ปัจจัยที่มีผลต่อความมั่นคงและความ เจริญ รุ่งเรือง ของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ภายหลังที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกแก้ไขวิกฤตการณ์ในกรุงธนบุรีจนสงบลงแล้ว บรรดาขุนนาง ข้าราชการ สมณะ พราหมณ์ และอาณาพระชาราษฎร์ได้พร้อมกันอันเชิญให้พระองค์เสด็จขึ้นครอง ราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินสืบไป เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325  

            ในระยะแรกพระองค์ประทับในพระราชวังเดิมไปพลางก่อนเป็นการชั่วคราว หลังจากนั้นจึงได้ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีข้ามไปอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็นที่ตั้งของพระบรมมหาราชวังในปัจจุบัน พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างรั้วไม้แทนกำแพงและสร้างพลับพลาไม้ชั่วคราวเพื่อทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จบรมราชาธิราชรามาธิบดี(ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงถวายพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช)

            ต่อมาเมื่อมีการก่อสร้างพระบรมราชวังและราชธานีแห่งใหม่แล้วเสร็จ ในปีพ.ศ. 2539 พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้มีการสมโภชพระนครและกระทำพระบรมราชาภิเษกขึ้นอีกครั้ง และได้ทรงพระราชทานนามพระนครว่า “กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์มหินทรายุธยามหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์สถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์”(ต่อมาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยนสร้อยที่ว่า บวรรัตนโกสินทร์ เป็น อมรรัตนโกสินทร์ นอกนั้นคงไว้ตามเดิม)

            พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีข้ามไปอยู่ยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา สืบเนื่องมาจากทรงมีพระราชดำริว่าบริเวณที่ตั้งกรุงธนบุรีถึงแม้จะเป็นที่ดอน แต่ก็เป็นที่ท้องคุ้ง น้ำเซาะตลิ่งพังอยู่เสมอ ส่วนที่ตั้งของพระราชวังก็มีวัดอรุณราชวราราม(วัดแจ้ง) และวัดโมลีโลกยาราม(วัดท้ายตลาด)ตั้งขนาบอยู่ตั้งสองข้าง ทำให้ไม่สะดวกในการขยายพระราชวัง แต่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาในบริเวณทำเลที่ตั้งราชธานีแห่งใหม่มีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นคูเมืองทั้งด้านตะวันตกและด้านใต้ ถ้าขุดคลองเฉพาะทางด้านเหนือและด้านตะวันออกเท่านั้น ก็สามารถป้องกันพระนครจากการโจมตีของข้าศึกได้ ประกอบกับพื้นที่นอกคูเมืองเดิมเป็นพื้นที่ลุ่มที่เกิดจากการตื้นเขินของทะเล ข้าศึกจะยกทัพมาด้านนี้คงกระทำได้ยาก จึงทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมาตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาดังกล่าว


ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรือง

          ภายหลังการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์แล้ว มีปัจจัยหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของไทยดังนี้

1.        ศูนย์กลางของอาณาจักรมีเส้นทางออกสู่ทะเล ทำให้สะดวกต่อการติดต่อค้าขายกับชาติต่าง ๆ ที่อยู่ห่างไกล

ออกไปและเข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยได้ง่าย

2.        มีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันออกเฉียงใต้พัดผ่าน ทำให้มีฝนตกชุก เหมาะแก่การเพาะปลูก

3.        มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านออกสู่ทะเลบริเวณอ่าวไทย ได้แก่แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และ

แม่น้ำบางปะกง ทำให้เหมาะแก่การเพาะปลูกในพื้นที่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำและเป็นประโยชน์แก่การค้าขาย

4.        เป็นศูนย์รวมของการขยายตัวทางด้านวัฒนธรรม เพราะในสมัยโบราณอาณาจักรของไทยเป็นจุดพักเรือของ

พ่อค้าจากดินแดนต่าง ๆ ที่เดินทางเข้ามาค้าขายระหว่างดินแดนซีกโลกตะวันตกและซีกโลกตะวันออก นับเป็นประโยชน์ต่อพัฒนาการของอาณาจักรไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่ยุคเริ่มต้นของการสถาปนาและส่งผลดีมาจนถึงปัจจุบัน

5.        พระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์บ้านเมือง ทั้งในด้านการ

ป้องกันราชอาณาจักร การส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองทางด้านต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นกับบ้านเมืองและราษฎรของพระองค์


เหตุผลที่ทรงย้ายราชธานี

            เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขึ้นเสวยราชสมบัติแล้ว ก็โปรดให้ย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกมาตั้งใหม่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ด้วยเหตุผลที่ทรงย้าย ดังนี้

1) พระราชวังเดิมของกรุงธนบุรีคับแคบ  มีวัดขนาบอยู่ทั้งสองด้าน คือ วัดอรุณราชวราราม(วัดแจ้ง)และวัดโมฬีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) จึงยากแก่การขยายพระราชวัง

2) ความไม่เหมาะสมด้านภูมิประเทศ เนื่องจากฝั่งตะวันตกหรือราชธานีเดิมเป็นท้องคุ้งน้ำ อาจถูกน้ำกัดเซาะตลิ่งพังได้ง่าย แต่ฝั่งตะวันออก(กรุงเทพ) เป็นแหลมพื้นดินจะงอกอยู่เรื่อยๆ

3) ความไม่เหมาะสมในการขยายเมืองในอนาคต พื้นที่ฝั่งตะวันออกเป็นที่ราบลุ่มกว้างขวาง สามารถขยายตัวเมืองไปทางเหนือและตะวันออกได้

4) กรุงธนบุรีไม่เหมาะทางด้านทำเลที่ตั้งยุทธศาสตร์ กล่าวคือ มีแม่น้ำเจ้าพระยาผ่ากลางเปรียบเสมือนเมืองอกแตก เมื่อใดข้าศึกยกทัพมาตามลำน้ำก็สามารถตีถึงใจกลางเมืองได้ง่าย

            ในการสร้างพระบรมมหาราชวังโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ เริ่มขึ้นพร้อมกับการสร้างพระนคร เมื่อ พ.ศ. 2325 การก่อสร้างพระราชวังหลวง สร้างในบริเวณที่เคยเป็นที่อยู่ของชาวจีน ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปอยู่ที่แห่งใหม่คือที่สำเพ็ง เริ่มดำเนินการในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2325 หลังพระราชพิธียกหลักเมือง 1 วัน ภายในโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอารามในพระบรมมหาราชวัง คือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต

            เมืองหลวงใหม่  เดิมเรียกว่า บางกอก  หรือปัจจุบันคือ กรุงเทพมหานคร  เป็นราชธานีใหม่ของไทย  สร้างขึ้นโดยเลียนแบบอยุธยา  กำหนดพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วนคือ

-บริเวณพระบรมมหาราชวัง ประกอบด้วย วังหลวง วังหน้า  วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง    และรวมทั้งทุ่งพระสุเมรุท้องสนามหลวง

-บริเวณที่อยู่อาศัยภายในกำแพงเมือง  มีอาณาเขตกำแพงเมือง   ประตูเมือง และป้อมปราการสร้างขึ้นตามแนวคลองรอบกรุง  ได้แก่ คลองบางลำภู และคลองโอ่งอ่าง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita