ประสบการณ์ เรียน ส ถ้า ปั ต ย์

บทความนี้เป็นการสรุปข้อมูลจาก time machine podcast EP.1 ของเรา หากใครต้องการฟังประสบการณ์จริงกับชีวิตหฤหรรษ์ที่ในมาสรุปเกิดการพิมพ์ในบทความนี้ สามารถเข้าลิงค์ด้านล่างได้เลยครับ

EP.1 รีวิวชีวิตถาปัด 5 ปี ลงนรกหรือโคตรมันส์! คลิกเพื่อรับชม

EP.2 รีวิวชีวิตถาปัด 5 ปี PART2 แกรดแล้ว!! คลิกเพื่อรับชม

จะเป็นยังไงกันนะ กับชีวิตการเป็นเด็กสถาปัตย์จุฬาภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ตลอด 5 ปี มันใช่ไม่ใช่ยังไงกับเราถ้าหากเข้าไปเรียนสถาปัตย์จุฬา งานหนักจริงไหม สถาปัตยกรรมเรียนกี่ปี ทั้งหมดนนี้เราจะมีรู้พร้อมกันในบทความนี้


เรียนสถาปัตย์ เรียนกี่ปีกันแน่? 

ก่อนอื่นเลย สิ่งแรกที่ต้องรู้นั่นคือ สถาปัตยกรรมเรียนกี่ปี คำตอบคือ 5 ปีนะครับ และคณะสถาปัตย์ที่จะเล่าคือ สถาปัตย์จุฬา เนื่องจากเรามาประสบการณ์ที่สุด โดยแต่ละปีจะมีความหนักของงานที่ไม่เท่ากันโดยจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่มีและความยากของความรู้สถาปัตยกรรมในนปีนั้นๆนั่นเอง และเราจะเล่าแยกเป็นปีทั้งหมด 5 ปี เรามาเริ่มกันเลยครับ

การเรียนสถาปัตย์ปีที่ 1 ที่สุดของความลำบาก ยากที่สุดคือปรับตัว 

ในปีที่ 1 เราเชื่อว่าทุกคนที่อยากเข้าเรียนสถาปัตย์ ก็จะมีความคิดว่าวันแรกที่เข้าไปจะได้เรียนปรับพื้นฐานสถาปัตย์และการออกแบบกับก่อน ซึ่งถูกต้องแล้วครับ เราจะได้เรียน แต่การเรียนพื้นฐานไม่ใช่แค่การเรียนแบบวาดรูปส่ง แต่มันการปูพื้นฐานจะแยะเป็น 4 วิชาหลักดังนี้ 

DESIGN STUDIO ลงลึกการออกแบบ 3มิติและสถาปัตยกรรม ตะลุยทำโจทย์ที่สั่งโดยเน้นความคิดประกอบ3มิติและการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ดี

STRUCTURE การเรียนพื้นฐานโครงสร้าง ทั้งการคำนวณและความเข้าใจในการรับแรง เพื่อนำไปใช้งานได้เหมาะสมที่สุด

ARCHITECTURAL DRAWING การเรียนระบบการเขียนแบบที่เน้นความประณีตและการพัฒนาเข้าใจรูป 3 มิติ ที่ซับซ้อน เพื่อเป็นพื้นฐานในการทำชิ้นงานออกแบบวิชา DESIGN STUDIO

HISTORY OF ARCHITECTURE – การเรียนประวัติศาสตร์ศิลปะและสถาปัตยกรรมเพื่อเข้าระบบความคิดของคนในยุคนั้นที่เป็นเหตุผลประเด็นในการออกแบบสถาปัตยกรรมตามแต่ละยุค

ซึ่งเนื้อหาทั้งหมด นี้เรียนไปพร้อมกัน และต้องมีงานส่งทุกอาทิตย์ อาทิตย์ละ 2-4 งาน (งานประกอบวัสดุ 3 มิติที่ออกแบบและวางแผนคิดเอง รวมไปถึงงานวาดขนาด a2 ขึ้นไป) ฉะนั้นการได้เลิกเรียนกลับบ้าน นั้นคือเวลาทำงานส่งอาจารย์ในวันถัดไปนั่นเอง และยังไม่รวมกับเวลาที่ต้องไปรับน้อง ซึ่งเราต้องจัดเวลาที่เบียดเสียดขนาดนี้ให้ทำทุกอย่างได้สำเร็จทั้งหมด นั่นแหละการปรับตัวครั้งใหญ่ที่สุดหล่ะ และที่สำคัญที่สุดคือ อาจารย์กำลังจะสร้างวินัยและคุณสมบัติสถาปนิกที่ดี โดยการห้ามส่งช้ากว่ากำหนด หากส่งช้าจะไม่ได้คะแนนเลย หรือต้องทำใหม่นั่นเอง ด้วยระเบียบและพื้นฐานที่มากมายขนาดนี้ หลายคนช่วงปี 1มีความรู้สึกท้อแท้และรู้สึกเหนื่อยมากๆ แต่หากคุณผ่านไปได้ นั่นแหละคือความแข็งแกร่งและความรู้สึกดีที่เอาชนะตัวเอง

การเรียนสถาปัตย์ปีที่ 2 จุดเริ่มต้นของความเข้าใจสถาปัตยกรรม 

ถ้าใครที่คิดว่าอยากไปลองเรียนสถาปัตย์ปี 1 แล้วค่อยคิดว่าจะซิ่วไหม ขอบอกก่อนเลยว่า เนื้อหาที่จะได้เรียนสถาปัตย์แบบเต็มตัว คือ ปี 2 ถ้าใครซิ่วไปนั่นส่วนใหญ่จะเป็นการอยากพักจากความเหนื่อยมากกว่า ในปีที่ 2 จะเป็นนปีที่เราเข้าใจภาพรวมของเราออกแบบสถาปัตย์มากขึ้น แต่ก็ไม่ได้มากพอที่จะออกแบบหรือพลิกแพลงได้ดี ฉะนั้นโจทย์ที่อาจารย์สั่งจะเป็นอาคารบ้านพักอาศัยและอาคารสาธารณะขนาดเล็ก เพื่อทำให้เราคุ้นชินกับการพลิกแพลงการจัด ผังพื้น หรือ การประกอบสามมิติที่ตอบโจทย์ทั้งการใช้งาน ธรรมชาติ และความเหมาะสมกับทำเลให้ดี ถ้าหากถามว่าปีที่สองงานหนักไหม ต้องบอกว่า ขึ้นอยู่กับการปรับตัวในช่วงปีที่ 1 หากใครปรับตัวได้ดีก็จะทำงานได้ดีดว่าคนที่ปรับตัวช้า แต่ไม่ต้องห่วงการไม่ว่าจะปรับตัวได้มากแค่ไหน ทุกคนก็รู้แล้วว่า การทำงานให้เสร็จ 1 โปรเจคจะใช้เวลามากแค่ไหน อย่างน้อยไม่พร้อมก็ยังพอเตรียมใจได้ละกัน! สิ่งที่ได้เรียนรู้มากสุดในปีที่ 2 คือ จำนวนเวลาในการจบ 1 โปรเจค ถ้าถามว่าเรียนสถาปัตย์ทำไมนอนดึก ต้องจัดเวลาให้ได้สิ ความจริงคือมันจัดเวลาได้ส่วนหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม การเขียนสถาปัตยกรรมให้เข้าใจอาศัยเวลาที่เยอะมาก เนื่องจาก เราต้องเขียนภาพสองมิติทุกมุมเพื่อให้เห็นเป็นสามมิติ ลองนึกภาพว่าเราออกแบบเค้ก เราต้องผ่ากี่มุมล่ะ ถึงจะเขียนได้ละเอียดที่สุด สถาปัตยกรรมก็ใช้แรงแบบนั้นเลย แถมต้องเขียนตามสัญลักษณ์ให้ช่างหรืออาจารย์อ่านรู้เรื่องด้วยนะ

การเรียนสถาปัตย์ปีที่ 3 การรีเทิร์นของความรู้สึกปี 1

เนื่องจากปีที่ 3 เราจะต้องจัดรับน้องให้กับน้องๆสถาปัตย์ปีที่ 1 พร้อมกับโจทย์วิชา STUDIO ที่ต้องออกแบบสถาปัตยกรรมแบบสาธารณะระดับหลายพันตารางเมตร ทั้งหมดนี้ทำให้การจัดเวลาของเราแปรปรวนอีกครั้ง รวมไปถึงปีที่ 3 เป็นปีที่ต้องเรียนสถาปัตย์ด้วยอื่นควบคู่ไปด้วย ทั้งๆที่เราเรียนเอกสถาปัตย์ (ออกแบบอาคาร) ในปีนี้เราต้องเรียนการเขียนลายไทยของภาควิชาสถาปัตยกรรมไทย และเรียนbasic interior ด้วย ซึ่งทั้งสองวิชานี้งานเยอะมากนะ หากเป็นในอดีตวิชาออกแบบภายในจะต้องตัดโมเดลทั้งหลัง และต้องตัดเก้าอี้ โต๊ะ สุขภัณฑ์และ ทำสีให้ครบทุกผนังและทุกพื้นที่เลยนะ ทำเสร็จแทบจะไปขายโครงการขายบ้านได้เลย ฉะนั้น ปีที่ 3 จะเป็นอีกปีที่เราจะรู้สึกดีหากผ่านมันมาได้นะ


การเรียนสถาปัตย์ปีที่ 4 ความสบายจากความชำนาญ (และชินชา) กับการออกแบบ

ปีที่ 4 จะเรียนการออกแบบสถาปัตยกรรมขนาดหนึ่งหมื่นตารางเมตรขี้นไป หรือเรียกว่าอาคารขนาดใหญ่พิเศษ ถ้าหากถามว่ายากไหม ก็ต้องตอบว่า ยากนะ ยิ่งเป็นการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ซับซ้อนที่สุดอย่างโรงพยาบาล (ซึ่งต้องเจอแน่นอน) ยิ่งเป็นเรื่องที่ยากที่สุดเท่าที่สถาปนิกคนหนึ่งจะเคยทำ แต่อย่างไรตาม ด้วยประสบการณ์ออกแบบสถาปัตยกรรมมาไม่ต่ำกว่า 5 อาคาร การจัดการงานให้เสร็จหรือจัดเวลา เป็นเรื่องที่ควบคุมได้ในที่สุด และวิชาอื่นๆที่ต้องเรียนเช่น FEASIBILITY (การคำนวนความคุ้มทุนในการสร้างสถาปัตยกรรม) PROFESSIONAL PRACTICE (การเรียนรู้จรรยาบรรณและการทำงานสถาปนิกในชีวิตจริง) INTRO TO URBAN DESIGN (การเรียนพื้นฐานการออกแบบสถาปัตยกรรมศาสตร์ผังเมือง) INTRO TO LANDSPACE (การเรียนพื้นฐานการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม) ทั้งหมดนี้ก็เป็นวิชาที่งานไม่เยอะมาก เน้นความเข้าใจ ทำให้ปีที่คือปีแห่งสวรรค์ของผู้เรียนสถาปัตย์เลยก็ว่าได้

การเรียนสถาปัตย์ปีที่ 5 ปีแห่งวิทยานิพนธ์ (THESIS) นรกที่มีอยู่จริงบนโลกแห่งสถาปัตย์

ปีสุดท้ายเป็นปีที่ทุกคนให้ความสนใจกับวิชาหนึ่งที่มีหน่วยกิตถึง 12 หน่วย (หาก F วิชานี้คือเรียนสถาปัตย์ปี 5 อีก 1 ปี) และจะให้เราเรียนวิชานี้วิชาเดียวเป็นเวลา 1 เทอมเต็ม ฉะนั้น ถ้าเทียบกับ MARVEL INFINITY SAGA นี่แหละคือ THANOS
การทำธีสิสนั้นคืออิสระของผู้เรียน ผู้เรียนสามารถทำสถาปัตยกรรมแบบใดก็ได้ แต่ต้องมีขนาดมากกว่าหนึ่งหมื่นตารางเมตร และผู้เรียนสามารถเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาได้ตามใจชอบ เพื่อให้ความถนัดอาจารย์และจริตของอาจารย์แต่ละคน เข้ากันได้กับสไตล์และประเภทสถาปัตยกรรมที่เราทำ (ถ้าเข้าขากันไม่ได้จะเหนื่อยมาก) และเรามีเวลา 1 เทอมในการจัดการงานนี้ โดยจะส่งแบบร่างสถาปัตยกรรมที่เราออกแบบ 2 ครั้งต่ออาทิตย์ และอย่างที่รู้ว่า งานนี้ถ้าไม่ดี อาจจะต้องเรียนนทั้งปีใหม่อีก 1 รอบ ความเครียดที่ก่อจากตัวเราและความคาดหวังจากอาจารย์ก็จะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ และสิ่งที่พีคที่สุดในชีวิตก็คนที่เรียนสถาปัตย์คือการนำเสนองานธีสิส เพราะการนำเสนอครั้งนี้ อาจารย์ทุกคนที่เคยสอนเรามาใน 5 ปี จะนั่งฟังเราทั้งหมด รวมไปถึงการเข้ามาฟังผู้อาวุโสในการทำงานด้านสถาปัตยกรรมที่ถูกรับเชิญ การนำเสนองานของเราจะถูกอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญอื่นประมาณ 30-40 ร่วมกันฟัง / ถาม / วิจารณ์งานของเราเมื่อเราได้นำเสนอเสร็จ ฉะนั้น ใครดีใครอยู่ครับงานนี้ ฉะนั้นชีวิตของคุณจะดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของงานของเรา หากเราตั้งใจเรียนและทำงานมาตลอด ทีสิสกลับเป็นพื้นที่ที่คุณจะได้รับการชื่นชมและถือเป็นวันที่คุณประสบความสำเร็จที่สุดวันหนนึ่งเลยก็ว่าได้


และนี่คือชีวิตทั้ง 5 ปีของเราในการเรียนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนะครับ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita