ความหมายโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ การผลิต การจำหน่าย การจัดเก็บและการขนส่ง สำหรับแต่ละธุรกิจแล้วการบริหารโลจิสติกส์และโซ่อุปทานอาจจะเป็นการบริหารพนักงานไม่กี่คน หรืออาจจะเป็นการจัดระบบให้สำหรับคู่ค้าธุรกิจหลายร้อยเจ้าสามารถประสานงานร่วมกันได้ นับว่าเป็นกระบวนการที่มีความท้าทายพอสมควร 

ในบทความนี้เรามาดูกันว่า โลจิสติกส์และโซ่อุปทานแตกต่างกันอย่างไร และกลยุทธ์หลักการการบริหารโลจิสติกส์และโซ่อุปทานนั้นมีอะไรบ้าง

โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน แตกต่างกันอย่างไร (Logistics and Supply Chain Management) 

โลจิสติกส์ แปลเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารโซ่อุปทาน โลจิสติกส์ จะเน้นไปที่การบริหารด้านการขนส่ง ส่วนโซ่อุปทานเป็นหลักการบริหารที่กว้างกว่า กระบวนการตั้งแต่การจัดซื้อวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ ไปจนถึงการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า

สำหรับหลายคน การบริหารโลจิสติกส์และโซ่อุปทานอาจจะดูเหมือนว่าเป็นกระบวนการที่คล้ายๆกัน แต่หากลองมาดูธุรกิจที่มีการบริหารการจัดการที่ซับซ้อน เช่นธุรกิจที่มีสินค้าหลายชนิด มีวัตถุดิบหลายชนิด มีซัพพลายเออร์หลายเจ้า ความแตกต่างระหว่างโลจิสติกส์และโซ่อุปทานก็จะเห็นได้ชัดมากขึ้น 

ความหมายของโลจิสติกส์และโซ่อุปทานมีดังนี้ครับ

โลจิสติกส์ (Logistics) รวมถึงการวางแผน การปฏิบัติ และการควบคุมประสิทธิภาพประสิทธิผลของกระบวนการการไหลของสินค้า บริการ แล้วข้อมูลตั้งแต่จุดเริ่มต้น ไปถึงจุดสุดท้ายตามความต้องการของผู้บริโภคหรือลูกค้า โดยที่โลจิสติกส์ก็เป็นส่วนหนึ่งของโซ่อุปทาน

โซ่อุปทาน (Supply Chain) คือการเพิ่มคุณค่าและประสิทธิภาพของการเพิ่มคุณค่าให้กับผู้บริโภคผ่านการทำงานร่วมกันระหว่างบริษัท ซึ่งรวมถึง ซัพพลายเออร์ ลูกค้า และ และคู่ค้าทางธุรกิจ 

และหลักการบริหารโซ่อุปทาน (Supply Chain Management)  ก็รวมถึงขั้นตอนการทำธุรกิจหลายอย่าง ตั้งแต่ นวัตกรรมและการพัฒนาสินค้า การจัดซื้อ การผลิตการปฏิบัติการต่างๆ โลจิสติกส์และการกระจายสินค้า การบริการลูกค้า และการกระจายสินค้าทั่วประเทศ 

หากโลจิสติกส์ คือการดูประสิทธิภาพประสิทธิผลของการไหลของสินค้า โซ่อุปทานก็คือการ ‘เพิ่มคุณค่า’ ให้กับกระบวนการส่วนนี้

เราจะเห็นได้ว่ากระบวนการหลายอย่างในองค์กรสามารถถูกแบ่งประเภทได้ว่าเป็นการบริหารโลจิสติกส์หรือการบริหารโซ่อุปทานได้อย่างชัดเจน แต่หลายกระบวนการก็ไม่สามารถถูกแบ่งแยกได้ชัดเจนขนาดนั้น

หัวข้อที่ใกล้เคียงกับ Logistics และ Supply Chain มีอีกมากมายครับ หากใครสนใจผมแนะนำให้ศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติมได้ 5ส คืออะไร? และ การบริหารสินค้าคงคลัง คืออะไร

ความแตกต่างของโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

ในยุคปัจจุบัน กระบวนการหลายอย่างในธุรกิจที่เมื่อก่อนอาจจะมีความแตกต่างอย่างชัดเจน เริ่มมีความคล้ายคลึงกันมากขึ้น เนื่องจากว่าเมื่อการแข่งขันมีมากขึ้น ลูกค้าต้องการมากขึ้น ทำให้กระบวนการต่างๆในธุรกิจนั้นต้องพัฒนาตามด้วย เช่นการขายกับการตลาด การบัญชีและการเงิน เริ่มมีความแตกต่างน้อยลงเรื่อยๆ 

และโลจิสติกส์กับโซ่อุปทานก็เช่นกัน 

ถึงแม้ว่าโลจิสติกส์และโซ่อุปทานจะมีความเหมือนกันมากแค่ไหน เราก็ไม่ควรนำคำศัพท์สองคำนี้มาใช้ทดแทนกันโดยสิ้นเชิง ในส่วนนี้เรามาลองดูกันว่าข้อแตกต่างระหว่างโลจิสติกส์และโซ่อุปทานมีอะไรบ้าง 

เป้าหมาย – เป้าหมายของโซ่อุปทานคือการ ‘สร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ’ เช่นการลดค่าใช้จ่าย การสร้างเครือข่ายที่คู่แข่งไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ แต่เป้าหมายหลักของโลจิสติกส์ก็คือการ ‘เพิ่มความพึงพอใจ’ ให้กับลูกค้า เช่นส่งสินค้าให้เร็วขึ้น ส่งสินค้าให้ถูกคน 

กระบวนการ – โลจิสติกส์หมายถึงการบริหาร ‘การเคลื่อนไหว’ ของวัตถุหรือข้อมูลต่างๆ ในระหว่างที่การบริหารโซ่อุปทานคือการเชื่อมโยงกระบวนการทางธุรกิจหลายๆอย่างจากหลายๆองค์กรเข้าด้วยกัน 

หมวดหมู่ – โลจิสติกส์เป็นหนึ่งในกระบวนการของโซ่อุปทาน 

โลจิสติกส์เป็นคำศัพท์ที่เก่ากว่า ในสมัยที่หลักการบริหารธุรกิจนั้นยังไม่ได้ซับซ้อนมาก แต่ในยุคที่บริษัททำงานกับคู่ค้าธุรกิจหลายคน และขายสินค้าให้กับลูกค้าในหลายที่หลายประเทศ หลักการบริหารอย่างโซ่อุปทานก็ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับความต้องการใหม่ๆของธุรกิจ 

กลยุทธ์โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน – หลักการ และ หัวใจของการจัดการ

หากเราเข้าใจแล้วว่าโลจิสติกส์เป็นส่วนหนึ่งของโซ่อุปทาน กลยุทธ์โลจิสติกส์และโซ่อุปทานก็คือการพัฒนาทั้งสองส่วนนี้เพื่อให้สามารถเลือกอำนวยกันมากขึ้น โดยกลยุทธ์โลจิสติกส์และโซ่อุปทานได้แก่ 

การวางแผนตามอุปสงค์หรือความต้องการลูกค้า (Demand Planning) – หมายถึงการเข้าถึงข้อมูลความต้องการของลูกค้าให้เร็วมากขึ้น เผื่อที่องค์กรจะสามารถวางแผนการปฏิบัติการในส่วนโลจิสติกส์และโซ่อุปทานได้เร็วและแม่นยำมากขึ้น 

ยกตัวอย่างเช่น โรงงานที่ผลิตสินค้า อาจขายให้กับตัวแทนจำหน่าย แล้วตัวแทนจำหน่ายก็จะขายให้กับร้านขายปลีกอีกที ในกรณีนี้โรงงานสามารถพัฒนาระบบไอทีที่จะทำให้ร้านขายปลีกสามารถให้ข้อมูลกับโรงงานผลิตสินค้าได้รวดเร็วมากขึ้น เป็นการลดขั้นตอนการสื่อสารแล้วก็ยังทำให้โรงงานผลิตสินค้าได้รับข้อมูลตลาดได้ตามความต้องการของลูกค้า 

ปัญหาด้านการไหลลื่นของข้อมูลในโซ่อุปทาน ทำให้เกิดปัญหาที่เรียกว่าปรากฏการณ์แส้ม้า (Bullwhip  Effect) ที่มักทำให้ผู้ผลิต ผลิตสินค้ามากเกินไปหรือน้อยเกินไป เพราะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลผู้บริโภคปลายโซ่อุปทานได้รวดเร็วพอ

กระบวนการทำงานของโซ่อุปทานที่ประหยัดขึ้นแบบลีน (Lean Supply Chain) – โซ่อุปทานแบบลีน คือการเพิ่มประสิทธิภาพให้กระบวนการผ่านการลดของเสีย ลดการกระทำที่ไม่เกิดประโยชน์ 

การเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานในธุรกิจนั้นทำได้หลายอย่าง ตั้งแต่การพัฒนากระบวนการจัดซื้อ การพัฒนาการจัดเก็บสินค้า หรือการพัฒนาการจัดส่งสินค้า อาจจะเป็นการพัฒนากระบวนการง่ายๆอย่างการส่งอีเมลแทนส่งเอกสารกระดาษเพื่อให้ทำงานเร็วมากขึ้น หรืออาจจะเป็นการพัฒนาระยะยาวของการวางจัดเก็บสินค้าและขนส่ง 

โดยเครื่องมือและหลักการแบบลีนที่นิยมใช้กันก็คือ Kaizen 5ส และ Six Sigma

กระบวนการทำงานของโซ่อุปทานที่เร็วขึ้นแบบอไจล์ (Agile Supply Chain) – อไจล์เป็นแนวความคิดใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับความรวดเร็ว การตอบสนอง และความยืดหยุ่นของกระบวนการ ในขณะเดียวกันเราก็ต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายและประสิทธิภาพด้วย 

หากเรามองว่าการทำงานแบบลีน คือการนำข้อมูลเก่าเพื่อมาใช้พัฒนากระบวนการอย่างต่อเนื่อง หลักการของอไจล์ก็คือการเข้าถึงข้อมูลล่าสุดให้รวดเร็วที่สุดเพื่อที่ธุรกิจจะสามารถปรับตัวได้ทันที เช่นการเข้าถึงข้อมูลความต้องการของลูกค้าทันที 

องค์กรที่ใช้กระบวนการแบบลีนเพื่อที่จะสามารถส่งสินค้าให้กับลูกค้าได้ทันเวลาและทันที มักจะมีปัญหา ‘สินค้าคงคลังมากเกินไป’ (สต๊อกของไว้เยอะเวลาลูกค้าต้องการอะไรจะได้มีส่งได้ทันที) ซึ่งการทำแบบนี้จะเป็นภาระทางการเงินเพราะจะทำให้เงินจม ในทางตรงกันข้าม อไจล์ก็คือการเก็บสต๊อกให้หน่อย แต่รู้ก่อนว่าลูกค้าอยากได้อะไร เราจะได้ผลิตหรือจัดหาสินค้าภายในเวลาที่น้อยกว่า 

ประสานงานระหว่างฝ่ายขายและฝ่ายปฏิบัติการ (Sales & Operations Integration) – ปัญหาหลักของการบริหารการจัดการส่วนมากก็คือข้อมูลและการสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับองค์กรที่มีหลายแผนก และแต่ละแผนกสื่อสารกันไม่ชัดเจน 

เป็นเรื่องง่ายที่ กระบวนการฝ่ายขายและฝ่ายปฏิบัติการจะขัดแย้งกันเอง ฝ่ายขายที่ถูกวัดผลการทำงานด้วยยอดขายก็มีแรงจูงใจที่จะสัญญากับลูกค้าให้สุดความสามารถของบริษัทเสมอ ในทางตรงข้ามฝ่ายปฏิบัติการที่ถูกวัดผลด้วยความแม่นยำและความเร็วก็จะรู้สึกกดดันทุกครั้งที่ฝ่ายขาย ‘สัญญากับลูกค้ามากเกินไป’

ในส่วนนี้ไม่ใช่ว่าฝ่ายขายหรือฝ่ายปฏิบัติการที่ผิด แต่เป็นกระบวนการการสื่อสารภายในองค์กรที่ไม่สามารถเชื่อมโยงทุกอย่างเข้าด้วยกันได้ ฝ่ายขายไม่รู้ว่าสินค้าคงคลังมีเท่าไหร่ การจัดส่งตามความเป็นจริงเร็วได้แค่ไหน และปัญหาการประสานงานเหล่านี้สามารถแก้ได้อาจจะผ่านการสร้างระบบการสื่อสารที่ชัดเจนมากขึ้น (เช่นฝ่ายขายต้องโทรประสานงานก่อนถึงจะสัญญากับลูกค้าได้) หรืออาจจะผ่านการทำระบบไอทีที่ชัดเจน อย่าง CRM ERP 

อุปทานที่คาดการณ์ได้ (Predictable Supply) – อีกหนึ่งส่วนที่ต้องมีการบริหารจัดการเป็นพิเศษก็คือการจัดซื้อ ในโลกที่สมบูรณ์แบบซัพพลายเออร์ขององค์กรก็จะมีสินค้าครบทุกอย่างและสามารถจัดส่งได้ทันทีเสมอ แต่จากที่เราเห็นแล้วว่า ‘โซ่อุปทาน’ นั้นมีปัญหาหลายอย่าง ทำให้ส่วนมากการจัดซื้อวัตถุดิบอาจจะมีการล่าช้า และจะกระทบต่อการผลิตและการจัดส่งให้ลูกค้า

ในส่วนนี้หากองค์กรไม่อยากเก็บสินค้าคงคลังมากขึ้น ก็จำเป็นที่จะต้องสื่อสารกับซัพพลายเออร์ให้รวดเร็วมากขึ้น โดยอาจจะมีการพัฒนาวิธีการสื่อสารระหว่าง ผู้บริโภค ลูกค้าองค์กร ตัวองค์กรเอง และซัพพลายเออร์

สรุปเรื่องโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

ในบทความนี้เราจะเห็นแล้วว่าโลจิสติกส์และโซ่อุปทานนั้นถึงแม้จะมีหลายวิธีการทำงานที่คล้ายคลึงกัน แต่ทั้งสองอย่างก็มีความแตกต่างในเป้าหมาย กระบวนการทำงาน และหมวดหมู่การบริหารธุรกิจ หากเราอยากจะแก้ปัญหาธุรกิจให้ถูกจุด เราก็ต้องเข้าใจความแตกต่างทั้งสองอย่างนี้

ซึ่งถ้าเรารู้แล้วว่าปัญหาของธุรกิจอยู่ที่ไหน เราก็จะสามารถเลือกกลยุทธ์ของโลจิสติกส์และโซ่อุปทานที่เหมาะสมมาแก้ไขได้

สำหรับคนที่อ่านบทความนี้แล้วได้ความรู้เยอะ ผมก็แนะนำให้ดูคู่มือความรู้แจกฟรีอันนี้ของเว็บไซต์เรานะครับ หรือหากอยากสนับสนุนเว็บไซต์ก็สามารถดู EBook ฉลาดรู้ ฉลาดทำธุรกิจของเราได้

โลจิสติกส์และซัพพลายเชนคืออะไร

– Supply Chain Management เป็นวิธีการเชื่อมโยงกระบวนการทางธุรกิจที่สำคัญภายในและระหว่างบริษัทต่างๆ เข้าสู่รูปแบบธุรกิจที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งผลักดันให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน – โลจิสติกส์ หมายถึง การเคลื่อนย้าย การจัดเก็บ และ Flow ของสินค้า บริการ และข้อมูลภายในและภายนอกองค์กร

โลจิสติกส์และซัพพลายเชนมีความสำคัญอย่างไร

1. ช่วยเพิ่มความรวดเร็วให้กับธุรกิจและเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการต่างๆ ของซัพพลายเชน ส่งผลต่อการส่งมอบวัตถุดิบและบริการต่างๆ ได้อย่างทันเวลา และการนำสินค้าใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด 2. ช่วยลดต้นทุนของสินค้าและต้นทุนรวมได้อย่างมีประสิทธิผล ซึ่งเป็นผลมาจากการลดจำนวนสินค้าคงคลัง

โลจิสติกส์กับโซ่อุปทานสัมพันธ์กันอย่างไร

โลจิสติกส์เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการห่วงโซ่อุปทานเพื่อช่วย ในการวางแผนการสนับสนุนการควบคุมการไหลอย่างมีประสิทธิภาพและมี ประสิทธิผล และเก็บรักษาสินค้าบริการและสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับข้อมูลจาก จุดเริ่มต้นไปสู่จุดสุดท้ายเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า”

ซัพพลายเชนหมายถึงอะไร

Supply Chain (ห่วงโซ่อุปทาน) คือ กระบวนการจัดการการผลิตเพื่อทำให้เกิดสินค้าหรือบริการขึ้นมา ทั้งด้านการจัดหาวัตถุดิบ บริหารการผลิต การจัดเก็บสินค้า ไปจนถึงกระบวนการจัดส่งสู่มือของลูกค้า เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ (Demand) ของลูกค้าได้อย่างครบถ้วนและทั่วถึง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita