ความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ

อายุรกรรมโรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม (Endocrinology and Metabolism)

        ให้การตรวจรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของต่อมไร้ท่อหรือฮอร์โมนต่าง ๆ เช่น โรคของต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต ต่อมใต้สมองทำงานบกพร่อง ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ ภาวะเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย เบาหวาน โรคอ้วน โรคเกี่ยวกับความสูง ความผิดปกติของแคลเซียมและโรคกระดูกพรุน ฯลฯ
       

        สอบถามรายละเอียด  โทร. 053-921777 ต่อ 1111

       

 ตารางแพทย์ออกตรวจ แผนกอายุรกรรม

        หมายเหตุ : วันและเวลาทำการ อาจมีการเปลี่ยนแปลง
                             เพื่อทราบข้อมูลที่ถูกต้อง กรุณาตรวจเช็คข้อมูลกับทางโรงพยาบาลก่อนเข้ารับบริการ
                             ที่หมายเลขโทรศัพท์  053-921777

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง :
โรคเบาหวาน
โรคไทรอยด์ชนิดผอม ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ
โรคไทรอยด์ชนิดอ้วน ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์

ไทรอยด์ คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ โดยต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน เพื่อควบคุมระบบการเผาผลาญของร่างกาย ซึ่งหากต่อมไร้ท่อทำงานผิดปกติ ผลิตฮอร์โมนมากเกินไปหรือต่ำเกินไป ก็จะส่งผลกระทบต่อระบบการเผาผลาญของร่างกายได้ รวมถึงส่งผลต่อการกระตุ้นการทำงานของอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะหัวใจและสมอง รวมถึงส่งผลต่อความแข็งแรงของผิวหนัง เล็บ และเส้นผมได้เช่นกัน โดยอาการของโรคไทรอยด์ในแต่ละคนมีอาการแสดงได้หลายรูปแบบโดยขึ้นอยู่กับชนิดความผิดปกติของต่อมไทรอยด์

ความผิดปกติของไทรอยด์ สามารถแบ่งได้ ดังนี้

  1. ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism) หรือไทรอยด์เป็นพิษ
    เป็นภาวะที่ฮอร์โมนหลั่งออกมามากเกินความจำเป็น อาการที่พบบ่อย เช่น ผอมลงทั้งที่รับประทานเยอะ หัวใจเต้นเร็วและแรง มือสั่นใจสั่น หงุดหงิดง่าย เหงื่อออกง่าย ทนอากาศร้อนไม่ค่อยได้ นอนไม่หลับ ตาโปน ผมร่วง
  2. ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน หรือ ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ (Hypothyroidism)
    อาการไทรอยด์ต่ำ หรือที่เรียกกันว่า “ไฮโปไทรอยด์” ร่างกายมีภาวะต่อมไทรอยด์ที่ทำงานต่ำกว่าปกติ ผู้ป่วยมักมีอาการตรงข้ามกับภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน เช่น ไม่ค่อยเผาผลาญ อ้วนขึ้นง่าย น้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว เฉื่อยชา ง่วงบ่อย
  3. ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
    เป็นภาวะที่ฮอร์โมนหลั่งออกมาตามปกติ แต่เกิดความผิดปกติที่ต่อมไทรอยด์ และอาจส่งผลกระทบต่อการหลั่งปริมาณของฮอร์โมนได้เช่นกัน ในกรณีที่ตรวจวินิจฉัยพบก้อนที่ต่อมไทรอยด์  อาจไม่ใช่มะเร็งเสมอไป โดยพบว่ามีเพียง 5% เท่านั้นที่ตรวจพบว่าเป็นมะเร็ง

คุณมีอาการไทรอยด์ ผิดปกติหรือไม่!?

หากคุณมีอาการเหล่านี้ ร่างกายกำลังบ่งบอกว่าต่อมไทรอยด์ของคุณมีความผิดปกติ

  • อ้วนขึ้น หรือผอมลงอย่างผิดปกติ
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น
  • เหงื่อออกง่าย
  • นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย
  • หิวบ่อย น้ำหนักลดแม้รับประทานมาก
  • สมาธิสั้น เครียด นอนไม่หลับ
  • ถ่ายอุจจาระบ่อยขึ้นวันละ 2-3 ครั้ง

ภาวะไทรอยด์ผิดปกติมีหลายประเภท และหากสังเกตถึงความผิดปกติ หรือมีอาการข้างต้น ควรปรึกษาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย และค้นหาความเสี่ยงของโรคต่อมไทรอยด์ เพราะหากไม่ได้รับการรักษาอาจมีผลเสียต่อร่างกาย จนเกิดภาวะแทรกซ้อน และนำไปสู่การเสียชีวิตได้

         จากวัยเด็กจนถึงวัยรุ่นเป็นวัยที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงตลอด ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในทางที่ถูกต้องหรือผิดปกติ วิธีที่จะทราบถึงการเปลี่ยนแปลงว่าไปในทิศทางใด นอกจากการสังเกตของพ่อแม่ผู้ปกครองแล้ว การพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจเช็คสุขภาพและร่างกายเด็กอยู่เสมอ จะช่วยให้เมื่อเกิดความผิดปกติสามารถรับรู้และเข้าสู่กระบวนการรักษาได้อย่างทันทีท่วงทีเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการทางร่างกายและพัฒนาการทางสมองเป็นปกติ

โรคต่อมไร้ท่อในเด็กมีอะไรบ้าง...? เด็กกินจุ แต่น้ำหนักลด อาการหนึ่งของ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Thyrotoxicosis) ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน เป็นหนุ่มสาวก่อนวัย (Precorcious puberty) เบาหวานชนิดที่ 1 เบาหวานชนิดที่ 2 ตัวเตี้ย ดูเกณฑ์จากอะไร และ มีสาเหตุจากอะไรได้บ้าง

เด็กกินจุ แต่น้ำหนักลด อาการหนึ่งของ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Thyrotoxicosis)

อาการ

คอโต เหนื่อยง่าย ใจสั่น กินจุแต่น้ำหนักลด บางรายท้องเสีย ถ่ายบ่อย หงุดหงิดง่าย ขี้ร้อน ใจสั่น เหงื่อออกง่าย ตาโปน ประจำเดือนมาผิดปกติ พบบ่อยช่วงวัยรุ่น เด็กผู้หญิงเจอมากกว่าเด็กผู้ชาย

สาเหตุ

ที่พบได้บ่อย คือโรค Graves disease

การรักษา

ลำดับแรกคือการรักษาด้วยยากิน บางรายใช้ยากินแล้วไม่ตอบสนองหรือมีอาการแพ้ยา อาจต้องเลือกการรักษาด้วยวิธีอื่น เช่น การกลืนแร่ หรือการผ่าตัด

ภาวะนี้หากไม่ได้รับการรักษา หรือรับการรักษาช้า อาจทำให้มีอาการรุนแรง ถึงขั้นหัวใจวาย หัวใจเต้นผิดปกติ ต้องเข้ารับการรักษาใน ICU ได้

ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน (Hypothyroidism)

เป็นภาวะที่พบได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิด ทำให้เด็กเป็นโรคเอ๋อ หรือเป็นภาวะที่เกิดขึ้นในภายหลังก็ได้ คือพบได้ทุกวัย

  • ในเด็กแรกเกิด อาจพบมีอาการตัวเหลือง บวม ดูดนมได้ไม่ดี ท้องผูก ถ่ายขี้เทาช้ากว่าปกติ กระหม่อมปิดช้า สะดือหลุดช้า พัฒนาการล่าช้าทั้งสติปัญญาความสูง และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  • ในเด็กโต จะพบอาการ ส่วนสูงตกเกณฑ์ ท้องผูก คอโต สติปัญญาไม่ดี เรียนหนังสือไม่ทันเพื่อน
    การรักษา รักษาได้ด้วยการกินยาไทรอยด์ฮอร์โมน ก็จะช่วยอาการดีขึ้น ส่วนสูงดีขึ้น

เป็นหนุ่มสาวก่อนวัย (Precorcious puberty)

เด็กผู้หญิง

ที่เป็นสาวเร็ว จะพบมีอาการดังต่อไปนี้ก่อนอายุ 8 ปี มีเต้านมขึ้น มีสิว มีกลิ่นตัว มีขนรักแร้ มีขนบริเวณหัวหน่าวหรืออวัยวะเพศ ตัวสูงเร็วกว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน หรือบางคนมีประจำเดือนก่อนอายุ 91/2 ปี

สาเหตุ

ที่พบบ่อยในเด็กผู้หญิงคือไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด หรือบางรายได้รับฮอร์โมนปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อมหรืออาหาร บางรายเกิดจากภาวะเนื้องอกบางชนิด

เด็กผู้ชาย

ที่เป็นหนุ่มเร็ว จะพบมีอาการดังต่อไปนี้ก่อนอายุ 9 ปี มีอวัยวะเพศขยายขนาด มีสิว มีขนรักแร้ มีขนบริเวณหัวหน่าวหรืออวัยวะเพศ เสียงแตก

สาเหตุ

ที่พบบ่อยในเด็กผู้ชาย คือ เนื้องอกในต่อมใต้สมอง

ผลกระทบหรือผลเสียของการหนุ่มสาวก่อนวัย

  • ผลต่อร่างกาย จะทำให้หยุดสูงเร็ว หรือตัวเตี้ยเมื่อเป็นผู้ใหญ่
  • ผลต่อจิตใจ โดยเฉพาะในเด็กผู้หญิงที่ยังไม่มีความพร้อม ในการดูแลตนเองเมื่อมีประจำเดือน

การรักษา

สามารถรักษาได้โดยการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ แบบเดือนละ 1 ครั้ง หรือ สามเดือนฉีด 1 ครั้ง เพื่อชะลอไม่ให้กระดูกล้ำหน้าไปกว่าอายุกระดูกจริง และไม่ให้หยุดสูงเร็ว หรือป้องกันไม่ให้กระดูกปิดเร็ว หยุดการมีประจำเดือนได้

เบาหวานชนิดที่ 1

เป็นโรคเบาหวานที่พบได้บ่อยในเด็กและวัยรุ่น และพบได้มากกว่าเบาหวานชนิดที่ 2

เบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากร่างกายมีสารภูมิคุ้มกันของตนเองไปทำลายเซลล์ที่สร้างอินซูลินในตับอ่อน เด็กที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 จะพบมีอาการ ปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย น้ำหนักตัวลด ถ้ามารักษาช้า ปล่อยจนอาการหนัก เด็กจะเริ่มอ่อนเพลีย ซึมลง หายใจหอบลึก ปวดท้อง หากไม่ได้รับการรักษา อาจเกิดภาวะช็อค และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้

การรักษา

เบาหวานชนิดนี้ต้องรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เด็กและครอบครัวจะต้องได้รับความรู้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในการเลือกกินอาหารที่ถูกต้อง การนับสัดส่วนอาหาร การฉีดอินซูลิน การตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง และ การสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ ที่จะนำไปสู่ ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำเกินไป

เบาหวานชนิดที่ 2

เด็กที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ส่วนใหญ่ จะมีลักษณะอ้วน คอดำ ปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย พบได้บ่อยในช่วงที่เข้าสู่วัยรุ่น บางรายอาจมีประวัติเสี่ยงตั้งแต่แรกเกิด คือ น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อยกว่า 2500 กรัม หรือมากกว่า 4000 กรัม มารดาเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน

เบาหวานชนิดนี้เกิดจาก ร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน รักษาได้ด้วยการกินยาร่วมกับควบคุมอาหารและออกกำลังกาย บางรายมารักษาช้า หรือมีอาการเป็นมาก อาจต้องรักษาด้วยวิธีการฉีดยาควบคู่ไปด้วย

ตัวเตี้ย ดูเกณฑ์จากอะไร และ มีสาเหตุจากอะไรได้บ้าง

ภาวะตัวเตี้ยในเด็กหมายถึง เด็กที่มีส่วนสูงน้อยกว่า เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 3 ตามเกณฑ์ของเพศและอายุ

เกิดได้จากหลายสาเหตุ

  • ตัวเตี้ยที่ไม่มีโรคเป็นสาเหตุ ได้แก่ ตัวเตี้ยตามกรรมพันธ์ หรือ เป็นม้าตีนปลาย
  • ตัวเตี้ยที่มีโรคเป็นสาเหตุ ได้แก่ ขาดสารอาหาร เป็นโรคเรื้อรังต่างๆ ขาดฮอร์โมนไทรอยด์ หรือขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต โรคกระดูกอ่อน โรคทางพันธุกรรม และอื่นๆ

***หากสังเกตว่าเด็กมีภาวะตัวเตี้ย ควรพามาพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุ โดยการตรวจเลือด เอกซเรย์ดูอายุกระดูก และรีบให้การรักษาตามสาเหตุ

ระบบต่อมไร้ท่อในร่างกายมีอะไรบ้าง

ไฮโพทาลามัส (Hypothalamus) ... .
ต่อมพิทูอิตารีหรือต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) ... .
ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Gland) ... .
ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid Gland) ... .
ต่อมอะดรีนัลหรือต่อมหมวกไต (Adrenal Gland) ... .
ตับอ่อน (Pancreas) ... .
ต่อมไพเนียล (Pineal Gland) ... .
ต่อมไทมัส (Thymus Gland).

ความผิดปรกติจากต่อมไร้ท่อในข้อใดที่เป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของฮอร์โมนที่ชื่อว่า อินสุลิน (Insulin) ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจำเป็นต้องมีอินสุลิน เพื่อนำน้ำตาลในกระแสเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะสมองและกล้ามเนื้อ ในภาวะที่อินสุลินมีความผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นการลดลงของปริมาณอินสุลินในร่างกาย หรือการที่อวัยวะต่างๆ ...

ระบบต่อมไร้ท่อมีผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

ต่อมไร้ท่อ มีความสำคัญต่อร่างกายในการควบคุมอวัยวะภายในร่างกายให้ทำงานสัมพันธ์กันและควบคุมการทำงานของร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุล โดยการสร้างและหลั่งสารเคมีที่เรียกว่า ฮอร์โมน(Hormone) ฮอร์โมนที่ถูกคุม เช่นผลิตจากต่อมไร้ท่อจะถูกส่งไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกายโดยการลำเลียงไปกับน้ำเลือด ระบบต่อมไร้ท่อเป็นระบบที่มีการทำงานแบบ ...

โรคเบาหวานเกิดจากต่อมไร้ท่อใด

โรคต่อมใต้สมอง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita