ความหมายของการวิจารณ์งานศิลปะ

มาทำความเข้าใจกับ ความหมายของ การวิเคราะห์ และการวิจารณ์ ศิลปะกันก่อน

การวิเคราะห์งานศิลปะ คือ การพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเพื่อศึกษางานศิลปะซึ่งมีการแบ่งออกเป็นส่วนๆ ไม่ว่าจะทางด้านทัศนธาตุ , องค์ประกอบศิลป์ รวมทั้งความสัมพันธ์ต่างๆ โดยนำข้อมูลในหลายปัจจัย ในหลายองค์ประกอบ มาประเมินผลงานทางด้านศิลปะว่ามีคุณค่าทางด้านใดบ้าง

การวิจารณ์งานศิลปะ คือ การแสดงความคิดเห็นทางด้านศิลปะ ที่ศิลปินได้รังสรรค์ขึ้นมา เป็นการแสดงทัศนะทางด้านสุนทรียศาสตร์ รวมทั้งสาระอื่นๆ เพื่อให้ได้นำไปปรับปรุงในผลงานชิ้นต่อไป หรือ ใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการตัดสินผลงาน อีกทั้งยังเป็นการฝึกวิธีวิเคราะห์ ให้เห็นความแตกต่างทางด้านคุณค่าในผลงานชิ้นนั้นๆ

คุณสมบัติที่นักวิจารณ์พึงมี

  • ต้องมีความรู้เกี่ยวกับศิลปะแบบกว้างขว้าง ในหลายด้าน
  • ต้องมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของศิลปะ
  • ต้องมีความรู้เกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์
  • ต้องมีวิสัยทัศน์กว้างขวาง มั่นใจในตนเอง
  • กล้าแสดงออกตามหลักวิชาการและตามความรู้สึกที่สั่งสมมาจากประสบการณ์

ทฤษฎีการสร้างงานศิลปะ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ ได้แก่…

  • เลียนแบบ – เกิดจากการประจักษ์ในความงามในธรรมชาติ ศิลปินจึงได้ลอกเลียนแบบมา ให้มีความเหมือนทั้งรูปร่าง , รูปทรง และสีสัน
  • สร้างรูปทรงสวยงาม – คือ การสร้างสรรค์รูปทรงใหม่ ให้เกิดความสวยงาม และประกอบไปด้วยทัศนธาตุ ได้แก่ เส้น , รูปทรง , สี , น้ำหนัก , บริเวณว่าง รวมทั้งเทคนิคสร้างสรรค์ผลงาน
  • แสดงอารมณ์ – คือ สร้างงานให้มีความรู้สึก
  • แสดงจินตนาการ – คือ แสดงภาพจินตนาการให้ผู้ชมได้สัมผัส

แนวทางประเมินคุณค่าของงานศิลปะ

สำหรับการประเมินคุณค่างานศิลปะ จะมีการวิเคราะห์จาก 3 ด้าน ได้แก่…

ด้านความงาม

คือ การวิเคราะห์รวมทั้งประเมินคุณค่าทางด้านทักษะฝีมือ รวมทั้งการใช้ทัศนธาตุทางศิลปะ ตลอดจนการจัดองค์ประกอบศิลป์ เป็นการวิเคราะห์ว่าผลงานชิ้นนี้ มีการเปล่งประกายทางด้านความงดงามของศิลปะได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งทำให้ผู้ดูเกิดความเข้าใจในในสุนทรียภาพ โดยลักษณะของการแสดงออกทางด้านความงามในศิลปะ จะเต็มไปด้วยความหลากหลายซึ่งจะมีความแตกต่างกันออกไปตามแต่รูปแบบของยุคสมัย เพราะฉะนั้นเมื่อสรุปการวิเคราะห์ ตลอดจนการวิเคราะห์งานศิลปะทางด้านความงาม ซึ่งก็จะมีการตัดสินในเรื่องรูปแบบต่างๆ

ด้านสาระ

คือ การวิเคราะห์ เพื่อพิจารณาคุณค่าของผลงานศิลปะว่า มีคุณธรรม , จริยธรรม รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงจุดประสงค์ทางด้านจิตวิทยารวมทั้งให้สิ่งใดต่อผู้ชมบ้าง โดยจะเป็นสาระที่เกี่ยวกับสิ่งใดก็ได้ไม่ว่าจะเป็น ธรรมชาติ , สังคม , ศาสนา , การเมือง , ความฝัน และอื่นๆ อีกมากมาย

 ด้านอารมณ์ความรู้สึก

คือ การประเมินคุณค่าทางด้านคุณสมบัติ ซึ่งเป็นการกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึก อีกทั้งยังเป็นการสื่อความหมายได้อย่างมีนัยยะสำคัญซ่อนอยู่ โดยเป็นผลของการใช้เทคนิคซึ่งแสดงออกให้เห็นถึงความคิด , พลัง ตลอดจนความรู้สึกที่ปรากฏอยู่ในผลงาน

การวิจารณ์และศิลปะวิจารณ์


ที่มา - www. media.rmutt.ac.th/wbi/Education/สุนทรียศาสตร์%20(Aesthetics)/unt5/53hom%20art%20critic.htm

          การวิจารณ์ หมายถึง การแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดตามความรู้ ความเข้าใจ และจากประสบการณ์ของผู้วิจารณ์ พร้อมทั้ง ให้ข้อเสนอ แนะเพิ่มเติมต่อสิ่งที่พบเห็น ไม่ว่าจะเป็นการชื่นชม หรือการชี้แนะผลงานนั้นๆ ทั้งนี้กาวิจารณ์จะต้องมีเหตุมีผล เพื่อที่ ผู้สร้างผลงานจะได้นำไป ปรับปรุงผลงานให้ดียิ่งขึ้นโดยสุจริต

          ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ..2542 ได้ให้ความหมายของคำว่า “วิจารณ์” ว่าหมายถึง “ให้คำตัดสินที่เป็นศิลปกรรม หรือวรรณกรรม เป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงามความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง” ส่วนการติชม มักใช้คำว่า วิพากษ์วิจารณ์

          ศิลปวิจารณ์ คืออะไร พจนานุกรมศัพท์ศิลปะฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า “ศิลปะวิจารณ์คือการวิพากษ์วิจารณ์ผลงาน ทางศิลปะซึ่งศิลปินได้สร้างสรรค์ขึ้นไว้โดยให้ความเห็นตามกฎเกณฑ์และหลัการศิลปะของแต่ละสาขา ทั้งในด้านสุนทรียศาสตร์และ ปรัชญาสาขาอื่น ๆ ไม่ว่าจะในรูปแบบการวิจารณ์เป็นเช่นไร จะเป็นแบบการพูด การบรรยาย หรือข้อเขียนใดๆ ก็ตาม ที่จะเป็น เครื่องชี้วัด และตัดสินคุณค่าในงานศิลปะ”

          การแสดงความคิดเห็นทางศิลปะ เป็นเรื่องเกี่ยวกับทุกคนที่จะติชมหรือเรียกว่าให้ความวิจารณ์ตามความคิดเห็นของตน แค่คำ วิจารณ์ควรจะเป็นความรู้ที่บริสุทธิ์ใจ มิใช่เพื่อหวังผลทางการค้าหรือกลั่นแกล้ง เพราะคำวิจารณ์อาจพลิกความรู้สึกของผู้ชมงาน ศิลปะให้ไขว่เขวได้ คือเห็นศิลปกรรมว่าชั้น สามัญว่าดีที่สุดและเห็นศิลปะชั้นเยี่ยมที่สุดเป็นธรรมดาสามัญ ดังนั้นคำวิจารณ์จึงเป็น สิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยให้ศิลปะเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี กล่าวว่า การวิจารณ์ที่จะ ให้ประโยชน์อย่าง สมบูรณ์นั้นมีหลักสำคัญๆ ดังนี้

    1.จิตวิจารณ์ คือ วิจารณ์ในแง่ความรู้สึก
    2.อรรถวิจารณ์ คือ ในแง่แปลความหมาย
    3. วิพากษ์วิจารณ์ คือ วิจารณ์ในแง่พิพากษาตัดสิน

          อย่างไรก็ตาม ความคิดเห็นในด้านการวิจารณ์ศิลปะนี้ เอดมันส์ เฟลด์แมน นักปราชญ์คนสำคัญอีม่านหนึ่ง ได้จำแนกหลักการ วิจารณ์ออกเป็น ประเภท คือ

1. การวิจารณ์แบบนักหนังสือพิมพ์ คือ การเสนอข่าวสารแกผู้อ่าน เป็นการเขียนแนะนำผลงานที่ผู้อ่านอาจไปหาชมได้ด้วยตัวเอง
2. การวิจารณ์แบบครู คือ การเสริมความรู้เกี่ยวกับเรื่องของสุนทรียศาสตร์ และทางศิลปะ เพื่อให้เกิดแรงกระตุ้นและเร้าใจ
3. การวิจารณ์แบบนักวิชาการ เป็นการวิเคราะห์แบบแปลความหมาย และประเมินคุณค่างานศิลปะที่มีความงามและความละ
เอียดรอบคอบ

4. การวิจารณ์แบบสามัญทั่วไป เป็นการวิจารณ์ตามทัศนคติส่วยตัว ตามความรู้ ตามความเข้าใจของเขา ลักษณะเช่นนี้จะมีผลสะท้อน ต่อวงการศิลปะและอาจเกิดผลลบได้

คุณสมบัติของผู้วิจารณ์งานทัศนศิลป์

1. เป็นผู้มีความรู้ในงานทัศนศิลป์
2. เป็นผู้ที่มีความรอบรู้ สามารถเชื่อมโยงวิชาความรู้สาขาอื่นๆ เข้ากับงานทัศนศิลป์ได้เป็นอย่างดี
3. เป็นผู้ที่มีใจกว้าง ยอมรับฟังความเห็นของผู้อื่น
4.เป็นผู้ที่ใช้ภาษาในการสื่อสารได้ดี
5.เป็นนักคิด นักค้นคว้า มีความสนใจในสิ่งใหม่ ๆ และศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ

บทบาทและหน้าที่ของผู้วิจารณ์

          บทบาทและหน้าที่ของผู้วิจารณ์ที่หนักและที่ยากยิ่งคือการประเมินคุณค่า เพราะการวิจารณ์ต้องทำหน้าที่เหมือนผู้พิพากษา วิพากษ์ ผลงานศิลปะและเข้าไปเกี่ยวข้องกับตัวศิลปินอย่างเลี่ยงไม่ได้ จึงเป็นเหตุให้เกิดวิวาทะระหว่างผู้วิจารณ์กับศิลปินอยู่เป็นเนื่องๆ นานนับ ร้อยปีมาแล้วในประวัติศาสตร์

          สิ่งที่ยากที่สุดของผู้วิจารณ์คือการประเมินคุณค่าผลงานที่ใหม่ล้ำยุคมากและการประเมินคุณค่าผลงานที่ถูกลืมหรือสูญหาย
ไปจากวัฒนธรรมนานแล้ว ผู้วิจารณ์จะต้องรอบคอบ รอบรู้ และมีจิตใจที่เปิดกว้าง อีกทั้งจะต้องมีมิติของทัศนะที่ลุ่มลึก

ขั้นตอนและวิธีการในการวิจารณ์ผลงานทัศนศิลป์

         การเรียนรู้ขั้นตอนและวิธีการในการวิจารณ์ผลงานทัศนศิลป์ ก็เพื่อให้ผู้วิจารณ์สามารถนำวิธีการไปใช้ในการปฏิบัติจริงได้ ขั้นตอน และวิธีการมีดังนี้

1.ขั้นการบรรยาย
          
การบรรยาย เป็นขั้นตอนของกระบวนการบันทึกข้อมูลสิ่งต่างๆ จากการสังเกต มองเห็น และพบเจอในผลงานศิลปะ

2.ขั้นการวิเคราะห์
          
การวิเคราะห์ เป็นขั้นตอนการพิจารณาถึงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ที่มีในผลงาน การใช้ภาษาทางทัศนศิลป์

3.ขั้นการตีความหมาย
          การตีความหมาย เป็นกระบวนการที่ผู้วิจารณ์แสดงออกถึงความหมายต่างๆ ในผลงานอย่างละเอียดถี่ถ้วน สามารถพิจารณาได้ว่า ผลงานทัศนศิลป์ชิ้นนั้นๆ มีแนวคิดอย่างไร เพราะผลงานทุกผลงานล้วนต้องการตีความทั้งสิ้น

4.ขั้นประเมินคุณค่า
          
การประเมินคุณค่าของผลงานทัศนศิลป์ เป็นขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญ เพราะมีการเปรียบเทียบกับผลงานชิ้นอื่นๆ ที่อยู่ในกลุ่ม เดียวกันว่ามีคุณค่าทางทัศนศิลป์และมีสุนทรียภาพมากน้อยต่างกันเพียงใด

เป้าหมายของการวิจารณ์ผลงานงานทัศนศิลป์

1. เพื่อให้ผู้วิจารณ์ได้แสดงออกทางความคิดเห็น และติชม ต่อผลงาน
2. เพื่อให้ผู้วิจารณ์มีข้อมูลและความพร้อมในการวิจารณ์ผลงานทางทัศนศิลป์ทุกสาขา
3. เพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ของผู้วิจารณ์ให้กับผู้ที่สนใจได้อย่างถูกต้อง
4. เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ความรู้เกี่ยวกับวงการทัศนศิลป์ต่อผู้ที่สนใจ ให้นำไปใช้ประโยชน์หรือเป็นแนวทางในการพัฒนางานทัศนศิลป์ได้
5. เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ความรู้เกี่ยวกับผลงานทัศนศิลป์ สามารถชื่นชมผลงานทางทัศนศิลป์ได้
6. 
เพื่อให้เห็นคุณค่าของงานทัศนศิลป์และได้สัมผัสในรสของศิลปะ

การทำแฟ้มสะสมงานทัศนศิลป์

          การจัดทำแฟ้มสะสมงาน เป็นสิ่งสำคัญต่อผลงานของตนเอง เพราะผลงานแต่ละชิ้นที่นำมารวบรวมไว้นั้น เป็นสิ่งที่สะท้อน ให้เห็นถึงพัฒนาการและวามก้าวหน้าของตนเอง

ความหมายของแฟ้มสะสมงาน

          แฟ้มสะสมงาน คือ การรวบรวมผลงานของตัวเอง ที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลาใดเวลาหนึ่งที่กำหนด ออกมาเป็นรูปเล่ม มีรายละเอียด เกี่ยวกับผลงาน เพื่อสะท้อนความคิดเห็น ภาพแห่งความสำเร็จ และรูปแบบงานของตนเอง

วัตถุประสงค์ของการจัดทำแฟ้มสะสมงาน

1. เพื่อให้ผู้สอนใช้เป็นเครื่องมือในการวัดผลพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน
2. เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสะท้อนความคิดเห็นที่เกิดจากการเรียนรู้
3. เพื่อเป็นเครื่องมือให้กับผู้สอนในการพัฒนาการเรียนการสอน

ส่วนประกอบของแฟ้มสะสมผลงานทัศนศิลป์

1. ปก ระบุชื่อผู้เรียน เลขประจำตัว ชื่อโรงเรียน โดยออกแบบปกให้สวยงาม
2. คำนำบอกถึงเหตุผลในการจัดทำแฟ้มสะสมงาน
3. สารบัญเรียงหัวข้อให้เป็นระเบียบ เพื่อสะดวกในการค้นหาผลงาน
4. ประวัติส่วนส่วนตัวบอกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเอง
5. กิจกรรมบันทึกกิจกรรม ภาระงานที่ได้รับมอบหมาย
6. บันทึกการปฎิบัติงานและแหล่งเรียนรู้เขียนบอก วัน เดือน ปี สถานที่ หรือแหล่งค้นคว้าในการเรียนรู้และปฎิบัติงาน
7. วิธีปฎิบัติงานอธิบายขั้นตอนตั้งแต่ขั้นเตรียม ขั้นปฎิบัติ และขั้นสรุปผลงาน
8. ผลงาน การประเมินบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผลงานที่นำมาเก็บไว้มนแฟ้มสะสมงานทัศนศิลป์
9แบบประเมินเพิ่มเติมเป็นประเมินที่นักเรียนใช้ประเมินตนเอง หรือผู้อื่นป็นคนประเมินนีกเรียน
10. ภาคผนวกเป็นส่วนของข้อมูลเพิ่มเติม

ประโยชน์ของการจัดทำแฟ้มสะสมงาน
           การจัดทำแฟ้มสะสมงานทัศนศิลป์ เป็นการรวมรวมผลงานที่ผู้เขียนสร้างสรรค์ขึ้นมาซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้เรียน โดยจะ เป็นเครื่องมือสำหรับสะท้อนความภาคภูมิใจที่เกิดจากการใช้จินตนาการสร้างสรรค์ผลงานมีโอกาสทบทวนเพื่อพัฒนา ประสิทธิภาพ ในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ออกมาเป็นผลงานที่มีคุณภาพ นอกจากนี้การทำแฟ้มสะสมงาน ทัศนศิลป์ ยังเป็นประโยชน์ ในการศึกษาต่อรวมถึงการทำงาน เพราะเป็นเครื่องการันตีความสามารถได้เป็นอย่างดี

ที่มา - //sites.google.com/site/thasnsilpm4/bth-thi5-thvsdi-kar-wicarn-silpa

การวิจารณ์งานศิลปะหมายถึงอะไร

การวิจารณ์งานศิลปะ หมายถึง การแสดงออกทางด้านความคิดเห็นต่อผลงานศิลปะที่ศิลปินสร้างสรรค์ขึ้นไว้ โดยผู้วิจารณ์ให้ความคิดเห็นตามหลักเกณฑ์และหลักการของศิลปะ ทั้งในด้านสุนทรียศาสตร์และสาระอื่น ๆ ด้วยการติชมเพื่อให้ได้ข้อคิดนำไปสู่การปรับปรุงพัฒนาผลงานศิลปะ หรือใช้เป็นข้อมูลในการประเมินตัดสินผลงาน และเป็นการฝึกวิธีดู วิธี ...

การวิจารณ์งานศิลปะ มีอะไรบ้าง

A : การวิจารณ์งานทัศนศิลป์มีหลักการดูอย่างไรคะ.
ขั้นระบุข้อมูลของผลงาน เป็นข้อมูลรายละเอียดสังเขปเกี่ยวกับประเภทของงาน ชื่อผลงาน ชื่อศิลปิน ขนาด วัสดุ เทคนิค วิธีการ สร้างเมื่อ พ.ศ.ใด ปัจจุบันติดตั้งอยู่ที่ไหน รูปแบบการสร้างสรรค์เป็นแบบใด.
ขั้นตอนการพรรณนาผลงาน ... .
ขั้นวิเคราะห์ ... .
ขั้นตีความ ... .
ขั้นประเมินผล.

การวิจารณ์งานศิลปะ สำคัญอย่างไร

1. เพื่อให้ผู้รู้ ครู อาจารย์ และนักวิจารณ์ศิลปะถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ และ ประสบการณ์ของตนเกี่ยวกับศิลปะให้กับผู้ที่สนใจ 2. เพื่อให้ผู้ที่สนใจงานศิลปะได้รับความรู้ หรือเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ 3. เพื่อชื่นชมผลงานและให้คำแนะนำแก่ศิลปิน ซึ่งจะนำไปสู่การปรับปรุงผลงานให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ

การวิจารณ์งานทัศนศิลป์แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ มีอะไรบ้าง

การวิเคราะห์และการประเมินคุณค่าของงานศิลปะโดยทั่วไปจะพิจารณาจาก 3 ด้าน ได้แก่.
ด้านความงาม ... .
ด้านสาระ ... .
ด้านอารมณ์ความรู้สึก.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita