มาตรฐานการควบคุมงานก่อสร้าง ว ส ท

Campany of Interior Design

เราคือบริษัทรับเหมาก่อสร้างอาคารพาณิชย์ทุกประเภท รับสร้างอพาร์ทเม้นท์ ตึกแถว โรงงาน รวมถึงบริการรับออกแบบตกแต่งภายใน รีโนเวท บ้าน คอนโด ออฟฟิศ สำนักงาน ร้านกาแฟ ร้านอาหาร รีสอร์ท โรงแรม ร้านค้าในห้างสรรพสินค้าและอื่นๆในระบบงาน Turnkey ครบวงจรจบในที่เดียว เป็นบริษัทที่จะให้คุณมากกว่างานก่อสร้างและตกแต่งภายในธรรมดาทั่วไป เรามีสถาปนิกArchitectsและมัณฑนากร InteriorDesigner มากไอเดียไว้ออกแบบ3D งานสวยๆให้กับอาคารของท่าน งานก่อสร้างที่มีวิศวกรและโฟร์แมนควบคุมงานให้งานออกมามีคุณภาพมากที่สุด รวมถึงความซื่อสัตย์และซื่อตรงต่อวิชาชีพ เพราะคำบอกต่อของลูกค้าคือปณิธานแห่งความสำเร็จของเรา...ทำให้เรามีวันนี้..

สิงหาคม 2022

อา.จ.อ.พ.พฤ.ศ.ส.
  1 2 3 4 5 6
7 8 9 10 11 12 13
14 15 16 17 18 19 20
21 22 23 24 25 26 27
28 29 30 31  
« ก.ค.    

รายละเอียด หมวด: ผลงานวิชาการ เผยแพร่เมื่อ: 25 กันยายน 2561 อ่าน: 2529

คลังความรู้

บริการเจ้าหน้าที่

รูปภาพกิจกรรม

ปฏิทินกิจกรรม

ผู้เยี่ยมชม

1050502

วันนี้

เมื่อวาน

สัปดาห์นี้

สัปดาห์ที่แล้ว

เดือนนี้

เดือนที่แล้ว

ทั้งหมด

495

760

2456

7099

17207

17849

1050502

ไอพี 185.93.229.26

28 ตุลาคม 2022 เวลา 17:11 น.

รู้จักมาตรฐาน วสท. (EIT Standard)

         วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.) เป็นสมาคมวิชาชีพวิศวกรรม ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2486 เป็นเวลากว่า 73 ปี โดยก่อนที่จะก่อตั้งเป็นวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ นั้น ประเทศไทยมีสมาคมที่เกี่ยวกับช่างอยู่ 2 สมาคม คือ “สมาคมนายช่างแห่งกรุงสยาม” ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2471 เป็นการรวมตัวกันของผู้สำเร็จการศึกษาวิชาการก่อสร้างจากประเทศอังกฤษ กับ “สมาคมวิศวกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2478 ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของนายช่างที่จบจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทั้งสองสมาคมดังกล่าวเป็นการรวมตัวกันเพื่อความร่วมมือทางวิชาชีพวิศวกรรม จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2486 ได้มีการรวม 2 สมาคมเป็นหนึ่งเดียวเพื่อส่งเสริมวิชาชีพวิศวกรรมให้เป็นปึกแผ่น รัฐบาลในสมัยนั้นก็ต้องการส่งเสริมอาชีพวิศวกรรม และได้ออกพระราชบัญญัติวิศวกรรมเพื่อควบคุมและให้มีการจัดการวิศวกรด้วยกันเองในหมู่วิศวกร โดยได้ยกเลิก 2 สมาคมดังกล่าว และตั้งเป็นสมาคมใหม่คือ “สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย” เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2486 และดำเนินการก่อตั้งแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2493 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้ารับวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

         วสท. เป็นสมาคมวิชาชีพที่ดำเนินงานโดยไม่แสวงหาผลกำไร ภายใต้การบริหารงานของคณะกรรมการอำนวยการ กอรปด้วยสมาชิกวิศวกร  จำนวนมากกว่า 20,000 คน  วัตถุประสงค์หลักของวสท.ได้แก่การส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้  ประสบการณ์ทางด้านมาตรฐานการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม  และการรักษาจรรยาบรรณแห่งการปฏิบัติวิชาชีพ เพื่อให้วิศวกรไทยมีคุณภาพมาตรฐานทัดเทียมนานาประเทศในการแข่งขันในเวทีโลก  วสท. ตระหนักถึงความสําคัญในบทบาทของมาตรฐานต่อการเป็นแหล่งอ้างอิงสำหรับวิศวกรและผู้เกี่ยวข้องในงานวิศวกรรม  เนื่องจากมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพเป็นเครื่องมือในการส่งเสริม สนับสนุน และเป็นการประกันคุณภาพงานของวิศวกรและผู้เกี่ยวข้องให้น่าเชื่อถือและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน  เพื่อประโยชน์ต่อความปลอดภัยของสาธารณะชน

         ในรอบหลายทศวรรษที่ผ่านมา  วสท.นับเป็นองค์กรหลักหนึ่งที่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ในระดับประเทศ ไม่ว่าจะเกิดน้ำท่วม แผ่นดินไหว  ตึกถล่ม  น้ำแล้ง  หรือส่วนราชการ หรือประชาชนมีปัญหาในเรื่องการก่อสร้างบ้าน อาคาร ถนน ฯลฯ   โดยมีส่วนร่วมในการให้ข้อคิดเห็น   ทั้งนี้ข้อเสนอแนะต่างๆ ล้วนอ้างอิงมาตรฐาน วสท.ที่ได้จัดทำขึ้นทั้งสิ้น

         เนื่องจากทิศทางในอนาคต  มาตรฐานที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเนื่องจากความสะดวกในการพกพาไม่ว่าจะเปิดดูจากคอมพิวเตอร์พีซี โน๊ตบุค แท็บเล็ต และมือถือ  วสท.จึงได้พัฒนาช่องทางการเข้าถึงมาตรฐานในรูปแบบ PDF ไฟล์เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานที่ไม่ต้องการพกพามาตรฐานติดตัวไป  ให้สามารถเปิดจากอุปกรณ์พกพาชนิดต่างๆ เหล่านี้ได้  ซึ่งจะเป็นแนวโน้มของผู้คนในอนาคต และวสท.เห็นความจำเป็นในเรื่องดังกล่าวจึงได้วางแผนการจำหน่ายมาตรฐานในรูปซอฟไฟล์ขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานให้หลากหลายโดยเสียค่าใช้บริการในราคาที่เหมาะสม

         กว่าจะมาเป็น e-book นั้น  มาตรฐาน วสท.ได้มีการจัดทำในรูปแบบเล่มจำหน่ายมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 นับเป็นเวลากว่า 44 ปี มาแล้ว

         ในอดีตการก่อสร้างตึกรามบ้านช่องจะใช้วัสดุประเภทอิฐ และปูนก่อ เป็นหลัก ยังไม่มีการใช้เหล็กส้นเสริมแรงเหมือนในปัจจุบัน การเพิ่มความสูงให้บ้านหรืออาคาร  มาตรฐาน วสท. ในยุคแรกๆ จึงออกมาเพื่อสนองตอบความต้องการของวิศวกรผู้ออกแบบเพื่อรองรับงานก่อสร้างของประเทศที่เริ่มนำเทคโนโลยีก่อสร้างจากต่างประเทศมาใช้อย่างแพร่หลายในเชิงพานิชย์มากขึ้น เทคโนโลยีการสร้างอาคารด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กนับเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนามาจากการใช้คอนกรีตล้วน และอิฐก่อแบบดั้งเดิม ซึ่งคุณสมบัติของคอนกรีตเสริมเหล็กสามารถต้านทานแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว และเพลิงไหม้ได้ดีกว่าอาคารอิฐก่อทั่วไป เดิมอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กหลังแรกๆ ของไทยจะเป็นวังของเจ้านายชั้นสูงซึ่งเป็นอาคารขนาดใหญ่ เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในรัชกาลที่ 5 ที่มีนายช่างสถาปนิกจากต่างประเทศเข้ามาดูแลงานร่วมกับช่างชาวไทยในการก่อสร้าง  ซึ่งมีการสั่งซื้อปูนซิเมนต์มาจากต่างประเทศ  อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที่พบหลักฐานการก่อสร้างอย่างละเอียดคือ พระตำหนักเหลือง ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของพระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในวังสระปทุม รวมทั้งพระตำหนักชาลีอาสน์ พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นต้น

         จากยุคแรกการก่อสร้างใช้คอนกรีต อิฐก่อ  คอนกรีตเสริมเหล็ก  จนต่อมาได้พัฒนามาสู่ระบบคอนกรีตอัดแรง  เนื่องจากมีข้อดีคือเกิดสภาวะหดตัวน้อยกว่าคอนกรีตเสริมเหล็กแบบทั่วๆ ไป ให้ความแข็งแรงทนทานมากกว่า (ขึ้นกับการออกแบบก่อสร้างด้วย) คอนกรีตเสริมเหล็ก  นอกจากใช้กับงานก่อสร้างอาคารแล้วยังมีการนำไปใช้ในงานก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค เขื่อน อนุสาวรีย์ และงานก่อสร้างขนาดใหญ่ต่างๆ ที่เห็นได้ทั่วไป  โรงปูนซิเมนต์แห่งแรกของประเทศไทยตั้งขึ้นเมื่อสมัยรัชกาลที่ 6 พ.ศ. 2456 ตามพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เพื่อผลิตปูนซีเมนต์ วัสดุก่อสร้าง  อาคารสูงที่ก่อสร้างแห่งแรกในประเทศไทยก่อสร้างขึ้นที่เยาวราชเป็นตึก 6 ชั้น  ซึ่งเป็นของพระยาสารสิน สวามิภักดิ์ (หมอเทียนอี้ ต้นตระกูลสารสิน) หมอหลวงของ ร.5 โดยในปัจจุบันตึก 6 ชั้นนี้คือ“เซี่ยงไฮ้ แมนชั่น บูติค โฮเต็ล” ได้ถูกตกแต่งใหม่โดยยังคงเอกลักษณ์ของศิลปะ วัฒนธรรมและวิถีชีวิต ในเขตการค้า การพาณิชย์ที่เก่าแก่ของคนจีนร่วมสมัย ผสมผสานกับการตกแต่งภายในอาคารในรูปแบบจีนเซี่ยงไฮ้สมัยใหม่    ต่อมาก็พัฒนาเป็นตึก 7 ชั้น ก็คือ “โรงแรมไชน่า ทาวน์” ของอมร อภิธนาคุณ นายกสมาคมชาวไทยเชื้อสายจีน ซึ่งแต่เดิมตึกแห่งนี้ก็เคยเป็นตึกที่สูงที่สุดคือตึก 7 ชั้น ที่มีชื่อเสียงบนถนนเยาวราช อีกหนึ่งตึกในย่านเยาวราชที่เคยได้ชื่อว่าเป็นตึกที่สูงที่สุดอีกเช่นกันก็คือ ตึก 9 ชั้น หรือปัจจุบันคือ ห้างทองชื่อดังในเยาวราชนั่นเอง  ต่อมาประเทศเริ่มก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ

         จากตึก 9 ชั้นที่เคยสูงที่สุดในประเทศไทยก็ได้ถูกทำลายสถิติลงในปี พ.ศ.2507 ด้วยตึกของ “อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนล” หรือ “ตึกเอไอบี” ถนนสุรวงศ์ ซึ่งมีความสูง 11 ชั้น ถือเป็นตึกที่สูงที่สุดในประเทศในยุคนั้น

         ต่อมาในปี พ.ศ.2511 ท่านผู้หญิงชนัตถ์ ปิยะอุย ก็ได้ก่อตั้ง “โรงแรมดุสิตธานี” ขึ้นด้วยความสูง 23 ชั้น ถือเป็นตึกสูงที่มาโค่นแชมป์ตึกเอไอบีลง

         ในปี พ.ศ.2524 อาคารสำนักงานใหญ่แบงค์กรุงเทพฯ ถนนสีลม ได้สร้างเสร็จโดยมีความสูง 33 ชั้น จากนั้นเทคโนโลยีและการรับวัฒนธรรมสมัยใหม่ก็ยังคงหลั่งใหลเข้ามาในประเทศไทย ความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ ทำให้กรุงเทพฯ เมืองหลวงของไทยมีตึกที่สูงหลายสิบชั้นมากมาย

         พ.ศ.2530  “ตึกใบหยก 1” (Baiyoke 1) ตั้งอยู่เลขที่ 130 ถนนราชปรารถ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร มีจำนวนทั้งหมด 42 ชั้น มีความสูงโครงสร้างตึก 151 เมตร สร้างเสร็จ 3 ปี ก่อนเริ่มสร้างตึกใบหยก 2 ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงแรมใบหยก สวีท

         พ.ศ.2540 “ตึกใบหยก 2” (Baiyoke 2) ตั้งอยู่บริเวณประตูน้ำ ถนนราชปรารภ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ตึกนี้เป็นอาคารหนึ่งในเครือใบหยก มีทั้งหมด 88 ชั้น (รวมชั้นใต้ดิน 3 ชั้น) อาคารสูงถึง 304 เมตร  ตึกใบหยก 2 มีพื้นที่ใช้สอยส่วนใหญ่เป็นโรงแรมที่ชื่อใบหยกสกาย (Baiyoke Sky) โรงแรมเปิดบริการเดือนมกราคม พ.ศ. 2541 บนยอดตึกติดตั้งเสาส่งสัญญาณโทรทัศน์ 80 ฟุต  คือสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย สทท. กรมประชาสัมพันธ์วีเอชเอฟ ช่อง 11 Modern nine TV ระบบวีเอชเอฟ ช่อง 9 ช่อง 3 ระบบ ยูเอชเอฟ ช่อง 32

         จนถึงปี พ.ศ.2559 “ตึกมหานคร” ที่ตั้งอยู่ ถ.นราธิวาสนครินทร์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร มีความสูงจำนวน 77 ชั้น (313.4 เมตร) เป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ระดับไฮเอนด์ในรูบแบบมิกส์-ยูส (Mix-use) ประกอบไปด้วยที่พักอาศัยระดับซูเปอร์ลักชัวรี่ “เดอะริทช์-คาร์ลตัน เรสซิเดนเซส บางกอก” จำนวน 207 เรสซิเดนซ์, บูติคโฮเต็ล แบรนด์ บางกอกเอดิชั่น บริหารโดย เดอะ ริทซ์-คาร์ลตัน จำนวน 159 ห้อง และพื้นที่ไลฟ์สไตล์ รีเทล ชั้นบนสุดของอาคาร (ชั้น 77) เป็น “Sky Observation Deck” และ บาร์ดาดฟ้าเอาท์ดอร์ เพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่และชมทัศนียภาพของกรุงเทพมหานคร และเป็นอาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทยในขณะนี้

         พ.ศ.2563 “ซุปเปอร์ทาวเวอร์” จะเปิดตัวเป็นตึกที่สูงที่สุดในไทยเป็นแห่งต่อไป ซึ่งจะทำลายสถิติตึกที่เคยสูงที่สุดลง ด้วยความสูง 615 เมตร 125 ชั้น  พัฒนาโดย “กลุ่มจีแลนด์”  ตั้งอยู่ภายในโครงการเดอะ แกรนด์ พระราม 9 ใช้เงินลงทุนกว่า 1.8 หมื่นล้านบาท คาดสร้างแล้วเสร็จปี 2563

         จากประวัติการสร้างตึกสูงในยุคแรกๆ ของประเทศ ไล่ไปจนถึงยุคของตึกระฟ้าที่พบมากมายในปัจจุบันและที่กำลังจะสร้างแล้วเสร็จ  เกิดขึ้นได้เพราะมีผู้สำเร็จการศึกษาทางช่างก่อสร้างจากต่างประเทศในสาขาต่างๆ มารวมตัวกันและกำหนดให้มีมาตรฐานการปฏิบัติด้านการออกแบบงานก่อสร้างขึ้น  ถึงแม้ในยุคแรกๆ ไทยยังอาศัยนายช่างจากต่างประเทศมาช่วยในการออกแบบและคุมงานก่อสร้าง แต่เมื่อมีการกำหนดมาตรฐานและมีการจัดอบรมก็ทำให้วิศวกรไทยสามารถเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกันจนสามารถทำงานและพัฒนาฝีมือได้อย่างมืออาชีพในเวลาต่อมา ซึ่งกว่าจะเริ่มมีการกำหนดมาตรฐานต่างๆ วสท.ต้องใช้เวลาในการเก็บข้อมูลพอสมควร

ประวัติมาตรฐาน วสท. สามารถไล่เลียงได้ดังนี้

         ปี 2515  มาตรฐานฉบับแรกที่จัดทำคือ มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีหน่วยแรงใช้งาน  ซึ่งในช่วงเวลานั้นมีการก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก  ซึ่งต้องการมาตรฐานไปใช้ประกอบการทำงานของวิศวกรเพื่อให้อาคารที่ก่อสร้างเป็นไปตามมาตรฐานสากล

         พ.ศ.2516  มาตรฐานสำหรับอาคารไม้ และมาตรฐานการเดินท่อภายในอาคาร

         พ.ศ. 2518  มาตรฐานที่พิมพ์ออกจำหน่ายในลำดับถัดมาคือ มาตรฐานสำหรับอาคารเหล็กรูปพรรณ  มาตรฐานสำหรับอาคารวัสดุก่อ มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับงานก่อสร้าง มาตรฐานระบบเครื่องทำความเย็นและอุปกรณ์ และมาตรฐานการติดตั้งระบบการปรับภาวะอากาศ

         จะเห็นได้ว่ามาตรฐาน วสท. ออกมาเพื่อรองรับการใช้งานของวิศวกรในการออกแบบ และติดตั้งงานอาคารเป็นหลัก  ดังจะเห็นได้ว่ามาตรฐานในลำดับถัดมา ปี 2528  มาตรฐานสำหรับอาคารเหล็กรีดเย็นก็ได้จัดพิมพ์ขึ้น

         ปี 2532  มาตรฐานการเขียนแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก มาตรฐานนี้จัดทำขึ้นโดยเป็นการพัฒนาตามมาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีหน่วยแรงใช้งาน พ.ศ.2515

         ปี 2534  มาตรฐานอาคารคอนกรีตอัดแรง

         ปี 2538  มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีกำลัง

         ปี 2540  มาตรฐานสำหรับอาคารเหล็กรูปพรรณ  มาตรฐานระบบปรับอากาศและระบายอากาศ

         ปี 2543  มาตรฐานท่อในอาคาร  มาตรฐานก๊าซหุงต้ม

         ปี 2544  มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย

         ปี 2545  มาตรฐานการควบคุมควันไฟ  มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย มาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน

         ปี 2546  ข้อกำหนดมาตรฐานวัสดุและการก่อสร้างสำหรับโครงสร้างคอนกรีต  ข้อกำหนดมาตรฐานสำหรับงานก่อสร้างเสาเข็มเจาะ  มาตรฐานการคำนวณแรงลมสำหรับการออกแบบอาคาร  เมื่ออาคารมีความสูงมากขึ้นๆ นอกจากการคำนึงถึงความแข็งแรงทางโครงสร้างแล้ว ยังต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่นขณะเกิดกระแสลมแรงด้วยจึงเป็นที่มาของการจัดทำมาตรฐานการคำนวณแรงลมสำหรับการออกแบบอาคารขึ้น

         ปี 2547  มาตรฐานการติดตั้งเครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก

         ปี 2548 มาตรฐานระบบไอน้ำ  มาตรฐานการระบายอากาศเพื่อคุณภาพอากาศภายในอาคารที่ยอมรับได้  มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัยสำหรับโรงงงานอุตสาหกรรม  มาตรฐานระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้  แนวทางการวัดปริมาณงานก่อสร้างอาคาร

         ปี 2549  มาตรฐานระบบเครื่องกลขนส่งในอาคาร  มาตรฐานระบบลิฟต์  ขอบเขตและหน้าที่การให้บริการวิชาชีพการบริหารงานก่อสร้าง  มาตรฐานเหล่านี้จัดทำขึ้นเพื่อสนองตอบความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวก และระบบสาธารณูปโภคที่จำเป็นต้องมีในอาคารสูง โดยเฉพาะลิฟต์ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการรับ-ส่ง การขึ้น-ลงอาคาร

         ปี 2550  มาตรฐานการป้องกันแม่เหล็กไฟฟ้าจากฟ้าผ่า

         ปี 2551  มาตรฐานการออกแบบอาคารเหล็กรูปพรรณโดยวิธีตัวคูณความต้านทานและน้ำหนักบรรทุก  มาตรฐานการจัดลำดับแบบก่อสร้างอาคารและรายละเอียดงานที่ควรมี  แนวทางการบริหารโครงการและควบคุมงานก่อสร้าง

         ปี 2553  มาตรฐานสำหรับอาคารเหล็กขึ้นรูปเย็น

         มาตรฐานที่เกิดขึ้นหลังปี 2553 ส่วนใหญ่จะเป็นการนำมาตรฐานในอดีตมาปรับปรุงแก้ไข ส่วนมาตรฐานใหม่จะเป็นมาตรฐานที่ตอบสนองด้านคุณภาพและความปลอดภัยภายในอาคาร ซึ่งปัจจุบันการก่อสร้างอาคารมีความก้าวหน้าทั้งด้านเทคโนโลยีของวัสดุ การออกแบบ และการก่อสร้างมากกว่าในอดีต ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรฐานเพื่อกำหนดวิธีปฏิบัติให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันทั้งประเทศ เป็นพันธกิจต่อเนื่องของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ จวบจนปัจจุบัน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita