พร บ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มาตรา 9

เมื่อสมัยนี้ไม่จำเป็นต้องเซ็นเอกสารด้วยมือบนกระดาษเสมอไป เราสามารถลงลายมือชื่อเอกสารผ่านอิเล็กทรอนิกส์ แบบถูกกฎหมายได้เเล้ว ทำให้การทำงานสะดวก อยู่ที่ไหนก็อนุมัติงานได้

อย่างที่เราจะเห็นโซลูชั่นเกี่ยวกับ Paperless ออกมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นระบบช่วยจัดการงานเอกสารให้เป็นสัดส่วน (e-Document) หรือการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) เพื่อเป็นการอนุมัติเอกสารหรือทำสัญญาเเทนการลงลายมือชื่อแบบกระดาษ

ซึ่งมีหลายองค์กรให้ความสนใจเพราะตอบโจทย์ต่อการทำงานจริง เเต่ยังมีความชั่งใจเเละลังเลอยู่ไม่น้อยว่า เอกสารที่ถูกอนุมัติออกจากองค์กรไปด้วยอิเล็กทรอนิกส์จะมีผลทางกฎหมายหรือไม่? ใช้ได้กับทุกประเภทเอกสารไหม? เเละคำถามอื่นๆ?

บทความนี้จะมาเเถลงไข ทุกข้อสงสัยที่องค์กรมีให้กระจ่างเกี่ยวกับ “กฎหมาย กับ ระบบเซ็นอนุมัติเอกสารอิเล็กทรอนิกส์”   

การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีผลทางกฎหมายหรือไม่?  

ขอตอบไว้ตรงนี้ว่า การลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์มีผลทางกฎหมายมานานแล้ว โดยจะเห็นตัวอย่างชัดๆได้จากการใช้งานอย่างแพร่หลายของ ระบบ e-Tax Invoice ที่กรมสรรพากรได้สนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถออกใบกำกับภาษีแบบไม่ต้องใช้กระดาษเเต่ใช้ลายมือชื่อดิจิทัลเเทน หรืออย่างการพิมพ์ชื่อในอีเมล ไม่ว่าจะเป็นชื่อและนามสกุล ชื่อ ชื่อย่อ หรือชื่อเล่น ต่อท้ายข้อความของอีเมล ก็ถือเป็นการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไปจนถึงการพิมพ์ข้อความสั่งซื้อของทางแชท ที่มีการล็อกอินผ่าน Username และ Password ที่เป็นของเรา นั่นแปลว่า มีการลงลายมือชื่อเราผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าเราตกลงซื้อสินค้าแล้ว

ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง อักษร อักขระ ตัวเลข เสียง หรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น และเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น

คำนิยามของการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature)

ดังนั้น การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย เช่นเดียวกับการลงลายมือชื่อบนเอกสารกระดาษ เเต่ลายมือชื่อนั้นจะมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดต้องมาดูกันอีกที

ซึ่งทาง สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA ที่เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนการทำธุรกรรมออนไลน์ของประเทศ จึงได้เเบ่งประเภทความน่าเชื่อถือของการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ออกเป็น 3 ประเภท โดยเเต่ละประเภทมีการใช้มาตราแห่งกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ต่างกันไป  

ความน่าเชื่อถือของ e-Signature เเต่ละประเภท?

ประเภทที่ 1 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป

ประเภทที่ 1 e-Signature ทั่วไป

การลงลายมือชื่อประเภทนี้จะมีความน่าเชื่อถือพอประมาณ โดยต้องทำตามข้อกำหนดตาม มาตรา 9 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่กำหนดไว้ว่าต้องมีครบ 3 องค์ประกอบดังนี้ จึงจะถือว่าเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้

(1) ระบุเจ้าของลายมือชื่อได้ว่าเป็นใคร หมายถึง การที่สามารถระบุเจ้าของลายมือชื่อได้ว่าเป็นของใคร ซึ่งการระบุตัวตนสามารถทำได้หลายแบบไม่ว่าจะเป็นการใช้ ตัวอักษร ตัวหนังสือ ตัวเลข หรือ สัญลักษณ์อื่นใด ที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ในการระบุตัวตน

เช่น เมื่อเราใช้บัญชีออนไลน์ของเรา ที่มีการกรอก Username และ Password เพื่อเข้าใช้งาน, การเข้าระบบโดยใช้ One Time Passward (OTP) ที่จะมีการส่งรหัสไปในมือถือส่วนตัวเเล้วต้องนำรหัสนั้นกรอกเข้าระบบเพื่อเป็นรหัสผ่าน, การเข้าถึงเอกสารผ่าน email หรือ Line ส่วนตัว ทั้งหมดนี้ถือเป็นการยืนยันตัวตนเเล้วทั้งสิ้น  

(2) การระบุเจตนาของเจ้าของลายมือชื่อต่อข้อความที่ลงนาม เช่นเดียวกับกระดาษ เราคงไม่เซ็นชื่อไว้บนกระดาษเปล่า ๆ โดยไม่รู้ว่าเซ็นเพื่ออะไร ดังนั้นการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ก็ต้องใช้เพื่อประกอบกับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้วยเพื่อแสดงว่า เราลงลายมือชื่อด้วยเจตนาอะไร

เช่น การทำสัญญาที่มีคำถามว่า “คุณตกลงทำสัญญาตามข้อความข้างต้นหรือไม่” การกด “ยอมรับ” หรือ “YES” เป็นการเจตนายอมรับการดำเนินการต่อตามที่ข้อความถามมา

(3) ใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ โดยคำนึงถึงความมั่นคงเเละรัดกุมของวิธีการที่ใช้, ลักษณะ ประเภท ของธุรกรรมที่ทำ, เเละความรัดกุมของระบบติดต่อสื่อสาร

ดังนั้นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์จึงสามารถเป็นการเซ็นชื่อบนแท็บล็ต การพิมพ์ชื่อตอนท้ายของอีเมล การกดปุ่มยอมรับข้อตกลงหรือเงื่อนไขต่างๆ การใช้ Username-Password หรืออื่นๆ ได้ทั้งหมด เพราะกฎหมายไม่ได้จำกัดกรอบหรือประเภทเทคโนโลยีไว้ แต่ได้ให้คุณสมบัติในการพิจารณาเอาไว้ ถ้าครบองค์ประกอบทั้ง 3 ข้อก็ถือเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้

ประเภท 2 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้

ประเภท 2 e-Signature ที่ใช้วิธีการที่เชื่อถือได้

นอกจากลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรา 9 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ ยังมี มาตรา 26 ซึ่งให้ถือว่า ลายมือชื่อที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็น ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ ซึ่งลายมือชื่อประเภทที่ 2 จะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าประเภทเเรก  ดังต่อไปนี้

(1) ข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้น เชื่อมโยงไปยังเจ้าของลายมือชื่อได้

(2) ข้อมูลที่ใช้สร้างลายมือชื่อ อยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าของลายมือชื่อ

(3) สามารถตรวจพบการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดแก่ลายมือชื่อ/ข้อความ นับแต่เวลาที่ได้สร้างขึ้น

แล้วอะไรบ้าง คือ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้?

ลายมือชื่อดิจิทัล เป็นตัวอย่างหนึ่งของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 26

ลายมือชื่อดิจิทัล ตัวอย่างหนึ่งของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 26

ลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) คือ ลายมือชื่อที่ได้จากกระบวนการเข้ารหัสลับ (Encrypt) ซึ่งช่วยให้สามารถยืนยันตัวเจ้าของลายมือชื่อและตรวจพบการเปลี่ยนแปลงของข้อความและลายมือชื่อได้ รวมถึงการทำให้เจ้าของลายมือชื่อไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดจากข้อความที่ตนเองได้แสดงเจตนาในการลงลายมือชื่อได้

ตัวอย่างเทคโนโลยีที่สร้างลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้หลักการเข้ารหัส/ถอดรหัส (Encryption)

เทคโนโลยีระบบรหัสเเบบกุญเเจสาธารณะ (Public Key Infrastructure : PKI)โดยผู้สร้างลายมือชื่อจะนำข้อมูลของตนไปแปลงให้อยู่ในรูปแบบข้อความเข้ารหัส และหากคู่สัญญาอีกฝ่ายจะเข้าถึงข้อความดังกล่าว ก็จำเป็นต้องถอดรหัสด้วยกุญแจคู่รหัส ซึ่งการสร้างขั้นตอนมากมายในทางเทคนิคเหล่านี้ ก็เพื่อเป็นหลักฐานที่แสดงความแท้จริงของเอกสารอันมาจากเจตนาที่ยอมรับในข้อความต่าง ๆ ที่ปรากฏในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์

e-Signature ที่ใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ ที่ให้บริการกันในกลุ่ม

ดังนั้น ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประเภทที่ 2 ที่ให้บริการกันในกลุ่ม จึงถือว่าเป็นลายมือชื่อที่เชื่อถือได้ เพราะมีความรัดกุมอย่างการเข้ารหัส หรือมีเทคโนโลยีที่มาช่วยตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงได้ อย่างการใช้ลายมือชื่อดิจิทัล

การลงลายมืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้จึงเหมาะสำหรับเอกสารประเภทที่กฎหมายต้องการความรัดกุมและมั่นคงปลอดภัยเพิ่มขึ้น เพื่อคุ้มครองเจ้าของลายมือชื่อและคนที่ต้องเอาลายมือชื่อนี้ไปใช้ต่อ ว่าสามารถเชื่อถือได้

ประเภท 3 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้

ใช้ใบรับรองที่ออกโดยผู้ให้บริการออกใบรับรอง

ประเภท 3 e-Signature ที่ใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ เเละให้บริการโดยผู้ให้บริการออกใบรับรอง

คือ การใช้ลายมือชื่อประเภทที่ 2 (ตาม มาตรา 26 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ

)

และอาศัยใบรับรองที่ออกโดยผู้ให้บริการออกใบรับรอง เพื่อสนับสนุนลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ตาม มาตรา 28 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ) ดังนั้นจึงสามารถตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงนี้ได้โดยมีผู้ให้บริการเป็นตัวกลาง ตัวอย่างหนึ่งของลายมือชื่อประเภทนี้ คือ ลายมือชื่อดิจิทัล ที่ให้บริการโดยผู้ให้บริการออกใบรับรอง (Certification Authority : CA) โดยมีการ

(1) เข้ารหัสลับ (Encrypt) ที่สามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของลายมือชื่อและข้อความอิเล็กทรอนิกส์ได้  

(2) ขณะลงนาม เจ้าของข้อมูลเป็นผู้ควบคุมการลงนามของตัวเอง โดยไม่โดนคนอื่นมาสวมรอยหรือบังคับให้ทำ

(3) มีตัวกลางเป็นผู้ให้บริการออกใบรับรอง

ความแตกต่างของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประเภทที่ 2 และ 3 คือ

ประเภทที่ 2 คนในกลุ่มเลือกวิธีการลงลายมือชื่อมาพิจารณาว่า มีคุณสมบัติครบตามกฎหมายที่กำหนดไหม ถ้ามีคุณสมบัติครบถ้วนก็สามารถนำมาใช้กันในกลุ่มได้เลย เหมือนเวลาเราตกลงกันว่าเราจะใช้ลายมือชื่อรูปแบบนี้นะ แล้วก็ยอมรับกันใช้ภายในกลุ่ม

ประเภทที่ 3 คือการหาคนกลางที่ได้รับการรับรองมาแล้ว มาเป็นคนช่วยดูลายมือชื่อให้ว่าการลงลายมือชื่อนี้เป็นของเจ้าของแน่ๆ และสามารถบอกได้ด้วยว่าลงลายมือชื่อไปตอนไหน ซึ่งหากเป็นการใช้ ลายมือชื่อดิจิทัล สามารถขอรับบริการของ บริษัทไทยดิจิทัล ไอดี หรือ บริษัทอินเตอร์เน็ตประเทศไทย ซึ่งได้รับการรับรองจาก ผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (NATIONAL ROOT CERTIFICATION AUTHORITY OF THAILAND) หรือ NRCA (ดูรายละเอียด ที่นี่)

สรุปก็คือ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประเภทที่ 2 และ 3 ต่างกันที่ประเภทที่ 2 เราจะตกลงลายมือชื่อกันในกลุ่มและใช้เทคโนโลยียืนยันว่าลายมือชื่อของเราไม่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนประเภทที่ 3 เราจะมีคนกลางที่ได้ใบรับรองเป็นคนยืนยันตัวให้ว่าการลงชื่อของเรานั้นคือเรา มีคุณสมบัติครบถ้วน และไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ผิดไปจากเจตนาของเรา

สรุปแบบรวบรัดตัดตอนให้

กล่าวโดยสรุป การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์มีผลทางกฎหมายเช่นเดียวกับการลงลายมือกระดาษ เเต่ ต้องมีองค์ประกอบครบตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งองค์ประกอบมีอะไรบ้างขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกทำการลงลายมืออิเล็กทรอกนิกส์ประเภทไหน เพราะในเเต่ละประเภทจะมีกฎหมายที่กำหนดต่างกัน

ประเภทของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เเบ่งออกเป็น 3 ประเภท

ประเภทของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

ประเภทที่ 1 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป

ประเภทที่ 2 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้

ประเภทที่ 3 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ ซึ่งใช้ใบรับรองที่ออกโดยผู้ให้บริการออกใบรับรอง

ไม่ว่าจะเลือกทำการลงลายมือชื่อประเภทไหนก็มีผลทางกฎหมายเหมือนกัน ต่างกันที่ความน่าเชื่อถือในการพิสูจน์หลักฐานทางกฎหมายที่ยุ่งยากไม่เท่ากัน โดยประเภทที่ต้องพิสูจน์มากไปน้อยจะเรียงลำดับตามนี้ ประเภทที่ 1,2,3 ตามลำดับ  

ซึ่งจะเลือกใช้ประเภทไหนก็ขึ้นอยู่กับความสำคัญของธุรกรรมเอกสารว่ามีความสำคัญขนาดไหน

โดยในบทความถัดไปเราจะยกตัวอย่าง ระบบอนุมัติเอกสารออนไลน์ (e-Memo) ที่ใช้อนุมัติงานเอกสารกันอยู่ในปัจจุบันว่า เมื่อนำกฎหมายที่กล่าวมาในบทความนี้จับเข้ากับเทคโนโลยีที่ใช้จริงจะเป็นอย่างไร พร้อมทั้งยกตัวอย่างเอกสารที่เหมาะต่อการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เเต่ละประเภทไว้ให้ด้วย เพื่อผู้อ่านจะได้เห็นภาพการใช้งานกันมากขึ้น  

ขอบคุณที่มาของข้อมูลจาก สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita