แนวคิด ที่เกี่ยวกับจิตอาสา จิตสาธารณะ

บทที่2

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

     ในการศึกษาเรื่อง จิตอาสาพัฒนาวัด ผู้จัดทำได้รวบรวมคิดทฤษฎีและหลักการต่างๆจากเอกสารที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

      จิตอาสา หมายถึง จิตแห่งการให้ความดีงามทั้งปวงแก่เพื่อนมนุษย์ โดยเต็มใจ สมัครใจ อิ่มใจ ซาบซึ้งใจที่พร้อมจะเสียสละเวลา แรงกาย และสติปัญญา เพื่อสาธารณะประโยชน์ในการทำกิจกรรมหรือสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน และมีความสุขที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น เป็นจิตที่ไม่นิ่งดูดาย เมื่อพบเห็นปัญหาหรือความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นกับผู้คนเป็นจิตที่มีความสุขเมื่อได้ทำความดี และเห็นน้ำตาเปลี่ยนเป็นรอยยิ้ม เป็นจิตที่เปี่ยมด้วย "บุญ" คือความสงบเย็น และพลังแห่งความดีหรือความเป็นตัวเป็นตนของตนเองลงได้บ้าง

    สำหรับกระบวนการสร้างจิตอาสา ต้องประกอบด้วยการปลูกฝังให้ตระหนักถึงความสำคัญของจิตอาสา การเตรียมความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ความรู้ และการติดต่อสื่อสาร การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง และการเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง คุณลักษณะของผู้มีจิตอาสาคือ มุ่งประโยชน์ต่อส่วนรวม การทำงานทุกอย่างเป็นไปด้วยความสมัครใจ ไม่มุ่งหวังผลตอบแทนใดๆ ตลอดจนการอุทิศกาย กำลังใจ และเวลาให้แก่ส่วนรวม

   อาสาสมัคร หมายถึง ผู้ที่สมัครใจและอาสาเข้ามาเพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และทำงานที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนและสังคม โดยสมัครใจเพื่อการดูแล ป้องกัน แก้ปัญหาเพื่อพัฒนาสังคม โดยไม่หวังผลตอบแทนเป็นเงินหรือสิ่งอื่นใด ผลตอบแทนที่อาสาสมัครได้รับคือ ความสุข ความภาคภูมิใจที่ได้ปฏิบัติงานที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน สังคม และประเทศชาติ

  คุณลักษณะของอาสาสมัคร คือ มีความคิดเป็นอิสระในการเลือกที่จะทำหรือไม่ทำ มีความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งการกระทำที่เป็นประโยชน์ต่อบุคคล กลุ่มบุคคล และส่วนรวม ไม่หวังรางวัลหรือผลตอบแทนเป็นเงินทอง และไม่ใช่ภาระงานที่ต้องทำตามหน้าที่ ในด้านสภาวะจิตใจของบุคคลที่จะเป็นจิตอาสานั้น ต้องมีความรักความปรารถนาที่จะให้และมีจิตใจที่จะทำความดี เข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น รวมถึงยอมเสียสละเวลา โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆไป

ผู้ทำโครงการได้ศึกษาความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

    2.1 ความรู้เกี่ยวกับการทำความสะอาด

ขั้นตอนการทำความสะอาดลานวัด

   1.ปัญหาที่พบบ่อยก็คือตรงลานวัดจะมีใบมากร่วงในปริมาณมาก เราจึงควรเริ่มทำความสะอาดดังนี้

   -เตรียมอุปกรณ์ทำความสะอาด เช่นไม้กวาด ถังขยะ ที่ตักผงตักใบไม้ รถเข็น                                                                

    -เราควรเริ่มจากแบ่งงานกันกวาดคนละตำแหน่งกันเพื่อให้งานเสร็จอย่างรวดเร็ว                                                                                - เก็บขยะชนิดอื่นๆก่อนเพื่อแยกขยะและสะดวกต่อการกวาดใบไม้                                                                                               -ควรกวาดใบไม้ไว้เป็นกองแล้วเก็บใส่ถังขยะทันทีเพื่อป้องกันลมพัดมา                                                                                               

   2.ปัญหาต่อมาคือปัญหาการกำจัดขยะจำพวกต่างๆภายในวัด                                                                                   

  -เนื่องจากขยะในวัดเป็นจำพวกใบไม้เป็นจำนวนมากเราสามารถนำใบไม้เหล่านั้นมาทำเป็นน้ำหมักชีวภาพได้แทนที่จะนำไปเผาทิ้งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวัดอีกด้วย                                                                                                          

  -และก่อนอื่นเราต้องแยกขยะพลาสติกอื่นๆออกจากใบไม้ก่อนเพื่อสะดวกต่อการทำความสะอาจและยังสามารถสร้างจิตสำนึกในเรื่องของการคัดแยกขยะได้อีกด้วย

   2.2 การทำความดี

ข้อแนะนำในการทำความดี                                                                                                                                                  - เป็นความจริงที่พวกเราต้องยอมรับว่า บางคนอยากจะทำความดี แต่ไม่รู้ว่าจะทำความดีได้อย่างไร เพราะเป็นคนที่ค่อนข้างอัตคัด คือ ขัดสน ขาดแคลน ฝืดเคือง หรือยากจนในทรัพย์สินเงินทองเป็นอย่างมาก

    - ในเรื่องนี้ ก็ขอเรียนว่า การทำความดี ไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพย์สินเงินทองเลยก็ได้ แม้จนในทรัพย์สิน แต่ผู้นั้นอาจเป็นผู้ร่ำรวยในน้ำใจอย่างยิ่งใหญ่มหาศาลก็ได้ และอาจเป็นผู้ได้ชื่อว่า เป็นผู้กตัญญูรู้คุณอย่างเยี่ยมยอด หรือยอดกตัญญูก็เป็นไปได้เช่นกัน

     - การทำความดี จะยิ่งใหญ่หรือเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับจิตใจเป็นสำคัญ หากกระทำการสิ่งใดๆลงไปก็ดี ถ้าเรารู้สึกเต็มใจ อิ่มใจ ก็ย่อมปลื้มปิติกับสิ่งที่เราทำ และเราก็ได้บุญกุศลจากกรรมดีของเรา ไม่ยิ่งหย่อน และอาจมากกว่าการทำความดีด้วยทรัพย์สินเงินทองด้วยซ้ำไป ก็มีมากหลาย

    - การทำความดีด้วยน้ำใจนั้น ทำได้ง่าย และ ทำได้ทันที ถ้ามีโอกาสคราวใดต้องแสดงความมีน้ำใจต่อผู้อื่นทันที ยกตัวอย่าง เช่น ภายในบ้านที่อยู่อาศัย หรือสถานที่พักของเรา จะต้องทราบว่ามีใครอยู่ร่วมด้วยหรือไม่ ผู้ที่เราอยู่ร่วมด้วยนั้น จะเป็นใครก็ตาม เราต้องตั้งหลักยืดมั่นว่า เราจะต้องหาทุกวิถีทาง ที่จะทำตนให้เป็นประโยชน์แก่คนภายในบ้านของเราให้มากที่สุด ไม่ว่าเขาผู้นั้นจะเหนือกว่าเรา หรือเท่าเทียมกับเรา หรือต่ำกว่าเราก็ตาม เราจะต้องช่วยเหลือเขา ช่วยงานของเขา ช่วยลดภาระให้แก่คนอื่น โดยเข้าช่วยรับภาระแทน อาทิ ช่วยเก็บสิ่งสกปรกทิ้ง ช่วยรักษาความสะดาดช่วยทำความสะอาดสิ่งต่างๆ เท่าที่เราสามารถเข้าช่วยได้ในทุกโอกาส หรือแสดงความมีน้ำใจ โดยการยิ้มแย้มเข้าหาเขา ทักทายปราศรัยเขา ข่มสติอารมณ์มิให้โกรธ มิใช้พลุ่งพล่าน เมื่อเขาทำสิ่งที่ไม่ดีต่อเรา และให้อภัยแก่ความไม่รู้ และความโง่งมของคนอื่น ที่หลงผิดทำสิ่งที่ไม่ดี โดยคิดอยู่แต่ในใจ ห้ามปริปากบอกเขาว่าให้อภัยในความโง่ของเขา เพราะจะกลายเป็นการสร้างอารมณ์ให้เกิดการทะเลาะกัน จะต้องหลีกเลี่ยง ไม่ไปทะเลาะกับใคร หลีกเลี่ยงการพูดจากระทบกระแทกแดกดันหลีกเลี่ยงการสร้างศัตรู โดยมีการข่มใจ มีความอดทน และอดกลั้นในสิ่งที่ไม่ดี ที่มากระทบอารมณ์มิตรในชาติปัจจุบันก็ตาม เป็นวิธีการสร้างฐานความคิดที่เราจะเป็นมิตรได้กับทุกคน สามารถให้อภัยเขาได้ในทุกสถานการณ์ ไม่ผูกพยาบาทอาฆาตจองเวรกันอีกต่อไป

    - ประการสำคัญ เราต้องคิดเสมอว่า ผู้มีบุญคุณของเรา เขาชอบอะไร เราจะต้องพยายามทำในสิ่งที่เขาชอบ แต่ต้องเป็นสิ่งที่สุจริต เป็นสิ่งที่ไม่เกลือกกลั้วกับอบายมุขทุกประเภท เป็นสิ่งที่ไม่ผิดต่อกฎหมาย และศีลธรรมอันดีงาม เป็นสิ่งที่ไม่ไปสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่นเขาด้วย หากมีสติคิดได้ด้วยปัญญาว่า “เราจะทำแต่สิ่งที่ดีๆ ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้ใด แต่จะทำสิ่งที่ดี ที่สร้างความสุขใจให้แก่ผู้อื่นเป็นสำคัญ” คิดได้เช่นนี้ต้องลงมือทำในทันที ในการทำในทุกกิจกรรมจะต้องคำนึงเนื้อหาดังกล่าวข้างต้นเสมอ

- โดยเฉพาะท่านที่ยังมีคุณพ่อ คุณแม่ คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย หรือผู้มีพระคุณที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน หากอยู่อาศัยด้วยกัน จะต้องพยายามแสดงความมีน้ำใจ ไม่ทำให้ท่านต้องเสียน้ำใจ ไม่ว่าจะเป็นการใช้คำพูดหรือการกระทำ ต้องแสดงความมีน้ำใจด้วยปฏิบัติบูชา ทำแต่สิ่งที่ดีๆ ให้แก่ท่าน ถ้าท่านเกลือกกลั้วกับอบายมุข ทำสิ่งที่ไม่ดีไม่ชอบไม่ถูกกฎหมาย ก็ต้องพยายามเชิญชวนชักนำท่านให้ออกจากอบายมุข หรือสิ่งที่ไม่ดีนั้นๆ อาจหาหนังสือธรรมะเล่มบางๆ ไปวางทิ้งให้ท่านอ่าน วันนี้ไม่อ่าน พรุ่งนี้อาจอ่าน พรุ่งนี้ไม่อ่าน สัปดาห์หน้าอาจอ่าน โดยเฉพาะช่วงเวลาที่ท่านมีอารมณ์ดีจะต้องหาโอกาสแนะนำเรื่องกฎแห่งกรรม การกระทำเช่นนี้ ถือได้ว่า เป็นการกตัญญูกตเวทีอีกวิธีหนึ่ง

 - แต่ ถ้าท่านโชคดี ไม่มีบุคคลในครอบครัวของท่าน ที่เข้าไปเกลือกกลั้วกับอบายมุข ไม่มีใครกระทำการสิ่งที่ผิดกฎหมาย และศีลธรรมอันดีงาม ท่านก็เพียงต้องประคอง และรักษาน้ำใจของท่านเหล่านั้น โดยต้องคิดให้ดี มีสติให้มั่นคงว่า เราจะทำทุกอย่างที่ดีๆ ให้ท่านมีความพอใจ จะต้องพยายามทำสิ่งที่ดีๆ ที่ท่านชอบ จะไม่โต้เถียงหรือโต้แย้ง จะไม่ชี้แจงเรื่องใดๆ ในเวลาที่ท่านมี

อารมณ์โกรธ เพราะการชี้แจงเรื่องใดๆ แม้จะดี แม้จะถูกต้อง ก็ห้ามกระทำ ในเวลาที่ท่านมีอารมณ์โกรธ เพราะเมื่อมีโมหะจิต มีโกรธะจิต ย่อมบดบังปัญญาไปโดยสิ้นเชิง ไม่ควรใช้เหตุผลใดๆในขณะที่ท่านมี

อารมณ์เสียเป็นอันขาด โดยเฉพาะบุคคลที่มีบุญคุณแก่ตัวของเรา หลังจากอารมณ์ท่านเย็น อารมณ์โกรธของท่านหายไปเมื่อไร

 *ผลบุญของการทำความดี*

1.นั่งสมาธิอย่างน้อยวันละ15นาที(หรือเดินจงกรมก็ได้) อานิสงส์เพื่อสติปัญญาที่เฉลียวฉลาดขึ้นทั้งภพนี้และภพหน้า เพื่อจิตใจที่สว่างผ่อนปรนจากกิเลส ปล่อยวางได้ง่าย จิตจะรู้วิธีแก้ปัญหาชีวิตโดยอัตโนมัติ ชีวิตจะเจริญรุ่งเรืองไม่มีวันอับจน ผิวพรรณผ่องใส สุขภาพกายและจิตแข็งแรงเจ้ากรรมนายเวรและญาติมิตรที่ล่วงลับจะได้บุญกุศล

2.สวดมนต์ด้วยพระคาถาต่างๆอย่างน้อยวันละครั้งก่อนนอน อานิสงส์พื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง ชีวิตหน้าที่การงานเจริญก้าวหน้า เงินทองไหลมาเทมา แคล้วคลาดจากอุปสรรคทั้งปวง จิตจะเป็นสมาธิได้เร็ว แนะนำพระคาถาพาหุงมหากา,พระคาถาชินบัญชร, พระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก เป็นต้น เมื่อสวดเสร็จต้องแผ่เมตตาทุกครั้ง

3.ถวายยารักษาโรคให้วัด,ออกเงินค่ารักษาให้พระตามโรงพยาบาลสงฆ์ อานิสงส์ก่อให้เกิดสุขภาพร่มเย็นทั้งครอบครัว โรคที่ไม่หายจะทุเลา สุขภาพกายจิตแข็งแรง อายุยืนทั้งภพนี้และภพหน้า ถ้าป่วยก็จะไม่ขาดแคลนการรักษา

4.ทำบุญตักบาตรทุกเช้า อานิสงส์ได้ช่วยเหลือศาสนาต่อไปทั้งภพนี้และภพหน้า ไม่ขาดแคลนอาหาร ตายไปไม่หิวโหย อยู่ในภพที่ไม่ขาดแคลน ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์

5.ทำหนังสือหรือสื่อต่างๆเกี่ยวกับธรรมะแจกฟรีแก่ผู้คนเป็นธรรมทาน อานิสงส์เพราะธรรมทานชนะการให้ทานทั้งปวง ผู้ให้ธรรมจึงสว่างไปด้วยลาภยศ สรรเสริญ ปัญญา และบุญบารมีอย่างท่วมท้น เจ้ากรรมนายเวรอโหสิกรรมให้ ชีวิตจะเจริญรุ่งเรืองอย่างไม่คาดฝัน

6.สร้างพระถวายวัด อานิสงฆ์ผ่อนปรนหนี้กรรมให้บางเบา ให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง สิ่งศักด์สิทธิ์คุ้มครอง แคล้วคลาดจากอุปสรรคทั้งปวง ครอบครัวเป็นสุขได้เกิดมาอยู่ในร่มโพธิ์ของพุทธศาสนาตลอดไป

7.แบ่งเวลาชีวิตไปบวชชีพรามณ์หรือบวชพระอย่างน้อย9วันขึ้นไปอานิสงส์ได้ตอบแทนคุณพ่อแม่อย่างเต็มที่ผ่อนปรนหนี้กรรมอุทิศผลบุญให้ญาติมิตรและเจ้ากรรมนายเวร สร้างปัจจัยไปสู่นิพพานในภพต่อๆไป ได้เกิดมาอยู่ในร่มโพธิ์ของพุทธศาสนาจิตเป็นกุศล

8.บริจาคเลือดหรือร่างกายผิวพรรณผ่องใส สุขภาพแข็งแรง ช่วยต่ออายุ ต่อไปจะมีผู้คอยช่วยเหลือไม่ให้ตกทุกข์ได้ยาก เทพยดาปกปักรักษา ได้เกิดมามีร่างกายที่งดงามในภพหน้า ส่วนภพนี้ก็จะมีราศีผุดผ่อง

9.ปล่อยปลาที่ซื้อมาจากตลาดรวมทั้งปล่อยสัตว์ไถ่ชีวิตสัตว์ต่างๆอานิสงส์ ช่วยต่ออายุ ขจัดอุปสรรคในชีวิต ชดใช้หนี้กรรมให้เจ้ากรรมนายเวรที่เคยกินเข้าไป ให้ทำมาค้าขึ้น หน้าที่การงานคล่องตัวไม่ติดขัด ชีวิตที่ผิดหวังจะค่อยๆฟื้นคืนสภาพที่สดใส เป็นอิสระ

10.ให้ทุนการศึกษา,บริจาคหนังสือหรือสื่อการเรียนต่างๆ,อาสาสอนหนังสืออานิสงส์ทำให้มีสติปัญญาดี ในภพต่อๆไปจะฉลาดเฉลียวมีปัญญา ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนอย่างรอบรู้สติปัญญาสมบูรณ์พร้อม

11.ให้เงินขอทาน,ให้เงินคนที่เดือดร้อน(ไม่ใช่การให้ยืม) อานิสงส์ ทำให้เกิดลาภไม่ขาดสายทั้งภพนี้และภพหน้า ไม่ตกทุกข์ได้ยาก เกิดมาชาติหน้าจะร่ำรวยและไม่มีหนี้สิน ความยากจนในชาตินี้จะทุเลาลง จะได้เงินทองกลับมาอย่างไม่คาดฝัน

12.รักษาศีล5หรือศีล8 อานิสงส์ไม่ต้องไปเกิดเป็นเปรตหรือสัตว์นรก ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐครบบริบูรณ์ ชีวิตเจริญรุ่งเรือง กรรมเวรจะไม่ถ่าโถม ภัยอันตรายไม่ย่างกราย เทวดานางฟ้าปกปักรักษา อานิสงส์

2.3 การสร้างเสริมจิตสำนึกต่อส่วนรวม

    รัญจวน อินทร์กำแหง ชี้ถึงแนวทางในการเสริมสร้างจิตสำนึกของคนในสังคมว่า จะต้องเกิดขึ้นได้จากการคลุกคลีอยู่กับความถูกต้องการปลูกฝังอบรมการฝึกปฏิบัติการได้เห็นตัวอย่างที่ชวนให้ประทับใจ ปัจจัยเหล่านี้ค่อยๆโน้มนำใจของบุคคลให้เกิดจิตสำนึกที่ถูกต้องและการสร้างจิตสำนึกต่อส่วนรวมให้เกิดขึ้นจำต้องอาศัยสถาบันทางสังคมหลายส่วนเข้ามาร่วมมือกันอาทิ                                                               

 1.สถาบันการศึกษาการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาเป็นสิ่งที่ปฏิเสธกันไม่ได้ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาในรูปใดจำต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาจนมีการศึกษามากพอแก่สถานะแห่งตนที่จะสามารถปฏิบัติงานหรือดำเนินชีวิตไปสู่ทิศทางที่ประสงค์การกำหนดเป้าหมายของการศึกษาให้ถูกต้องโดยธรรมชาติเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่แท้จริง จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่มีผู้มีอำนาจในการบริหารการศึกษาพึงพิจารณาให้ลึกซึ้งให้ถ่องแท้ ให้รอบคอบ ให้ถูกต้องด้วยทัศนะที่กว้างไกล โดยมีจุดหมายรวบยอดว่า ต้องจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้มีจิตสำนึกเป็นมนุษย์ที่เต็มที่การจัดการศึกษาควรมุ่งเน้นที่การสร้างจิตสำนึกภายในคือการพัฒนาจิตสำนึกภายใน คือการพัฒนาจิตใจที่เป็นรากฐานของความเป็นมนุษย์ไม่ควรเน้นที่การพัฒนาเพื่อความสำเร็จในวิชาชีพที่ปราศจากพื้นฐานทางจริยธรรมเพราะอาจจะเป็นการส่งเสริมให้บุคคลออกไปประกอบวิชาชีพด้วยจิตสำนึกผิดพลาดแล้วก็ไปสร้างระบบการทำงานที่ผิดมีการเอาเปรียบผู้อื่นกอบโกยความหลงตัวเองว่ามัวเมาวนเวียนแต่ในวังวนวัตถุ ที่อาจจะก่อให้เกิดการประหัตประหารกันในทุกวงการ  การให้การศึกษาแก่ยุวชน ควรหยุดสร้างจิตสำนึกที่นิยมในวัตถุ แต่เน้นการสร้างจิตสำนึกในทางจริยธรรมให้หนักแน่นเข้มแข็งยิ่งขึ้นทุกระดับการศึกษาตั้งแต่อนุบาลจนถึงอุดมศึกษาเพื่อให้เป็นจิตที่สามารถสร้างระบบถูกต้องเพื่อการดำรงอยู่ของสังคมโดยธรรมโดยเฉพาะการดำรงเน้นการฝึกอบรมให้รู้จักทำหน้าที่เพื่อหน้าที่อย่างดีที่สุดฝีมือในทุกหน้าที่ในฐานะที่เกิดมาเป็นมนุษย์ด้วยความสำนึกว่าทุกหน้าที่มีคุณค่าและความสำคัญเท่าเทียมกัน                                                                                                                                        

 2. สถาบันศาสนา สถาบันทางศาสนาต้องเป็นผู้นำในการสร้างจิตสำนึกต่อส่วนรวมให้เกิดขึ้น ต้องนำประชาชนกลับไปสู่คำสอนของพระพุทธองค์ที่ทรงเน้นให้เห็นแก่ประโยชน์สุขของสังคมเป็นใหญ่ ไม่บริโภคเกินความจำเป็น หรือเพราะความอยาก มีความสันโดษ พอใจที่จะมีกินมีอยู่ มีใช้เท่าที่จำเป็น รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เจือจานแก่ผู้อื่น มีความเมตตาอาทรต่อกัน เห็นแก่ผู้อื่นเสมือนเห็นแก่ตนเอง รู้จักหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้อง สถาบันทางศาสนาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะเป็นสถาบันที่ได้รับการเคารพบูชาแต่โบราณกาลจวบจนปัจจุบัน เป็นสถาบันที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อจิตใจของประชาชนเพราะต่างได้ยึดถือสถาบันนี้ เป็นที่พึ่งทางใจมาอย่างเนิ่นนาน ฉะนั้นสถาบันทางศาสนาจึงอยู่ในฐานะที่จะช่วยสร้างสรรค์และพัฒนาจิตใจของคนในสังคมให้หันเข้ามาอยู่ในความถูกต้องตามทำนองคลองธรรมและวิธีการพัฒนาจิตสำนึกให้เกิดขึ้นได้อย่างดีที่สุด ก็คือการสอนด้วยตัวเอง อันหมายถึง การที่ผู้อยู่ในสถาบัน องค์การทางศาสนา พึงต้องประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างแก่คนในสังคมในด้านการช่วยเหลือส่วนรวม                                           

 3. สถาบันครอบครัว ความอบอุ่นของสถาบันครอบครัวมีความสำคัญเป็นอันดับแรกเพราะเป็นจุดเริ่มต้นที่ช่วยให้ทารกจะเกิดจิตสำนึกเห็นความสำคัญของส่วนรวม ความใกล้ชิดระหว่างพ่อแม่กับลูก จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการเลี้ยงอบรมลูก เพราะความใกล้ชิดจะเป็นสื่อที่ทำให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน และกลายเป็นเกิดความเห็นใจซึ่งกันและกัน สถาบันครอบครัวจึงเป็นพื้นฐานของสังคม ถ้าครอบครัวมีแต่ความคลอนแคลน สังคมก็พลอยคลอนแคลนไปด้วย และเด็กที่เติบโตจากครอบครัวที่คลอนแคลนจะมีจิตสำนึกที่คลาดเคลื่อน การสอนและการอบรมจากสถาบันครอบครัว ควรดำเนินการให้สอดคล้องประสานไปในจุดหมายเดียวกันกับการสอนการอบรมของสถาบันการศึกษา และสถาบันทางศาสนา เพื่อปูพื้นฐาน หรือฝังรากให้เด็กมีจิตสำนึกที่เป็นสัมมาทิฐิเสียตั้งแต่ยังเด็ก                                                                         

   4. สื่อมวลชน สื่อมวลชนเป็นสถาบันที่ทรงอิทธิพลอย่างยิ่งในการกระจายความคิดความรู้ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งสู่การรับรู้ของประชาชน ความร่วมมือจากสื่อมวลชนจะช่วยสร้างความเข้าใจช่วยสร้างจิตสำนึกที่ถูกต้องให้แก่คนในสังคม เนื่องจากสื่อมวลชนนั้นมีบทบาทและอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการเสริมสร้างการรับรู้ที่จะสั่งสมกลายเป็นจิตสำนึกของคนในสังคม การจัดการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองจึงเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นที่จะช่วยให้คนในสังคมมีจิตสำนึกต่อส่วนรวม ที่จะนำไปสู่การก่อตัวของประชาสังคมการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองนี้ มิได้หมายถึงกระบวนการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนสำหรับประชากรวัยเรียน หรือการจัดการการศึกษาแบบเป็นทางการในรูปแบบอื่นๆ แต่ยังหมายถึงกระบวนการเสริมสร้างการเรียนรู้ทางตรงอย่างไม่เป็นทางการในชีวิตประจำวัน ซึ่งจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับเครือข่ายสถาบัน และกระบวนการทางสังคมทีหลากหลายและต่อเนื่องทั้งในส่วนของสถาบันการศึกษาสถาบันครอบครัว องค์การเอกชน และองค์กรประชาสังคม ฯลฯ

    ความสำคัญของวัดที่มีต่อวิถีชีวิตคนไทย

    วัด  คือคำเรียก สถานที่สำหรับประกอบกิจกรรมทางศาสนาของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ในประเทศไทย, กัมพูชา และลาว ภายในวัดจะมี กุฏิ ซึ่งใช้เป็นเป็นที่อาศัยของนักบวชในศาสนาพุทธซึ่งก็คือ พระสงฆ์ อีกทั้งยังมีเจดีย์ พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ เมรุ ซึ่งใช้สำหรับประกอบศาสนพิธีต่างๆ เช่น การเวียนเทียน การสวดมนต์ การทำสมาธิ

วัดโดยส่วนใหญ่นิยมแบ่งเขตภายในวัดออกเป็นสองส่วนคือ พุทธาวาส และสังฆาวาส โดยส่วนพุทธาวาสจะเป็นที่ตั้งของสถูปเจดีย์ อุโบสถ สถานที่ประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา และส่วนสังฆาวาส จะเป็นส่วนกุฎิสงฆ์สำหรับพระภิกษุสงฆ์สามเณรจำพรรษา และในปัจจุบันแทบทุกวัดจะเพิ่มส่วนฌาปนสถานเข้าไปด้วย เพื่อประโยชน์ในด้านการประกอบพิธีทางศาสนาของชุมชน เช่น การฌาปนกิจศพ โดยในอดีตส่วนนี้จะเป็นป่าช้า ซึ่งอยู่ติดหรือใกล้วัด ตามธรรมเนียมของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มฌาปนสถานในวัดพุทธศาสนาในประเทศไทยจะตั้งอยู่บนพื้นที่ ๆ เป็นป่าช้าเดิมปัจจุบัน วัดไทยในชนบทยังคงเป็นศูนย์รวมของคนในชุมชน ซึ่งต่างจากในเมืองใหญ่ที่วัดกลายเป็นเพียงสถานที่จำพรรษาของพระสงฆ์และเพื่อประกอบพิธีทางศาสนาเท่านั้น

    พระอารามหลวง วัดในประเทศไทยแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ได้แก่ พระอารามหลวง หรือ วัดหลวง คือวัดที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสร้างหรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าจํานวนในบัญชีเป็นพระอารามหลวง และ วัดราษฎร์ คือวัดที่ได้รับพระราชทานที่วิสุงคามสีมา แต่มิได้เข้าบัญชีเป็นพระอารามหลวง หรือวัดที่พุทธศาสนิกร่วมใจบริจาคทรัพย์และที่ดินถวายเป็นสังฆาราม

 การจัดลำดับชั้นของพระอารามหลวงมีดังต่อไปนี้

1   พระอารามหลวงชั้นเอก มีสามชนิด ได้แก่ ราชวรมหาวิหาร ราชวรวิหาร และวรมหาวิหาร

2.   พระอารามหลวงชั้นโท มีสี่ชนิด ได้แก่ ราชวรมหาวิหาร ราชวรวิหาร วรมหาวิหาร และวรวิหาร

3.   พระอารามหลวงชั้นตรี มีสามชนิด ได้แก่ ราชวรวิหาร วรวิหาร และสามัญ (ไม่มีสร้อยต่อท้าย)

   ข้อควรปฏิบัติในการไปวัดไทย

    ควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยและสำหรับการเตรียมอาหารไปถวายพระภิกษุ ต้องเป็นอาหารที่สุกแล้วหรือจำพวกผลไม้ อย่าถวายอาหารที่สุก ๆ ดิบ ๆ และควรระมัดระวังเนื้อสัตว์ต้องห้าม เช่น เนื้อมนุษย์ เนื้อช้าง เนื้อม้า เนื้อสุนัข เนื้อราชสีห์ เนื้องู เนื้อเสือโคร่ง เนื้อเสือเหลือง เนื้อเสือดาว เนื้อหมี ไปถวายพระภิกษุ เพราะเป็นเนื้อต้องห้ามสำหรับพระภิกษุ  และสุดท้าย ไม่ควรนำเด็กอ่อนไปวัดด้วย เพราะเด็กอาจจะร้องไห้สร้างความรำคาญแก่ผู้อื่นได้

ความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทย มีดังนี้

 1.พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ชาวไทยส่วนใหญ่นับถือ ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศร้อยละ 95 นับถือพระพุทธศาสนาสืบต่อมาจากบรรพบุรุษไทย นับตั้งแต่ไทยมีประวัติศาสตร์ชัดเจนชาวไทยก็นับถือพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว หลักฐานโบราณ ได้แก่ โบราณสถานที่เป็นศาสนสถาน โบราณวัตถุ

เช่น พระธรรมจักร ใบเสมา พระพุทธรูป ศิลาจารึก เป็นต้น แสดงว่าผู้คนในดินแดนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนา (ทั้งนิกายเถรวาทและมหายาน) มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 กล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยมาช้านานแล้ว

2. พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานสำคัญของวัฒนธรรมไทย เนื่องจากชาวไทยนับถือพระพุทธศาสนามาช้านาน จนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาได้หล่อหลอมซึมซับลงในวิถีไทย กลายเป็นรากฐานวิถีชีวิตของคนไทยในทุกด้าน ทั้งด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณีและศีลธรรม ดังนี้

    1) วิถีชีวิตของคนไทย คนไทยมีวิถีการดำเนินชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ ได้แก่ การแสดงความเคารพ การมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความกตัญญูกตเวที การไม่อาฆาตหรือมุ่งร้ายต่อผู้อื่น ความอดทนและการเป็นผู้มีอารมณ์แจ่มใส รื่นเริง เป็นต้น ล้วนเป็นอิทธิพลจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น ซึ่งได้หล่อหลอมให้คนไทยมีลักษณะเฉพาะตัว เป็นเอกลักษณ์ของคนไทยที่นานาชาติยกย่องชื่นชม

    2) ภาษาและวรรณกรรมไทย ภาษาทางพระพุทธศาสนา เช่น ภาษาบาลีมีอยู่ในภาษาไทยจำนวนมาก วรรณกรรมไทยหลายเรื่องมีที่มาจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น ไตรภูมิกถา ในสมัยสุโขทัย กาพย์มหาชาติ นันโทปนันทสูตรคำหลวง พระมาลัยคำหลวง ปุณโณวาทคำฉันท์ ในสมัยอยุธยา เป็นต้น

   3) ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ประเพณีไทยที่มาจากความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนามีอยู่มากมาย เช่น การอุปสมบท ประเพณีทอดกฐิน ประเพณีแห่เทียนพรรษา ประเพณีชักพระ เป็นต้น กล่าวได้ว่าขนบธรรมเนียมประเพณีที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนามีความผูกพันกับคนไทยตั้งแต่เกิดจนตาย

   4) ศิลปกรรมไทย พระพุทธศาสนาเป็นบ่อเกิดของศิลปะแขนงต่างๆ วัดเป็นแหล่งรวมศิลปกรรมไทย ทางด้านสถาปัตยกรรม เช่น รูปแบบการเสร้างเจดีย์ พระปรางค์ วิหาร ที่งดงามมาก เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) กรุงเทพมหานคร ประติมากรรม ได้แก่ งานปั้นและหล่อพระพุทธรูป เช่น พระพุทธลีลาในสมัยสุโขทัย พระพุทธชินราช วัดพระศรีมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก จิตรกรรม ได้แก่ ภาพวาดฝาผนังและเพดานวัดต่างๆ เช่น จิตรกรรมฝาผนัง วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร

3. พระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจของสังคมไทย พระสงฆ์เป็นผู้นำทางจิตใจของประชาชน เป็นศูนย์กลางของความเคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ให้คนไทยประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงามนอกจากนี้วัดยังเป็นศูนย์กลางของชุมชน เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมของชุมชน สร้างความสามัคคีในชุมชน

4. พระพุทธศาสนาเป็นหลักในการพัฒนาในการพัฒนาชาติไทย หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามุ่งเน้นการพัฒนาคนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพทั้งด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต ใช้คุณธรรมและสติปัญญาในการดำเนินชีวิตเพื่อพัฒนาตนเองและร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาชุมชน พัฒนาสังคม และพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญ

รุ่งเรือง นอกจากนี้พระสงฆ์หลายท่านยังมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำชุมชนพัฒนาในด้านต่างๆ เช่น การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การอนุรักษ์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น วัดเป็นแหล่งการเรียนรู้ของสังคมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ชาวไทยได้บวชเรียนในพระพุทธศาสนา ได้ฝึกฝนอบรมตนให้เป็นคนดี เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติไทย

5. พระพุทธศาสนาเป็นหนึ่งในสามสถาบันหลักของชาติไทย สถาบันหลักของชาติไทยที่คนไทยทุกคนให้ความเคารพนับถือ ประกอบด้วยชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ รัฐธรรมนูญไทยได้กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ หมายถึง พระประมุขของชาติไทยที่ทรงนับถือพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศและยังเป็นอัครศาสนูปถัมภกคือ รงให้ความอุปถัมภ์ศาสนาทุกศาสนาในประเทศไทย

    ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะเป็นสถาบันหลักของสังคมไทย

สถาบันพระพุทธศาสนาเป็นสถาบันหลักสถาบันหนึ่งของสังคมไทย คนไทยต่างให้การยอมรับนับถือมาตั้งแต่โบราณกาล และมีการสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้ โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภก

เมื่อพระพุทธศาสนาได้เข้ามาประดิษฐานมั่นคงในสังคมไทย วัดและพระสงฆ์มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนไทย วัดจึงได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคม วัดเป็นศูนย์กลางของการอบรมสั่งสอนจริยธรรม เป็นสถาบันสำคัญทั้งในด้านการศึกษา สังคม และเป็นบ่อเกิดของศิลปะสาขาต่าง ๆ ส่วนพระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่สืบทอดพระพุทธศาสนาก็ได้รับการยกย่องในสังคม ในฐานะเป็นผู้ทรงคุณธรรมควรแก่การเคารพและเชื่อฟังซึ่งสรุปได้ ดังนี้

   *ด้านการศึกษา วัดเป็นสถานศึกษาเล่าเรียน โดยพระภิกษุสงฆ์ทำหน้าที่เป็นผู้อบรมสั่งสอนให้ความรู้ แม้ในปัจจุบัน พระสงฆ์ก็ยังคงทำหน้าที่สอนพระพุทธศาสนาในโรงเรียน

  *ด้านสังคม วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน เป็นที่ชุมนุม เพื่อทำบุญฟังพระธรรมเทศนา ตลอดจนการพบปะสังสรรค์ พระสงฆ์เป็นตัวแทนของสถาบันพระพุทธศาสนาที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำทางจิตใจของประชาชน

   *ด้านศิลปกรรม วัดเป็นที่รวมแห่งศิลปกรรมประเภทต่าง ๆ เช่น ประติมากรรมปูนปั้น ศิลปกรรมแกะสลักไม้ จิตรกรรมฝาผนัง ตลอดถึงถาวรวัตถุต่าง ๆ ที่ศิลปินไทยได้ถ่ายทอดไว้ที่โบสถ์ วิหาร เจดีย์ องค์พระพุทธรูป ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงศรัทธาที่มีต่อพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนาในฐานะเป็นสภาพแวดล้อมที่กว้างขวางและครอบคลุมสังคมไทย

      จากการศึกษาประวัติศาสตร์ของชนชาติไทยพบว่าประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของดินเแดนที่เรียกว่าสุวรรณภูมิ เป็นที่ตั้งมั่นของพระพุทธศาสนามาเป็นเวลายาวนาน คำสอนของพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่ไปทุกภูมิภาคของประเทศและสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของผู้คนจนก่อให้เกิดขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม ศิลปกรรม สถาปัตยกรรมอันเนื่องด้วยพระพุทธศาสนา จนกลายมาเป็นสมบัติของชาติให้พุทธศาสนิกชนได้เกิดความภาคภูมิใจ

พระพุทธศาสนาจึงมีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันอย่างใกล้ชิดอยู่แล้วโดยปริยาย แม้มรรยาทต่างๆ ที่คนไทยถูกสอนให้เคารพอาวุโส มีการยืดมั่นและปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณีก็ล้วนมาจากหลักเกณฑ์ทางพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น

สังคมไทยเคารพศรัทธาต่อพระภิกษุมาก เนื่องเพราะเชื่อว่า พระภิกษุ นั้นเป็นผู้มีความรู้มากกว่าฆราวาส เป็นผู้ทรงศีล ย่อมพูดแต่สิ่งเท็จจริง และเป็นครูบาอาจารย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนที่มีต่อวัดจึงผูกพันแนบแน่นกับวิถีชีวิตของ ทุกคนนับแต่เกิดจนตาย คำสั่งสอนจึงได้รับความเชื่อถืออย่างไร้ความคลางแคลงใจ ดังนั้นพระสงฆ์จึงกลายเป็นที่พึ่งของสังคมในทุกๆเรื่อง ไม่ว่าในทางที่เป็นมงคลและอัปมงคล ส่วน วัด นั้นเป็นสถานที่รับใช้บริการงานประเพณีการทำบุญต่างๆเพื่อให้เกิดกุศลบุญแก่ ฆราวาส เนื่องในวันสำคัญทางศาสนาซึ่งมีอยู่แทบตลอดทั้งปี รวมทั้งเป็นสถานที่ให้การศึกษาแก่ชุมชน นับแต่การบวชเณรจนถึงบวชเป็นพระภิกษุสถานที่ให้ความสงบเยือกเย็นทางใจ เช่น การแสดงพระธรรมเทศนา การฝึกปฏิบัติ ธรรม สมาธิเป็นสถานที่ชุมนุมของสังคมทุกกาลวาระ เช่น การประชุมกรรมการหมู่บ้าน งานเทศกาลรื่นเริงที่มีการ  ออกร้าน มีมหรสพต่างๆ เป็น

ความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับวัง

   พระมหากษัตริย์ในอุดมคติของสังคมไทย จะสมบูรณ์แบบได้นั้น ต้องแสดงศักยภาพของพระองค์ใน ๒ ลักษณะ คือ ความเป็นพระจักรพรรดิราช ที่สามารถปกป้องปวงประชาให้อยู่เย็นเป็นสุขจากศัตรู และ ความเป็นพระมหาธรรมราชา หมายถึง พระราชาผู้ทรงคุณธรรม ดังนั้นพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์จึงทรงดำเนินนโยบายตามแนวความคิดดัง กล่าวนี้มาโดยตลอด โดยการสร้างบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆก็เพื่อส่งเสริมให้ภาพลักษณ์แห่ง ความเป็น “ธรรมราชา” ของพระองค์สมบูรณ์แบบขึ้น นอกเหนือจากการอาศัยศาสนามาช่วยในพิธีกรรมต่างๆนั่นเอง

ความสัมพันธ์ระหว่างบ้าน วัด และวังความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยดังกล่าวมาทั้งหมด มีความเกี่ยวเนื่องกับสถาบันหลัก ๓ประเภท คือ บ้าน วัด และวัง สถาบันทั้ง ๓ หน่วยนี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องซึ่งกันและกันตลอดเวลา โดย “วัง” นั้นอยู่ในสถานะของที่ประทับแห่งกษัตริย์หรือผู้นำของสังคมและประเทศชาติ วังจึงเป็นเสมือนหนึ่งสัญลักษณ์แห่งศูนย์รวมในทางอาณาจักร ในขณะที่ “บ้าน” เป็นที่พักอาศัยของเหล่าทวยราษฎร เป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐาน สำหรับ “วัด” อันเป็นที่ตั้งของพุทธสถานนั้น ก็จะดำรงอยู่ในฐานะศูนย์รวมทางจิตใจที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่าง “วัง” กับ “บ้าน” หรืออีกนัยยะหนึ่งระหว่าง “กษัตริย์” กับ “ราษฎร” เมื่อไทยรับเอาอิทธิพลความเชื่อในเรื่องของ “สมมุติเทพ” จากขอมเข้ามาใช้ในสังคมสมัยอยุธยา ภาพลักษณ์และบทบาทแห่งกษัตริย์ของไทยยิ่งมีความสูงส่งและศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง ขึ้น จนทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับราษฎรกลับมีช่องว่างห่างกันมาก “วัด” จึงเป็นเสมือนสายใยที่เชื่อมโยงช่องว่างดังกล่าวนั้น วัดสำคัญๆโดยเฉพาะอย่างวัดมหาธาตุ ถูกสถาปนาขึ้นด้วยชนชั้นปกครองทั้งสิ้น เนื่องจากต้องอาศัยกำลังและทรัพย์วัสดุในการก่อสร้างจำนวนมาก วัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้นจึงวิจิตรบรรจงงดงาม เมื่อวัดดังกล่าวถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นศูนย์รวมในทางจิตใจของชุมชน กษัตริย์ในฐานะผู้สร้างวัดก็ย่อมได้รับความเคารพศรัทธาและซื่อสัตย์จงรัก ภักดีจากทวยราษฎร์ในชุมชนนั้นโดยปริยาย อำนาจและพลังมวลชนที่กษัตริย์พึงจะได้มา อาศัยการสื่อผ่านทางเจ้าอาวาสวัดต่างๆนี้โดยตรง นี่คือความสัมพันธ์ระหว่างความหมายของบ้าน วัด และวัง

วัดในสถานะที่เป็นศูนย์กลางของสังคมมีความสำคัญและบทบาทหน้าที่ดังนี้ คือ

๑.วัดในฐานะตัวแทนความเจริญและความมั่นคงของแผ่นดิน

๒.วัดในฐานะสถาบันผู้สืบทอดศาสนาให้ยั่งยืน

๓.วัดในฐานะสถานที่ให้การศึกษา

๔.วัดในฐานะที่พึ่งทางกายและใจของสังคม

๕.วัดในฐานะศูนย์รวมของศิลปกรรม

บทวิเคราะห์

   ในสมัยโบราณวัดเป็นสถานที่รวมจิตใจของคนไทยและนอกจากนั้นวัดยังเป็นสถานที่ให้ความรู้แก่คนในสมัยก่อนเพราะเเต่ก่อนยังไม่มีโรงเรียนก็เลยใช้วัดเป็นที่ให้ความรู้เเก่เด็กโดยมีพระเป็นผู้อบรมสั่งสอนและวัดยังเป็นที่ชุมนุมของคนเพื่อเป็นที่ประชุมหรือเพื่อเป็นที่ชำระจิตใจของผู้คน นับได้ว่าในสมัยก่อนวัดมีอิทธิพลมากต่อคนไทยจนมาถึงในยุคสมัยปัจจุปันวัดก็ยังเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยมาช้านาน ซึ่งวัดจะ

เป็นที่รวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าต่างๆไว้มากมายนอกจากนี้วัดก็ยังเป็นศูนย์รวมความเชื่อต่างๆทางไสยศาสตร์ของชาวพุทธซึ่งเป็นความเชื่อของเเต่ละบุคคล  ในปัจจุบันนี้ในประเทศไทยจะมีวัดต่างๆมากมายที่เกิดจากหลายเชื้อชาติที่เข้ามาอาศัยในประเทศไทยเช่น วัดจีน ทั้งนี้ก็จะเกิดทั้งข้อดีเเละข้อเสีย ซึ่งข้อดีก็คือมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้ แต่ข้อเสียคือ ความขัดเเย้งของความคิดและวัฒนธรรมได้ ในฐานะที่เราเป็ทหารเราควรช่วยกันทะนุบำรุงรักษาวัดให้มั่นคงอยู่คู่กับคนไทยเพื่อให้คนไทยได้มีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจทั้งในยามทุกข์และยามสุข  ดังนั้นวัดจึงเปรียบเสมือนแหล่งรวบรวมและสร้างวัฒนธรรม ซึ่งวัฒนธรรมเป็นค่านิยมและความเชื่อที่มีร่วมกันมาอย่าช้านานซึ่งเป็นระบบที่เกิดขึ้นในสังคมแทบทุกสังคมของคนไทยและกลายเป็นแนวทางในการกำหนดแบบแผนพฤติกรรม บรรทัดฐานของคนไทย

ความสำคัญของจิตอาสา/จิตสาธารณะ มีอะไรบ้าง

– ทำให้เป็นคนคิดบวก มองผู้อื่นในแง่ที่ดี ไม่คิดร้ายต่อผู้อื่น – ทำให้เราเป็นคนที่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้เป็นอย่างดี และปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้ดี – ทำให้เป็นที่รักใคร่จากผู้คนรอบข้าง และได้รับความเมตตา – ทำให้เป็นคนไม่เห็นแก่ตัว คิดถึงส่วนรวมเป็นหลักมากกว่าประโยชน์ส่วนตน

จิตอาสา มีคุณธรรมอะไรบ้าง

หลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับจิตอาสาในพระพุทธศาสนา มีหลักพรหมวิหาร 4 คือ 1. เมตตา คือ ความรัก ความมีใจปรารถนาดีอยากให้เขามีสุข 2. กรุณา คือ ความสงสาร คิด ช่วยให้พ้นทุกข์ 3. มุทิตา คือ ความยินดี ในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข 4. อุเบกขา คือ ความวางใจ เป็นกลาง มีจิตเรียบตรงเที่ยงธรรมดุจตราชั่ง ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง และหลักสังคห ...

อุดมการณ์ ของจิตอาสา มี 4 ข้อ อะไร บ้าง

ดร.ชลลดา ทองทวีกล่าวถึงความหมายของจิตอาสาว่า จิตอาสา คือ กิจกรรมอาสาสมัครเป็น กระบวนการของการฝึกการ "ให้" ที่ดี เพื่อขัดเกลา ละวางตัวตน และบ่มเพาะการรัก ผู้อื่นโดยไม่มีเงื่อนไขเป็นการ ยอมสละตน เพื่อรับใช้และช่วยเหลือที่ประสบกับความทุกข์ยากลําบากในวิถีของพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา

จิตสํานึกสาธารณะ มีอะไรบ้าง

จิตสาธารณะคืออะไร.
สร้างวินัยในตัวเอง เราต้องรู้จักหน้าที่ ความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและผู้อื่น มีความกระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วมในสังคมด้วยความเต็มใจ มองผู้อื่นในแง่ดี.
ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม เราต้องคิดเสมอว่า เราคือส่วนหนึ่งของสังคม ดังนั้นต้องรู้จักรักษาสิ่งแวดล้อมของเราให้ดีที่สุดเท่าที่สามารถทำได้.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita