เรียน วิศวะ คอม ดี ไหม

สวัสดีค่ะทุกคน วันนี้ต้องขอแทนตัวเองว่าพี่ (เอ๊ะ หรือป้าดีนะ) บทความนี้พี่จะมาเล่าประสบการณ์ของตัวเองที่ตัดสินใจเลือกเรียนวิศวะคอม โดยพี่จะเล่าตั้งแต่การเลือกสายเรียน, สอบเข้ามหาวิทยาลัย, ยันเรียนจบปี 4, การทำงาน, และเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น เพื่อให้น้องๆมัธยมที่กำลังสับสนกับชีวิตตัวเอง ได้เข้าใจมากขึ้นว่าการเรียนและทำงานสายคอมเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะได้ตอบตัวเองว่า “วิศวะคอม ฉันเลือกนาย!!” หรือ “บ๊ายบาย ฉันไปเรียนคณะอื่นดีกว่า”

ก่อนจะไปเริ่มอ่านกัน ขอบอกไว้เลยว่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นเริ่มตั้งแต่ปี 2013 ต้องขอโทษด้วยที่ไม่ได้เขียนบทความให้เร็วกว่านี้เพื่อที่ข้อมูลจะได้อัพเดตทันต่อสถานการณ์ พี่เพิ่งมาตระหนักรู้ตัวว่าควรทำตัวให้เป็นประโยชน์แก่คนรุ่นหลังบ้างดีกว่านอนเล่นเลี้ยงแมวอยู่บ้าน หวังว่าน้องๆจะได้มีข้อมูลเก็บไว้ประกอบพิจารณาการตัดสินใจในชีวิตการเรียนกันนะคะ เอาละ พล่ามมาเยอะแล้ว มาเริ่มกันเลย…

บทความนี้จะรีวิวถึงการเรียน/ความเป็นอยู่กับการเรียนวิศวคอมพิวเตอร์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน) ดังนั้นผู้ที่ต้องการดูรีวิววิศวคอมในวิทยาเขตอื่น เช่น กำแพงแสน ศรีราชา บทความนี้อาจไม่เหมาะกับท่าน เพราะที่ทราบมาการเรียนการสอนในวิทยาเขตอื่นๆ ค่อนข้างต่างจากที่นี่พอสมควร

เท้าความ

เนื่องจาก ณ ตอนนี้ที่ผมเริ่มเขียนบทความนี้ขึ้น (เมษายน 2565) จะเป็นช่วงที่ใกล้เข้าสู่ TCAS รอบที่ 3 แล้วเราก็รู้อยู่ว่า รีวิวภาควิชาของเราเนี่ยล่าสุดมันก็ตั้งปี 63 แล้วนะ ซึ่งเราคิดว่ามันก็​ outdated พอสมควร อีกอย่างสำหรับผมคิดว่ารีวิวนั้นยังไม่ได้พูดด้านดีๆ เท่าที่ควร 😅 แต่ไม่ต้องห่วงครับ ผมจะนำเสนอแบบตรงไปตรงมา อันไหนดีว่าดี อันไหนแย่ก็ต้องด่า

รีวิว ล่าสุดเท่าที่เคยเห็น ( ตอนนี้คนเขียนก็กำลังขึ้นปี 4 แล้วล่ะ )

หลักสูตร

หลักสูตรที่ผมได้เรียนคือ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ปรับปรุง 2560 ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวจะไม่ได้ใช้แล้ว ซึ่งตั้งแต่รุ่นรหัส 65 จะใช้หลักสูตรใหม่ ที่พยายามแก้ไขปัญหาที่นิสิตมักบ่นกันว่า ตอนปี 1 ได้เรียนวิชาภาคแค่ตัวเดียว ซึ่งหลายๆ มอเขาเอาวิชาภาคมาเริ่มเรียนกันหมดแล้ว

caution

หลายๆ คนพอได้ยินอย่างนี้แล้ว ก็ดีใจกันว่ามันจะเปลี่ยนแปลงไปได้แล้วจริงๆ แต่เท่าที่ทราบจากวงในมา วิชาเขียนแบบ แบบที่เรียนกับอาจารย์ของภาคเครื่องกล (เขียนแบบกับกระดาษ) หลักสูตรที่จะใช้นี้ ยังเป็นวิชาบังคับ อยู่นะครับ

info

แต่รับประกันครับว่าในปี 1 จะมีวิชาภาคให้เรียนมากกว่าแต่ก่อนแน่นอนครับ

สภาพสังคม

ไม่รู้ว่าหลายๆ คนคิดเหมือนผมไหม แต่ผมคิดว่าเพื่อนๆ หลายๆ คนเป็นคนที่ active พอสมควร เพราะคนที่เข้ามาเรียนที่นี่ส่วนใหญ่ก็ได้คะแนนดีๆ เข้ามากันทั้งนั้น (หลายๆ คนอาจพูดได้ว่าที่นี่คือคนที่อยากเรียนวิศวคอม แต่คะแนนไม่ถึง วศคอมฬ หรือไม่อยากเสี่ยงต้องไปเรียนภาครวมก่อน) ซึ่งผมค่อนข้างทึ่งถึงความสามารถของเพื่อนๆ ที่สอบเข้ามามาก เพราะผมเข้ามาเรียนที่นี่ด้วย โครงการโอลิมปิกวิชาการ (สอวน.) ซึ่งตัวผมเองพอมาเจอวิชาปี 1 ที่เป็นวิชาทั่วไป ที่ต้องเรียนกับภาคอื่นด้วย เช่น MATH1 PHY1 ผมมาเจอก็แตกไปตามระเบียบครับ 555

การเรียนการสอน

ในรีวิวนี้ผมจะพูดแบบคร่าว ละกัน โดยพูดเป็นภาพรวมเป็นปีๆ ไป โดยผมจะมาทำรีวิวเป็นรายๆ วิชาในอนาคตให้ครับ โดยจะยังอ้างอิงถึงหลักสูตรปี 60 อยู่นะครับ

ปี 1

ส่วนใหญ่จะเป็นวิชาที่้ต้องเรียนกับนิสิตภาควิชาอื่น เช่น MATH1 PHY1 ภาษาไทย Art of living แต่จะยังมีอีก 1 วิชาที่ปราบเซียนสำหรับคนที่ไม่มีพื้นฐานการเขียนโปรแกรม ก็คือวิชา Computers and Programming (204111) ซึ่งวิชานี้เป็นวิชาบังคับสำหรับนิสิตวิศวะทุกคน แต่การเรียนการสอนสำหรับ sec ที่มีแต่ cpe แล้วนั้น จะใช้เนื้อหาที่เข้มข้นกว่าภาคอื่นๆ โดยที่นี่จะใช้ภาษา Python ในการเรียนการสอน ดังนั้นใครที่คิดว่าตัวเองพื้นฐานยังไม่แน่น ก็ไปฟิตมาก่อนเลยก็ได้ครับ (ผมจะมีรีวิวแบบละเอียดอีกทีให้ครับ)

ปี 1 ผมให้นิยามว่าเป็นปีที่ น่าเบื่อที่สุด เพราะเราแทบจะไม่ได้เรียนวิชาที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์สักเท่าไร แต่ในหลักสูตรใหม่ ผมหวังว่าจะทำให้นิสิตรู้สึกเบื่อหน่ายน้อยลงได้

ปี 2

พอขึ้นปี 2 เราจะได้เริ่มเรียนวิชาภาคแบบ แ น่ น ๆ กันมากขึ้น โดยเทอมต้นเราจะได้เริ่มเรียน วิชา Abstract Datatype & Algorithm , Logic Circuit, Discrete & Linear Algebra, Probability & Stat และก็จะมีวิชาที่เป็นวิชาของภาคไฟฟ้า ก็คือ Circuit analysis ซึ่งหลายๆ คน ที่เรียนไฟฟ้ามาอย่างช่ำชองก็น่าจะผ่านวิชานี้ไปได้อย่างง่ายๆ

พอเทอมปลายเราก็จะได้จับเครื่องไม้เครื่องมือมากขึ้น เช่นในวิชา การฝึกปฏิบัติทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เราจะได้ออกแบบแผงวงจร ได้ลองบัดกรีแผงวงจร อีกทั้งยังได้เริ่มเรียนรู้คำสั่งบน Unix ซึ่งเป็นพื้นฐานที่คนสายคอมจะต้องรู้และนำไปใช้ได้

ซึ่งปี 2 เทอมปลายเนี่ยหลายๆ คนถือว่า เป็นเทอมที่เหนื่อยที่สุด เพราะหลายๆ วิชาที่อยู่ในเทอมนี้จะค่อนข้างยาก และเยอะ ซึ่งผมก็ค่อนข้างเห็นด้วยอยู่ทีเดียว

บรรยากาศการเรียนในห้อง Slope ชั้น 2 ที่ตึกภาควิชา

ปี 3

เนื่องจากผู้เขียนกำลังเข้าสู่การเรียนในชั้นปีนี้ ดังนั้นอาจไม่สามารถอธิบายได้เต็มที่มากนัก ต้องกราบขออภัยด้วยครับ

ปี 3 นั้นเราก็จะได้เรียนวิชาภาคที่จำเป็นต้องใช้ความรู้จากปี 2 มากขึ้น และก็จะมีวิชาที่เราจะต้องสร้างโครงงานซอฟต์แวร์ โดยจะได้จับกลุ่มกับเพื่อนซึ่งจะต้องมีการรายงานผลอยู่ทุกๆ สัปดาห์

ความน่าสนใจในการเรียนปี 3 อีกอย่างหนึ่งก็คือ เราจะมีความรู้มากพอที่จะลงเรียนวิชาเลือกในภาควิชา โดยหน่วยตามหลักสูตรแล้วนั้น จะแนะนำให้ลงตั้งแต่ตอนเทอมปลายเป็นต้นไป โดยในแต่ละปีวิชาที่เปิดให้ลงทะเบียนจะแตกต่างกันออกไป โดยเราสามารถดูได้ว่าในแต่ละปีมีวิชาเลือกตัวไหนเปิดบ้างได้ที่

ซึ่งเมื่อนิสิตจบปี 3 แล้วนั้น ในช่วงปิดเทอมเราจะต้องไปฝึกงานข้างนอกมหาวิทยาลัยเป็นระยะเวลา 60 วันโดยในขณะตอนที่เราอยู่ปี 3 เนี่ยก็ต้องเริ่มหาที่ฝึกงานกันตั้งแต่ตอนนี้ล่ะครับ ซึ่งในปีที่ผ่านๆ มา ก็จะมีนิสิตที่ได้ไปฝึกงานที่ต่างประเทศอยู่ทุกปีครับ (อาจารย์ที่นี่ contact ดีๆทั้งนั้นครับ ไม่ได้ด้อยไปกว่าที่อื่นแน่นอน)

ตัวอย่างบรรยากาศการเรียนในห้อง จากช่อง Youtube ของ อ.ชัยพร

ปี 4

เป็นปีสุดท้ายของการเรียน โดยในปีนี้เราจะสามารถมีแผนการเรียนได้ 2 แบบคือ

  • แบบทั่วไป (ไม่สหกิจ) คือตอนเทอม 1 ก็จะมาเรียนที่มหาลัยเหมือนปกติ
  • แบบสหกิจ คือตอนเทอม 1 เนี่ยเราจะต้องไปทำงานกับบริษัทหรือหน่วยงานข้างนอกมหาวิทยาลัย (คนละอย่างกับการฝึกงานภาคบังคับตอนจบปี 3 นะ) ซึ่งทางมหาลัยจะไม่อนุญาติให่เราลงเรียนวิชาอะไรเลยในช่วงนี้ โดยคนที่เรียนแบบสหกิจ ในช่วงเทอมที่ 2 ก็จะต้องมาเรียนวิชาที่อาจมากกว่าคนที่เรียนแบบทั่วไปนิดหน่อย

และการที่เราจะจบ เรียกตัวเองว่าเป็นบัณฑิตได้ ก็จะต้องทำ Project จบ ซึ่งเราสามารถเข้าไปตัวอย่างโครงงานของรุ่นพี่ปีก่อนๆ ได้ที่ รายการและสถานะโครงงาน แยกตามหลักสูตรและปีที่สำเร็จการศึกษา โดยเลือกไปที่ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (CPE)

จุดเด่นของที่นี่

อันนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวสำหรับผู้เขียนเท่านั้น ที่คิดว่าที่นี่มี และดีกว่าวิศวคอมที่อื่นๆ ครับ

แลปปฏิบัติการที่สามารถเข้าได้ตั้งแต่อยู่ ปี 1

อาจารย์ในภาควิชาแทบจะทุกคน จะมีสังกัดห้องปฏิบัติการอยู่ ซึ่งอาจารย์ที่ประจำอยู่ในแลปดังกล่าว ก็จะมีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ เป็นพิเศษ โดยตอนที่น้องๆ เข้ามาตอนปี 1 จะมีการพาทัวร์ชมห้องปฏิบัติทุกๆ ห้อง โดยหลายๆ แลปนั้นเปิดให้นิสิตเข้าไปหาความเพิ่มเติมได้ตั้งแต่อยู่ ปี 1 เลย โดยที่เรายังไม่ต้องมีความรู้อะไรเลยก็ได้ (ในบางแลป) ขอให้เราแค่มีความตั้งใจที่จะศึกษาจริงๆ ก็พอครับ

โดย List ห้องปฏิบัติการที่ยังมีอยู่ก็จะมีประมาณนี้ครับ (ดูแบบเต็มๆได้ที่ เว็บไซต์ของภาควิชา)

  • ห้องปฏิบัติการวิจัยเครือข่ายไร้สาย (IWING)
  • ห้องปฏิบัติการวิจัยระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (HPCNC)
  • ห้องปฏิบัติการวิจัยวิศวกรรมสารสนเทศและความรู้ขนาดใหญ่ (MIKE)
  • ห้องปฏิบัติการวิจัยเชิงทฤษฎี (Theory)
  • ห้องปฏิบัติการวิจัยหุ่นยนต์และจักรกลอัตโนมัติ (RIML)

แลปปฏิบัติการจะมีประโยชน์มากในตอนที่ใกล้จะทำ Project จบ โดยส่วนใหญ่โปรเจคที่เราทำก็จะเกี่ยวข้องกับแลปที่เราสังกัดครับ

ชุมนุมนิสิตวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

โดยปกติ หากไม่มีสถานการณ์โควิด ทางชุมนุมก็จะเชิญรุ่นพี่ หรือศิษย์เก่ามาจัดอมรมเนื้อหานอกห้องเรียนอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเป็นที่น่าเสียดาย ที่ในช่วงโควิดเราแทบจะไปมอไม่ได้เลย หวังว่าในปีนี้จะสามารถกลับมาจัดงานได้ตามปกติ

บรรยากาศกิจกรรม "พี่น้องแบ่งปันก้าวทันเทคโนโลยี"จาก เพจชุมนุมนิสิตวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

จำนวนนิสิตต่อปี

ต่อปีจะมีนิสิตอยู่ประมาณ 70-80 คน อาจมีหลุดไปบ้างในช่วงปี 2 ก็จะตกอยู่ประมาณ 60 ปลายๆ ถึง 70 ต้นๆ ซึ่งผมคิดว่าปริมาณนิสิตประมาณนี้มันกำลังโอเค ถึงแม้หลายๆ คนผมก็ยังไม่เคยจะได้คุยด้วยซ้ำ ซึ่งแตกต่างจากวิศวคอมที่อื้นที่ผมทราบมาว่าจำนวนคนต่อรุ่นจะเกิน 100 คนทั้งนั้น ซึ่งผมคิดว่ามันมากไปหน่อย

ข้อควรพิจารณาหากมาเรียนที่นี่

การบริหาร / นโยบายจากส่วนกลางค่อนข้างแย่

อย่างที่รีวิวก่อนหน้าได้บอก เรื่องการประสานงาน และนโยบายที่มาจากส่วนกลาง โคตร F*uck up จากประสบการณ์ตรงที่เคยขอเรื่องทุนตอนอยู่ปี 1 เรื่องการประชาสัมพันธ์นั้นค่อนข้างแย่ และการติดต่อประสานงานที่ทำได้ลำบาก ต้องเดินไปให้คนนู้นคนนี้เซ็นกว่าจะขออะไรบางอย่างได้ ซึ่งผมคิดว่าในหลายๆ มอเขาทำให้มัน seamless กว่านี้ได้

สัดส่วนวิชาภาค กับ วิชาทั่วไป

ตามรีวิวก่อนหน้า (อีกแล้ว) เราต้องเรียนวิชาที่ไม่จำเป็นเยอะมาก โดยเฉพาะวิชาบูรณาการ ที่กินหน่วยกิจของเราเยอะมาก แล้วเราต้องมานั่งจัดสรรวิชาพวกนี้ด้วย ซึ่งถ้าหากลงเรียนไม่ครบก็จบไม่ได้อีก ซึ่งตรงนี้ผมไม่ทราบจริงๆ ว่าหลักสูตรใหม่ได้มีการปรับจำนวนหน่วยกิจที่ต้องลงในวิชาบูรณาการ หรือยัง

ศาสตร์แห่งแผ่นดิน

มอควรยกเลิกไอ้พวก Identity อะไรแบบนี้สักทีได้แล้ว เราเข้ามหาวิทยาลัยก็เพื่อมาเรียนในศาสตร์ที่เราสนใจจริงๆ ไออะไรแบบนี้ตัวผมไม่ได้มีความ Proud เลยสักนิด

เวลาปิดเทอม / เปิดเทอมไม่ค่อยเหมือนชาวบ้านเขา

ม.เกษตร ตารางเรียนมันจะนำหน้าชาวบ้านอยู่ครึ่งเทอม ตรงส่วนนี้เคยถามอาจารย์ที่ปรึกษาว่าทำไมเขาไม่ยอมเลื่อนให้ตรงกัน อาจารย์ก็เลยบอกว่ามอเรามันมีหลายคณะที่มันต้องพึ่งพิงดินฟ้าอากาศ ทำให้เขาไม่ยอมเลื่อนกัน พอได้ฟังแล้วก็ถือว่าเป็นเหตผลที่เข้าใจได้ ซึ่งข้อเสียของการเปิดเรียนไม่เหมือนชาวบ้านก็คือการหาที่ฝึกงานครับ มันทำให้เราเสียโอกาสในบางครั้งไปได้

ส่งท้าย

น่าจะพอหอมปากหอมคอกับรายละเอียดของภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ส่วนตัวผมแฮปปี้มากที่ได้เลือกเรียนที่นี่ ได้เจออาจารย์เก่ง ได้เจอเพื่อนดีๆ ได้รับโอกาสต่างๆ ที่ถ้าเราเข้ามออื่นๆ อาจไม่ได้แบบนี้ เดี๋ยวบทความหน้าผมกะจะมาเจาะลึกพวกวิชาต่าง ที่ต้องเรียนกันครับ หวังว่าคนที่เข้ามาอ่านจะได้ข้อมูลที่ต้องการนะครับ โดยหากต้องการสอบถามอะไรเพิ่มเติม ก็สามารถหลังไมค์มาได้ครับ

เรียนวิศวะคอมเพราะอะไร

วิศวะคอม หรือ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นสาขาที่มีคะแนนสอบเข้าสูงที่สุดในบรรดาคณะวิศวกรรมของหลายมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ เพราะปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มีการพัฒนาการอย่างรวดเร็ว เมื่อพวกเราต้องพึ่งพาเทคโนโลยีในการใช้ชีวิตกันมากขึ้น สายงานด้านนี้จึงเป็นที่ต้องการในตลาดมาก และมีแนวโน้มจะมากขึ้นในปี 2022 ที่จะถึงนี้ด้วย ...

วิศวะคอมจบมาแล้วทำงานอะไรได้บ้าง

จบแล้ว....
วิศวกรคอมพิวเตอร์.
นักวิชาการคอมพิวเตอร์.
ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์/วิศวกรซอฟต์แวร์.
วิศวกรวิเคราะห์/ออกแบบ/พัฒนาระบบสารสนเทศ.
วิศวกรเครือข่าย.
วิศวกรระบบฮาร์ดแวร์.
วิศวกรระบบฝังตัว.
วิศวกรควบคุมดูแลระบบคอมพิวเตอร์.

เรียนวิศวะคอมมหาลัยไหนดี

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (วิศวะรวม) 20773.4 25631.7..
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด) 20334.1 20686.7..
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน) 20308.4 21838.7..
สถาบันเทคโนโลยัพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 19965.95 21303.1..
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 18248.25 19899.2..

วิศวะคอม มีผู้หญิงไหม

2. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขานี้ไม่ว่าจะผู้หญิงหรือผู้ชายก็สามารถเรียนได้ โดยเฉพาะผู้หญิงที่กังวลว่าจบมาแล้วต้องออกไซด์งาน หรือลุยงานหนัก เพราะสายนี้เป็นวิศวกรห้องแอร์อย่างแท้จริง เป็นสายงานที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่รายได้ดี อนาคตรุ่งไม่แพ้สาขาอื่นเลยนะ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita