ไม่ประชุมภายใน 4 เดือน ค่าปรับ

ค่าปรับยื่นงบการเงิน บางคนมองเป็นค่าโง่ แต่ผมคิว่า เป็นความจำเป็นครับ อาจเพราะลืม เพราะไม่รู้ เพรา… เรา ต้องเรียนรู้และจ่ายมันอย่างฉลาด  มาลองศึกษากันนะครับ

ค่าปรับ ยื่นงบล่าช้า หรือ ยื่นงบไม่ทันกำหนด  ประกอบด้วย

  • กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ต้องยื่นภายใน 5 เดือน (อันที่จริง ต้องยื่นภายใน 1 เดือน นับจากวันประชุมผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยต้องประชุมภายใน 4 เดือน จึงนับยาวรวมกันเป็น 5 เดือน)
    • ล่าช้า ไม่เกิน 2 เดือน ค่าปรับ รวม 2,000 บาท
      (ประกอบด้วย ปรับนิติบุคคล 1,000 บาท และปรับ กรรมการ 1,000 บาท)
    • ล่าช้า เกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน ค่าปรับรวม 8,000 บาท
      (ประกอบด้วย ปรับนิติบุคคล 4,000 บาท และปรับ กรรมการ 4,000 บาท)
    • ล่าช้า เกิน 4 เดือน ค่าปรับรวม 12,000 บาท
      (ประกอบด้วย ปรับนิติบุคคล 6,000 บาท และปรับ กรรมการ 6,000 บาท)
  • กรมสรรพากร
    • ยื่นล่าช้า ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา เสียค่าปรับ 3,000 บาท
      (ประกอบด้วย ปรับแบบฯ 1,000 บาท และปรับงบการเงิน 2,000 บาท)
    • ยื่นล่าช้า เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา เสียค่าปรับ 4,000 บาท
      (ประกอบด้วย ปรับแบบฯ 2,000 บาท และปรับงบการเงิน 2,000 บาท)

ค่าปรับอื่น ที่เกี่ยวข้อง

  • บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ไม่ได้ยื่นภายใน 14 วัน นับจากวันประชุมผู้ถือหุ้น ปรับ 2,000 บาท (ไม่ต้องเสีย แม้มีกฎหมายบังคับไว้ ถ้ายื่น บจอ.5 พร้อมกับการยื่นงบการเงิน – อ้างอิง จากคำตอบ เจ้าหน้าที่กรมพัฒนฯ คลิ๊กที่นี้)
  • ไม่นำงบดุลเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ภายใน 4 เดือน นับแต่วันที่ลงในงบดุล ปรับไม่เกิน 12,000 บาท
    (ประกอบด้ย ปรับนิติบุคคล 6,000 บาท และ ปรับกรรมการผู้มีอำนาจ 6,000 บาท) อ้างอิง กระทำความผิด ป.พ.พ. มาตรา 1197

ค่าปรับ ที่ไม่ต้องเสีย

  • กรณี ที่เลิกบริษัท/ ห้างหุ้น ค่าปรับของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เกี่ยวกับการยื่นงบการเงินไม่ทันกำหนด ไม่ต้องเสีย แต่จะต้องจดทะเบียนเลิกบริษัท/ ห้างหุ้นส่วน ก่อนยื่นงบการเงิน – ไม่มีเอกสารอ้างอิง แต่สามารถสอบถามได้ที่ฝ่ายกฎหมายกระทรวงพาณชิย์)

อายุความ และการดำเนินคดี

  • อายุความ มีระยะเวลา 1 ปี เช่น งบการเงินของรอบบัญชี สิ้นสุด 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 :ซึ่งต้องยื่นประมาณสิ้นเดือน 31 พฤษภาคม 2559 ถ้าล่าช้ากว่าวันดังกล่าว นิติบุคคลต้องจ่ายค่าปรับ ตามอัตราดังกล่าว จนถึง 31 พฤษภาคม 2560 กล่าวคือ ถ้ายื่นตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายน 2560 ก็ไม่ต้องจ่ายค่าปรับ ทั้งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากร เพราะหมดอายุความ
  • ให้ข้อสังเกตุว่า ก่อนหมดอายุความดังกล่าว กรมพัฒนาธุรกิจการค้า อาจจะส่งเรื่องให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อ ออกหมายเรียกให้เชิญท่านไปพบ เพื่อชี้แจงและชำระค่าปรับ ต่อไป ดูเพิ่มเติม เกี่ยวกับ หมายเรียก การเข้าพบ และการชำระค่าปรับ ได้ที่นี้ คลิ๊กที่นี้

อ้างอิง

 30,750 total views,  7 views today

กิจการที่กำลังเจอปัญหาในการจัดทำงบการเงิน และคาดว่าการทำงบการเงินนั้น ไม่สามารถยื่นงบการเงินให้ทันเวลาที่กำหนดได้ เช่น ไม่มีคนทำบัญชีให้ หรือว่าเอกสารไม่ครบถ้วนจึงทำบัญชีได้ไม่สำเร็จ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่สิ่งที่ตามมาที่เจ้าของธุรกิจต้องรับผิดชอบคือ ค่าปรับยื่นงบล่าช้า และบางครั้งนักบัญชีเองจะต้องทำความเข้าใจ เพื่อสื่อสารกับเจ้าของธุรกิจให้รู้ถึงภาระและความเสี่ยงนี้ค่ะ ถ้าทำงานจนสุดความสามารถแล้ว เราไม่สามารถยื่นงบได้ทันจริง ค่าปรับที่ต้องเจอมีอะไรบ้างลองไปศึกษาพร้อมๆ กันเลย

ด้วยความที่เราต้องนำส่งงบการเงินหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 2 องค์กร ต่อไปนี้

  • กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  • กรมสรรพากร

เวลาเจอค่าปรับ เราเองก็จะถูกปรับจากทั้ง 2 องค์กรนี้เช่นกันค่ะ โดยรายละเอียดของค่าปรับจะมีดังต่อไปนี้

1. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

เดดไลน์ของการยื่นงบการเงิน

สำหรับงบที่ปิดรอบระยะเวลา 1 ม.ค. – 31 ธ.ค.

กฎหมายกำหนดให้ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน นิติบุคคลต่างประเทศ กิจการร่วมค้า ต้องนำส่งงบการเงินภายใน 5 เดือน นับแต่วันปิด  รอบปีบัญชี คือ ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี

สำหรับบริษัทจำกัด ต้องนำงบการเงินเสนอต่อผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่สามัญภายใน 4 เดือนนับแต่วันปิดรอบปีบัญชี (ภายใน 30 เมษายน ของทุกปี) โดยบริษัทจำกัดต้องนำส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่จัดประชุมใหญ่

หลังจากนั้นทั้งบริษัทจำกัด จะต้องนำส่งงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่งบการเงินได้รับอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น

ถ้าเรายื่นงบการเงินล่าช้า กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเราต้องเสียค่าปรับตามระยะเวลาที่ล่าช้า แบ่งเป็น 3 ช่วงดังนี้

1.1 ค่าปรับยื่นงบการเงินล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน

ค่าปรับยื่นงบล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน

1.2 ค่าปรับยื่นงบการเงินล่าช้าเกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน

ค่าปรับยื่นงบล่าช้าเกิน 2 เดือนแต่ไม่เกิน 4 เดือน

1.3 ค่าปรับยื่นงบการเงินล่าช้าเกิน 4 เดือน หรือไม่ยื่นงบการเงิน

ค่าปรับยื่นงบล่าช้าเกิน 4 เดือน หรือไม่ยื่นงบการเงิน

ค่าปรับก็จะเพิ่มตามจำนวนเดือนที่ล่าช้าเพิ่มขึ้นนะคะ อัตราค่าปรับก็จะปรับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และกรรมการผู้จัดการ/หุ้นส่วนผู้จัดการ/ผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน

1.4 ค่าปรับยื่น บอจ.5 ไม่ทันกำหนด หรือไม่ยื่น บอจ.5

นอกจากยื่นงบล่าช้าแล้ว ถ้าไม่ได้ยื่น บอจ. 5 ตามกำหนดนี้ ก็จะมีค่าปรับด้วย

สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ตามกฎหมายต้องส่งภายใน 14 วันนับจากวันประชุมใหญ่สามัญประจำปี

หากไม่ได้นำส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ตามกำหนด มีโทษเปรียบเทียบปรับกรรมการคนละ 2,000 บาท

1.5 ค่าปรับไม่จัดให้มีผู้สอบบัญชี ไม่ส่งสำเนางบดุลให้ผู้ถือหุ้นล่วงหน้า ไม่มีสำเนาเปิดเผยไว้ในสำนักงาน

อีกส่วนนึงที่เราต้องถูกปรับไปโดยปริยายถ้ายื่นงบล่าช้า คือ การไม่จัดให้มีผู้สอบบัญชี และส่งสำเนางบให้ผู้ถือหุ้นภายในเวลาที่กำหนดสำหรับบริษัทจำกัด โดยมีอัตราค่าปรับตามนี้

บริษัทจำกัด ค่าปรับ
– ไม่จัดให้มีผู้สอบบัญชีตรวจสอบงบดุล
– ไม่ส่งสำเนางบดุลให้ผู้ถือหุ้นล่วงหน้าก่อนวันประชุม 3 วัน
– ไม่มีสำเนางบดุลเปิดเผยไว้ในสำนักงานของบริษัท
มีโทษเปรียบเทียบปรับผู้จัดการ/กรรมการ/คณะกรรมการ คนละ 1,000 บาท (แล้วแต่กรณี)
และ
กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทคนละ 1,000 บาท

2. กรมสรรพากร

เดดไลน์ของการยื่นแบบภาษีและงบการเงิน

สำหรับกรมสรรพากร กำหนดให้ธุรกิจต้องยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคล ภงด.50 ประจำปี ภายใน 150 วัน พร้อมกับงบการเงิน (Link ข้อมูลมาจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า)

ถ้าไม่ได้ยื่นงบการเงินแก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ก็น่าจะไม่สามารถยื่นภาษีได้ตามกำหนดโดยปริยาย (เศร้าจุง) เราจะมีค่าปรับแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

2.1 ค่าปรับของการยื่นแบบภาษีเกินกำหนด

  • ไม่เกิน 7 วัน ( 1-7 วัน)  ค่าปรับ 1,000 บาท
  • เกิน 7 วัน ค่าปรับ 2,000 บาท

ถ้าหากมีค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องชำระเงิน มีเงินเพิ่มที่ต้องชำระ 1.5% ต่อเดือนด้วยนะคะ

2.2 ค่าปรับไม่ยื่นงบการเงิน

เนื่องจากตามกฎหมายกำหนดให้เรายื่นงบการเงินทั้งกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากร เมื่อไรก็ตามที่เราพลาดยื่นงบการเงินกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้วก็จะโดนค่าปรับยื่นงบช้าจากสรรพากรโดยปริยาย

สำหรับกรมสรรพากรเอง ถ้าเกินกำหนดยื่นงบการเงินก็เสียค่าปรับอัตราเดียว จำนวน 2,000 บาท

อัตราค่าปรับกรมสรรพากร

โดยสรุปแล้วทั้งหมดนี้คือ ค่าปรับทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้นกับการยื่นงบการเงินไม่ทัน นอกจากจะเกี่ยวข้องกับตัวงบแล้ว ยังมีค่าปรับที่สืบเนื่องอื่นๆ เช่น บอจ. 5 การจัดประชุม และแบบภาษี ฉะนั้น ถ้าเพื่อนๆรู้ค่าปรับที่ต้องจ่ายชำระแล้ว หากปิดงบการเงินไม่ทันจริงๆ หรือว่าลูกค้าไม่สามารถส่งข้อมูลให้ทางสำนักงานบัญชีได้ทัน เราก็ควรชี้แจงต่อเจ้าของกิจการถึงความเสี่ยงและค่าปรับนี้ไว้ล่วงหน้าค่ะ เพราะบางครั้งมันอาจทำให้เจ้าของกิจการกระตือรือร้นส่งข้อมูลให้เราทำงานให้เสร็จทันเวลาได้ค่ะ


และถ้าใครอยากยื่นงบให้ทันไม่มีปัญหาในภายหลัง เราแนะนำเช็คในบทความนี้เพิ่มเติมได้เลยจ้า: 6 เรื่องที่ต้องเช็ค ยื่นงบการเงิน e-filing ให้ถูกต้อง

อบรมบัญชีเก็บชั่วโมง CPD ออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่บ้าน

สอบถามได้ที่นี่ Line: @cpdacademy หรือ //lin.ee/36U1ks0Y

ถูกก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2017 ด้วยความตั้งใจเต็มเปี่ยมในการส่งต่อความรู้ดีๆ ให้กับนักบัญชีและผู้สอบบัญชีในรูปแบบ e-learning ที่ช่วยให้การเก็บชั่วโมง CPD เป็นเรื่องง่ายๆ ทำได้เองที่บ้าน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita