หา งาน ใหม่ ดี ไหม

กระแสการลาออกครั้งใหญ่ หรือ The Great Resignation ในระดับโลก เกิดขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว ลากยาวมาจนถึงปีนี้ ส่งผลให้คนทำงานหลายคนอยากลาออกจากงาน บางคนขอแค่ได้หยุดพักสักหน่อยจากปีที่เหนื่อยล้า หรือบางคนบอกว่าขอเปลี่ยนสายอาชีพไปเลยก็ไม่น้อย

บทความนี้จะโฟกัสไปที่ ‘การลาออก’ โดยเฉพาะ สำหรับใครที่กำลังคิดเรื่องการโยกย้ายบริษัท ลาออกจากงาน TODAY Bizview สรุป 5 สัญญาณมาให้แล้วว่า ถ้ามีครบตามนี้ ก็ควรลาออกจากงานกันเถอะ!

1) ไม่ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ จากงานนี้เลย

เป็นเรื่องปกติที่บริษัทที่เราทำงานอยู่ จะเกิดสภาวะสลับไปสลับมาระหว่าง ‘ช่วงที่เติบโตอย่างหวือหวา’ กับ ‘ช่วงที่ธุรกิจมั่นคงราบรื่นแต่ขาดความท้าทาย’ 

และหลายคน ‘อาจ’ รู้สึกว่า ที่นี่ไม่มีอะไรใหม่ๆ ให้เรียนรู้ 

สิ่งสำคัญคือ หากรู้สึกว่าถ้าทำงานที่นี่ต่อไป แล้วไม่มีเส้นทางให้เติบโต ก็อาจถึงเวลาแล้วที่จะต้องโยกย้ายงาน 

เพราะต้องไม่ลืมว่า การทำงานที่ไร้ความท้าทาย 3 ปี ก็ไม่ต่างอะไรกับการทำงาน 1 ปี ซ้ำกันสามครั้ง

ดังนั้น ก่อนจะออกจากงานจริงๆ อาจจะลองคุยกับหัวหน้าเรื่องโอกาสเติบโตดูก่อน ว่า ในบริษัทมีโอกาสใหม่ๆ อะไรให้เราทำอีกหรือไม่ จากนั้นค่อยลองมาชั่งน้ำหนักดูว่า ถ้าเทียบกับการลาออกไปหาความท้าทายใหม่ อันไหนมันจะดีกว่ากัน

2) ต้องเสียเวลานั่งรับมือกับปัญหาในองค์กร มากกว่าฝึกฝนทักษะใหม่ๆ

หลายๆ บริษัทอาจมีอะไรให้เรียนรู้เยอะแยะมากมาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกเรื่องในองค์กรที่จะควรค่าแก่การเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาภายในองค์กร

หลายครั้งที่สิ่งแวดล้อมภายในบริษัท ไม่ได้ตรงกับนิสัยหรือวิถีการทำงานของเรา จนแทนที่จะได้ทุ่มเวลาไปกับการพัฒนาเรื่องงานจริงๆ กลับต้องไปพัฒนาในสิ่งที่ไม่จำเป็น เช่น ทำรายงานมากเกินเหตุ ต้องเสียเวลามานั่งรับมือกับการเมืองในองค์กร หรือต้องทนทุกข์อยู่กับเพื่อนร่วมงานที่ Toxic หรือเป็นมีนิสัยเป็นพิษมากๆ

คิดๆ ดูแล้ว ถ้างานที่เรากำลังทำเข้าข่ายที่ว่ามา ก็อาจจะถึงเวลาที่ต้องลองคุยหรือปรึกษากับคนอื่นๆ ดูว่า ในมุมของคนนอก สิ่งที่เรามองว่าเป็นปัญหาภายใน มันคือปัญหาภายในจริงๆ หรือมันแค่เป็นที่เรานั้นตื่นตระหนกจนเกินไป (ยิ่งถ้าเป็นคนนอกบริษัทและทำงานในธุรกิจเดียวกันกับเราก็ยิ่งดี เพราะจะเทียบได้ใกล้เคียงมากขึ้น)

และถ้าสุดท้าย จบลงที่ว่า นี่คือปัญหาขององค์กรจริงๆ การตัดสินใจลองหางานใหม่ก็อาจเป็นหนทางที่ดี เพราะจะทำให้เราไม่ต้องมานั่งเสียเวลากับปัญหาภายในองค์กรแบบเดิมๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

3) เริ่มรู้สึกว่า ไม่อยากแนะนำให้ใครเข้ามาทำงานที่นี่

“หนีไป” น่าจะเป็นคำอธิบายที่ดีที่สุด 

ลองจินตนาการว่า ถ้าเพื่อนอยากมาสมัครงานที่บริษัทเรา แต่คำปรึกษาที่เราให้เพื่อนได้ มีเพียงแค่ถ้อยคำเดียวคือ “หนีไป” ชัดเจนว่านี่ก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณว่า เราเองก็ควรหนีไปเหมือนกัน

แต่ที่ต้องระวังไว้ก็คือ คนที่ทำงานกับบริษัทเดิมมานานๆ บางครั้งก็จะมีอาการอิ่มตัวกับที่เดิม อะไรที่เคยแฮปปี้ในบริษัท มาวันนี้ก็ไม่แฮปปี้อีกแล้ว เข้าสำนวนของฝรั่งที่ว่า ‘สนามหญ้าบ้านของคนอื่น เขียวกว่าบ้านตัวเองเสมอ’ (The Grass is always Greener on the Other Side)

บางครั้ง คำแนะนำที่ว่า “หนีไป” อาจไม่ได้เกิดจากบริษัทไม่ดี แต่เกิดจากความอิ่มตัว เพราะฉะนั้น ทางแก้คือลองไปคุยกับหัวหน้าเกี่ยวกับความท้าทายใหม่ๆ หรือลองหาโอกาสพักเบรกสักหน่อย แล้วค่อยๆ คิดดูอีกครั้งก็น่าจะเป็นทางออกที่ดี

4) ยิ่งอยู่ ยิ่งขาดความมั่นใจ

นอกจากช่วยทำให้พนักงานได้เรียนรู้ บริษัทที่ดียังต้องทำให้พนักงานมีความมั่นใจในตัวเอง เห็นคุณค่าในสิ่งที่พนักงานทำ กล้าให้งานใหญ่ที่เหมาะสมกับศักยภาพ

ถ้าเมื่อไหร่ เราเริ่มรู้สึกว่ารู้สึกถูกมองข้าม ไม่มีใครเห็นคุณค่า ได้รับผิดชอบงานไม่สมฐานะ จนเริ่มสงสัยในตัวเอง ความมั่นใจหดหาย 

นี่อาจเป็นสัญญานว่าควรต้องย้ายงาน เพราะนี่คือเรื่องใหญ่ที่พอๆ กับ การทำงานโดยไม่เกิดการเรียนรู้

แต่ก่อนจะตัดสินใจลาออก แนะนำว่าให้ลองประเมินอย่างรอบด้านและไม่อคติดูว่า สิ่งที่บ่อนเซาะความมั่นใจของเราลงไป อย่างเช่น การโดนตำหนิอย่างรุนแรงจากหัวหน้างาน ถึงที่สุดแล้ว สาเหตุของมันเกิดจากอคติที่พุ่งโจมตีตัวเรา หรือเอาเข้าจริงมันเกิดจากเนื้องานที่เราทำจริงๆ 

เพราะคำวิจารณ์ในเนื้องานที่เป็นประโยชน์ แต่อาจจะรุนแรงไปบ้าง อาจทำให้เรามองข้ามไปได้ในบางโอกาส เพราะสนใจที่เนื้องานจริงๆ แต่จะติดก็ตรงที่ว่า หากการวิจารณ์นั้นๆ ไม่ได้มีประโยชน์กับเนื้องาน แถมยังทำให้เราขาดความมั่นใจในการใช้ชีวิต นั่นก็จะนับเป็นการกระทำที่กลวงเปล่า และรังแต่จะทำลายตัวตนของเรา การเดินออกมาจากสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษแบบนั้น น่าจะเป็นทางออกที่สมเหตตุสมผลที่สุด

5) งานเริ่มทำร้ายร่างกาย สุขภาพย่ำแย่

บอกเลยว่า “งานหนักไม่เคยทำร้ายใคร” ไม่ใช่เรื่องจริง อย่างในปี 2016 องค์การอนามัยโลกประเมินเอาไว้ว่ามีคนเสียชีวิตจากการทำงานหนักกว่า 7.45 แสนคน

ยังไม่รวมคนที่ต้องเจ็บป่วยจากความเครียด เช่น ภาวะซึมเศร้า หรือทำงานหนักจนรักษาสมดุลด้านอื่น เช่น ครอบครัว เอาไว้ไม่ได้

ถ้างานหนักส่งผลถึงสุขภาพแล้ว นี่คือสัญญานสีแดงที่บ่งบอกว่าบางทีถึงเวลาที่ต้องย้ายงานแล้วก็ได้ 

ก่อนคิดจะลาออก อาจลองประเมินดูก่อนก็ได้ว่า “ถ้าจะพยายามสร้างสมดุลให้กับชีวิตด้านอื่น ด้วยการทำงานหนักน้อยลง สร้างเส้นแบ่งชัดเจนขึ้น ภายใต้วัฒนธรรมองค์กรที่เราทำงานอยู่ จะเป็นไปได้หรือไม่?” 

เพราะ Work-Life Balance หลายครั้งก็ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว องค์กรก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ถ้าสุขภาพคุณย่ำแย่เพราะงาน แต่องค์กรก็ยังชมชอบทำงานหนัก สมดุลชีวิตก็ไม่เกิด

สรุป

เราทำงานกัน 8 ชั่วโมงต่อวัน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือง่ายๆ ก็คือ ใช้เวลากว่า 1 ใน 3 ไปกับงาน

เพราะฉะนั้น ถ้าเช็ก 5 สัญญาณเหล่านี้ แล้วรู้สึกว่ากำลังเจอกับสภาวะเหล่านี้อยู่ นั่นก็อาจหมายความว่า เราใช้เวลาชีวิตกว่า 1 ใน 3 ไปกับการไม่ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือเรียนรู้แต่สิ่งที่ไม่จำเป็น แถมยังทำลายความมั่นใจ และไม่ได้สร้างความก้าวหน้าในชีวิตการทำงาน จนบางรายก็ส่งผลร้ายไปถึงเรื่องสุขภาพ

ถ้าสัญญาณเหล่านี้เป็นจริงขึ้นเรื่อยๆ เราก็อาจต้องมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการเปิดหน้าคุยถึงโอกาสใหม่ๆ ความรับผิดชอบใหม่ๆ

หางานช่วงไหนดีที่สุด

ถ้าคุณกำลังมองหางานใหม่ในช่วงปีใหม่ก็ควรเตรียมตัวตั้งแต่วันนี้ เพราะเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการหางาน เนื่องจากบริษัทมักจะโพสต์หาพนักงานใหม่ในปีงบประมาณใหม่ ช่วงเดือนธันวาคมจึงเป็นโอกาสที่ดีในการเตรียมตัว

ย้ายงานใหม่จะดีไหม

ย้ายแล้วงาน จะมีอะไรดีขึ้นบ้าง แต่จริงๆ แล้วการเปลี่ยนงานก็มีทั้งผลดีและผลเสีย โดยผลดี คือ ได้ประสบการณ์ที่หลากหลาย ส่วนผลเสียก็คือ ขาดความชำนาญงาน ซึ่งถ้าเปรียบเทียบระหว่างคนที่ทำงานที่เดิมนานๆ กับคนที่เปลี่ยนงานบ่อยๆ ความชำนาญในการทำงาน ก็จะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด

เปลี่ยนงาน เงินเดือนขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์

เมื่อไตร่ตรองทั้ง 5 ปัจจัยด้านบนมาอย่างรอบด้านแล้ว ถึงเวลาเข้าสู่เรื่องของตัวเลขกันบ้าง ปกติแล้วอัตราการเรียกเงินเดือนเมื่อย้ายงานใหม่ จะอยู่ราว 10-30% ของเงินเดือนเก่า โดยเงินเดือนเก่าที่ว่านั้นรวมรายได้ทั้งหมดที่คุณได้รับ ทั้งฐานเดือนและค่าคอมมิชชัน หรือรายได้อื่น ๆ ที่คุณได้รับจากทางบริษัท

ทำยังไงถึงจะหางานได้

1. ศึกษาหาข้อมูลในอุตสาหกรรมต่างๆ และดูว่าตัวเองต้องการอะไร ... .
2. ทำงานอาสาสมัคร ... .
3. เขียนเรซูเม่ที่เกี่ยวข้องกับงานที่อยากทำ ... .
4. การฝึกงานอาจนำไปสู่การได้งาน ... .
5. เริ่มสร้างเครือข่ายตั้งแต่เนิ่นๆ ... .
6. รู้เท่าทันโลกโซเชียล ... .
7. วางแผนการหางาน.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita