร

ผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลางต้องดำเนินการอย่างไร

A

คนไทยที่เดินทางไปต่างประเทศเป็นเวลานาน โดยปกติแล้วจะต้องแจ้งย้ายชื่อออก
จากทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) เข้าไปอยู่ในทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับคนที่เดินทางไปต่างประเทศ

สำนักทะเบียนแต่ละแห่งจะกำหนดให้มีทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับลงรายการของบุคคลที่
เดินทางไปต่างประเทศสำนักทะเบียนละ 1 แห่ง

[ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร 2535 ข้อ 87]  

ซึ่งผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านชั่วคราวดังกล่าว จะมีสิทธิขอทำบัตรประจำตัวประชาชนในต่างประเทศได้

อย่างไรก็ดี กระทรวงมหาดไทยได้อนุโลมให้ผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ท.ร. 14)
ที่ยังไม่ได้โอนชื่อเข้าทะเบียนบ้านชั่วคราวสามารถต่ออายุบัตรฯ ในต่างประเทศได้ก่อน

แต่ขอให้ สอท./สกญ. แนบเอกสารที่เป็นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติที่ถูกต้องตาม
พ.ร.บ. ทะเบียนราษฎรให้ผู้ร้องพิจารณาดำเนินการตามที่เห็นสมควรในภายหลัง เช่น
ผู้ยื่นขอทำบัตรอาจดำเนินการเองในการโอนชื่อเข้าทะเบียนบ้านชั่วคราว
หรือมอบอำนาจให้ญาติพี่น้องที่อยู่ในประเทศไทยยื่นคำร้องขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านชั่วคราว
สำหรับคนที่เดินทางไปต่างประเทศได้

[ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ 5) 2551 ข้อ 96/2]

กรณีหากยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นผู้มอบอำนาจ
ขอโอนย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้านชั่วคราวแทน

"สำหรับผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลาง จะไม่สามารถขอทำบัตรประจำตัวประชาชนในต่างประเทศได้
ขอให้ติดต่อสำนักทะเบียนที่เกี่ยวข้อง เพื่อแจ้งย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านกลาง
ไปเข้าทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับคนที่เดินทางไปต่างประเทศ โดยดำเนินการ
ด้วยตนเองหรือสามารถมอบอำนาจบุคคลอื่นดำเนินการแทน"

คนไทยที่เดินทางไปต่างประเทศเป็นเวลานาน โดยปกติแล้วจะต้องแจ้งย้ายชื่อออก
จากทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) เข้าไปอยู่ในทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับคนที่เดินทางไปต่างประเทศ

สำนักทะเบียนแต่ละแห่งจะกำหนดให้มีทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับลงรายการของบุคคลที่
เดินทางไปต่างประเทศสำนักทะเบียนละ 1 แห่ง

[ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร 2535 ข้อ 87]  

ซึ่งผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านชั่วคราวดังกล่าว จะมีสิทธิขอทำบัตรประจำตัวประชาชนในต่างประเทศได้

อย่างไรก็ดี กระทรวงมหาดไทยได้อนุโลมให้ผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ท.ร. 14)
ที่ยังไม่ได้โอนชื่อเข้าทะเบียนบ้านชั่วคราวสามารถต่ออายุบัตรฯ ในต่างประเทศได้ก่อน

แต่ขอให้ สอท./สกญ. แนบเอกสารที่เป็นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติที่ถูกต้องตาม
พ.ร.บ. ทะเบียนราษฎรให้ผู้ร้องพิจารณาดำเนินการตามที่เห็นสมควรในภายหลัง เช่น
ผู้ยื่นขอทำบัตรอาจดำเนินการเองในการโอนชื่อเข้าทะเบียนบ้านชั่วคราว
หรือมอบอำนาจให้ญาติพี่น้องที่อยู่ในประเทศไทยยื่นคำร้องขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านชั่วคราว
สำหรับคนที่เดินทางไปต่างประเทศได้

[ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ 5) 2551 ข้อ 96/2]

กรณีหากยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นผู้มอบอำนาจ
ขอโอนย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้านชั่วคราวแทน

"สำหรับผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลาง จะไม่สามารถขอทำบัตรประจำตัวประชาชนในต่างประเทศได้
ขอให้ติดต่อสำนักทะเบียนที่เกี่ยวข้อง เพื่อแจ้งย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านกลาง
ไปเข้าทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับคนที่เดินทางไปต่างประเทศ โดยดำเนินการ
ด้วยตนเองหรือสามารถมอบอำนาจบุคคลอื่นดำเนินการแทน"

Q

ขอทำบัตรประชาชนในต่างประเทศได้ในกรณีใดบ้าง

ขอทำบัตรประชาชนในต่างประเทศได้ในกรณีใดบ้าง

A

ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติ
บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 กำหนดให้ผู้มีถิ่นพำนักนอกราชอาณาจักร
ตามรายชื่อประเทศที่รัฐมนตรี (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) ประกาศ
กำหนดสามารถยื่นคำขอได้เฉพาะ

            1. กรณีขอมีบัตรใหม่ ได้แก่
                - กรณีบัตรเดิมหมดอายุ
                - กรณีบัตรเดิมสูญหาย
                - กรณีบัตรเดิมถูกทำลาย

            2. กรณีขอเปลี่ยนบัตร ได้แก่
                - กรณีบัตรเดิมชำรุดในสาระสำคัญในส่วนของรูปถ่าย หรือ
                  รายการบุคคลเจ้าของบัตรหรือวัสดุเคลือบบัตรป้องกันการปลอมแปลง

                - กรณีผู้ถือบัตรเปลี่ยนชื่อตัวหรือเปลี่ยนชื่อสกุล หรือ
                   เปลี่ยนชื่อตัวและชื่อสกุล                


สำหรับกรณีที่ยังไม่เคยยื่นคำขอมีบัตร (ไม่เคยทำบัตร)

ไม่สามารถยื่นขอทำบัตรในต่างประเทศได้

หากประสงค์จะทำบัตรจะต้องมาดำเนินการยื่นคำขอในประเทศไทยเท่านั้น 

ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติ
บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 กำหนดให้ผู้มีถิ่นพำนักนอกราชอาณาจักร
ตามรายชื่อประเทศที่รัฐมนตรี (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) ประกาศ
กำหนดสามารถยื่นคำขอได้เฉพาะ

            1. กรณีขอมีบัตรใหม่ ได้แก่
                - กรณีบัตรเดิมหมดอายุ
                - กรณีบัตรเดิมสูญหาย
                - กรณีบัตรเดิมถูกทำลาย

            2. กรณีขอเปลี่ยนบัตร ได้แก่
                - กรณีบัตรเดิมชำรุดในสาระสำคัญในส่วนของรูปถ่าย หรือ
                  รายการบุคคลเจ้าของบัตรหรือวัสดุเคลือบบัตรป้องกันการปลอมแปลง

                - กรณีผู้ถือบัตรเปลี่ยนชื่อตัวหรือเปลี่ยนชื่อสกุล หรือ
                   เปลี่ยนชื่อตัวและชื่อสกุล                


สำหรับกรณีที่ยังไม่เคยยื่นคำขอมีบัตร (ไม่เคยทำบัตร)

ไม่สามารถยื่นขอทำบัตรในต่างประเทศได้

หากประสงค์จะทำบัตรจะต้องมาดำเนินการยื่นคำขอในประเทศไทยเท่านั้น 

Q

กรณีไม่เคยทำบัตรประชาชนจะทำในต่างประเทศได้หรือไม่

กรณีไม่เคยทำบัตรประชาชนจะทำในต่างประเทศได้หรือไม่

A

ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติ
บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 กำหนดให้สามารถดำเนินการได้เฉพาะ
"ผู้เคยทำบัตรประจำตัวประชาชนมาแล้วเท่านั้น"

สำหรับผู้ยังไม่เคยทำบัตรมาก่อน ไม่สามารถยื่นคำขอมีบัตรได้ในต่างประเทศ

หากจะทำบัตรต้องมาดำเนินการยื่นคำขอมีบัตรในประเทศไทย

ทั้งนี้ จะต้องจัดเตรียมข้อมูลเอกสาร หลักฐาน ประกอบที่สามารถยืนยันตัวบุคคลได้
พร้อมพยานบุคคล ไปติดต่อขอทำบัตรได้ในท้องที่ที่ตนเองเกิดหรือในท้องที่ที่ตนเอง
มีภูมิลำเนาอยู่ในปัจจุบัน

สาเหตุที่ยังไม่อนุญาตให้ดำเนินการในต่างประเทศได้ เนื่องจากต้องมีการตรวจสอบหลักฐาน
และ/หรือพยานบุคคล รวมทั้งเกี่ยวข้องกับระเบียบ/ข้อกฎหมายหลายข้อที่ต้องดำเนินการ
เพื่อให้แน่นอนว่าการออกบัตรประจำตัวประชาชนนั้นถูกต้องตรงกับบุคคลที่ยื่นขอมีบัตร

ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติ
บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 กำหนดให้สามารถดำเนินการได้เฉพาะ
"ผู้เคยทำบัตรประจำตัวประชาชนมาแล้วเท่านั้น"

สำหรับผู้ยังไม่เคยทำบัตรมาก่อน ไม่สามารถยื่นคำขอมีบัตรได้ในต่างประเทศ

หากจะทำบัตรต้องมาดำเนินการยื่นคำขอมีบัตรในประเทศไทย

ทั้งนี้ จะต้องจัดเตรียมข้อมูลเอกสาร หลักฐาน ประกอบที่สามารถยืนยันตัวบุคคลได้
พร้อมพยานบุคคล ไปติดต่อขอทำบัตรได้ในท้องที่ที่ตนเองเกิดหรือในท้องที่ที่ตนเอง
มีภูมิลำเนาอยู่ในปัจจุบัน

สาเหตุที่ยังไม่อนุญาตให้ดำเนินการในต่างประเทศได้ เนื่องจากต้องมีการตรวจสอบหลักฐาน
และ/หรือพยานบุคคล รวมทั้งเกี่ยวข้องกับระเบียบ/ข้อกฎหมายหลายข้อที่ต้องดำเนินการ
เพื่อให้แน่นอนว่าการออกบัตรประจำตัวประชาชนนั้นถูกต้องตรงกับบุคคลที่ยื่นขอมีบัตร

Q

อายุการใช้งานบัตรประชาชน

อายุการใช้งานบัตรประชาชน

A

- ตัวบัตรประจำตัวประชาชนไม่ว่าจะเป็นขนาด สี ลักษณะของบัตร หรือการพิมพ์รายการข้อมูลในบัตรเหมือนกับบัตรประจำตัวประชาชนที่ทำในประเทศไทยทุกประการ
- ระยะเวลาหมดอายุของบัตรก็เหมือนกัน คือ มีอายุแปดปี นับแต่วันออกบัตร
- ทั้งนี้ เป็นไปตามที่พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้

- ตัวบัตรประจำตัวประชาชนไม่ว่าจะเป็นขนาด สี ลักษณะของบัตร หรือการพิมพ์รายการข้อมูลในบัตรเหมือนกับบัตรประจำตัวประชาชนที่ทำในประเทศไทยทุกประการ
- ระยะเวลาหมดอายุของบัตรก็เหมือนกัน คือ มีอายุแปดปี นับแต่วันออกบัตร
- ทั้งนี้ เป็นไปตามที่พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้

Q

อัตราค่าธรรมเนียม

อัตราค่าธรรมเนียม

A

            

การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนนั้นเป็นไป
ตามที่กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน
พ.ศ. 2555 กำหนดไว้ ได้แก่

- การออกบัตรในกรณีบัตรหายหรือถูกทำลาย
- บัตรชำรุด หรือแก้ไขชื่อตัว ชื่อสกุล
- แก้ไขชื่อตัวและชื่อสกุลในทะเบียนบ้านหรือย้ายที่อยู่ (ตามมาตรา 6 จัตวา)

ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ฉบับละ 100 บาท
ไม่ว่าจะทำบัตรในประเทศหรือต่างประเทศก็เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในอัตราที่เท่ากัน

ทั้งนี้ กรมการปกครองอยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงกฎกระทรวงในเรื่องดังกล่าว
ให้เกิดความสอดคล้องกับเงื่อนไขและภาวการณ์ในปัจจุบัน

ดังนั้น ในขณะนี้ สถานเอกอัคราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ จะกำหนดอัตราที่เหมาะสม
ให้ใกล้เคียงกับอัตรา 100 บาท

เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บในเรื่องเงินทอน โดยรายได้จะโอนเข้าเป็นเงินงบประมาณแผ่นดิน  
อัตราค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บในปัจจุบัน ถือเป็นอัตราที่ต่ำเมื่อเทียบกับต้นทุนค่าวัสดุผลิตบัตร
ที่มีต้นทุนเฉลี่ยประมาณ 150 บาทต่อใบ

            

การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนนั้นเป็นไป
ตามที่กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน
พ.ศ. 2555 กำหนดไว้ ได้แก่

- การออกบัตรในกรณีบัตรหายหรือถูกทำลาย
- บัตรชำรุด หรือแก้ไขชื่อตัว ชื่อสกุล
- แก้ไขชื่อตัวและชื่อสกุลในทะเบียนบ้านหรือย้ายที่อยู่ (ตามมาตรา 6 จัตวา)

ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ฉบับละ 100 บาท
ไม่ว่าจะทำบัตรในประเทศหรือต่างประเทศก็เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในอัตราที่เท่ากัน

ทั้งนี้ กรมการปกครองอยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงกฎกระทรวงในเรื่องดังกล่าว
ให้เกิดความสอดคล้องกับเงื่อนไขและภาวการณ์ในปัจจุบัน

ดังนั้น ในขณะนี้ สถานเอกอัคราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ จะกำหนดอัตราที่เหมาะสม
ให้ใกล้เคียงกับอัตรา 100 บาท

เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บในเรื่องเงินทอน โดยรายได้จะโอนเข้าเป็นเงินงบประมาณแผ่นดิน  
อัตราค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บในปัจจุบัน ถือเป็นอัตราที่ต่ำเมื่อเทียบกับต้นทุนค่าวัสดุผลิตบัตร
ที่มีต้นทุนเฉลี่ยประมาณ 150 บาทต่อใบ

Q

การทำบัตรประชาชนในต่างประเทศ

การทำบัตรประชาชนในต่างประเทศ

ต่อบัตรประชาชนใช้เอกสารอะไรบ้าง 2565

1. ให้ไปติดต่อแจ้งขอทำบัตรประชาชนใหม่ ณ สำนักงานเขต / ที่ว่าการอำเภอ / เทศบาล ภายใน 60 วัน (หากเกินเวลาที่กำหนด จะต้องเสียค่าปรับ 200 บาท) 2. เอกสารหลักฐาน ดังนี้ - สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) - เอกสารราชการที่มีรูปถ่ายของเจ้าของบัตร เช่น ใบขับขี่ หนังสือเดินทาง เป็นต้น

บัตรประชาชนหมดอายุต้องใช้ทะเบียนบ้านไหม

เอกสารที่ต้องเตรียม สำหรับการต่ออายุบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน บัตรประชาชนใบเดิมที่หมดอายุแล้ว หากบัตรเดิมหมดอายุเป็นเวลานาน จะต้องนำเจ้าบ้านหรือพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือมารองรับด้วย

ต่อบัตรประชาชน 2565 ที่ไหนได้บ้าง

กรณีบัตรประชาชนหาย ไม่ต้องแจ้งความ สามารถขอยื่นเรื่องทำบัตรใหม่ได้เลย ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขตเทศบาล ภายในเวลา 60 วันนับตั้งแต่วันที่บัตรหาย หากพ้นกำหนด ต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท

ทำบัตรประชาชนล่วงหน้าได้กี่วัน

บัตรใช้ได้ตั้งแต่วันออกบัตร และมีอายุแปดปีนับแต่วันเกิดของผู้ถือบัตรที่ถึงกำหนดภายหลังจากวันออกบัตร บัตรที่ยังไม่หมดอายุในวันที่ผู้ถือบัตรมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ ให้ใช้ต่อไปได้ตลอดชีวิต เมื่อบัตรเดิมหมดอายุ ต้องยื่นคำขอมีบัตรใหม่ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ หากพ้นกำหนดต้องระวาง ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita