ประเทศที่ปลูกข้าวโพดมากที่สุด

4 แสนครัวเรือน ผงะ อาชีพ "ชาวไร่ข้าวโพด" อีก 2 ปีข้างหน้า เสี่ยงสูญพันธุ์ "จีน" พลิกส่งออก ชิงเค้กตลาดโลก ชิ่งกระทบ "มันสำปะหลัง" ลดนำเข้า ไทยระส่ำ ร้องรัฐ กู้วิกฤติ ด่วน ล่มสลาย

ความท้าทายของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทย นับถอยหลัง 2 ปีนับจากนี้ น่าจับตาว่าจะถึงจุดจบของอาชีพแบบชาวไร่ถั่วเหลือง หรือไม่ เพราะในวันนี้ข้าวโพดของเกษตรกรเจอพายุโหมกระหน่ำหลายลูก จากถูกหลายสินค้านำเข้าที่ทดแทนกันได้ตีตลาดเช่น กากข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์

จากข้อมูลของคณะอนุกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี พ.ศ. 2563 -2567 ที่มีกรมวิชาการเกษตรเป็นประธาน เผยข้อมูลการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลกช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2559/60 - 2563/64) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 1,127.66 ล้านตัน ในปี 2559/60 เป็น 1,163.21 ล้านตัน ในปี 2563/64 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.94 ต่อปี (ข้อมูล ณ ก.ค.2563)  โดยประเทศผู้ผลิตหลัก 5 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 32.95) จีน (ร้อยละ 23.20) บราซิล (ร้อยละ 8.73) สหภาพยุโรป (ร้อยละ 5.77) และอาร์เจนตินา (ร้อยละ 4.00)

ขณะที่ประเทศผู้ส่งออกข้าวโพดหลัก 5 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 32.77) บราซิล (ร้อยละ 18.98) อาร์เจนตินา (ร้อยละ 18.42) ยูเครน (ร้อยละ 16.32) และรัสเซีย (ร้อยละ 2.72)  และประเทศผู้นำเข้าหลัก 5 อันดับแรก ได้แก่ สหภาพยุโรป (ร้อยละ 12.50) เม็กซิโก (ร้อยละ 10.02) ญี่ปุ่น (ร้อยละ 9.56) เกาหลีใต้ (ร้อยละ 6.46) และเวียดนาม (ร้อยละ 6.23)

ทั้งนี้ความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลกช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ปี 2559/60 - 2563/64 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 1,087.80 ล้านตัน ในปี 2559/60 เป็น 1,160.12 ล้านตัน ในปี 2563/64 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.59 ต่อปี โดยประเทศผู้ใช้หลัก 5 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 27.77) จีน (ร้อยละ 23.97) สหภาพยุโรป (ร้อยละ 7.30) บราซิล (ร้อยละ 5.84) และเม็กซิโก (ร้อยละ 3.87)

ด้านราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อเมริกันชั้น 2 ตลาดชิคาโกในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ปี 2558/59 - 2562/63 มีแนวโน้มลดลงจากตันละ 5,313 บาท ในปี 2558/59 เหลือตันละ 4,773 บาท ในปี 2562/63 หรือลดลงร้อยละ 2.82 ต่อปี เนื่องจากผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ราคาปรับตัวลดลง 2 ปีต่อเนื่อง จูงใจให้โรงงานผู้ผลิตอาหารสัตว์ในไทยมีการนำเข้าเพิ่ม (ปี 2562 ไทยมีการนำเข้าข้าวโพดอาหารสัตว์ 6.81 แสนตัน มูลค่า 4,772 ล้านบาท ปี 2563 เพิ่มเป็น 1.58 ล้านตัน มูลค่า 8,686 ล้านบาท) 

“ข้าวโพดสหรัฐฯ ผลผลิตเฉลี่ย 1,780 กิโลกรัมต่อไร่ ฤดูกาลที่ผ่านมา ราคาประมาณ กก. ละ 4.50-5.50 บาท ส่งมาขายตลาดเอเชีย 6.50-8 บาทต่อกิโลฯ ขณะที่ข้าวโพดไทยราคาเฉลี่ยที่ 8.50 บาทต่อกิโลฯ ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เพียง 701 กิโลฯ ในฤดูกาลผลิต 2563/64 ที่ผ่านมา”แหล่งข่าวระบุ

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณา “การตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์” ในตลาดโลก ส่วนใหญ่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ และวัตถุดิบทำเอทานอล เมื่อเป็นสินค้าวัตถุดิบ ตลาดจึงแข่งขันกันด้วย 1. “ราคา” ประเทศไหนที่สามารถทำให้ผลผลิตต่อไร่สูงภายใต้ต้นทุนผลิตที่เหมาะสมก็จะได้เปรียบเพราะต้นทุนต่อกิโลกรัมที่ตํ่ากว่า ดังนั้นจะสู้ได้ต้องทำให้ต้นทุนผลผลิตข้าวโพดแห้งต่อกิโลกรัมตํ่าสุด

 

 

นอกจากนี้การดูแลปกป้องเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดจากภาครัฐที่ปัจจุบันมีโครงการประกันรายได้ (8.50 บาทต่อกก.) หากอนาคตโครงการสิ้นสุด และเกษตรกรไม่สามารถพัฒนาการปลูกข้าวโพดให้ได้ผลผลิตแห้ง 1,200 กก.ต่อไร่ ใน 2 ปีอนาคตอาชีพปลูกข้าวโพดจะถดถอยถูกตลาดบีบให้ลด ละ เลิกเร็วขึ้น จากมีวัตถุดิบทดแทนที่นำเข้ามา เห็นได้จากมีคนกล่าวไว้ว่า “วัตถุดิบทั่วโลกคือวัตถุดิบของอาหารสัตว์ไทย” 

2. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ประเทศเพื่อนบ้านต่างนำเข้ามาขายในประเทศมากขึ้นโดยเฉพาะจากประเทศเมียนมาที่มีการขยายพื้นที่การปลูกมากในรอบ 3-4 ปีที่ผ่านมา และยังมีจากลาว กัมพูชา แถมมีโอกาสข้าวโพด GMO อาร์เจนติน่าจะปะปนมาทางด้านกัมพูชาด้วย (ไทยห้ามนำเข้าข้าวโพดจีเอ็มโอ) ซึ่งในอนาคตจะถูกส่งเข้ามาขายมากขึ้น

3.จีนผู้ผลิตข้าวโพดอันดับ 2 ของโลก จำนวน 255 ล้านไร่ เริ่มอนุญาตให้ปลูกพันธุ์ที่มีการตัดต่อทางพันธุกรรม(พันธุ์ GMO) ที่ต้านทานหนอน ต้านทานสารไกลโฟเซต ทำให้มีโอกาสผลผลิตเพิ่มขึ้นมากจากที่ต้องนำเข้า มีโอกาสที่จีนจะเป็นผู้ส่งออกข้าวโพดรายใหญ่ในอนาคต รวมถึงมีโอกาสลักลอบส่งออกข้าวโพด GMO มาที่ไทย ผลกระทบต่อเนื่องที่ตามมาคือจีนอาจลดการนำเข้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังจากไทย จากจะใช้ข้าวโพดในการผลิตเอทานอล แทนมันสำปะหลังมากขึ้น

จากปัจจัยที่กล่าวมา ทำให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นว่าอนาคตอาชีพผู้ปลูกข้าวโพดของไทยที่ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 4.06 แสนครัวเรือนแขวนอยู่บนเส้นด้าย เสี่ยงจะสูญเสียอาชีพ จากถูกกลไกตลาดบีบให้ลด ละ เลิกเร็วขึ้น (ดังตัวอย่างอาชีพปลูกถั่วเหลืองที่ปลูกกันหลังเก็บเกี่ยวข้าวได้เลิกปลูกกันไปจนเกือบหมดแล้ว) ทั้งนี้หากไม่เร่งปรับตัว เช่น เพิ่มผลผลิตต่อไร่ ลดต้นทุนให้ตํ่าสุด ปลูกพืชอื่นทดแทน และอื่น ๆ โดยรอให้เวลามาถึงตัวอาจได้รับผลกระทบรุนแรงกว่าที่คาด

              การนำข้าวโพดเข้ามาในประเทศไทยคาดว่าเกิดขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2223 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่เป็นพันธุ์ใดไม่ปรากฏ จากหลักฐานพบว่าในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 การผลิตข้าวโพดเพื่อการค้ายังมีอยู่อย่างจำกัด พันธุ์ที่เริ่มทดลองปลูกมีอยู่ 4 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์พื้นเมืองของไทย พันธุ์เม็กซิกันจูน พันธุ์นิโคลสัน เยลโล่ เด้นท์ และพันธุ์อินโดจีน ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ข้าวโพดเริ่มขยายการปลูกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่ได้เพิ่มมากนัก จนกระทั่งหลังจากที่มีการนำข้าวโพดพันธุ์ทิกิเสท โกลเดน เยลโลว์ (Tiquisate golden yellow) จากประเทศกัวเตมาลา เข้ามาทดสอบปลูกในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2496 โดยเรียกชื่อพันธุ์นี้ว่า พันธุ์กัวเตมาลา ข้าวโพดพันธุ์นี้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของประเทศได้ดี และให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เดิม ส่งผลให้มีการปลูกข้าวโพดในประเทศเพิ่มมากขึ้น แต่ในปี พ.ศ. 2508 เกิดการระบาดของโรคราน้ำค้างทำให้การผลิตข้าวโพดในประเทศไทยประสบปัญหา กรมกสิกรรม (ปัจจุบันคือ กรมวิชาการเกษตร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมูลนิธิรอกกีเพลเลอร์ (Rockefeller foundation) จึงได้ร่วมมือกันจัดประสานงานการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพด โดยมีสถานีทดลองกสิกรรมพระพุทธบาท ในอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เป็นสถานีวิจัย และเริ่มพัฒนาไร่สุวรรณ ในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งต่อมาได้จัดตั้งศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ไร่สุวรรณ ในปี พ.ศ. 2512-2513 และที่ศูนย์แห่งนี้ โดยการนำของ ดร.สุจินต์ จินายน ได้เริ่มพัฒนาข้าวโพดพันธุ์สุวรรณ 1 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ต้านทานโรคราน้ำค้าง และได้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์กัวเตมาลา โดยในปี พ.ศ. 2518 ทางราชการได้ให้การรับรองพันธุ์สุวรรณ 1 อย่างเป็นทางการ และเริ่มผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรได้ปลูกกันในปีถัดไป (วัชรินทร์, 2558) ทั้งนี้ ปัจจุบันข้าวโพดที่ปลูกในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ข้าวโพดฝักสด และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยข้าวโพดฝักสดปลูกเพื่อใช้สำหรับบริโภคและส่งออก ส่วนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอาหารสัตว์ เนื่องจากใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งจังหวัดที่เป็นแหล่งปลูกข้าวโพดที่สำคัญของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ นครราชสีมา เลย ลพบุรี และนครสวรรค์ (ภาพที่ 1) (โชคชัย และเกตุอร, 2561)

ภาคใดของไทยที่มีปริมาณการปลูกข้าวโพดมากที่สุด

การผลิต ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจ กระจายอยู่ในพื้นที่ภาค ต่าง ๆ โดยส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2561ก) รายงานว่าในช่วงปี 2560–2561 พื้นที่ปลูกมากที่สุดอยู่ใน ภาคเหนือร้อยละ 67.70 รองลงมา ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 21.46 และในภาคกลางและ ภาคตะวันตกร้อยละ 10.87 โดยภาคกลางและ ...

จังหวัดใดปลูกข้าวโพดมากที่สุด

จังหวัดที่มีเนื้อที่ปลูกมากที่สุด คือ เพชรบูรณ์834,584 ไร่

ประเทศใดในทวีปอเมริกาเหนือที่ส่งออกข้าวโพดมากเป็นอันดับ 1 ของโลก

2 -ข้าวโพด เป็นพืชเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ผลิตได้เป็นอันดับ 1. ของโลก ปลูกมากในบริเวณ ภาคกลาง โดยเฉพาะดินแดนทางตอนใต้ของทะเลสาบทั้ง 5 9.

แหล่งพื้นที่สำคัญในการปลูกข้าวโพดในสหรัฐอเมริกาชื่อว่าอะไร

ถั่วเหลือง ถั่วเหลืองเป็นพืชหมุนเวียนในการปลูกข้าวโพด แหล่งผลิตสำคัญของสหรัฐฯคือพื้นที่ Corn Beltในเขต

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita