อ่อนเพลีย ไม่มี แรง กินวิตามิน อะไร

อาการอ่อนเพลีย สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัยที่ร่างกายขาดสารอาหารตัวใดตัวหนึ่ง โดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับมนุษย์เงินเดือนที่มีกินอาหารไม่เป็นเวลาและเร่งรีบจนอาจไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นครบถ้วน  โดยถ้าร่างกายได้รับพลังงานหรือโปรตีนไม่เพียงพอก็อาจทำให้ร่างกายมี อาการอ่อนเพลีย เซื่องซึม เหนื่อยหน่าย เหมือนคนไร้ความรู้สึก คนที่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจนกระทั่งระบบภูมิต้านทานถูกกระทบไปด้วย ก็จะทำให้มี อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าได้เช่นกัน  โดยสารอาหารที่เกี่ยวข้องและมีผลต่อการเกิด อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าแก่ร่างกาย ได้แก่ วิตามินบี วิตามินซี ธาตุเหล็กและแมกนีเซียม

 

วิตามินบี 

วิตามินบีที่จำเป็นต่อการผลิตพลังงานจากอาหาร คือ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 กรดแพนโททีนิก  และไนอะซิน ถ้าร่างกายขาดวิตามินตัวใดตัวหนึ่งในกลุ่มนี้อาจทำให้อ่อนเพลีย ไม่มีแรง นอนไม่หลับ และถ้าร่างกายได้รับวิตามินบี 1 และวิตามินบี 6 วิตามินบี 12 กรดโฟลิก และไบโอตินไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดโรคโลหิตจางซึ่งส่งผลให้อ่อนเพลีย เซื่องซึม เฉื่อยชา ขาดสมาธิ ออกแรงแค่นิดหน่อยก็จะล้มแล้ว  โดยกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงขาดวิตามินบี ได้แก่ นักกีฬา ผู้ที่ลดน้ำหนักโดยการกินแคลอรี่ต่ำมากๆ ผู้หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และชาวมังสวิรัติ

 

แหล่งอาหารที่พบวิตามินบี :  เนื้อสัตว์ ปลา ไก่ ตับ  นม ไข่  ธัญพืชไม่ขัดสี รำข้าว จมูกข้าวสาลี ถั่ว ผักสีเขียว 

 

วิตามินซี

เคยมีรายงานการวิจัยว่า ผู้ที่ได้รับวิตามินซีน้อยกว่าวันละ 100 มิลลิกรัม ตะมีอาการอ่อนเพลีย ในขณะผู้ที่ได้รับวิตามินซีวันละ 400 มิลลิกรัม แทบจะไม่รู้สึกว่าอ่อนเพลีย

อาหารที่มีวิตามินสูงอาจช่วยแก้ไขอาการอ่อนเพลียโดยการช่วยเพิ่มภูมิต้านทานและต่อต้านการติดเชื้อ นอกจากนี้วิตามินซียังมีหน้าที่ในการช่วยเปลี่ยนกรดแอมิโนชนิดทริปโตเฟนเป็นเซโรโทนิน ซึ่งช่วยควบคุมการนอนหลับ อาการซึมเศร้า และความรู้สึกเจ็บปวด

แหล่งอาหารที่พบวิตามินซี :ผักและผลไม้สดต่างๆ เช่น ดอกกะหล่ำ ขึ้นฉ่าย ต้นหอม ถั่วลันเตา ผักกาดขาว  ผักโขม ผักคะน้า ผักชี ผักบุ้ง  ผลไม้ตระกูลส้มต่างๆ มะนาว ฝรั่ง มะขามป้อม มะขามเทศ มะละกอ ส้มโอ

 

ธาตุเหล็ก

เป็นส่วนประกอบของสารเฮโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ช่วยขนส่งออกซิเจนจากปอดเข้าสู่เลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย  หากได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ธาตุเหล็กที่เก็บสะสมในเนื้อเยื่อจะค่อยๆ ถูกใช้ไป ทำให้เซลล์ค่อยๆ ขาดออกซิเจน ผลที่เกิดขึ้นคือ กล้ามเนื้ออ่อนแอ เพลีย และไม่มีสมาธิ  เกิดอาการเหนื่อยง่ายและอารมณ์ฉุนเฉียวง่าย สมาธิในการทำงานลดลง ระบบภูมิคุ้มกันสั้นคลอน ทำให้เป็นหวัดและติดเชื้อง่าย

ปัญหาการขาดธาตุเหล็กเป็นปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งของผู้หญิงซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาอ่อนเพลียและเหนื่อยล้า แม้แต่ฝรั่งเองซึ่งกินเนื้อสัตว์มากกว่าคนเอเชียก็ยังมีปัญหาโลหิตจางได้ เคยมีข้อมูลรายงานว่า ผู้หญิงประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์มีปัญหาโลหิตจาง ส่วนผู้หญิงที่ออกกำลังกาย 50 เปอร์เซ็นต์ และผู้หญิงที่หมดประจำเดือน 39 เปอร์เซ็นต์ ล้วนแต่มีปัญหาขาดธาตุเหล็ก

 

จากข้อมูลของ ดร. เฟอร์กัส ไคลเดสดัล (Fergus Klaidasdal) พบว่า อาหารที่สมดุลจะให้ธาตุเหล็ก 6 มิลลิกรัมต่อพลังงาน 1,000 แคลอรี ซึ่งหมายถึงว่า ผู้หญิงจะต้องกินอาหารให้ได้อย่างน้อยวันละ 3,000 แคลอรี เพื่อให้ได้ธาตุเหล็กเพียงพอ แต่ในความเป็นจริงผู้หญิงส่วนใหญ่กินได้น้อยกว่านั้น และถ้าต้องกินให้ได้เท่านั้นจริงๆ อาจจะต้องเผชิญกับปัญหาโรคอ้วนได้ ดังนั้น ผู้หญิงส่วนใหญ่จะได้รับธาตุเหล็กประมาณวันละ 8-10 มิลลิกรัมจากอาหาร โดยมักได้รับธาตุเหล็กจากผัก ผลไม้ เมล็ดธัญพืช ซึ่งจากแหล่งอาหารเหล่านั้น ธาตุเหล็กจะดูดซึมเพียง 2-7 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ธาตุเหล็กจากเนื้อสัตว์ดูดซึมได้มากถึง 20-30 เปอร์เซ็นต์ และถ้าหากผู้หญิงคนไหนดื่มชาหรือกาแฟในมื้ออาหารด้วย ธาตุเหล็กก็จะดูดซึมได้น้อยลงอีก เพราะสารกาเฟอีนในชาหรือกาแฟจะยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็ก

ดังนั้น ผู้หญิงที่อยู่ในวัยมีประจำเดือนควรกินอาหารที่มีธาตุเหล็กให้ได้วันละ 18 มิลลิกรัม และถ้าคนที่มีประจำเดือนมากหรือผู้ที่ใช้การคุมกำเนิดแบบใส่ห่วงอาจจะต้องเสริมธาตุเหล็กร่วมกับอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อแดง สัตว์ปีก ปลา ถั่ว เต้าหู้ ผักใบเขียวเข้ม น้ำลูกพรุน พลัมแห้ง อินทผลัม

ไม่ว่าใครก็ต้องใส่ใจเลือกกินอาหารที่ได้รับธาตุเหล็กเพียงพอ ส่วนในคนที่มีปัญหาโลหิตจาง ก็ต้องเลือกกินอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงขึ้นและเสริมธาตุเหล็กวันละ 18 มิลลิกรัม จะช่วยให้สภาวะธาตุเหล็กในร่างกายดีขึ้น การทำงานของสมองดีขึ้น และมีเรี่ยวแรงดีขึ้นภายใน 3 สัปดาห์ แต่ถ้าขาดธาตุเหล็กรุนแรงอาจต้องเสริมในปริมาณมากกว่านั้น ซึ่งควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะถ้าร่างกายได้รับธาตุเหล็กมากเกินไปจะเกิดจาการสะสมในร่างกายและอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง ดังนั้นในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนหรือผู้ชายจึงไม่จำเป็นต้องเสริมธาตุเหล็กนอกจากแพทย์พบว่าเป็นโรคโลหิตจาง

แหล่งอาหารที่พบธาตุเหล็ก :  ปลา หอยนางรม หอยชนิดต่างๆ ตับ เนื้อแดง นม ถั่วเปลือกแข็ง ผักใบเขียวเข้ม

 

แมกนีเซียม

แร่ธาตุตัวนี้มีหน้าที่สำคัญในการเปลี่ยนอาหารคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันเป็นพลังงาน การขาดแมกนีเซียมทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแอ เพลีย  ไม่มีสมาธิ เบื่ออาหาร และซึมเศร้าได้

การวิจัยจากมหาวิทยาลัยเซาแทมป์ตัน ประเทศอังกฤษรายงานว่า ผู้ที่มีอาหาร CFS หรือมีระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำ การเสริมแมกนีเซียมจะช่วยให้อาการและอารมณ์ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดอาการหงุดหงิด วิตกกังวล และนอนไม่หลับได้ด้วย

วิตามินและแร่ธาตุอื่นๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับอาการดังกล่าวคือ วิตามินอีและกรดโฟลิก การขาดวิตามินตัวใดตัวหนึ่งจะทำให้เกิดโรคโลหิตจางและอาการอ่อนเพลียได้ การขาดแร่ธาตุบางชนิด เช่น โซเดียม ซึ่งยากที่จะพบ หรือการขาดโพแทสเซียมคอลไรด์ และแมงกานีสก็อาจทให้มีอาการอ่อนเพลียหมดแรงได้เช่นกัน

แร่ธาตุอีกชนิดหนึ่งซึ่งอาจเกี่ยวข้องคือ สังกะสี ซึ่งมีหน้าที่ส่วนหนึ่งในการผลิตพลังงานควบคุมการทำงานของอินซูลิน และระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้การได้รับแคดเมียม ตะกั่ว และอลูมิเนียมก็ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เซื่องซึม ไม่มีแรงได้เช่นกัน

แหล่งอาหารที่พบแมกนีเซียม : ปลา หอยชนิดต่างๆ ผักโขม ผักสีเขียวเข้ม ข้าวกล้อง ถั่วเหลือง กล้วย ถั่วต่างๆ 

 

วิธีที่ดีที่สุดคือการบริโภคอาหารให้หลากหลายและให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนอย่างสมดุล จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารซึ่งช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น นักวิจัยแนะนำให้กินอาหารไขมันต่ำ กากใยสูง มีพลังงานและโปรตีนเพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ กินผักผลไม้ให้มากขึ้น เพื่อให้ได้สารแอนติออกซิแดนต์เพิ่มขึ้น ไม่งดอาหารเช้า กินมื้อเล็กๆ ทุก 3-4 ชั่วโมง และเสริมวิตามินและแร่ธาตุตามจำเป็น  นอกจากนี้ควรดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพื่อป้องกันอาการขาดน้ำ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุอาการอ่อนเพลียได้ จำกัดเครื่องดื่มกาเฟอีน งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และอาหารที่มีน้ำตาลมาก พักผ่อนให้เพียงพอ รู้จักหลีกเลี่ยงความเครียด ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยรักษากล้ามเนื้อ ระบบเผาผลาญและเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ร่างกายในการต่อต้านอาการเหนื่อยล้าเรื้อรังได้

อ่อนเพลียทานวิตามินอะไร

อ่อนเพลียง่าย ไม่มีสมาธิทำงาน ทานวิตามิน อาหารเสริมอะไรดี แนะนำ : วิตามินบี 1, บี 2, บี 6 หรือ บี 12, โอเมก้า 3.

ทำงานเหนื่อยกินวิตามินอะไร

วิตามินบีรวม : เมื่อเผชิญกับความเครียดจากการทำงาน มีโอกาสที่จะมีอาการมึนงง สมองตื้อ อ่อนเพลีย การเสริมวิตามินบีรวม จึงช่วยป้องกันอาการเหล่านี้ได้ และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสมองให้ฉับไวมากขึ้นและปลอดโปร่ง สดชื่น ลดอาการอ่อนเพลีย อีกทั้งช่วยลดเครียดได้ด้วย

เมื่อมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เป็นอาการที่ขาดวิตามินชนิดใด

3. เบื่ออาหารขาดวิตามินอะไร? เกิดจากการขาดกลุ่มวิตามินบี เช่น บี 1 และ บี 12 ที่ส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเบื่ออาหาร ร่างกายอ่อนเพลีย ท้องเดิน และนอนไม่หลับร่วมด้วย

คนนอนดึกกินวิตามินอะไร

ใครที่อดนอนบ่อยๆ ควรเพิ่มวิตามินบีและซีให้กับร่างกายค่ะ โดยกินวิตามินบีและกินวิตามินซีอย่างละ 1 เม็ด หลังอาหารเช้า รวมถึงยังสามารถกินข้าวกล้อง กินผักผลไม้ น้ำผลไม้คั้นสด เช่น น้ำส้มคั้น น้ำฝรั่ง เพื่อเป็นการเพิ่มวิตามินได้อีกทางค่ะ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita