เงินบริจาค ลดหย่อนภาษี 2564

ทุกช่วงต้นปี ผู้มีรายได้จะต้องยื่นภาษีและชำระภาษีตามหน้าที่พลเมือง “ประชาชาติธุรกิจ” รวบรวมเรื่องควรรู้เกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่จะยื่นภาษีในปี 2565 จากภาษีเงินได้ปี 2564

ภาษีคืออะไร ?

ภาษีคือสิ่งที่รัฐบาลเรียกเก็บจากประชาชนผู้มีรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อนำไปใช้พัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ

  • ครม.ไฟเขียว แต่งตั้ง สมชวน รัตนมังคลานนท์ นั่งอธิบดีกรมปศุสัตว์
  • ครม.ไฟเขียว จำเริญ โพธิยอด นั่ง อธิบดีกรมธนารักษ์คนใหม่
  • พายุโนรู กรมอุตุฯเตือนฉบับ 8 ฝนตกหนัก เสี่ยงน้ำท่วม 28 ก.ย.-1 ต.ค.

หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีจากประชาชน และนำส่งให้เป็นรายได้ของแผ่นดิน ได้แก่ “กระทรวงการคลัง”

ใครบ้างที่ต้องยื่นภาษี

คนไทยที่มีรายได้ทุกคนควรยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แม้จะได้รับการยกเว้นการเสียภาษีก็ตาม โดยกฎหมายระบุรายละเอียดไว้ดังนี้

  1. คนไทยทุกคนกรณีที่โสด มีรายได้ และได้เงินเกิน 120,000 บาทต่อปี หรือเฉลี่ยรายเดือนละ 10,000 บาท ต้องมีหน้าที่ยื่นเสียภาษี
  2. คนไทยทุกคนกรณีที่สมรส มีรายได้ และได้เงินเกิน 220,000 บาทต่อปี หรือเฉลี่ยรายเดือนละ 18,333 บาท ต้องมีหน้าที่ยื่นเสียภาษี

การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้

หมายถึงการนำแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของกรมสรรพากรมากรอกรายละเอียด พร้อมกับแนบหลักฐานรายได้ประจำปี ตลอดจนหลักฐานลดหย่อนต่าง ๆ เพื่อนำไปยื่นชำระภาษี ตามช่องทางที่กรมสรรพากรกำหนดไว้

การยื่นแบบและชำระภาษีปี 2564 เป็นการคิดรายได้ในปี 2564 ทั้งปี ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2564 โดยสามารถยื่นได้ในปี 2565 แบ่งเป็น 2 แบบ

  1. การยื่นภาษีออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร ยื่นได้ถึงวันที่ 8 เมษายน 2565 เป็นวันสุดท้าย
  2. การยื่นเอกสารเสียภาษีแบบกระดาษ ยื่นได้ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 เป็นวันสุดท้าย

รู้จัก ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91

การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามี 2 แบบ ได้แก่

  1. ภ.ง.ด.90 สำหรับผู้มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือน เช่น ดอกเบี้ยจากการลงทุน ค่าเช่าบ้าน เงินปันผล
  2. ภ.ง.ด.91 สำหรับผู้มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริมอื่น เช่น เงินเดือน โบนัส เบี้ยประชุม ฯลฯ

เอกสารใช้สิทธิลดหย่อนภาษี

ในการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้

  1. หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ)
  2. รายการลดหย่อนภาษีที่รวบรวมทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา
  3. เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษี เพื่อกรอกแบบฟอร์มการยื่นจ่ายภาษี เช่น ใบเสร็จรับเงินเบี้ยประกันชีวิต หรือหนังสือรับรองการจ่ายเงินเบี้ยประกันชีวิต ฯลฯ

การขอลดหย่อนภาษี 4 ประเภท ปี 2564

ค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาใช้หักลดหย่อนภาษีในปี 2564 มี 4 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

1. ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว 

  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท (คู่สมรสต้องไม่มีรายได้)
  • ค่าลดหย่อนฝากครรภ์ และคลอดบุตร ไม่เกิน 60,000 บาท ต่อการตั้งครรภ์ 1 ครั้ง
  • ค่าลดหย่อนภาษีบุตร คนละ 30,000 บาท โดยจะต้องเป็นบุตรโดยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรม และบุตรมีอายุไม่เกิน 20 ปี หรืออายุไม่เกิน 25 ปี
  • ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเอง และของคู่สมรส สูงสุดไม่เกิน 4 คน โดยลดหย่อนได้ 30,000 บาท หรือสูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท โดยบิดามารดาจะต้องมีอายุมากกว่า 60 ปี และมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท
  • ค่าอุปการะผู้พิการ หรือทุพพลภาพ 60,000 บาทต่อคน โดยผู้พิการจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และมีบัตรประจำตัวผู้พิการ รวมถึงจะต้องมีหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะ

2. ค่าลดหย่อนภาษีประกัน การลงทุน และเงินออม 

  • เงินสมทบประกันสังคม ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 5,100 บาท
  • ประกันชีวิตทั่วไป ประกันสะสมทรัพย์ ประกันสุขภาพ และเบี้ยประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ต้องรวมกันไม่เกิน 100,000 บาท
  • ประกันสุขภาพของบิดามารดา ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
  • เบี้ยประกันชีวิตบำนาญ ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ตามที่จ่ายจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท และต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ ไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนรวมเพื่อการออม หรือ SSF ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ ไม่เกิน 200,000 บาท
  • กองทุนรวมเพื่อเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ ไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD), กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ กบข., กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน สามารถลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริง สูงสุดปีละ 13,200 บาท

ทั้งนี้ กลุ่มการลงทุนนั้นรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท

3. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มบริจาค

  • เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อน
  • เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และบริจาคเพื่อโรงพยาบาลของรัฐ ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของเงินบริจาคที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย
  • เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

4. ค่าลดหย่อนภาษีที่อยู่อาศัย

  • ดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

หลังจากยื่นเสียภาษีแล้ว เราจะทราบอะไรบ้าง ?

  1. จำนวนเงินภาษีที่ต้องจ่ายเพิ่มจากภาษีที่หัก ณ ที่จ่าย
  2. จำนวนเงินคืนภาษีจากภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย
  3. จำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระ

การคืนเงินภาษี

การคืนเงินภาษีสำหรับผู้ยื่นภาษีเงินได้ ทำผ่าน 3 ช่องทาง ได้แก่

1) การคืนเงินเข้าบัญชีธนาคารที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์

กรมสรรพากรจะโอนเงินภาษีที่ได้อนุมัติคืนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ สำหรับบุคคลที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชนกับบัญชีเงินฝากธนาคาร และได้แจ้งความประสงค์ขอรับเงินคืนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร

2) การคืนเงินผ่านสาขาธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กรณีผู้ขอคืนเงินภาษีไม่ประสงค์รับเงินภาษีคืนด้วยการโอนเงินภาษีคืน เข้าบัญชีเงินฝากธนาคารที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์

สำหรับ กรณีผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี ที่มีคำสั่งศาลและได้รับหนังสือแจ้งคืน ค.21 ผู้จัดการมรดก ยังคงสามารถมาขอรับเงินคืนได้ที่สาขาธนาคารกรุงไทย ในรูปแบบบัตรเงินสด e-Money ได้

3) การคืนเงินสำหรับผู้ขอคืนที่ไม่สามารถลงทะเบียนพร้อมเพย์ กรณีชาวต่างชาติ ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคล วิสาหกิจชุมชน และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง กรมสรรพากรจะออกหนังสือ ค.21 พร้อมเช็ก โดยจัดส่งทางไปรษณีย์ตามที่อยู่บนแบบแสดงรายการให้ผู้ขอคืน เพื่อนำไปเข้าบัญชีเงินฝากที่สาขาธนาคารเท่านั้น

สำหรับผู้ขอคืนที่ได้รับ ค.21 ก่อน วันที่ 1 มกราคม 2565 ที่ยังไม่ได้ขอคืนเงินที่สาขาธนาคาร และ ค.21 หมดอายุ ให้ยื่นคำร้องขอออกเช็คคืนภาษีที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ กรมสรรพากรจะออก ค.21 ฉบับใหม่ พร้อมเช็ค และจัดส่งทางไปรษณีย์ให้ผู้ขอคืนต่อไป

ค่าปรับกรณีลืมชำระภาษี

หากชำระภาษีเลยวันที่กำหนด จะเสียค่าปรับดังนี้

  • ไม่เกิน 7 วัน เสียค่าปรับตามจริง ไม่เกิน 2,000 บาท
  • เกิน 7 วัน เสียค่าปรับตามจริง ไม่เกิน 2,000 บาท และมีดอกเบี้ย 15% ต่อเดือน ของยอดภาษีที่ต้องชำระ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

  • ขั้นตอนยื่นภาษี ภ.ง.ด.1ก-ภ.ง.ด.2ก-ภ.ง.ด.3ก ใครต้องยื่น เช็กไทม์ไลน์

  • วิธียื่นภาษีออนไลน์ 2565 สรุปขั้นตอน เอกสารที่ต้องเตรียม

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita