Digital transformation ข้อเสีย

ทุกวันนี้โลกกำลังตื่นตัวกับเรื่องการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ หรือ The Industry 4.0 ที่เรียกว่าเป็นปรากฏการณ์ระดับโลกเลยก็ว่าได้ ที่การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง ผลักดันและทำให้หลายๆ อย่างที่ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ เป็นไปได้ ทำให้ขอบเขตเชิงภูมิศาสตร์จางและบางลงเรื่อย ๆ และเกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินธุรกิจและภูมิทัศน์ในการแข่งขันทางธุรกิจ แม้แต่ในประเทศไทย รัฐบาลเองยังนำเอาแนวคิดนี้มาปรับใช้เป็นนโยบาย “Thailand 4.0” ในการปฏิรูปประเทศ จากเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ คืออะไร
การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวิทยาการหุ่นยนต์ขั้นสูง, ปัญญาประดิษฐ์ (AI), Internet of Things (IoT)
รวมถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่เข้าถึงและสามารถเชื่อมต่อได้ในทุก ๆ ที่นั้น เป็นหัวใจสำคัญของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ ถ้าจะให้พูดสั้น ๆ ว่าอุตสาหกรรม 4.0 คืออะไร พูดง่ายๆเลยคือ โรงงานอัจฉริยะ ถ้าจะอธิบายให้ละเอียดยิ่งขึ้น มันเป็นการรวมและเชื่อมต่อโลกดิจิตอลกับโลกทางกายภาพเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้เครื่องจักรสามารถทำงานได้ฉลาดมากขึ้น ไม่เพียงแค่เราสามารถควบคุมสั่งงานในระยะไกลผ่านระบบดิจิตอลเท่านั้น แต่เครื่องจักรยังสามารถคิด วิเคราะห์ และทำงานได้ด้วยตัวของมันเอง รวมไปถึงความสามารถในการ ‘พูดคุย’ กับเครื่องจักรอื่น ๆ เพื่อทำงานร่วมกัน รวมถึงแจ้งเตือนหรือให้ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง ไม่ใช่เครื่องจักรในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สาม ที่มีความสัมพันธ์ในรูปแบบเพียงแค่ ‘มนุษย์-เครื่องจักร’ อีกต่อไป แต่เป็นความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนมากขึ้น ในแบบ ‘มนุษย์-เครื่องจักร-เครื่องจักร-มนุษย์’

เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้น เราคงต้องมองย้อนกลับไปและทำความเข้าใจในเรื่องการปฏิวัติอุตสาหกรรมทั้งสามครั้งก่อนหน้านี้ การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกเกิดขึ้นช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ที่เครื่องจักรไอน้ำและพลังงานไฮดรอลิกเครื่องแรกของโลกทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากนั้นในปลายศตวรรษที่ 19 พลังงานไฟฟ้าและระบบการผลิตแบบสายการประกอบ ทำให้เกิดการผลิตแบบเน้นจำนวนมากเพื่อให้ต้นทุนต่ำ ซึ่งนำเราไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง ส่วนการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สาม ที่เกิดขึ้นราวปี 1960 เมื่อมีการนำระบบคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยทำให้สามารถตั้งโปรแกรมและควบคุมเครื่องจักรให้ทำงานในแบบอัตโนมัติได้

อุตสาหกรรม 4.0 มีความหมายอะไรต่ออุตสาหกรรมการผลิต

ประโยชน์ที่ชัดเจนประการแรก คือ สายการผลิต โรงงานสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโดยการขจัดปัญหาเรื่องการหยุดทำงานของเครื่องจักรที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ ทำให้มั่นใจได้ว่าสายการผลิตจะไม่ขาดตอน ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับสายการผลิต เช่น คน เครื่องจักร และ วัตถุดิบต่าง ๆ สามารถทำงานสอดประสานเป็นอย่างดีด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) อันทันสมัย และ Internet of Things (IoT) และเมื่ออุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถทำงานแบบอัตโนมัติ และเชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์แบบ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจได้อย่างมาก อีกทั้งขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตไปข้างหน้า โดยปราศจากการสะดุดหรืออุปสรรค

อย่างไรก็ตาม ประโยชน์และศักยภาพที่แท้จริงของ อุตสาหกรรม 4.0 นั้นจะมีนัยยะสำคัญก็ต่อเมื่อองค์กรหรือบริษัทนั้น ๆ ก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง โดยการทบทวนกลยุทธ์ทางธุรกิจ สร้างโมเดลธุรกิจใหม่ๆ หรือออกแบบโครงสร้างขององค์กรเสียใหม่

ผลการสำรวจโดยดีลอยท์

เพื่อทำความเข้าใจว่าบริษัทต่าง ๆ มีการลงทุนใน อุตสาหกรรม 4.0 เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางดิจิตอลอย่างไร ดีลอยท์ได้ทำการสำรวจจากผู้บริหาร 361 คนใน 11 ประเทศทั่วโลก การสำรวจครั้งนี้ทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึก จากอุตสาหกรรมหลัก 7 อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมอากาศยานและยุทโธปกรณ์การรบ ยานยนต์ เคมีภัณฑ์ โลหะการและเหมืองแร่ ปิโตรเคมี และ อุตสาหกรรมพลังงานและสาธารณูปโภค

ผลสำรวจได้เผยให้เห็นถึง ความกระตือรือร้นในการที่จะลงทุนและแผนในการลงทุนในอนาคตขององค์กร อีกทั้งแสดงให้เห็นว่า แผนที่องค์กรวางไว้กับการปฏิบัติจริงยังไม่ไปด้วยกัน ผลสำรวจพบว่ามีความขัดแย้ง 5 ประการ ในการที่องค์กรเปลี่ยนไปสู่ดิจิตอล ได้แก่ กลยุทธ์ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของห่วงโซ่อุปทาน ความพร้อมของบุคลากรที่มีความสามารถ การลงทุนในนวัตกรรม และในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวงจรการทำงานแบบ กายภาพ-ดิจิตอล-กายภาพ

นี่แสดงให้เห็นว่า องค์กรมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ในการที่จะเปลี่ยนไปสู่ดิจิตอล (Digital transformation) แต่ส่วนใหญ่ยังพยายามหาทางที่จะสร้างสมดุลในการปรับปรุงวิธีการดำเนินธุรกิจด้วยโอกาสที่มากับเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4.0 ในเรื่องนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงของโมเดลธุรกิจ

ความขัดแย้งด้านกลยุทธ์ (The strategy paradox)

ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบทั้งหมด (ร้อยละ 94) ระบุว่า digital transformation เป็นเป้าหมายเชิงกลยุทธ์อันดับต้น ๆ สำหรับองค์กรของพวกเขา อย่างไรก็ตาม องค์กรเองก็ยังไม่ได้มีการสำรวจวิเคราะห์อย่างเต็มที่ถึงกลยุทธ์อื่นๆ ที่เป็นไปได้จากการเปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิตอล และมีเพียงแค่ร้อยละ 68 ที่มองว่าการเปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิตอลเป็นช่องทางในการทำกำไร

ความขัดแย้งด้านห่วงโซ่อุปทาน (The supply chain paradox)

ผู้บริหารต่างระบุว่า ห่วงโซ่อุปทานถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆที่องค์กรจะลงทุนเพื่อการแปลงไปสู่ดิจิตอลทั้งในปัจจุบันและอนาคต อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารห่วงโซ่อุปทานที่ดูแลการดำเนินธุรกิจในแต่ละวันและเป็นผู้ที่ดูแลเรื่องการนำเทคโนโลยีดิจิตอลมาใช้งานนั้น กลับไม่ใช่ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจในการลงทุนด้านการเปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิตอล

ความขัดแย้งด้านบุคลาการที่มีความสามารถ (The talent paradox)

เป็นปกติที่ความคิดริเริ่มต้องเกิดจากมนุษย์ บุคลากรที่มีความสามารถมีบทบาทสำคัญในการการผลักดัน (หรือต่อต้าน) การเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารมั่นใจว่าองค์กรของตนมีบุคลากรที่มีความสามารถที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิตอล แต่ในขณะเดียวกันก็ยอมรับว่าบุคลาการที่มีความสามารถนั้นก็เป็นความท้าทายอย่างหนึ่งเช่นกัน ผู้บริหารมองว่า การเสาะหา ฝึกอบรม และรักษาบุคลากรที่มีความสามารถนั้น เป็นความท้าทายสูงสุดสำหรับองค์กร และการสร้างวัฒนธรรมขององค์กร

ความขัดแย้งด้านนวัตกรรม (The innovation paradox)

ผู้บริหารระดับสูงต่างบอกว่าการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิตอลนั้นมาจากความต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจ พูดง่ายๆ คือเพื่อทำสิ่งที่ทำอยู่แล้วให้ดีขึ้น ผลสำรวจนี้สอดคล้องกับการศึกษาของดีลอยท์ก่อนหน้านี้ ที่แสดงถึงรูปแบบเดียวกันของการนำเทคโนโลยีมาช่วยการดำเนินธุรกิจระยะใกล้ มากกว่าจะใช้เทคโนโลยีเพื่อการเปลี่ยนแปลงองค์กรไปสู่ดิจิตอลอย่างแท้จริง

ความขัดแย้งด้านวงจรกายภาพกับดิจิตอลและดิจิตอลกับกายภาพ (Around the physical-digital-physical loop paradox)

วงจรกายภาพ-ดิจิตอล-กายภาพ คือวงจรในการนำข้อมูลในโลกกายภาพ สร้างเป็นข้อมูลดิจิตอล ทำการวิเคราะห์และแปลงข้อมูลไปเป็นแผนในการปฏิบัติจริงในโลกกายภาพ ความสามารถในการควบคุมข้อมูลที่เชื่อมโยงกัน และนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการตัดสินใจ เป็นปัจจัยสำคัญในการนำพาองค์กรเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 อย่างเต็มรูปแบบ และเป็นปัจจัยที่หลายๆ องค์กรยังไม่สามารถนำมาปฏิบัติได้จริง ผลจากการสำรวจพบว่าองค์กรเกินกว่าร้อยละ 50 ไปได้เพียงครึ่งทางของวงจรเท่านั้น ในขณะที่บางองค์กรกำลังพยายามทำในส่วน ดิจิตอล-กายภาพ ซึ่งเป็นส่วนสุดท้ายของวงจร เป็นส่วนที่ท้าทายที่สุด และสำคัญที่สุดในการที่จะเป็นโรงงานอัจฉริยะ หรือ อุตสาหกรรม 4.0 นั่นเอง

ทะลายความขัดแย้งต่าง ๆ (Breaking the paradoxes)

หนทางในการไปสู่ Industry 4.0 ไม่ได้มีเพียงหนทางเดียว และไม่ได้มี paradox อันใดอันหนึ่งที่สำคัญกว่าอันอื่น

การเปลี่ยนไปสู่ดิจิตอล (Digital transformation) ไม่ใช่เป็นความพยายามเชิงนามธรรมที่แยกจากกลยุทธ์และวัตถุประสงค์หลักขององค์กร เมื่อองค์กรได้เริ่มดำเนินการไปสู่การเป็นดิจิตอลแล้ว มันจะกลายเป็นศูนย์กลางขององค์กรและมีผลกับทุกแง่มุมของบริษัท การเปลี่ยนไปสู่ดิจิตอล (Digital transformation) นั้นเป็นมากกว่าแค่การสิ่งที่ทำอยู่ให้เร็วขึ้น หรือถูกลง

การเปลี่ยนไปสู่ดิจิตอล (Digital transformation) ไม่มีคำจำกัดความเดียว ท้ายที่สุดมันคือแล้วแต่บริษัทและเป็นไปตามวัตถุประสงค์เฉพาะขององค์กร และความคาดหวังให้บรรลุผลสำเร็จตามนั้น การเปลี่ยนไปสู่ดิจิตอล (Digital transformation) แตกต่างไปตามความต้องการของแต่ละองค์กร ไม่มีอันไหนที่เหมือนกันทุกประการ

การเปลี่ยนไปสู่ดิจิตอล (Digital transformation) อาจส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อบุคลากรที่มีความสามารถขององค์กร องค์กรดิจิตอลจะต้องทำความเข้าใจและตอบสนองความต้องการของบุคลากรที่มีความสามารถขององค์กร รวมถึงการช่วยให้เข้าใจว่าบทบาทของพวกเขาอาจต้องเปลี่ยนไปอย่างไร

องค์กรดิจิตอลควรจะมีวัฒนธรรมที่คำนึงถึงและให้ความสำคัญกับคนทุกคนในองค์กร เนื่องจากพนักงานในทุกระดับต่างมีส่วนในการขับเคลื่อนองค์กรในการเปลี่ยนแปลง และการสร้างความมั่นใจในการทำงานในแต่ละวัน ทุกเสียงของพนักงานมีความสำคัญ ดังที่ ปีเตอร์ ดรัคเกอร์ เคยกล่าวไว้ว่า “วัฒนธรรมกินกลยุทธ์เป็นอาหารเช้า” ซึ่งหมายถึง วัฒนธรรมองค์กรมีความสำคัญกว่ากลยุทธ์ทางธุรกิจนั่นเอง

ความเปลี่ยนแปลงที่มาจาก การทำ digital transformation อาจจะวิวัฒนาการไปในแนวทางที่อาจไม่มีใครเดาได้ เนื่องจากเทคโนโลยีพื้นฐานต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นอุตสาหกรรม 4.0 และเป็นตัวผลักดันไปสู่ digital transformation นั้นมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน แต่ที่แน่นอนก็คือ ไม่ว่าการวิวัฒนาการนั้นจะเป็นไปในทิศทางไหนก็ตาม ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ได้เกิดขึ้นแล้ว

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita