กฎหมายการประกันคุณภาพการศึกษา

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา


คำถาม   : มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพสถานศึกษาหรือไม่ อย่างไร
คำตอบ  :  มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพสถานศึกษา
       


พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 6 

มาตรฐานและการประกันคุณภาพทางการศึกษา

       


หมวด 6 

       
        กล่าวถึงหลักการประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา  โดยแยกเป็นระบบการประกันคุณภาพภายใน  และการประกันคุณภาพภายนอก  การประกันคุณภาพภายในเป็นเรื่องภายในของสถานศึกษาที่ต้องจัดทำเองโดยความ ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแต่การประกันคุณภาพเป็นการดำเนินงานโดย หน่วยงานภายนอกที่เป็นอิสระ  และมีความเป็นกลาง  และมีบทบาทหน้าที่ในการประเมินเปรียบเทียบมาตรฐานของสถานศึกษาทั่วประเทศและ ดำเนินการเปรียบเทียบทุกๆ 5 ปี เป็นต้น
          ตัวชี้วัดที่จะวัดมาตรฐานการศึกษาและกระบวนการประเมิน  เป็นสาระสำคัญที่หน่วยงานประเมินและประกันภายนอกจะต้องดำเนินการต่อไปใน อนาคตเมื่อได้มีการจัดตั้งหน่วยงานนี้ในระดับกระทรวง  แต่หมวดนี้จะยังไม่กล่าวถึงโดยจะกล่าวเฉพาะความสัมพันธ์ของสถานศึกษากับสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพดังกล่าว  และขอบเขตอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานนี้เท่านั้น
 รายละเอียดดังในมาตรา ต่อไปนี้
       
มาตรา 47
ให้ มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก
ระบบ  หลักเกณฑ์  และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา  ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
       
มาตรา 48
ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา ที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง  โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  และเปิดเผยต่อสาธารณชน  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเพื่อรองรับการประกัน คุณภาพภายนอก
       
มาตรา 49 
ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษามีฐานะเป็นองค์การมหาชนทำ หน้าที่พัฒนาเกณฑ์  วิธีการประเมินคุณภาพภายนอกและทำการประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มีการ ตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา  โดยคำนึงถึงความมุ่งหมายและหลักการ  และแนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปี นับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย  และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน คำว่ามีฐานะเป็นองค์กรมหาชน  หมายความว่า จะต้องจัดตั้งสำนักงานดังกล่าวเป็นองค์กรมหาชน  ซึ่งมีพระราชบัญญัติองค์กรมหาชน วางหลักเกณฑ์การจัดตั้ง  และกำหนดสถานภาพที่ค่อนข้างเป็นอิสระขององค์กรประเภทนี้องค์กรนี้ทำหน้าที่ พัฒนาเกณฑ์ ซึ่งหมายถึงเกณฑ์ของ "มาตรฐาน"  และจะต้องมีรายละเอียดของตัวชี้วัดด้วย
       

  ในพระราชบัญญัติกล่าวถึงมาตรฐานไว้ดังนี้


มาตรา 33 
สภาการศึกษาฯมีหน้าที่พิจารณาเสนอมาตรฐานการศึกษาของชาติ  ซึ่งจะเป็นมาตรฐานระดับกว้าง  
ครอบคลุมทุกระดับ

มาตรา 34
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานก็มีหน้าที่พิจารณาเสนอ"มาตรฐานและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน"  ที่สอดคล้องกับแนวทางกว้างๆ ของสภาในมาตรา 33 และคณะกรรมการการอุดมศึกษาก็มีหน้าที่พิจารณา "มาตราฐานอุดมศึกษา"  ที่สอดคล้องกับแนวทางกว้างๆ ของสภาฯ
ฉะนั้นบทบาทหน้าที่ของสำนักงานรับรองมาตรฐานตามมาตรา 49 เป็นบทบาทหน้าที่พิจารณารายละเอียดของเกณฑ์มาตรฐาน และตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับหน่วยงานตามมาตรา33 และมาตรา 34
การกำหนด "มาตรฐาน" ดังที่กล่าวมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นระดับใดจะต้องสอดคล้องกับ
"ความมุ่งหมายและหลักการ และแนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กำหนดไว้ใน
พระราชบัญญัตินี้"ในวรรค 2 ของมาตรา 49 กำหนดให้สำนักงานประเมินคุณภาพภายนอก
ทุกๆ 5 ปีและรายงาน


มาตรา 50

ให้สถานศึกษาให้ความร่วมมือในการจัดเตรียมเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับสถานศึกษา  ตลอดจนให้บุคลากรคณะกรรมการของสถานศึกษา  รวมทั้งผู้ปกครองและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานศึกษาให้ข้อมูลเพิ่มเติม ในส่วนที่พิจารณาเห็นว่าเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติภารกิจของสถานศึกษา ตามคำร้องขอของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือ หน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรองที่ทำการประเมินคุณภาพภายนอกของ สถานศึกษานั้น


มาตรา 51
ในกรณีที่ผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาใดไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาจัดทำข้อเสนอแนะการปรับ ปรุงแก้ไขต่อหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด หากมิได้ดำเนินการดังกล่าวให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการ ศึกษารายงานต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไข





 แหล่งที่มา  //www.moobankru.com/knowledge1.html

เขียนโดย NATTAKAN APIRUKKITTIKUL ที่08:10

ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แชร์ไปที่ Twitterแชร์ไปที่ Facebookแชร์ใน Pinterest

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita