เกรดเข้า ท ราน ส ค ริ ป. ราม

062-879-1212
เวลา 09:00 - 15:00 น.
ระบบคำนวนเกรดเกรดเฉลี่ย ม.ราม ออนไลน์

ข้อมูลการใช้งานจำนวน online 31 คนIP : 168.138.10.127สมาชิกล่าสุดคุณ พันธ์ฤทธิ์ xxxxxxxคณะ คณะรัฐศาสตร์วัน/เวลา 05 พฤศจิกายน 2565 23:36:52ภาพบรรยากาศการติว

ที่เป็นตารางกำหนดวันสำคัญต่างๆ ทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค เพื่อให้นักศึกษาใช้วางแผนการศึกษาได้ตลอดทั้งภาคการศึกษา โดยกำหนดการดังกล่าวประกอบด้วย

  • วันเริ่มบรรยาย(เปิดเทอม)
  • วันลงทะเบียน (ออนไลน์, ไปรษณีย์, ด้วยตนเอง)
  • วันลงทะเบียนสอบซ่อม
  • วันสอบระบบ e-Testing
  • วันบอกเลิก-บอกเพิ่มกระบวนวิชา
  • วันสอบซ่อม
  • วันสอบไล่
ดูปฏิทินการศึกษา ผ่านเว็บไซต์ของรอบรั้วรามฯ  คลิกที่นี่

นอกจากนี้ นักศึกษาดาวน์โหลดปฏิทินการศึกษาประจำภาคการศึกษานั้นๆ ได้จากเว็บไซต์ สำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล หรือ เว็บไซต์มหาวิทยาลัย ดังนี้
สวป.  //www.regis.ru.ac.th
รอบรั้วรามฯ //www.aroundram.com/yearplan/

ช่องทางการลงทะเบียนเรียน

ช่องทางการลงทะเบียนเรียน

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเปิดช่องทางการรับลงทะเบียนเรียนในทุกภาคการศึกษาปกติ และการลงทะเบียนสอบซ่อม คือ

  • เว็บไซต์ www.iregis2.ru.ac.th
  • แอปพลิเคชั่น RU-Regis (ส่วนกลาง) และ RU-Region (ส่วนภูมิภาค)
  • ไปรษณีย์
  • ลงทะเบียนเรียนที่มหาวิทยาลัย (งดการลงทะเบียนที่มหาวิทยาลัยเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19)

โดยแต่ละช่องทางมีกำหนดการเปิดระบบรับลงทะเบียนเรียนแตกต่างกัน ขอให้นักศึกษาตรวจสอบกำหนดวันลงทะเบียนเรียน/ลงทะเบียนสอบซ่อม ตามกำหนดการในปฏิทินการศึกษา

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น RU-Regis (ส่วนกลาง)

ระบบปฏิบัติการ iOS
ระบบปฏิบัติการ Android

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น RU-Region (ส่วนภูมิภาค)

ระบบปฏิบัติการ iOS
ระบบปฏิบัติการ Android

ใบเสร็จรับเงินลงทะเบียนเรียน

การพิมพ์ใบเสร็จรับเงินลงทะเบียนเรียน

นักศึกษาสามารถปริ้นท์(Print) ใบเสร็จรับเงินลงทะเบียนเรียน ทั้งฉบับจริง และฉบับสำเนาได้ด้วยตัวเองโดยไม่มีค่าใช้จ่าย จากระบบ e-Service ที่ //beta-e-service.ru.ac.th/ 

หมายเหตุ
  • ใบเสร็จฯฉบับจริง ที่ปริ้นท์จากระบบ e-Service กดปริ้นท์ได้ 1 ครั้งเท่านั้น
  • ใบเสร็จฯฉบับสำเนา กดปริ้นท์จากระบบ e-Service ได้ไม่เกิน 100 ครั้ง
  • หากไม่มีความจำเป็นต้องใช้ใบเสร็จฯฉบับจริง ไม่ต้องปริ้นท์ออกมา
  • เมื่อลงทะเบียนเรียนเสร็จแล้ว จะยังไม่สามารถปริ้นท์ใบเสร็จลงทะเบียนเรียนออกมาได้ในทันที  โดยมหาวิทยาลัยจะประกาศกำหนดวันที่สามารถเริ่มพิมพ์ใบเสร็จลงทะเบียนเรียนภายหลัง
การขอสำเนาใบเสร็จรับเงินลงทะเบียนเรียนที่มหาวิทยาลัย

ขอได้ที่ One Stop Service อาคารกงไกรลาศ(KLB) ชั้น 1 ม.รามฯ 1 หัวหมาก
เวลา 08.30-16.00 น. เปิดบริการวันจันทร์-ศุกร์ และวันหยุดที่มีการสอบ (ปิดบริการวันหยุดราชการ)

หมายเหตุ
  • การขอสำเนาใบเสร็จฯที่มหาวิทยาลัย มีค่าบริการฉบับละ 10 บาท
  • การขอสำเนาใบเสร็จฯที่มหาวิทยาลัย จะได้รับใบเสร็จฉบับสำเนาเท่านั้น (หากต้องการฉบับจริง ให้ปริ้นท์เองผ่านระบบ e-Service)

ลงทะเบียนเรียนผิดพลาด(อยากเพิ่ม/ลดวิชา)

ลงทะเบียนผิด แก้ไขโดยการ “บอกเลิก-บอกเพิ่ม”

หากนักศึกษาลงทะเบียนเรียนผิดพลาด สามารถทำการแก้ไขการลงทะเบียนเรียนได้ 1 ครั้ง โดยมหาวิทยาลัยจะกำหนดวันที่เปิดระบบให้ทำการ “บอกเลิก-บอกเพิ่มกระบวนวิชา” (ดูกำหนดการได้จากปฏิทินการศึกษา) โดยสามารถทำการสับเปลี่ยนกระบวนวิชาโดยมีหน่วยกิตเท่าเดิม หรือลงทะเบียนเรียนเพิ่มเติม(หน่วยกิตเพิ่มขึ้น)และชำระเงินค่าหน่วยกิตที่เพิ่มขึ้นด้วย

 กรณีที่สามารถทำการบอกเลิก-บอกเพิ่มได้
  • เดิมลงทะเบียนเรียนแล้ว 9 หน่วยกิต ประกอบด้วยวิชา A, B และ C วิชาละ 3 หน่วยกิต แต่ต้องการถอนวิชา C ออกไป(บอกเลิก) และสลับวิชา D เข้ามาแทน(บอกเพิ่ม) โดยคำนวณหน่วยกิตสุดท้ายแล้วเท่าคงเหลือเท่าเดิมคือ 9 หน่วยกิต
  • เดิมลงทะเบียนเรียนแล้ว 9 หน่วยกิต ประกอบด้วยวิชา A, B และ C วิชาละ 3 หน่วยกิต แต่ต้องการลงทะเบียนวิชา D เพิ่มเข้าไปอีก 3 หน่วยกิต โดยคำนวณหน่วยกิตสุดท้ายแล้วเป็น 12 หน่วยกิต (ชำระค่าหน่วยกิตเพิ่ม 3 หน่วยกิต)
 กรณีที่สามารถทำการบอกเลิก-บอกเพิ่มไม่ได้
  • เดิมลงทะเบียนเรียนแล้ว 9 หน่วยกิต ประกอบด้วยวิชา A, B และ C วิชาละ 3 หน่วยกิต แต่ต้องการถอนวิชา C ออกไปเฉยๆ(บอกเลิก) โดยไม่มีวิชาอื่นใดมาแทน
ช่องทางการบอกเลิก-บอกเพิ่มกระบวนวิชา
  • ดำเนินการผ่านระบบ e-Service ที่ //beta-e-service.ru.ac.th/  โดยทำตามขั้นตอน และรอเจ้าหน้าที่อนุมัติการขอแก้ไขวิชา อย่าลืมดูปฏิทินการศึกษาก่อนว่าเปิดให้บอกเลิก-เพิ่มเมื่อไหร่

ค่าลงทะเบียนเรียน (ป.ตรี ภาคปกติ ส่วนกลาง)

สูตรคำนวณค่าใช้จ่ายการลงทะเบียนเรียน

นักศึกษาภาคปกติ (ส่วนกลาง) รหัส 60 เป็นต้นไป

ภาค 1-2

ภาคฤดูร้อน

ลงทะเบียนสอบซ่อม

ขอขอบคุณข้อมูลจาก สวป. (//www.iregis2.ru.ac.th/regiscenter/fee.jsp)

ค่าลงทะเบียนเรียน (พรีดีกรี ส่วนกลาง)

สูตรคำนวณค่าใช้จ่ายการลงทะเบียนเรียน

นักศึกษาพรีดีกรี (ส่วนกลาง) รหัส 60 เป็นต้นไป

ภาค 1-2

ภาคฤดูร้อน

ลงทะเบียนสอบซ่อม

ขอขอบคุณข้อมูลจาก สวป. (//www.iregis2.ru.ac.th/regiscenter/fee.jsp)

ค่าลงทะเบียนเรียน (ป.ตรีภาคปกติ+พรีดีกรี ส่วนภูมิภาค)

สูตรคำนวณค่าใช้จ่ายการลงทะเบียนเรียน

*ค่าใช้จ่ายที่ปรากฎในตาราง ยังไม่รวมค่าธรรมเนียมการสอบ วิชาละ 60 บาท*

นักศึกษาภาคปกติ (ส่วนภูมิภาค) รหัส 60 เป็นต้นไป

นักศึกษาพรีดีกรี (ส่วนภูมิภาค) รหัส 60 เป็นต้นไป

ขอขอบคุณข้อมูลจาก สวป. (//www.iregis2.ru.ac.th/regiscenter/fee.jsp)

ค่าลงทะเบียนสอบซ่อม (ป.ตรี ภาคปกติ ทุกชั้นปี)

ขอขอบคุณข้อมูลจาก สวป. (//www.iregis2.ru.ac.th/regiscenter/fee.jsp)

ค่าลงทะเบียนสอบซ่อม (พรีดีกรี ทุกชั้นปี)

ขอขอบคุณข้อมูลจาก สวป. (//www.iregis2.ru.ac.th/regiscenter/fee.jsp)

ไม่ได้ลงทะเบียนเรียน ทำอย่างไร

ไม่ได้ลงทะเบียนเรียน ทำอย่างไร ?

หากนักศึกษาไม่ได้ลงทะเบียนเรียนเกิน 2 ภาคปกติ(ภาค 1-2) ไม่นับภาคฤดูร้อน จะทำให้ขาดสถานภาพการเป็นนักศึกษาอัตโนมัติ

ดังนั้น
  • หากขาดการลงทะเบียนเรียนเทอมนี้เพียงเทอมเดียว ให้รอลงทะเบียนเรียนเทอมต่อไปได้เลย นักศึกษายังมีสิทธิ์ลงทะเบียนเรียนเทอมต่อไปได้อยู่ โดยค่าบำรุงการศึกษาในเทอมที่ไม่ได้ลงทะเบียน จะถูกบวกรวมเข้ากับค่าลงทะเบียนเทอมหน้าอัตโนมัติ
  • หากขาดการลงทะเบียนเรียนเทอม 1-2 ครบ 2 ภาคปกติแล้ว ให้รอลงทะเบียนเรียนเทอมต่อไป มิเช่นนั้นจะขาดสถานภาพการเป็นนักศึกษา (หาดขาดสถานภาพการเป็นนักศึกษาแล้ว จะต้องสมัครเรียนใหม่)
  • สมมติ(1) ลงทะเบียนเรียนครั้งล่าสุดคือ ภาค 1/60 แล้วขาดลงทะเบียนเรียนภาค 2/60 และ ภาคฤดูร้อน/60 และ ภาค 1/61 รวมได้ 2 ภาคปกติ(นับเฉพาะภาค 1-2 ไม่นับภาคฤดูร้อน) และถ้าไม่มาลงทะเบียนเรียนเทอม 2/61 อีก ก็จะทำให้ขาดสถานภาพการเป็นนักศึกษาโดยอัตโนมัติ ดังนั้นให้มาลงเทอม 2/61 เพื่อคงสถานภาพฯต่อไป
  • สมมติ(2) ลงทะเบียนเรียนครั้งล่าสุดคือภาค 1/64 และลืมลงทะเบียนเรียนภาค 2/64 ก็ให้รอลงทะเบียนเรียนภาคฤดูร้อน/64 หรือรอลงทะเบียนเรียนภาค 1/65 ก็ได้

นักศึกษาสามารถตรวจสอบสถานภาพการเป็นนักศึกษาได้ที่ อาคาร สวป.

เทอมนี้เปิดสอนวิชาอะไรบ้าง (ตาราง ม.ร.30)

ตารางเรียน ม.ร.30

มหาวิทยาลัยจะทำตารางที่ระบุวิชาที่เปิดสอนในภาคเรียนนั้นๆให้นักศึกษาทราบก่อนเปิดให้ลงทะเบียนเรียนในทุกๆเทอม โดยตารางนี้เรียกว่า “ตาราง ม.ร.30” โดยสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ สวป.
คลิกที่นี่ 

การรีเกรด

การรีเกรด

การรีเกรด คือ การสอบวิชาที่เคยสอบผ่านไปแล้วใหม่อีกครั้ง โดยรีเกรดได้เฉพาะวิชาที่ได้ผลสอบ D หรือ D+ เท่านั้น โดยทำการลงทะเบียนเรียนวิชานั้น ๆ ใหม่อีกครั้ง ในภาคเรียนใดก็ได้ หากผลสอบแย่กว่าเก่า จะยึดผลสอบเดิม หากสอบได้ผลดีกว่าเก่าจะยึดผลสอบใหม่ โดยนับหน่วยกิตวิชานี้เพียงรอบเดียว

ตัวอย่าง
นายเอ สอบวิชา ENG1001 เมื่อภาค 1/64 ได้เกรด D+ แต่ไม่พอใจ ก็เลยนำวิชานี้ไปลงทะเบียนเรียนใหม่ในภาคฤดูร้อน/64 ปรากฏว่าสอบตก(ได้F) และลงทะเบียนสอบซ่อม และยังสอบตกอีก กรณีนี้นายเอ จะยังได้เกรด D+ เหมือนเดิม
ต่อมานายเอ นำวิชานี้ไปลงทะเบียนเรียนใหม่ในภาค 2/65 และสอบได้เกรด A กรณีนี้จะถือว่ารีเกรดสมบูรณ์แล้ว ในทรานสคริปต์จบการศึกษาจะบันทึกผลสอบวิชานี้ให้ได้เกรด A

วิธีลงทะเบียนเรียนรีเกรด
เลือกวิชาที่อยากรีเกรด โดยวิชานั้นต้องได้เกรด D หรือ D+ เท่านั้น เอาวิชานี้ไปลงทะเบียนเรียนใหม่ตามปกติเหมือนลงทะเบียนเรียนวิชาอื่นๆในเทอมไหนก็ได้(ลงทะเบียนเรียนใหม่นะ ไม่ใช่ลงทะเบียนสอบซ่อม) เข้าเรียนและเข้าสอบตามปกติ และรอผลสอบ
ไม่ต้องแจ้งมหาวิทยาลัยว่าเราจะรีเกรดวิชานี้ๆๆๆนะ ระบบจะรู้เองอัตโนมัติ และพอเรียนจบระบบจะเลือกเกรดที่ดีที่สุดที่รีเกรดให้เอง

งานทะเบียนนักศึกษา

การลาออกจากการเป็นนักศึกษา

>> อ่านวิธีการลาออกจากการเป็นนักศึกษาคลิกที่นี่ <<

การย้ายคณะ

>> อ่านวิธีการย้ายคณะ/เปลี่ยนสาขาวิชาคลิกที่นี่ <<

ตอนนี้ฉันขาดสถานภาพการเป็นนักศึกษาหรือยัง ?

การตรวจสอบสถานภาพด้วยตนเอง

          มหาวิทยาลัยกำหนดให้นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียน ภาคเรียนที่ 1 และ 2 ทุก ๆ ปีการศึกษา (ไม่บังคับลงทะเบียนเรียนภาคฤดูร้อน)  หากขาดการลงทะเบียนเรียนเกิน 2 ภาคปกติ(เฉพาะภาค 1 และภาค 2 เท่านั้น ไม่นับภาคฤดูร้อน) จะทำให้หมดสถานภาพการเป็นนักศึกษา 
ตัวอย่าง
(1) ลงทะเบียนเรียนครั้งล่าสุดคือภาค ฤดูร้อน/63
     ไม่ได้ลงทะเบียนเรียน 1/64 , 2/64 และ ภาคฤดูร้อน/64
     พบว่า  ไม่ได้ลงทะเบียนเรียนครบ 2 ภาคเรียนปกติ
      ✓ กรณีนี้ยังสามารถลงทะเบียนเรียนภาค 1/65 ได้ หากไม่ลงทะเบียนเรียนภาค 1/65 จะทำให้ขาดสถานภาพการเป็นนักศึกษาทันที
(2) ลงทะเบียนเรียนครั้งล่าสุดคือภาค ฤดูร้อน/63
     ไม่ได้ลงทะเบียนเรียน 1/64 , 2/64 , ภาคฤดูร้อน/64, ภาค 1/65
     พบว่า  ไม่ได้ลงทะเบียนเรียนเกิน 2 ภาคเรียนปกติแล้ว (ไม่ได้ลงทะเบียนเรียน 3 ภาคปกติ)
     ✘ กรณีนี้ทำให้ขาดสถานภาพการเป็นนักศึกษาไปแล้ว ทำให้ไม่สามารถลงทะเบียนเรียนได้อีก หากต้องการเรียนต่อ จะต้องสมัครเป็นนักศึกษาใหม่อีกครั้ง
(3) ลงทะเบียนเรียนครั้งล่าสุดคือภาค 1/64
     ไม่ได้ลงทะเบียนเรียน 2/64 
     พบว่า  ไม่ได้ลงทะเบียนเรียนเพียง 1 ภาคปกติ
✓ กรณีนี้สามารถลงทะเบียนเรียนภาคฤดูร้อน/64 ได้ หรือจะข้ามไปลงทะเบียนเรียนภาค 1/65 เลยก็ได้

การชำระค่ารักษาสถานภาพ

          หากนักศึกษาพบว่า ไม่ได้ลงทะเบียนเรียนเพราะลงทะเบียนเรียนตามกำหนดไม่ทัน สามารถชำระเงินค่ารักษาสถานภาพของภาคการศึกษาที่ไม่ได้ลงทะเบียนเรียนได้ โดยมหาวิทยาลัยจะเปิดระบบให้ “ชำระเงินค่ารักษาสถานภาพการเป็นนักศึกษา” ได้ตามกำหนดการ เมื่อชำระเงินแล้วนักศึกษาจะมีสถานภาพการเป็นนักศึกษาในภาคเรียนนั้น และเสมือนว่าไม่ได้ขาดการลงทะเบียนเรียน*
          หากนักศึกษาพบว่าลืม “ชำระเงินค่ารักษาสถานภาพการเป็นนักศึกษา” ตามกำหนดการที่มหาวิทยาลัยแจ้งไว้ และตรวจสอบแล้วว่ายังมีสิทธิ์ลงทะเบียนเรียนภาคเรียนถัดไปได้อยู่ สามารถรอลงทะเบียนเรียนภาคเรียนถัดไปได้เลย โดยค่ารักษาสถานภาพจะถูกเพิ่มเข้าไปกับการลงทะเบียนเรียนภาคเรียนถัดไปอัตโนมัติ

การนับปีการศึกษา

– นักศึกษาที่สมัครเรียนในหลักสูตร 4 ปี มีอายุสถานภาพนักศึกษา 8 ปีการศึกษา (24 ภาคการศึกษา)
– นักศึกษาที่สมัครเรียนในหลักสูตร 5 ปี มีอายุสถานภาพนักศึกษา 10 ปีการศึกษา (30 ภาคการศึกษา)
* ทั้งนี้ นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนอย่างต่อเนื่อง หรือขาดการลงทะเบียนเรียนไม่เกินที่กำหนด จึงจะยังคงสถานภาพได้ตามที่ระบุไว้ได้
ตัวอย่าง
– สมัครเรียนเมื่อ ภาค 1/2561 ในหลักสูตร 4 ปี หากลงทะเบียนเรียนอย่างต่อเนื่อง สามารถลงทะเบียนเรียนได้ถึงภาค ฤดูร้อน/2568 เป็นภาคเรียนสุดท้าย (รวม 24 ภาคการศึกษา)
– สมัครเรียนเมื่อ ภาค 2/2561 ในหลักสูตร 4 ปี หากลงทะเบียนเรียนอย่างต่อเนื่อง สามารถลงทะเบียนเรียนได้ถึงภาค 1/2569 เป็นภาคเรียนสุดท้าย (รวม 24 ภาคการศึกษา)

บัตรนักศึกษาหาย

ผู้ที่ทำบัตรนักศึกษาหาย(ส่วนกลาง)

หากนักศึกษาทราบว่าบัตรประจำตัวนักศึกษาหาย ให้รีบดำเนินการแจ้งอายัดบัตรเป็นอันดับแรก
บัตรนักศึกษาที่เป็นของธนาคารไทยพาณิชย์ แจ้ง Call Center 02-777-7777 (เมื่อแจ้งอายัดแล้วบัตรจะไม่สามารถใช้งานธุรกรรมของธนาคารได้อีก) จากนั้นให้ดำเนินการทำบัตรประจำตัวนักศึกษาใบใหม่กับทางมหาวิทยาลัย

หลักฐานที่ต้องใช้
  1. ใบแจ้งความ “บัตรประจำตัวนักศึกษาหาย” ขอได้ที่โรงพัก/สถานีตำรวจที่ใดก็ได้
  2. ใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมทำบัตรประจำตัวนักศึกษาใหม่ 100 บาท ชำระค่าธรรมเนียมได้ที่กองคลัง สำนักงานอธิการบดี ชั้น1 รามฯ1  (เวลาทำการกองคลัง 8:30-15:00น)
  3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
สถานที่

ติดต่อขอทำบัตรฯใหม่ได้ที่
ฝ่ายทะเบียนประวัติฯ อาคาร สวป. ชั้น2
ให้บริการวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08:30-16:00น.
(ปิดบริการวันหยุดราชการ)

หมายเหตุ
  • โปรดแต่งกายสุภาพ เสื้อมีปก เนื่องจากต้องถ่ายภาพทำบัตรใหม่
  • นักศึกษาจะยังไม่ได้รับบัตรใหม่ทันที ต้องรอประมาณ 30 วัน โดยจะได้รับ “ใบนัดรับบัตร” และ “แผ่น ม.ร.2” แนบติดกัน โดยใช้เอกสารทั้งสองใบนี้ แทนบัตรนักศึกษาชั่วคราวจนกว่าจะได้รับบัตรใหม่ (ใช้เป็นหลักฐานแทนบัตรจริงเพื่อเข้าห้องสอบได้)
  • นักศึกษาส่วนกลาง รับบัตรที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาม.รามคำแหง หัวหมาก (ตึก สวป.)

การแจ้งเปลี่ยนชื่อ-สกุล/ยศ/คำนำหน้าชื่อ

การแจ้งขอเปลี่ยนชื่อ, สกุล, คำนำหน้า, ยศ

นักศึกษาสามารถแจ้งขอเปลี่ยนชื่อ – สกุล, คำนำหน้านาม และชั้นยศ ได้โดยให้เตรียมเอกสารดังนี้

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบ
  1. สำเนาการเปลี่ยนชื่อ – สกุล, คำนำหน้านาม, ชั้นยศ จำนวน 2 ชุด
  2. สำเนาบัตรประชาชน จำนวน 2 ชุด
  3. ใบเสร็จค่าธรรมเนียมทำบัตรประจำตัวนักศึกษาใหม่ (ชำระเงินที่กองคลัง อาคารสำนักงานอธิการบดี ชั้น 1 จำนวน 100 บาท)
  4. กรณีสำเร็จการศึกษา ประสงค์เปลี่ยนชื่อ – สกุล, คำนำหน้านาม และชั้นยศ จะต้องขอเปลี่ยนชื่อ – สกุล, คำนำหน้านาม และชั้นยศ ก่อนแจ้งจบการศึกษาที่ฝ่ายทะเบียนคณะที่นักศึกษาสังกัด
    โดยชำระค่าธรรมเนียม 5 บาท ณ จุดบริการ ไม่ต้องทำบัตรประจำตัวนักศึกษาใหม่ ทั้งนี้ นักศึกษาต้องนำบัตรประจำตัวนักศึกษา และใบเสร็จรับเงินลงทะเบียนเรียน(ถ้ามี) ในภาคปัจจุบันมาด้วย พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน
สถานที่

ฝ่ายทะเบียนประวัตินักศึกษา
อาคารสำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล (อาคาร สวป.) ชั้น 2 ม.รามฯ1
เวลา 08.30-16.00 น.
เปิดบริการวันจันทร์ – ศุกร์ (ปิดบริการในวันหยุดราชการ)

ใบเสร็จลงทะเบียนเรียน

การพิมพ์ใบเสร็จรับเงินลงทะเบียนเรียน

นักศึกษาสามารถปริ้นท์(Print) ใบเสร็จรับเงินลงทะเบียนเรียน ทั้งฉบับจริง และฉบับสำเนาได้ด้วยตัวเองโดยไม่มีค่าใช้จ่าย จากระบบ e-Service ที่ //beta-e-service.ru.ac.th/  ตั้งแต่ภาค 1/2563 เป็นต้นไป

หมายเหตุ
  • ใบเสร็จฯฉบับจริง ที่ปริ้นท์จากระบบ e-Service กดปริ้นท์ได้ 1 ครั้งเท่านั้น
  • ใบเสร็จฯฉบับสำเนา กดปริ้นท์จากระบบ e-Service ได้ไม่เกิน 100 ครั้ง
  • หากไม่มีความจำเป็นต้องใช้ใบเสร็จฯฉบับจริง ไม่ต้องปริ้นท์ออกมา
  • เมื่อลงทะเบียนเรียนเสร็จแล้ว จะยังไม่สามารถปริ้นท์ใบเสร็จลงทะเบียนเรียนออกมาได้ในทันที  โดยมหาวิทยาลัยจะประกาศกำหนดวันที่สามารถเริ่มพิมพ์ใบเสร็จลงทะเบียนเรียนภายหลัง
การขอสำเนาใบเสร็จรับเงินลงทะเบียนเรียนที่มหาวิทยาลัย

ขอได้ที่ One Stop Service อาคารกงไกรลาศ(KLB) ชั้น 1 ม.รามฯ 1 หัวหมาก
เวลา 08.30-16.00 น. เปิดบริการวันจันทร์-ศุกร์ และวันหยุดที่มีการสอบ (ปิดบริการวันหยุดราชการ)

หมายเหตุ
  • การขอสำเนาใบเสร็จฯที่มหาวิทยาลัย มีค่าบริการฉบับละ 10 บาท
  • การขอสำเนาใบเสร็จฯที่มหาวิทยาลัย จะได้รับใบเสร็จฉบับสำเนาเท่านั้น (หากต้องการฉบับจริง ให้ปริ้นท์เองผ่านระบบ e-Service)

การขอใบเช็คเกรด/ทรานสคริปต์แบบยังไม่จบการศึกษา

(1) ใบตรวจสอบผลการศึกษา (Check Grade)

ตรวจสอบผลการศึกษา (Check Grade) ทุกรหัส
ดำเนินการขอได้ที่ One Stop Service อาคารกงไกรลาศ(KLB) ชั้น 1 ม.รามฯ 1 หัวหมาก
เวลา 08.30-16.00 น. เปิดบริการวันจันทร์-ศุกร์ และวันหยุดที่มีการสอบ (ปิดบริการวันหยุดราชการ)

ค่าธรรมเนียมการให้บริการ

– นักศึกษาภาคปกติ 40.- บาท
– นักศึกษาภาคพิเศษ 200.- บาท

(2) การขอใบรับรองผลไม่สำเร็จการศึกษา (Transcript)

นักศึกษาส่วนกลาง และนักศึกษาส่วนภูมิภาค (ภาคปกติ)
ดำเนินการด้วยตนเอง หรือผู้อื่นดำเนินการแทน

หลักฐานที่ต้องใช้

1. บัตรประจำตัวนักศึกษา
2. ค่าธรรมเนียม ภาษาไทยหรืออังกฤษ ภาษาละ 50 บาท (เลือกขอภาษาเดียวหรือทั้ง 2 ภาษาก็ได้)

สถานที่

นำหลักฐานทั้งหมด ไปติดต่อที่งาน  One Stop Service  อาคาร KLB (กงไกรลาศ)  ชั้น ๑  เปิดบริการวันจันทร์-ศุกร์  เวลา 08.30-16.00 น. (ปิดบริการวันหยุดราชการ)
*เปิดบริการในวันหยุดเฉพาะวันหยุดที่มีการสอบเท่านั้น

หนังสือรับรองการเป็นนักศึกษา

การขอหนังสือรับรองการเป็นนักศึกษา

– ใบรับรองการเป็นนักศึกษา  ค่าธรรมเนียม 50 บาท/ชุด
– ใบรับรองการเป็นนักศึกษาภาษาอังกฤษ  ค่าธรรมเนียม 50 บาท/ชุด

นักศึกษาส่วนกลางและนักศึกษาส่วนภูมิภาค  ยื่นด้วยตนเองหรือผู้ดำเนินการแทนใช้หลักฐาน ดังนี้

หลักฐานที่ต้องใช้

1. ใบเสร็จรับเงินลงทะเบียนภาคล่าสุด
2. บัตรประจำตัวนักศึกษา
3. ใบคำร้องที่กรอกเรียบร้อยแล้ว
4. รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว จำนวน 1 รูป (เฉพาะภาษาไทย)

ช่วงระยะเวลาที่ขอได้

ตลอดทั้งปี

สถานที่

นำหลักฐานทั้งหมด ไปติดต่อที่งาน  One Stop Service  อาคาร KLB (กงไกรลาศ)  ชั้น 1  เปิดบริการวันจันทร์-ศุกร์  เวลา 08.30-16.00 น. (ปิดบริการวันหยุดราชการ)
*เปิดบริการในวันหยุดเฉพาะวันหยุดที่มีการสอบเท่านั้น

ยื่นขอทางไปรษณีย์

ให้เตรียมหลักฐานต่อไปนี้
1.  สำเนาบัตรนักศึกษา (รับรองสำเนาถูกต้อง 1 ฉบับ)
2.  รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว  1 รูป
3.  ธนาณัติราคา 120 บาท (ค่าใบรับรอง 50 บาท  ค่าจัดส่ง 70 บาท)
สั่งจ่าย “หัวหน้าฝ่ายประมวลผลการศึกษาและหนังสือสำคัญ ปณ.รามคำแหง 10241”
4.  สำเนาใบเสร็จรับเงินการลงทะเบียนเรียนภาคปัจจุบัน
5. กระดาษเปล่าเขียนชื่อ-สกุล, หมายเลขโทรศัพท์เพื่อการติดต่อกลับ

นำหลักฐานทั้งหมดใส่ซองแล้วส่งมาที่

“หัวหน้าฝ่ายประมวลผลการศึกษาและหนังสือสำคัญ”
สำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล (สวป.)
มหาวิทยาลัยรามคำแหง  แขวงหัวหมาก  เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร ฯ 10240

การย้ายระบบการเรียนการสอน (ย้ายไป/มา ส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค)

คลิกอ่านรายละเอียดและกำหนดการ ประจำปีการศึกษา 2565 ได้ที่นี่ คลิก

การแจ้งจบการศึกษา

การแจ้งจบการศึกษา

เมื่อนักศึกษาตรวจสอบด้วยตนเองแล้วว่าเรียนครบหลักสูตรแล้ว(สอบผ่านทุกวิชาที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแล้ว) และผลสอบประกาศผลเรียบร้อยแล้ว ขอให้ติดต่อคณะที่สังกัด เพื่อแจ้งจบการศึกษา โดยแต่ละคณะมีรายละเอียดการขอแจ้งจบการศึกษาคล้ายคลึงกัน ขอให้นักศึกษาสอบถามรายละเอียดดังกล่าว(กำหนดวันแจ้งจบ, หลักฐานที่ต้องใช้) กับทางคณะโดยตรง

การสอบไล่

สอบเมื่อไหร่

มหาวิทยาลัยได้จัดทำ “ปฏิทินการศึกษา”

ที่เป็นตารางกำหนดวันสำคัญต่างๆ ทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค เพื่อให้นักศึกษาใช้วางแผนการศึกษาได้ตลอดทั้งภาคการศึกษา โดยกำหนดการดังกล่าวประกอบด้วย

  • วันเริ่มบรรยาย(เปิดเทอม)
  • วันลงทะเบียน (ออนไลน์, ไปรษณีย์, ด้วยตนเอง)
  • วันลงทะเบียนสอบซ่อม
  • วันสอบระบบ e-Testing
  • วันบอกเลิก-บอกเพิ่มกระบวนวิชา
  • วันสอบซ่อม
  • วันสอบไล่
ดูปฏิทินการศึกษา ผ่านเว็บไซต์ของรอบรั้วรามฯ  คลิกที่นี่

นอกจากนี้ นักศึกษาดาวน์โหลดปฏิทินการศึกษาประจำภาคการศึกษานั้นๆ ได้จากเว็บไซต์ สำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล หรือ เว็บไซต์มหาวิทยาลัย ดังนี้
สวป.  //www.regis.ru.ac.th/
รอบรั้วรามฯ //www.aroundram.com/yearplan/

หรือดูรายละเอียดได้จาก “ตารางสอบไล่รายบุคคล” ในหัวข้อถัดไป

วิชา…. สอบวันไหน ?

“ตาราง ม.ร.30”

ตาราง ม.ร.30 คือ ตารางที่มหาวิทยาลัยจะประกาศให้ทราบก่อนการลงทะเบียนเรียนทุกภาคการศึกษาเพื่อให้นักศึกษาใช้วางแผนการเรียน/การสอบ โดยจะระบุกระบวนวิชาที่นักศึกษาสามารถลงทะเบียนได้ในภาคนั้น ๆ แล้วยังมี วัน/เวลาสอบ ของแต่ละวิชาด้วย

ดาวน์โหลดตาราง ม.ร.30 ได้ที่
//www.regis.ru.ac.th/index.php/schedule/mr30_central

“ตารางสอบไล่รายบุคคล” คืออะไร

ตารางสอบไล่รายบุคคล

ตารางสอบไล่รายบุคคล คือ เอกสารที่ระบุรายละเอียดในการสอบแต่ภาคการศึกษา (ภาค 1, 2, ฤดูร้อน, สอบซ่อม) โดยมีรูปร่างลักษณะเหมือนกับตารางของภาพด้านล่างนี้ ซึ่งรายละเอียดในตารางสอบไล่รายบุคคลประกอบด้วย…

(1) รายละเอียดของนักศึกษา

ประกอบด้วยรหัสประจำตัวนักศึกษา และชื่อ-นามสกุล

(2) รายละเอียดการสอบ

ในตารางส่วนนี้ประกอบด้วยรายละเอียดการสอบของวิชาที่เราได้ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษานี้ ได้แก่รหัสวิชา
– วิชา
– วันที่สอบ
– เวลาสอบ
– สถานที่สอบ
– จำนวนข้อสอบปรนัย
– จำนวนข้อสอบอัตนัย
– เลขที่แถว
– เลขที่นั่ง
ให้นักศึกษาจดบันทึก พิมพ์ ปริ้นท์ ตารางสอบไล่รายบุคคลติดตัวไว้ในช่วงที่มีการสอบ

ดูตารางสอบไล่รายบุคคลได้ที่ไหน

มหาวิทยาลัยจะเริ่มประกาศตารางสอบไล่รายบุคคลให้นักศึกษาทราบ ก่อนการสอบในแต่ละภาคประมาณ 1 สัปดาห์
สมมติว่า สอบวันแรกวันที่ 7 ม.ค. ตารางสอบไล่ก็จะเริ่มดูได้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.)
ดูได้ผ่านระบบ e-Service  หรือที่หน้าเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยไม่มีการแจกตารางสอบไล่รายบุคคลรูปแบบกระดาษแล้ว นักศึกษาสามารถดูออนไลน์ผ่านระบบ e-Service แทน

หลักฐานที่ใช้เข้าห้องสอบ

หลักฐานที่ใช้ในการเข้าห้องสอบที่มหาวิทยาลัย(1) รายละเอียดของนักศึกษา

สิ่งที่ใช้แสดงตนในการเข้าห้องสอบ จำนวน 2 อย่าง ขาดไม่ได้ มีดังนี้

  1. บัตรประจำตัวนักศึกษา ฉบับจริง
  2. บัตรประจำตัวประชาชน ฉบับจริง
    (หรือใบอนุญาตขับขี่, บัตรประจำตัวข้าราชการ, บัตรที่ทางราชการออกให้)

ขาดสอบ

หากขาดสอบจะต้องทำอย่างไร

        หากนักศึกษาขาดสอบ (มาไม่ทันเวลาสอบ, ไม่ได้มาสอบ) จะได้ผลสอบในวิชานั้นเป็นเกรด F (สอบตก)  โดยนักศึกษายังมีโอกาสลงทะเบียนสอบซ่อมในวิชาดังกล่าวได้อีกครั้ง หรือหากไม่ต้องการสอบวิชานี้อีกแล้ว(ไม่ใช่วิชาบังคับ)ให้ปล่อยทิ้งไปได้เลย มหาวิทยาลัยจะไม่นำเกรด F มาคำนวณเกรดเฉลี่ย และเกรด F จะไม่ปรากฎในทรานสคริปท์ตอนจบการศึกษา

เมื่อไหร่จะประกาศผลสอบ

เมื่อไหร่มหาวิทยาลัยจะประกาศผลสอบ

มหาวิทยาลัยจะเริ่มประกาศผลการสอบ
หลังจาก 45 วัน นับจากวันสอบไล่วันสุดท้ายของภาคนั้นๆ เช่น

หากการสอบภาค 1 สอบเสร็จวันสุดท้ายคือวันที่ 1 พฤศจิกายน
ผลการสอบจะเริ่มประกาศให้ทราบประมาณวันที่ 15 ธันวาคม (นับประมาณได้ 45 วัน)
การประกาศก่อนหรือหลังนั้น ขึ้นอยู่กับการตรวจสอบและจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนสอบด้วย

ช่องทางการประกาศผลการสอบ
  1. ประกาศผลสอบที่ “บอร์ดประกาศผลสอบ” ที่ติดตั้งอยู่ที่บริเวณคณะต่างๆ(เฉพาะนักศึกษาส่วนกลางเท่านั้น)
  2. ประกาศผลสอบผ่านระบบ e-Service
โปรดทราบ
  • ผลสอบที่มีสัญลักษณ์ # กำกับอยู่ หมายถึง ผลสอบอย่างไม่เป็นทางการ
    ขอให้นักศึกษารอผลสอบอีกสักระยะ ให้เครื่องหมาย # หายไป จึงจะถือว่าเป็นผลสอบที่เป็นทางการ ได้รับการยืนยันแล้ว
  • การขอดูกระดาษคำตอบ หากนักศึกษาสงสัยในผลการสอบ ให้ติดต่อสอบถามเพื่อติดตามกับอาจารย์ผู้สอนของวิชานั้นๆโดยตรง

การสอบซ้ำซ้อน

การสอบซ้ำซ้อนคืออะไร

สอบซ้ำซ้อน คือ การทำข้อสอบหลายวิชาในคาบเดียวกัน โดยอนุญาตให้สอบซ้ำซ้อนได้เฉพาะนักศึกษาที่กากบาทขอจบการศึกษาเท่านั้น
สมมติว่า
– วิชา A  สอบวันที่  1 ม.ค. 2564 คาบ A
– วิชา B  สอบวันที่  1 ม.ค. 2564 คาบ A
ตรวจสอบแล้วว่าวิชา A และ B สอบวัน/เวลาเดียวกัน ถ้าเป็นกรณีปกติ นักศึกษาจะต้องเลือกสอบเพียงวิชาเดียวเท่านั้น แต่ถ้านักศึกษากากบาทขอจบการศึกษาในภาคเรียนนี้ และพบว่ามีวิชาที่วัน/เวลาสอบตรงกัน ให้แจ้ง “ขอสอบซ้ำซ้อน” เพื่อขอสอบวิชา A และ B พร้อมกันได้

คุณสมบัติผู้ที่สามารถขอสอบซ้ำซ้อนได้
  • เป็นผู้ยื่นความจำนงขอจบ(กากบาทขอจบในใบเสร็จลงทะเบียนเรียน) โดยมีหน่วยกิตที่หลือไม่เกิน 30 หน่วยกิตในภาคปกติและไม่เกิน 18 หน่วยกิตในภาคฤดูร้อน
  • กระบวนวิชาที่สอบซ้ำซ้อนต้องไม่เป็นวิชาที่เลือกกระบวนวิชาอื่นแทนได้
การยื่นขอสอบซ้ำซ้อน
  • ให้แจ้งขอสอบซ้ำซ้อนผ่านระบบ e-Service ตามกำหนดการ และรอผลการอนุมัติจากระบบ เมื่อผลสำเร็จแล้วจึงจะถือว่าขอสอบซ้ำซ้อนสมบูรณ์
  • หากนักศึกษาแจ้งข้อความเป็นเท็จ จะถือว่านักศึกษากระทำผิดวินัยมีโทษปรับตกทุกกระบวนวิชา และห้ามลงทะเบียนเรียนภาคปกติ
การจัดสอบและแจกข้อสอบ
  • ให้แต่ละคณะที่นักศึกษาสังกัดดำเนินการจัดสอบซ้ำซ้อนเอง ตามวัน เวลา และการสอบมหาวิทยาลัยกำหนด โดยเพิ่มเวลาสอบของทุกคาบการสอบซ้ำซ้อน เพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น
  • เมื่อเริ่มสอบให้แจกข้อสอบกระบวนวิชาแรกวิชาเดียว หลังจากการสอบผ่านพ้นไปแล้ว 1 ชั่วโมง  ให้แจกข้อสอบกระบวนวิชาที่สองและกระบวนวิชาที่สาม (ถ้ามี)
  • เมื่อหมดเวลาการสอบของกระบวนวิชาแรก ให้กรรมการคุมสอบเก็บกระดาษคำตอบกระบวนวิชาแรกทันที
  • ให้แต่ละคนที่ดำเนินการสอบซ้ำซ้อน รับและส่งข้อสอบกระดาษคำตอบทุกกระบวนวิชาที่กรรมการรับส่งข้อสอบเพียงแห่งเดียว

การสอบแบบ e-Testing

การสอบแบบ e-Testing คืออะไร

การสอบแบบ e-Testing คืออะไร

  • การสอบแบบ e-Testing เป็นการสอบรูปแบบหนึ่งของมหาวิทยาลัยรามคำแหง จัดสอบสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีภาคปกติ และนักศึกษาระบบพรีดีกรี ส่วนกลาง เปิดสอบเฉพาะภาค 1, 2 และภาคฤดูร้อน
  • นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนตามปกติเสียก่อน จึงจะมีสิทธิ์ลงทะเบียนขอสอบ e-Testing
  • สามารถลงทะเบียนขอสอบแบบ e-Testing ตามที่มหาวิทยาลัยเปิดให้สอบเท่านั้น
  • สามารถเลือก วันสอบ เวลาสอบ ได้ตามความสะดวก
  • เป็นการทำข้อสอบด้วยคอมพิวเตอร์ ในห้องสอบที่มหาวิทยาลัยจัดไว้ (ไม่ใช่การสอบที่บ้าน)
  • ข้อสอบเป็นแบบ ปรนัย(ตัวเลือก)เท่านั้น ไม่มีข้อสอบแบบอัตนัย(เขียนคำตอบ)
  • การสอบ e-Testing ใช้ระบบคลังข้อสอบหมุนเวียนสลับกัน จะลอกกันไม่ได้
  • เมื่อทำข้อสอบเสร็จ จะทราบผลการสอบในทันที
  • หากสอบ e-Testing ผ่าน ไม่ต้องเข้าสอบปลายภาคอีก(ห้ามเข้าสอบปลายภาค)
  • หากสอบ e-Testing ไม่ผ่าน ยังสามารถเข้าสอบปลายภาคได้อีกครั้ง
  • มหาวิทยาลัยไม่บังคับให้นักศึกษาต้องลงทะเบียนขอสอบ e-Testing (จะขอสอบ e-Testing หรือไม่ก็ได้)

ค่าธรรมเนียมการสอบ e-Testing

ค่าธรรมเนียมการขอสอบ e-Testing กระบวนวิชาละ 200 บาท

การสอบ e-Testing เลือกสอบเวลาใดได้บ้าง

เปิดให้สอบได้ทุกวัน จันทร์-อาทิตย์ โดยแบ่งเป็นคาบเวลาดังนี้

  • เลือกสอบวันจันทร์ – ศุกร์ เลือกสอบได้ 3 คาบเวลา คือ
    09.00-11.30น.
    12.00-14.30 น.
    15.00-17.30 น.
  • เลือกสอบวันเสาร์-อาทิตย์ เลือกสอบได้ 4 คาบเวลา คือ
    09.00-11.30น.
    12.00-14.30 น.
    15.00-17.30 น.
    18.00-20.30 น.

เปิดให้ลงทะเบียนขอสอบแบบ e-Testing เมื่อไหร่

ดูกำหนดการเปิดรับลงทะเบียนสอบ e-Testing ได้ที่
1. ปฏิทินการศึกษา คลิก
2. Facebook เพจ : E-Testing สวอ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ลงทะเบียนขอสอบ e-Testing อย่างไร

ต้องการลงทะเบียนขอสอบ e-Testing ต้องทำอย่างไร

  1. ลงทะเบียนเรียนในภาคปกติให้เรียบร้อยเสียก่อน
  2. ตรวจสอบวิชาที่เปิดให้สอบ e-Testing (หากมหาวิทยาลัยไม่เปิดให้สอบวิชา A ก็จะขอสอบ e-Testing ไม่ได้)
    ดูวิชาที่เปิดให้สอบ e-Testing  ได้ที่ www.facebook.com/RU.ETESTING
  3. ตรวจสอบกำหนดวันที่เปิดให้ลงทะเบียนสอบ e-Testing
    ดูกำหนดวันลงทะเบียนสอบ e-Testing ได้จากปฏิทินการศึกษา คลิก
  4. ลงทะเบียนขอสอบ e-Testing ผ่านระบบ e-Service
    คลิกที่เมนู “ลงทะเบียน E-Testing” ในระบบ e-Service คลิก
  5. ทำตามขั้นตอนการลงทะเบียน – ชำระเงิน – พิมพ์ใบเสร็จไว้เป็นหลักฐาน
  6. เข้าสอบตามวัน/เวลาที่เลือกไว้ โดยให้เตรียมหลักฐานเข้าห้องสอบคือ บัตรประจำตัวนักศึกษา ฉบับจริง + ใบเสร็จรับเงินลงทะเบียนเรียนภาคเรียนปกติ + ใบเสร็จรับเงินลงทะเบียนสอบ e-Testing

สอบถามข้อมูลการสอบ e-Testing ได้ที่

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

สถาบันบริการวิชาการทางอิเล็กทรอนิกส์ (สวอ.) มหาวิทยาลัยรามคำแหง  อาคารสุโขทัย ชั้น 10  โทร. 02-310-8790 (วันและเวลาราชการ)
Facebook : E-Testing สวอ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สำเร็จการศึกษาแล้ว

เรียนจบปี… จะได้รับปริญญาปี พ.ศ. ไหน ?

ตารางเทียบปีที่สำเร็จการศึกษา กับปีที่จะได้รับพระราชทานปริญญาบัตรได้ที่นี่

>>> คลิก <<<

ไทม์ไลน์การเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร

      ไม่ประสงค์เข้าร่วมพิธีพระราชทานปริญญาบัตร

      ต้องทำอย่างไร ?

      ผู้สำเร็จการศึกษาที่ไม่ประสงค์เข้าพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ให้ดำเนินการตามขั้นตอนการแจ้งจบการศึกษา การขึ้นทะเบียนบัณฑิต การขอเอกสารสำคัญ(ใบรับรอง, ทรานสคริปต์)ให้เสร็จสิ้น และสามารถนำหลักฐานที่ได้รับไปสมัครงาน หรือสมัครเรียนต่อได้เลย

      ผู้สำเร็จการศึกษาที่ไม่ประสงค์เข้าพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ไม่จำเป็นต้องแจ้งความประสงค์ให้มหาวิทยาลัยทราบ เพียงไม่ต้องเข้าร่วมกิจกรรมการซ้อมย่อย การซ้อมใหญ่ และไม่เข้าวันพิธี รายชื่อก็จะถูกนำออกจากรายชื่อผู้เข้าร่วมพิธีแล้ว

      จะได้รับใบปริญญายังไง/ตอนไหน ?

      ผู้สำเร็จการศึกษาที่ไม่ประสงค์เข้าพิธีพระราชทานปริญญาบัตร สามารถเข้ารับใบปริญญาด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจรับแทน ได้ที่ ฝ่ายหนังสือสำคัญ อาคาร สวป. ชั้น 1 หรือยื่นคำร้องให้จัดส่งทางไปรษณีย์​ หลังจากที่ผ่านพ้นพิธีพระราชทานปริญญาบัตรไปแล้วประมาณ 1 เดือน โดยดูขั้นตอนและรายละเอียดที่นี่ คลิก

      ทรานสคริปต์สำเร็จการศึกษา

      การขอใบรับรองผลสำเร็จการศึกษา (Transcript)

      สามารถดำเนินการขอใบรับรองผลสำเร็จการศึกษาได้ 2 กรณีคือ ด้วยตนเองหรือผู้ดำเนินการแทน และทางไปรษณีย์

      ดำเนินการด้วยตนเอง หรือผู้ดำเนินการแทน
      1. ชำระค่าธรรมเนียม ภาษาอังกฤษ ชุดละ 100 บาท หรือภาษาไทย ชุดละ 100 บาท หรือทั้ง 2 แบบ 200 บาท ที่กองคลัง  อาคารสำนักงานอธิการบดี  ชั้น 1
        (รหัส 2514-2525 มีเฉพาะภาษาอังกฤษและต้องแนบรูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว สีหรือขาวดำจำนวน 1 รูปเป็นรูปสวมชุดครุย)
      2. นำใบเสร็จค่าธรรมเนียมไปติดต่อที่ ฝ่ายประมวลผลการศึกษาและหนังสือสำคัญ  อาคาร สวป. ชั้น 1  ช่อง 5  มหาวิทยาลัยรามคำแหง  แขวงหัวหมาก  เขตบางกะปิ  กรุงเทพมหานคร ฯ 10240
      ดำเนินการทางไปรษณีย์
      1. ส่งค่าธรรมเนียมเป็นธนาณัติไปรษณีย์ ภาษาไทย ชุดละ 100 บาท หรือภาษาอังกฤษ ชุดละ 100 บาท หรือทั้ง 2 แบบ 200 บาท  สั่งจ่ายในนาม “หัวหน้าฝ่ายประมวลผลการศึกษาและหนังสือสำคัญ”
        (รหัส 2514-2525  มีเฉพาะภาษาอังกฤษและต้องแนบรูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว สีหรือขาวดำจำนวน 1 รูปเป็นรูปสวมชุดครุย)
      2. เขียนรายละเอียดต่อนี้ลงในกระดาษ  ชื่อ  นามสกุล  รหัสประจำตัวนักศึกษา  คณะ  สาขาวิชา  ระบุการขอรับเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ หรือทั้ง 2 แบบ,  ที่อยู่ที่รับเอกสารส่งกลับ,  ที่อยู่ปัจจุบันที่สามารถติดต่อได้, เบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้อย่างรวดเร็ว
      3. ส่งเอกสารทั้งหมดไปที่
        หัวหน้าฝ่ายประมวลผลการศึกษาและหนังสือสำคัญ
        สำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล  มหาวิทยาลัยรามคำแหง  แขวงหัวหมาก  เขตบางกะปิ  กรุงเทพมหานคร ฯ 10240

      ใบรับรองสภาฯ

      การขอใบรับรองสภา ฯ

      นักศึกษาส่วนกลางและนักศึกษาส่วนภูมิภาค
      ดำเนินการด้วยตนเอง หรือให้ผู้อื่นดำเนินการแทน โดยนำหลักฐานดังนี้ไปติดต่อ

      1. ใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียม 20 บาท (ชำระเงินที่กองคลัง สำนักงานอธิการบดี)
      2. รูปถ่ายสีหรือขาวดำ  สวมชุดครุยมหาวิทยาลัย ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 1 รูป (ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน)
      3. สำเนาบัตรประจำตัวนักศึกษา  1 ฉบับ
      4. ในกรณีให้ผู้อื่นดำเนินการแทน เมื่อมารับใบรับรองสภา ฯ ให้นำใบมอบฉันทะ (แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนทั้งของผู้ยื่นขอ และผู้รับมอบ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง) และใบนัดให้มารับใบรับรอง ฯ
      5. ให้นำหลักฐาน ข้อ 1 ถึงข้อ 4 ไปติดต่อที่
        ฝ่ายประมวลผลการศึกษาและหนังสือสำคัญ
        อาคารสำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล (สวป.) ชั้น 1  ช่อง 4
        มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก
        ในวันเวลาราชการ
      นักศึกษาที่มีความประสงค์จะขอใบรับรองสภา ฯ ทางไปรษณีย์ ให้ส่งเอกสารดังต่อไปนี้
      1. ธนาณัติราคา 70 บาท ในกรณีได้ชำระค่าขึ้นทะเบียนบัณฑิตแล้ว  (ค่าใบรับรองสภา ฯ 100 บาท,  ค่าจัดส่ง  50 บาท)  ถ้ายังไม่ได้ชำระค่าขึ้นทะเบียนบัณฑิตให้ส่งธนาณัติราคา 1,150 บาท (ค่าขึ้นทะเบียนบัณฑิต 1,000 บาท, ค่าใบรับรองสภาฯ 100 บาท, ค่าจัดส่ง 50 บาท) สั่งจ่ายในนาม “หัวหน้าฝ่ายประมวลผลการศึกษาและหนังสือสำคัญ”
      2. รูปถ่ายสีหรือขาวดำ  สวมชุดครุยมหาวิทยาลัย ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 1 รูป (ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน)  ห้ามใช้รูปโพลารอยด์ หรือรูปที่ Scan ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือรูปตัดต่
      3. สำเนาบัตรประจำตัวนักศึกษา รับรองสำเนาถูกต้อง
      4. เขียนชื่อ  นามสกุล  ชื่อปริญญา คณะ ภาค/ปีการศึกษาที่จบ
      5. เขียนชื่อ นามสกุล ที่อยู่ที่ส่งกลับให้ชัดเจน
      6. ใบเสร็จค่าขึ้นทะเบียนบัณฑิต

        ส่งเอกสารไปที่
        หัวหน้าฝ่ายประมวลผลการศึกษาและหนังสือสำคัญ  สำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล  มหาวิทยาลัยรามคำแหง
        แขวงหัวหมาก  เขตบางกะปิ  กรุงเทพมหานคร ฯ 10240  (โทร. 02-310-8629)

      หมายเหตุ         การยื่นขอใบรับรองสภาฯ ทั้งด้วยตนเองและทางไปรษณีย์ นักศึกษาต้องมีรายชื่อที่สภาฯอนุมัติปริญญาแล้ว

      เรียนจบแล้ว อยากเรียนต่ออีกปริญญา

      ผู้สำเร็จการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหง สามารถสมัครเป็นนักศึกษาใหม่และเทียบโอนหน่วยกิตจากปริญญาใบแรก เพื่อเรียนต่ออีกปริญญาได้ ดูจำนวนหน่วยกิตที่สามารถเทียบโอนได้จากระเบียบการรับสมัคร คลิก

      ขอคำปรึกษาการเรียน

      สถานที่ขอรับคำปรึกษาการเรียน

      นักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ และนักศึกษาพรีดีกรี สามารถขอรับคำปรึกษา ขอคำแนะนำ เกี่ยวกับระบบการเรียนได้ ดังนี้

      เกรดเข้าทรานสคริปกี่วัน ราม

      รายละเอียด นักศึกษาสามารถขอใบแสดงผลการเรียนได้หลังจากสิ้นสุดการสอบประมาณ45วัน(รอเกรดเข้าระบบอย่างเป็นทางการ)ซึ่งสามารถรอรับเอกสารได้ทันทีครับ เอกสารแนบ

      ทรานสคริป ราม คือ อะไร

      ทรานสคริปท์ คือ ใบรายงานผล ฉบับสมบูรณ์ ออกให้เฉพาะผู้สำเร็จการศึกษาและขึ้นทะเบียนบัณฑิตแล้วเท่านั้น

      รามมีกี่เกรด

      เป็นระบบ 8 เกรด คือ A B+ B C+ C D+ D และ F (ตามข้อ 16. ของข้อบังคับมหาวิทยาลัยรามคำแหง ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555) ดีมาก (Very good) (Good) ปานกลาง ก PACE.

      รามให้เกรดยังไง

      C+=Fairly Good 2.50 (ปานกลาง), C=Fair 2.00 (พอใช้), D+=Very Poor 1.50 (อ่อน), D=Poor 1.00 (อ่อนมาก) และ

      Toplist

      โพสต์ล่าสุด

      แท็ก

      flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita