ค่าใช้จ่ายในการเข้าตลาดหลักทรัพย์

  • SET
  • mai

   

mai

เป็นแหล่งระดมทุนที่เปิดโอกาสให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่มีศักยภาพการเติบโตสูง ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน ทั้งนี้เพื่อทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยความโปร่งใส มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างเครือข่ายธุรกิจและเพิ่มความพร้อมในการแข่งขัน



คำถามถามบ่อยเกี่ยวกับการจดทะเบียนหลักทรัพย์

การพิจารณาเข้าจดทะเบียนใน SET หรือ mai


ความแตกต่างระหว่างตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)

SET ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งระดมทุนระยะยาวของบริษัทไทยและบริษัทต่างประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่มีผลการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง มีทุนชำระแล้วหลัง IPO ตั้งแต่ 300 ล้านบาทขึ้นไป ในขณะที่ mai เป็นแหล่งระดมทุนของธุรกิจที่มีศักยภาพขนาดกลางและเล็ก ซึ่งมีทุนชำระแล้วหลัง IPO ตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป โดยเน้นธุรกิจที่มีการเติบโตสูง และมีแนวโน้มการเติบโตดีในอนาคต อย่างไรก็ตามแนวทางการพิจารณาคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นต่อประชาชน (Initial Public Offering: IPO) โดยสำนักงาน กลต. และการพิจารณาอนุญาตให้เข้าจดทะเบียนโดยตลาดหลักทรัพย์ ฯ ตลอดจนแนวทางการปฏิบัติภายหลังการเข้าจดทะเบียนแล้วจะไม่มีความแตกต่างกัน

ทำไมต้องมีการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ขึ้นมาใหม่ ฃ แยกต่างหากจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ขึ้น โดยเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อ 21 มิถุนายน 2542 เพื่อเปิดโอกาสให้ธุรกิจที่มีศักยภาพ ในการเติบโตสามารถระดมทุนผ่านตลาดทุนได้ โดยเน้นธุรกิจที่มีแนวโน้มการเติบโตดี ในอนาคต (Business for the Future) หรือธุรกิจในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการอื่นๆ หากมีคุณสมบัติ ครบตามเกณฑ์รับหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) มีความยินดีรับเป็นบริษัทจดทะเบียนเพื่อให้ ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) มีบริษัทจดทะเบียนในหลากหลายอุตสาหกรรมให้นักลงทุนได้เลือกลงทุนได้ ตามความเหมาะสม ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) สามารถรองรับธุรกิจได้ทุกขนาด ทุนจดทะเบียนชำระแล้วขั้นต่ำภายหลังกระจายหุ้น 50 ล้านบาทขึ้นไป และไม่มีการจำกัดทุนจดทะเบียนชำระแล้วขั้นสูง ซึ่งแตกต่างจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่รองรับได้เฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่ซึ่งมีทุนชำระแล้วขั้นต่ำ 300 ล้านบาทขึ้นไปเท่านั้น

หลักเกณฑ์การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) แตกต่างจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอย่างไร
  • การกำหนดทุนชำระแล้วและส่วนของผู้ถือหุ้นที่มีจำนวนน้อยกว่า
  • การกำหนดระยะเวลาในการประกอบธุรกิจต่อเนื่องที่สั้นกว่า ก่อนการยื่นขอจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)
  • การกระจายหุ้นให้มีจำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อยที่น้อยกว่า
  • การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่ต่ำกว่า

นอกจากนี้ ยังจะช่วยกระตุ้นให้ธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) เข้ามาลงทุนในธุรกิจขนาดกลางและเล็กที่มี ศักยภาพในการเติบโตมากขึ้น เพราะมีตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เป็นช่องทางในการนำบริษัท ที่ร่วมลงทุนเข้าจดทะเบียนเพื่อที่จะขายหุ้นที่ลงทุนออกไปเมื่อเห็นว่าได้ รับผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุนนั้น

ทำไมบริษัทต้องเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ทั้งที่บริษัทสามารถกู้ยืมเงิน จากสถาบันการเงินได้อยู่แล้ว

การเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เป็นการเพิ่มแหล่งเงินทุนให้แก่บริษัท ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความยืดหยุ่น ในการบริหารต้นทุนทางการเงินให้แก่บริษัทมากขึ้น และรองรับความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจและอัตราดอกเบี้ยที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต จากการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินที่ทำให้บริษัทมีภาระที่จะต้องจ่ายดอกเบี้ยแม้ว่าจะมีผลขาดทุนจากการดำเนินงานก็ตาม การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เป็นการเปิดโอกาสให้บริษัทสามารถระดมทุนจากประชาชนได้โดยตรง และบริษัทจะจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นนั้น ในรูปของเงินปันผล เมื่อบริษัท มีผลกำไรจากการดำเนินงาน และเมื่อบริษัทมีความต้องการเงินทุนเพิ่มเติมในการขยายกิจการในอนาคต บริษัทก็สามารถขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ประชาชนเพิ่มเติมอีกได้

เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) จะทำให้ถูกผู้ลงทุนมองว่าเป็นบริษัทที่มีคุณภาพแตกต่าง จากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือไม่

นักลงทุนจะพิจารณาถึงความสามารถในการทำกำไรและแนวโน้มการเติบโตของบริษัทในอนาคต โดยมิได้คำนึงว่าบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใด สำหรับเรื่องคุณภาพของบริษัทจดทะเบียนนั้น ทางสำนักงาน ก.ล.ต. จะใช้หลักเกณฑ์ เดียวกันในการพิจารณาอนุมัติให้กระจายหุ้นต่อประชาชน และนอกจากนี้ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเรื่อง การเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนเช่นเดียวกับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดังนั้น กล่าวได้ว่า แม้จะมีขนาดธุรกิจที่เล็กกว่า คุณภาพของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ไม่แตกต่างจากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

บริษัทจะมีข้อพิจารณาอย่างไรบ้างว่า ควรจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจึงจะเหมาะสม

หากบริษัทมีแผนที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว แต่ยังไม่แน่ใจว่าบริษัทเหมาะสมที่จะเข้าจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทอาจจะพิจารณาถึงประเด็นหลักๆ ประกอบกัน ดังนี้

  • แผนการใช้เงินในอนาคต: บริษัทจะต้องพิจารณาว่ามีความต้องการที่จะระดมทุนเป็นจำนวนเงินมากน้อยแค่ไหน เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการใช้เงินในอนาคต และดูว่าภายหลังการระดมทุนเพิ่มขึ้นแล้วบริษัทจะมีขนาดของทุนเท่าไร ถ้าบริษัทจะมีทุนชำระแล้วภายหลังการเพิ่มทุนน้อยกว่า 300 ล้านบาท บริษัทจะต้องเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) แต่ถ้ามากกว่าหรือเท่ากับ 300 ล้านบาท บริษัทสามารถเลือกได้ว่าจะจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 

  • ความโดดเด่นของบริษัท: บริษัทควรพิจารณาถึงความโดดเด่นของบริษัทเมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทจดทะเบียนอื่น ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เพื่อจะพิจารณาว่าบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไหนแล้วหุ้นของบริษัทจะเป็นที่น่าสนใจของผู้ลงทุนมากกว่ากัน

การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าจดทะเบียน

ควรเลือกที่ปรึกษาการเงิน และผู้สอบบัญชีอย่างไรดี

การเลือกที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้ตรวจสอบบัญชี เป็นสิ่งแรกๆ ที่บริษัทจะต้องเริ่มทำหลังจากตัดสินใจที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยมีหลักในการเลือกที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้ตรวจสอบบัญชี ดังนี้

  1. ต้องเลือกที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้สอบบัญชีที่อยู่ในรายชื่อที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. โดยท่านสามารถหาข้อมูลได้ที่ Website ของสำนักงาน ก.ล.ต. รวมถึงสามารถดูผลงานของที่ปรึกษาทางการเงินได้ที่นี่ และดูรายชื่อผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาต ได้ที่นี่
  2. ต้องเลือกที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้สอบบัญชี ที่มีหลักการที่ถูกต้อง สามารถแนะนำบริษัทในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่สำคัญของ สำนักงาน ก.ล.ต. และ ตลท. ได้ โดยไม่ตามใจผู้บริหารจนไม่มีหลักการในการแนะนำ
  3. ควรเลือกที่ปรึกษาการเงิน และผู้สอบบัญชี ที่มีความรู้ความเข้าใจ และประสบการณ์ในธุรกิจของท่าน อีกทั้งมีเวลาเพียงพอที่จะให้บริการ  

การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ใช้ระยะเวลาเตรียมตัวประมาณเท่าไร

ขึ้นอยู่กับความพร้อมของบริษัทในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความพร้อมของระบบบัญชี ระบบควบคุมภายใน ซึ่งมีระยะเวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 2-3 ปี

โครงสร้างธุรกิจที่มี Conflict of interest พิจารณาอย่างไร มีตัวอย่างหรือไม่

กรณีที่ 1 มีธุรกิจที่แข่งขันกัน
บริษัท A และ B ถือหุ้นโดยผู้ถือหุ้นกลุ่มเดียวกัน และทำธุรกิจเหมือนกัน เช่น พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ แต่ผู้ถือหุ้นเลือกที่จะนำบริษัทใดบริษัทหนึ่งเข้าจดทะเบียนเท่านั้น โดยไม่รวม ทั้งสองบริษัทเข้าจดทะเบียน เป็นต้น จะสร้างความไม่โปร่งใสว่า ผู้ถือหุ้นใหญ่จะดูแลผลประโยชน์เชิงธุรกิจของบริษัทใดเป็นหลัก

กรณีที่ 2 มีรายการระหว่างกัน 
บริษัท C และ D ถือหุ้นโดยผู้ถือหุ้นกลุ่มเดียวกัน โดยผู้ถือหุ้นต้องการนำบริษัท C เข้าจดทะเบียนเพียงบริษัทเดียว อย่างไรก็ตามบริษัท C และ D มีรายการซื้อขายวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตระหว่างกันจำนวนมาก หากบริษัทสามารถพิสูจน์ได้ว่ารายการระหว่างกันของบริษัท C และ D เป็นราคาตลาดที่อ้างอิงได้ หรือเป็นราคาที่ยุติธรรม จะถือว่าเป็นการบริหารจัดการประเด็นเรื่อง Conflict of Interest ได้ตามเกณฑ์

ผู้บริหารมีธุรกิจส่วนตัว และถือหุ้นอยู่หลายบริษัท จำเป็นต้องขายหุ้นออกไป หรือต้องขายกิจการเหล่านั้นออกไปก่อนหรือไม่

ในกรณีที่สามารถแสดงได้ว่าแต่ละบริษัทไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เช่น ไม่ได้ทำธุรกิจทับซ้อน หรือแข่งขันกัน หรือไม่มีรายการระหว่างกัน หรือหากมีรายการระหว่างกันแต่เป็นรายการที่เป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นทุกฝ่าย หรือสามารถอธิบายได้ว่ารายการระหว่างกันนั้นเป็นประโยชน์ต่อบริษัทผู้ยื่นคำขอ ผู้บริหารยังสามารถถือหุ้นนั้นต่อไปได้ โดยไม่จำเป็นต้องขายกิจการ หรือขายหุ้นออก แต่ต้องเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน 

มีธุรกิจแบบใด ที่ไม่สามารถเข้าจดทะเบียนได้หรือไม่

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่มีข้อห้ามเกี่ยวกับธุรกิจที่จะเข้าจดทะเบียน โดยให้พิจารณาว่าธุรกิจที่สามารถเข้าจดทะเบียนได้จะต้อง

  1. ไม่ขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจไม่ชอบด้วยกฎหมาย
  2. ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อตลาดทุนไทยโดยรวม
  3. ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุนโดยรวม หรืออาจทำให้ผู้ลงทุนโดยรวมไม่ได้รับความเป็นธรรม อย่างไรก็ตามให้พิจารณาประกาศ ข้อ 7 ของสำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ.  39/2559 เรื่อง  การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ด้วย

กิจการเป็นกงสีทำอย่างไรให้ระบบกงสียังคงอยู่ และสามารถเข้าจดทะเบียนได้

ให้พิจารณาว่าบริษัทที่อยากนำเข้าจดทะเบียน มีโอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัทอื่น ๆ ในกงสีที่ยังเหลืออยู่หรือไม่ ถ้ามีโอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งดังกล่าว ให้นำธุรกิจเหล่านั้นรวมกันเพื่อเข้าจดทะเบียน หรือเรียกว่า เป็นการจัดโครงสร้างกลุ่มบริษัท นอกจากนี้ ในระดับโครงสร้างผู้ถือหุ้นในบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียน บริษัทยังสามารถจัดเป็นบริษัท Holding ของกลุ่มครอบครัวเพื่อถือหุ้นรวมกันในบริษัทที่จะนำเข้าจดทะเบียนเพื่อเป็นการควบคุมการออกเสียงในกลุ่มธุรกิจที่นำเข้าจดทะเบียนได้ไม่แตกต่างจากเดิม อันจะช่วยลดความกังวลของเจ้าของกิจการได้ ขณะเดียวกันก็มีโครงสร้างที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่จะเข้าจดทะเบียนได้

การมีระบบควบคุมภายในที่ดี มีความสำคัญในการได้รับอนุญาตเพื่อเสนอขายหุ้น IPO หรือไม่

ระบบควบคุมภายในถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญที่สำนักงาน ก.ล.ต. จะพิจารณาอนุญาตให้เสนอขายหุ้น IPO เนื่องจากระบบควบคุมภายในสะท้อนให้เห็นถึงการบริหารจัดการที่มี check and balance การแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ชัดเจน และการปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ ซึ่งจะทำให้บริษัทมีระบบงานและรายงานที่น่าเชื่อถือ โดยผู้ยื่นคำขอจะต้องมีระบบควบคุมภายในที่ดี ไม่มีข้อบกพร่อง หรือได้แก้ไขข้อบกพร่องตามที่ผู้ตรวจสอบภายในได้ให้ความเห็นแล้ว อีกทั้งจะต้องมีการแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ที่ชัดเจน (Segregation of Duty) และมีระบบ Check and Balance 

กรณีที่บริษัทมีหน่วยงานตรวจสอบและคณะกรรมการตรวจสอบซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทที่กำหนดอย่างเคร่งครัด การเตรียมความพร้อมจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จำเป็นต้องว่าจ้าง Internal Audit Outsource อีกหรือไม่

กรณีบริษัทมีหน่วยงานตรวจสอบภายใน (Internal Audit In house) บริษัทต้องประเมินผลด้วยความเป็นอิสระได้ว่าบริษัทมีระบบควบคุมภายในเพียงพอ เหมาะสม ไม่มีข้อบกพร่อง รวมถึงมีระบบ Check and Balance ที่ดี ซึ่งควรสอบทานประเด็นที่ต้องแก้ไขกับ Management Letter ของผู้สอบบัญชีด้วยว่าได้ปรับปรุงและแก้ไขแล้ว อย่างไรก็ดีบริษัทส่วนใหญ่มักยังไม่มีหน่วยงานตรวจสอบภายในที่ปฏิบัติงานแบบเต็มรูปแบบ จึงจำเป็นต้องว่าจ้าง Internal Audit Outsource ในระหว่างเตรียมตัวเข้าจดทะเบียน

การเตรียมระบบบัญชี ควรทำอย่างไร

หากบริษัทยังไม่มีมาตรฐานในด้านการจัดทำงบการเงิน ควรเริ่มจากการวางระบบบัญชีที่ถูกต้องก่อน โดยแต่งตั้งผู้สอบบัญชีที่สำนักงาน ก.ล.ต.ให้ความเห็นชอบ เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับระบบบัญชีของบริษัท อีกทั้งเริ่มจัดทำงบรายไตรมาส และงบการเงินของบริษัท และบริษัทย่อย (ถ้ามี) โดยงบการเงินของบริษัทต้องได้รับการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีที่สำนักงาน ก.ล.ต. เห็นชอบอย่างน้อย 1 ปี ก่อนยื่นคำขออนุญาต

กรณียื่นคำขอโดยใช้งบการเงินปี 2566 เป็นต้นไป จะต้องจัดทำงบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบและเป็นไปตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน PAE ตามเกณฑ์ 3 ปีย้อนหลัง ดังนั้น อาจทำให้ต้องใช้ระยะเวลาในการเตรียมการเรื่องระบบบัญชีมากขึ้น

ทำไมบริษัทต้องมีกรรมการอิสระ (Independent Director : ID) และกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee : AC)

คณะกรรมการบริษัทได้รับแต่งตั้งจากผู้ถือหุ้น โดยมีหน้าที่กำหนดนโยบายและทิศทาง รวมทั้งดูแลให้การดำเนินงานของบริษัทเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้น การที่กำหนดให้มีกรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ ซึ่งเป็นกรรมการที่ไม่มีส่วนร่วมในการบริหาร เป็นหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยสำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้โครงสร้างคณะกรรมการมีการตรวจสอบ ถ่วงดุล การปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการที่มีส่วนร่วมในการบริหาร

หน้าที่ของกรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ

หน้าที่ของกรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ จะคล้ายคลึงกัน ซึ่งกรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบจะมีหน้าที่คล้ายกับเป็นตัวแทนของผู้ถือหุ้นรายย่อย เพื่อที่จะดูแล รวมถึงให้ความเห็นกับคณะกรรมการบริษัท รวมถึงผู้บริหารของบริษัทในการทำรายการที่มีนัยสำคัญต่อบริษัท โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้น รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับบริษัททุกฝ่าย โดยมีรายละเอียดหน้าที่ของกรรมการตรวจสอบ ได้ที่นี่

เหตุใดบริษัทผู้ยื่นคำขอเข้าจดทะเบียนต้องจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)

ตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีข้อกำหนดให้บริษัทต้องมีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมการดูแลพนักงานซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญของบริษัท ถือเป็นสวัสดิการให้กับพนักงานอันแสดงถึงการมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance)

ค่าใช้จ่ายในการเข้าจดทะเบียน มีอะไรบ้าง

ค่าใช้จ่ายสำหรับการเข้าจดทะเบียน ประกอบด้วยหลายส่วนด้วยกัน โดยค่าใช้จ่ายหลัก ๆ ได้แก่

  1. ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการยื่นคำขอ ทั้งต่อ สำนักงาน ก.ล.ต. และ ตลาดหลักทรัพย์ เช่น ค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอ ค่าธรรมเนียมแรกเข้า และค่าธรรมเนียมรายปี
  2. ค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้ตรวจสอบบัญชี ซึ่งทั้งสองรายจะต้องอยู่ในรายชื่อที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. นอกจากนี้ ยังมีผู้ประกอบวิชาชีพอิสระอื่นที่อาจต้องใช้บริการตามความจำเป็น  เช่น ที่ปรึกษากฎหมาย ผู้ตรวจสอบภายใน ผู้ประเมินค่าสินทรัพย์ เป็นต้น
  3. ค่ารับประกันการจำหน่ายหุ้น (Underwriting Fee) ซึ่งคิดเป็นร้อยละของมูลค่าเงินที่ระดมทุนได้
  4. ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงคุณภาพของบริษัทให้เป็นไปตามมาตรฐาน เช่น การวางระบบบัญชี  ระบบข้อมูล และการพัฒนาหรือสรรหาบุคลากรเพิ่ม เป็นต้น

ถ้าเจอปัญหาขณะเตรียมตัว จะสามารถแก้ไขได้หรือไม่

ทีมงาน Relationship Manager (RM) ของ ตลท. พร้อมที่จะให้คำแนะนำ (Early Consultation) กับบริษัทและ FA เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการยื่นขอจดทะเบียน โดยอาจจะมีการนัดหารือกับทีมของสำนักงาน ก.ล.ต. ในกรณีที่มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการขออนุญาตเสนอขายหุ้น IPO อย่างไรก็ตามบางประเด็นอาจต้องใช้ระยะเวลาในการแก้ไข เช่น โครงสร้างการเข้าจดทะเบียนยังมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อยู่ (Conflict of Interest) ความไม่พร้อมของการจัดทำบัญชี และระบบควบคุมภายใน เป็นต้น

สำหรับบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กแล้ว เงินที่ระดมทุนได้จากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) จะคุ้มกับค่าใช้จ่ายในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) หรือไม่

ในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) นั้น บริษัทควรจะต้องมีแผนการขยายธุรกิจในอนาคต ที่จะต้องมีการใช้เงินในระยะกลางถึงระยะยาว ซึ่งหากบริษัทมีการวางแผนการระดมทุนในจำนวนเงินที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา ให้สอดคล้องกับแผนการขยายกิจการในอนาคตแล้ว จะทำให้บริษัทมีค่าใช้จ่ายจากการระดมทุนต่ำกว่าจำนวนดอกเบี้ยที่บริษัทต้องจ่ายให้กับสถาบันการเงินหากบริษัทกู้ยืมเงินในจำนวนที่เท่ากัน และบริษัท สามารถที่จะระดมทุนเพิ่มเติมได้ในภายหลังอีกให้สอดคล้องกับแผนการใช้เงินของบริษัท โดยบริษัทสามารถ ออกตราสารทางการเงินประเภทต่างๆ ตามสภาวะตลาดทุนในช่วงเวลาที่ต้องการใช้เงินนั้น เช่น หุ้นกู้ ใบสำคัญแสดงสิทธิ เป็นต้น

เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) มีขั้นตอนที่ยุ่งยากหรือไม่

ในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) นั้นมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากมากนัก บริษัทจะมีที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ช่วยในการเตรียมการต่างๆ แต่หากบริษัทอยากที่จะประหยัดค่าใช้จ่าย บริษัทก็สามารถเตรียมความพร้อมด้วยตนเองในเบื้องต้น ก่อนการจ้างที่ปรึกษาทางการเงินให้มาช่วยเตรียมการในขั้นตอนการยื่นคำขออนุญาต เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนกับสำนักงาน ก.ล.ต. และการยื่นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กับตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ดังนี้

  • เปลี่ยนผู้สอบบัญชีให้เป็นผู้สอบที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. ในงบการเงินปีล่าสุดก่อนปีที่ยื่นคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน
  • ปรับปรุงระบบบัญชีและการควบคุมภายใน เพื่อให้ได้มาตรฐาน
  • เตรียมการสรรหาบุคคลที่จะเข้ามาเป็นกรรมการอิสระหรือคณะกรรมการตรวจสอบ รวมถึงประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน (CFO)
  • จัดเตรียมเอกสารภายในบริษัทให้เป็นหมวดหมู่เพื่อสะดวกต่อการให้ที่ปรึกษาทางการเงินเข้ามาศึกษาข้อมูล ในการเตรียมยื่นคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนกับสำนักงาน ก.ล.ต. และการยื่นเข้าจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)

หลังจากนั้น บริษัทจึงทำการคัดเลือกและแต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อช่วยในการจัดโครงสร้างบริษัท โครงสร้างธุรกิจ โครงสร้างทุนและโครงสร้างผู้ถือหุ้น และจัดเตรียมข้อมูลในการยื่นคำขอ อนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนกับสำนักงาน ก.ล.ต. และการยื่นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) และในการขายหุ้นนั้น บริษัทจะมีผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่าย (Underwriter) มาช่วยในการจัดจำหน่ายหุ้นของบริษัทไปยังผู้ลงทุนได้อย่างกว้างขวาง ตามจำนวนที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด

นอกจากนี้ ในการยื่นคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนกับสำนักงาน ก.ล.ต. และการยื่นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) นั้น ก็มีขั้นตอนที่สะดวก คือ บริษัทสามารถยื่นคำขอต่อสำนักงาน ก.ล.ต. และ ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ได้พร้อมกัน

หากบริษัทดำเนินธุรกิจหลากหลายประเภท ควรจะยื่นคำขอเข้าจดทะเบียนภายใต้ กลุ่มอุตสาหกรรม (Industry Group) ใด

หากที่ปรึกษาทางการเงินยังไม่แน่ใจว่าได้เตรียมความพร้อมให้บริษัทครบถ้วนแล้วหรือไม่ หรือ การปรับแก้ไขประเด็นต่างๆ ทำถูกต้องแล้วหรือไม่ ควรทำอย่างไร

ทีมงานของ ตลท.และ ก.ล.ต. มีการทำงานในลักษณะ Partnership เพื่อให้เกิดความคล่องตัวต่อบริษัทที่ยื่นคำขอ ผ่านโครงการ One-Stop Services โดยเจ้าหน้าที่ RM (relationship manager) พร้อมที่จะประสานงานทั้ง ตลท.และ ก.ล.ต. เพื่อให้คำแนะนำ (Pre-Consultation) กับบริษัทและ FA เพื่อเตรียมความพร้อมให้บริษัทสามารถแก้ไขปัญหาสำคัญต่างๆ ให้เรียบร้อยก่อนยื่น Filing และยื่นขอเข้าจดทะเบียน โดย FA ต้องจัดทำ check list ประเด็นหารือ และแนวทางในการเสนอปรับแก้ในประเด็นดังกล่าวให้ครบถ้วนและนำส่ง เป็นการล่วงหน้าอย่างน้อย 5 วันทำการ เพื่อให้การหารือเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้หากมีประเด็นบัญชี สามารถให้ผู้สอบบัญชีเข้าร่วมหารือพร้อมกันในคราวเดียวกันได้

บริษัทต้องเตรียมเอกสารประกอบการยื่นคำขอ และต้องเปิดเผยข้อมูลอย่างไรบ้าง

สิ่งที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งในการเตรียมตัวก่อนยื่นคำขอ คือการเปิดเผยข้อมูลในเอกสารประกอบแบบคำขออย่างถูกต้อง และครบถ้วน ซึ่งสำนักงาน ก.ล.ต. มีการกำหนดรูปแบบของการเปิดเผยข้อมูลในเอกสารต่างๆ ไว้  โดยมีแนวทางการเปิดเผยในหัวข้อที่สำคัญในแบบ Filing เช่น รายการระหว่างกัน ดังนี้

  1. ให้เปิดเผยรายการที่ทำในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ ชื่อผู้ที่เกี่ยวข้อง และลักษณะความสัมพันธ์ ข้อมูลรายการที่เกิดขึ้น อธิบายลักษณะ มูลค่า ราคา/อัตราดอกเบี้ย เงื่อนไขการค้า ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ที่ถูกต้องรายการระหว่างกันของบริษัทจดทะเบียน ต้องแสดงได้ว่าเป็นราคาที่ยุติธรรม เป็นราคาตลาด อีกทั้งเงื่อนไขเป็นไปตามธุรกิจปกติ
  2. เปิดเผยถึงความจำเป็นและเหตุผลของการเข้าทำรายการและความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee)
  3. นโยบายหรือแนวโน้มการทำรายการในอนาคต ตลอดจนมาตรการในการดูแลรายการดังกล่าวที่เหมาะสม

คู่มือจัดทำแบบแสดงรายการข้อมูล แบบ 56-1 แบบ 69-1 ของสำนักงาน กลต.

แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องของสำนักงาน กลต.

ที่ปรึกษาทางการเงินจะต้องเตรียมการอย่างไร ภายหลังยื่นคำขอกับสำนักงาน ก.ล.ต. และ ตลท. แล้ว

ที่ปรึกษาทางการเงินต้องกำหนด time line สำหรับขั้นตอนสำคัญที่เกี่ยวข้องภายหลังการยื่นคำขอตามแนวทางที่กำหนด  โดยหารือกับสำนักงาน ก.ล.ต. และ ตลท. ล่วงหน้า เพื่อให้เป็นไปตามกรอบเวลาที่ตั้งใจไว้ ได้แก่ 

  • กำหนดการตรวจกระดาษทำการของผู้สอบบัญชี
  • กำหนดการตรวจกระดาษทำการของที่ปรึกษาทางการเงิน
  • กำหนดการสัมภาษณ์คณะกรรมการและเข้าเยี่ยมชมกิจการของบริษัทที่ยื่นคำขอ 
  • แผนการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนและการเข้าจดทะเบียน  เป็นต้น

บริษัทที่ยื่นคำขอจะต้องเตรียมการอย่างไร สำหรับการเข้าเยี่ยมชมกิจการของสำนักงาน ก.ล.ต. และ ตลท.

การเข้าเยี่ยมชมกิจการ เพื่อให้ทีมของสำนักงาน ก.ล.ต. และ ตลท. ได้เยี่ยมชมสถานที่จริงในการประกอบธุรกิจของบริษัท และได้พบปะ สอบถามเกี่ยวกับการดำเนินกิจการโดยตรงกับกรรมการและผู้บริหาร เพื่อให้มั่นใจว่าตรงตามข้อมูลที่ได้เปิดเผยไว้ โดยกรรมการและผู้บริหารจะมีการนำเสนอข้อมูลและตอบข้อซักถามเพื่อให้สำนักงาน ก.ล.ต. และ ตลท. เข้าใจธุรกิจให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น หากยังมีประเด็นข้อสงสัยในเรื่องใด บริษัทสามารถแสดงความคิดเห็น ตลอดจนข้อเสนอในการดำเนินการเพื่อให้ไม่มีประเด็นที่มีผลต่อการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นได้

บริษัทควรวางแผนการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนอย่างไร

หลังจากบริษัทได้รับการอนุมัติให้ขายหุ้นต่อประชาชนจาก สำนักงาน ก.ล.ต. แล้ว จะต้องนำหลักทรัพย์ออกขายให้กับประชาชนให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่สำนักงาน ก.ล.ต. แจ้งการอนุญาต และสามารถขออนุญาตขยายระยะเวลาได้อีก 6 เดือน โดยต้องส่งหนังสือ พร้อมเหตุผลให้กับ สำนักงาน ก.ล.ต. ไม่น้อยกว่า 30 วัน ก่อนครบกำหนด นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็กำหนดให้ผู้ยื่นคำขอต้องกระจายการถือหุ้นรายย่อยให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน และหากไม่สามารถเสนอขายได้ทันภายใน 6 เดือนก็สามารถขอขยายระยะเวลาการเสนอขายได้อีก 6 เดือน โดยต้องแจ้งขอผ่อนผันและชี้แจงเหตุผลเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนวันครบกำหนดเช่นเดียวกัน

บริษัทจะได้รับเงินระดมทุนอย่างไรจากการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป

หลังจากที่บริษัทได้รับอนุญาตให้ขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน จากสำนักงาน ก.ล.ต. แล้ว ต้องแต่งตั้งผู้รับประกันการจัดจำหน่ายเพื่อให้เป็นผู้ที่นำหุ้นสามัญเพิ่มทุนดังกล่าวเสนอขายให้กับผู้ลงทุนโดยทั่วไป โดยราคาขายที่ได้จะขึ้นอยู่กับผลประกอบการ และศักยภาพทางธุรกิจของบริษัท ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ราคาที่เสนอขายหุ้นต่อประชาชนครั้งแรก มักจะมีราคาที่สูงกว่าราคาพาร์ของหุ้นของบริษัท เช่น บริษัทเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน 100 ล้านหุ้น ซึ่งมีราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท แต่สามารถขายได้ในราคา IPO 3 บาทต่อหุ้น ดังนั้น บริษัทจะได้รับเงินระดมทุนเท่ากับ 300 ล้านบาท เป็นต้น

บริษัทต้องเตรียมการอย่างไรที่ผู้ถือหุ้นที่เข้าข่ายเป็น Strategic Shareholder ต้องห้ามขายหุ้น (Silent Period) เป็นระยะเวลา 1 ปี หลังหุ้นเข้าซื้อขายภายในตลาดหลักทรัพย์ฯ

บริษัทต้องพิจารณาว่าผู้ถือหุ้นรายใดที่เข้าข่ายเป็น Strategic Shareholder ตามเกณฑ์ที่ ตลท. กำหนดโดยให้ทำการตกลงกันภายในกลุ่มผู้ถือหุ้นดังกล่าวโดยจะแบ่งหุ้นมาในสัดส่วนคนละเท่าใดก็ได้ แต่รวมแล้วต้องให้ได้จำนวนหุ้นที่ห้ามขายคิดเป็น 55% ของทุนชำระแล้วหลัง IPO ทั้งนี้เมื่อครบ 6 เดือนหลังหุ้นเข้าซื้อขายสามารถทยอยขายหุ้นได้ 25% ของจำนวนหุ้นที่ถูกสั่งห้ามขาย

หน่วยงานที่ให้คำแนะนำในการเข้าจดทะเบียน

หากบริษัทต้องการสอบถามข้อมูลหรือขอรับคำปรึกษาในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะสามารถติดต่อหน่วยงานใดได้บ้าง

ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีทีมงานที่พร้อมให้คำแนะนำในการเตรียมความพร้อมแก่บริษัทที่สนใจเข้าจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยบริษัทสามารถติดต่อนัดวันและเวลาที่สะดวกเพื่อให้เจ้าหน้าที่ RM (Relationship Manager) เข้าพบเพื่อให้คำแนะนำปรึกษาได้ ตามรายละเอียดนี้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) มีบริการพิเศษอย่างไรบ้าง

ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) จะเน้นให้การสนับสนุนบริษัทจดทะเบียนในเรื่องการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ผ่านงานนักลงทุนสัมพันธ์ของบริษัทจดทะเบียนทุกบริษัท เพื่อให้นักลงทุนและประชาชนทราบข้อมูลของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้ราคาหุ้นของบริษัทจดทะเบียน สะท้อนผลการดำเนินงานและคุณภาพของบริษัทอย่างแท้จริง นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ยังสนับสนุนบริษัทจดทะเบียนโดยการให้สัมภาษณ์และเผยแพร่ข่าวบริษัทจดทะเบียน ผ่านสื่อต่างๆ ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) และสื่อพันธมิตรอีกด้วย

บริษัทต้องการข้อมูลหรือความช่วยเหลือในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) จะสามารถติดต่อหน่วยงานใดได้บ้าง

สำหรับบริษัทที่ต้องการข้อมูลหรือคำปรึกษาเกี่ยวกับการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) บริษัทสามารถ ติดต่อมาที่ฝ่ายผู้ออกหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ได้ที่ โทร. 02 009 9888 นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ RM (Relationship Manager) ยินดีที่จะเข้าไปให้คำปรึกษาแก่บริษัทที่สนใจ ถึงสถานที่ทำการของบริษัท โดยบริษัทสามารถนัดเวลาได้ที่เบอร์โทรศัพท์ดังกล่าว โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

หน้าที่ความรับผิดชอบของบริษัทภายหลังเข้าจดทะเบียน

ถ้าบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์นำเงินที่ได้จากการระดมทุนจากประชาชนไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆก่อน ซึ่งไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน จะถือว่ามีความผิดหรือไม่

หากเป็นการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์อย่างไม่เป็นนัยสำคัญ ให้กระทำได้โดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท และรายงานต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบในการประชุมผู้ถือหุ้นในครั้งถัดไป พร้อมรายละเอียด ตามประกาศ สจ. 63/2561 เรื่องการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงินตามแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน

และประกาศที่ ทจ.71/2561 เรื่อง รายการในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทที่มีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงินตามแบบ filing และร่างหนังสือชี้ชวน

ภายหลังจากเข้าจดทะเบียนแล้ว บริษัทมีหน้าที่อะไรบ้าง?

บริษัทยังต้องรักษาคุณสมบัติที่ดีของการเป็นบริษัทจดทะเบียนสืบเนื่องไป เช่น การมีระบบบัญชีที่ดี มีระบบการควบคุมภายในที่ดีและมีประสิทธิภาพ ไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ที่สำคัญที่สุดคือการเปิดเผยข้อมูลตามข้อกำหนดให้ครบถ้วน ถูกต้อง และทันเวลา ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้ทั้งบริษัทจดทะเบียนต้องดำรงคุณสมบัติการดำรงสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนตลอดระยะเวลาการเป็นบริษัทจดทะเบียน

สารสนเทศที่ต้องรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ มีเรื่องอะไรบ้าง

โดยหลักการแล้ว สารสนเทศที่ถือว่าสำคัญ คือ สารสนเทศที่มีผลกระทบต่อการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือสำคัญต่อการตัดสินใจลงทุน หรือมีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้น โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ

  1. สารสนเทศที่รายงานตามรอบระยะเวลาบัญชี (Periodic Reports) ได้แก่ งบการเงินรายไตรมาส
    งบการเงินประจำปี แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 56-1 (One Report) เป็นต้น
  2. สารสนเทศที่รายงานตามเหตุการณ์ (Non-Periodic Reports) ได้แก่ การได้มา/จำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ รายการที่เกี่ยวโยงกัน การร่วม/ยกเลิกการร่วมทุน การเพิ่มทุน/ลดทุน การออกหลักทรัพย์ใหม่ การซื้อหุ้นคืน   การจ่าย/ไม่จ่ายเงินปันผล เป็นต้น

ซึ่งเกณฑ์การรายงานเป็นไปตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการเกี่ยวกับการเปิดเผยสารสนเทศและการปฏิบัติการใดๆ ของบริษัทจดทะเบียน (บจ/ป 11-00)

โดยสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่นี่ ตลอดจนมีเจ้าหน้าที่ RM (Relationship Manager)ในการดูแลให้คำแนะนำเพื่อให้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

ค่าใช้จ่ายในการเข้าตลาดหลักทรัพย์ มีอะไรบ้าง

300,000 บาท ค่าธรรมเนียมการยื่นคำขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขั้นต่ำ 50,000 บาท ขั้นสูง 1,500,000 บาท.
ค่าธรรมเนียมรับประกันการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์คิดเป็นร้อยละของมูลค่าการระดมทุน.
ค่าจัดพิมพ์หนังสือชี้ชวนเสนอขายหุ้นสามัญ.
ค่าใช้จ่ายประชาสัมพันธ์ / การจัดกิจกรรม Road show..

ผู้ยื่นขอจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ต้องมีทุนชำระเท่าใด

จำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อย > 300 ราย อัตราส่วนการถือหุ้น ถือหุ้นรวมกัน > 25% ของทุนชำระแล้ว (หรือ > 20% หากทุนชำระแล้ว > 3,000 ล้านบาท) แต่ละรายต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่า 1 หน่วยการซื้อขายที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด

Mai ในตลาดหุ้นคืออะไร

MAI หรือย่อมาจาก Market for Alternative Investment เป็นตลาดหลักทรัพย์แห่งที่สองของประเทศไทย SET และ MAI ต่างทำหน้าที่เป็นตลาดทุนเหมือนกัน ช่วยให้บริษัทต่างๆระดมทุนเพิ่มเติมจากสาธารณะได้เหมือนกัน แต่…. SET และ MAI ยังคงมีความแตกต่างกันอยู่หลายอย่างที่เราควรทำความเข้าใจ

จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ ต้องทำยังไง

ยื่นคำขอเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ฯ / ยื่นคำขอเสนอขายหุ้น IPO ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เตรียมการเรื่องการเยี่ยมชมกิจการ และตอบข้อซักถามของตลาดหลักทรัพย์ฯ และ สำนักงาน ก.ล.ต. เสนอขายหุ้นแก่ประชาชน เริ่มซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita