เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ pantip 2564

จากที่ได้ทำธุรกิจตู้หยอดเหรียญประเภทต่างๆตามประสบการณ์มาเป็นสิบปี สรุปคร่าวๆได้ประมาณนี้เลยครับ ทำเลที่ลงเป็นบ้านเช่า ห้องแถวเช่ารายเดือน

อันดับที่ 1 : เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ
เป็นตัวที่ทำกำไรได้เยอะที่สุด คืนทุนไวที่สุด ความจุกจิกในการซ่อมบำรุง ค่าบำรุงรักษาไม่มาก

  • ระยะเวลาคืนทุน ประมาณ 1 ปีต่อเครื่อง
  • ลงทุน เครื่องละประมาณ 15,000-18,000บาท (10-13 kg พร้อมกล่องหยอดเหรียญ)
  • การซ่อมบำรุง มักจะเสียที่สุดตรงกล่องหยอด แผงวงจร เกือบทั้งหมดใข้แผงวงจรที่ใช้อุปกรณ์รุ่นเก่ากึ้ก ที่ช่างติดตั้งให้ ตามบ้านหม้อคลองถม แม้แต่ในเว็บ ซึ่งเสียง่าย  ไม่ทนต่อแรงสั่นสะเทือน ความชื่นเพราะใช้อุปกรณ์รุ่นเก่า ตรงนี้มักจะเสีย 1-2 ปีครั้ง ซ่อมครั้งละ 2,000-3,000 บาท  ปัจจุบัน ผมลองเปลี่ยนใช้แผงวงจรรุ่นใหม่ ซึ่งใช้อุปกรณ์รุ่นใหม่ซึ่งราคาพอๆกัน แต่ทนแรงสั่นสะเทือนและความชื้นได้ดีมาก ก็สั่งจากผู้ผลิตโดยตรงของไทย หมดปัญหาเรื่องแผงวงจรเสีย ในทุกๆ 1-2 ปี ประหยัดไปปีละ 2,000-3,000 บาท
  • อีกจุดคือ ตัวที่หยอดเหรียญ จะเสื่อมสภาพตามการใข้งาน คือหยอดแล้วคืนเหรียญ เสีย 1ปีครั้ง เปลี่ยนครั้งละ 700 บาท
  • การล้างเครื่อง ทุกครั้งที่มีการซ่อม ของผม6เดือน/ครั้ง พร้อมกับการซ่อมแซมจุดอื่น ครั้งละ 400-500 บาท

นอกนั้นไม่ค่อยมีอะไรเสีย ตัวเครื่องซักผ้าเองจะทนมาก ยี่ห้อที่แนะนำเลยคือ sharp ของญี่ปุ่น ซึ่งรูปทรงอาจไม่สวย แต่ราคาถูกและทนทานมาก แต่ช่างไม่ค่อยแนะนำ ไม่เป็นที่นิยมนำมาทำหยอดเหรียญ

สรุป : เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญยังน่าทำอยู่ ลงทุนน้อย คืนทุนไว ไม่จุกจิก ค่าซ่อมต่ำ (ปีละประมาณ 3,000-4,000 บาท/เครื่อง)

อันดับที่ 2 : ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ

  • ลงทุนตู้ละประมาณ 22,000-25,000 บาท/เครื่อง
  • ระยะเวลาคืนทุนนาน(2-4ปี) แล้วแต่ทำเล ของผมตอนนี้น่าจะได้แค่ครึ่งนึง ผ่านมา 2 ปี ทำเลคนเบาบางขานเมือง บ้านอาศัยเป็นแนวราบ
  • ค่าซ่อมบำรุงสูง เมื่อครบกำหนดเปลี่ยนไส้กรอง อุปกรณ์เมื่อเข้าปีที่ 2 เริ่มทยอยเสีย โซลินอยด์ เมมเบรน ค่าเปลี่ยนหลักพัน
  • เปลี่ยนไส้กรอง รวมค่าบริการครั้งละ 1,000บาทขึ้น (ถ้าซื้อไส้กรองของแท้มาเก็บไว้เปลี่ยนเองจะประหยัดมาก เหลือครั้งละ 200-300 บาท)
  • ตู้น้ำดื่มมีเซนเซอร์เยอะ มีการเตือนจุกจิกมาก เราควรเก็บคู่มือไว้ที่ตู้เลย และทำตาม บางทีผู้จำหน่ายก็พิมพ์คู่มือผิด งมอยู่ตั้งนาน ต้องลองกดรหัสหลายๆแบบ ถ้าเราแก้ไข รหัส error ต่างๆเบื้องต้นได้ก็ประหยัดไปเยอะ เรียกช่างมาทีนึง เตรียมไว้ 1,000 บาทเลย
  • รายได้ต่อเดือน ต่อตู้น้อยเพราะทำเลไม่ดี เดือนนึงไม่ถึงพันบาท แต่ทำเลดีๆเดือนนึง เกือบ6-7พันบาท/ตู้ รายได้มาเอามาจ่ายซ่อม

สรุป : ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญต้องดูทำเล ปริมาณคนกดต้องเยอะมาก ต้อง 100 คนขึ้นไป ถ้าน้อยไม่คุ้มค่าซ่อม ค่าซ่อมบำรุงความจุกจิกมีมาก

ร้านสะดวกซักป่วนรับต้นปี Washcoin ประกาศปิดกิจการกระทันหัน สร้างความเสียหายหลักร้อยล้านบาทให้ผู้ทำแฟรนไชส์ทันที อาจกลายเป็นจุดเริ่มต้นของฟองสบู่ร้านสะดวกซัก ด้านรายใหญ่ Otteri มองตลาดยังไปอีกไกล

Washcoin ชิงปิดกิจการกระทันหัน

บริษัท โมบาย ทู แมชชีน คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจ Washcoin ร้านสะดวกซัก ได้แจ้งผู้ทำธุรกิจแฟรนไชส์เกือบ 100 ราย ว่า บริษัทจะหยุดดำเนินกิจการ และให้บริการระบบ Washcoin เริ่มที่บริการซ่อมบำรุง และแก้ไขปัญหาตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2565 ต่อด้วย Online Customer Service ในวันที่ 6 ม.ค. 2565

และภายในวันที่ 20 ม.ค. 2565 แอปพลิเคชัน Washcoin ที่ให้ลูกค้าเติมเงินเข้าระบบเพื่อชำระ และสั่งการเครื่องซักผ้าให้ทำงาน จะหยุดให้บริการ นอกจากนี้สัญญาแฟรนไชส์ที่ทำกับพาร์ตเนอร์ต่าง ๆ จะยุดิภายในวันที่ 20 ม.ค. 2565 เช่นกัน ก่อนในวันที่ 25 ม.ค. 2565 ทุกระบบจะหยุดให้บริการถาวร

ทั้งหมดนี้ ไม่มีการแจ้งลูกค้า และผู้ร่วมทำธุรกิจแฟรนไชส์ล่วงหน้า โดย Washcoin อ้างตามเอกสาร ว่า เพราะวิกฤต COVID-19 ทำให้การดำเนินธุรกิจทำได้ยากลำบาก ประกอบกับการถูกปฏิเสธสินเชื่อจากธนาคาร และนักลงทุนติดเงื่อนไขบางประการ ทำให้กิจการไม่มีเงินมาหมุนเวียน และดำเนินการต่อไม่ได้

เสียหายรวมมูลค่าหลายร้อยล้านบาท

แหล่งข่าวหนึ่งในผู้ทำธุรกิจแฟรนไชส์ Washcoin กล่าวกับ Brand Inside ว่า การกระทำของ Washcoin ไม่มีการแจ้งล่วงหน้า ทำให้ผู้ประกอบการแฟรนไชส์เกือบ 100 ราย ได้รับความเสียหายมูลค่าหลักร้อยล้านบาท โดยบางรายพึ่งเซ็นสัญญาแฟรนไชส์เมื่อต้นเดือน ธ.ค. 2564 และเสียเงินลงทุน 8 แสนบาททันที

“ปกติ Washcoin จะจ่ายเงินรายได้ให้เราทุกสัปดาห์ แต่ช่วงก่อนปีใหม่อยู่ ๆ มีข้อความแจ้งกับแฟรนไชส์ว่า ขอจ่ายช้าเนื่องจากระบบบัญชีมีปัญหา ตอนนั้นผมเริ่มเอะใจว่าเอาเงินไปหมุนหรือไม่ แต่พอช่วงเช้ามืดวันที่ 5 ม.ค. อยู่ ๆ มีจดหมายฉบับนี้ส่งมาในกลุ่มไลน์แฟรนไชส์ และทุกคนก็รู้ว่าแย่แล้ว”

ทั้งนี้สัญญาณการปิดกิจการของ Washcoin เริ่มมาระยะหนึ่งแล้ว โดยเฉพาะช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ที่บริษัทเริ่มส่งช่างมาซ่อมบำรุงเครื่องช้า ไม่มีอะไหล่มาเปลี่ยน บางครั้งต้องรอการซ่อมกว่า 1 เดือน รวมถึงระบบหลังบ้านที่ให้บริการช้า จนหลายครั้งไม่สามารถแก้ปัญหาลูกค้าที่มีปัญหาการใช้งาน

รายได้รวม และกำไรสุทธิของ Washcoin

เสื่อมเสียทั้งตลาดบริการสะดวกซัก

ขณะเดียวกันสำนักงานของ Washcoin ยังปิดมาระยะหนึ่งแล้ว และค้างค่าเช่ากับทางตึก แสดงให้เห็นถึงการเตรียมตัวปิดกิจการเป็นอย่างดี นอกจากนี้ทาง Washcoin ยังจำหน่ายคูปองส่วนลดให้กับลูกค้าทั่วไป สะท้อนถึงความต้องการนำเงินไปหมุนก่อนปิดกิจการเช่นกัน

“2 ปีก่อน ธุรกิจร้านสะดวกซักเริ่มเป็นกระแส เพราะเป็นเสือนอนกิน และเป็นเรื่องใหม่ในตลาด ผมเลยอยากเข้าไปลงทุน ซึ่งตอนนั้นมีหลากหลายแบรนด์ แต่ผมเลือก Washcoin เนื่องจากเป็นรายแรก ๆ ที่ใช้การชำระแบบออนไลน์ และระบบซักเป็นไฟฟ้า แต่พอเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นมันก็คล้าย ๆ ว่า ร้านสะดวกซักกำลังเกิดฟองสบู่”

แหล่งข่าว ย้ำว่า เหตุการณ์นี้จะสร้างความเสื่อมเสียให้ธุรกิจร้านสะดวกซัก เพราะความเชื่อมั่นของลูกค้าจะลดลง ไม่มีความมั่นใจในการเติมเงินเก็บไว้ในแอปพลิเคชัน รวมถึงฝั่งนักลงทุนแฟรนไชส์ที่เริ่มไม่มั่นใจว่าจะเกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้อีกหรือไม่ จนไม่อยากลงทุนในธุรกิจนี้อีกต่อไป

ฝั่งเจ้าของเร่งเจรจาแบรนดอื่นมาอุ้มธุรกิจ

ในทางกลับกัน ฝั่งเจ้าของกิจการ Washcoin มงคล เกริกพิพัฒน์สกุล มีการแจ้งกับผู้ร่วมทำธุรกิจแฟรนไชส์ ว่า ทางบริษัทได้รับความช่วยเหลือจากแบรนด์ร้านสะดวกซักรายอื่นเข้ามาอุ้มกิจการ แต่เจ้าของแฟรนไชส์ต้องเซ็นสัญญาฉบับใหม่ และให้เวลาตัดสินใจเพียง 1 วัน

“เขาให้เวลาเราแค่ 1 วัน ผมก็ไม่รู้ว่าเขาจะมัดมือชกหรือเปล่า เพราะมันเร็วมาก ซึ่งผมก็ไม่ได้เซ็น แต่ที่แน่ ๆ พวกเรารวมกลุ่มแฟรนไชส์ที่ได้รับความเสียหายเพื่อฟ้องร้องทางกฎหมาย เพราะบางคนลงทุนไป 4-5 สาขา จะให้สูญไปเลยก็คงไม่ได้” แหล่งข่าว กล่าว

เบื้องต้นแฟรนไชส์หลายรายเริ่มเปลี่ยนระบบจากของ Washcoin เป็นระบบซักหยอดเหรียญ เพื่อดำเนินธุรกิจต่อไปได้ เพราะหากไม่ปรับ ตัวตู้จะให้บริการไม่ได้ และต้องถูกตั้งทิ้งค้างไว้เช่นนั้น ส่วนบางรายเลือกรอดำเนินการฟ้องร้องให้เสร็จสิ้นก่อนจะไปทำอะไรกับตู้ซักผ้า

Otteri มองตลาดนี้ไปถึง 10,000 สาขา

กวิน นิทัศนจารุกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เค-เน็กซ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เจ้าของร้านสะดวกซัก Otteri เสริมว่า ภาพรวมตลาดร้านสะดวกซักทั้งประเทศไทยปี 2565 จะอยู่ราว 2,000 แห่ง และยังมีโอกาสเติบโตเป็นกว่า 10,000 สาขาภายใน 7-8 ปีข้างหน้า

“ผมว่าเรื่องนี้ไม่ทำให้ความเชื่อมั่นในการลงทุนธุรกิจร้านสะดวกซักของแฟรนไชส์ และตลาดนี้ยังเติบโตได้ แม้ COVID-19 ระบาด ก็กระทบแค่กลุ่มสาขาใกล้มหาวิทยาลัย ยิ่งการซักผ้าด้วยน้ำร้อน และอบด้วยความร้อนจะช่วยฆ่าเชื้อโรคได้ ก็ทำให้ลูกค้ายังตัดสินใจเข้ามาใช้บริการอยู่”

ทั้งนี้ธุรกิจร้านสะดวกซักไม่ได้ถูกปิดจากมาตรการสาธารณสุข ทำให้ยังให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง ส่วน Otteri ปัจจุบันมี 600 สาขาทั่วประเทศไทย และปีนี้จะเพิ่มอีก 380-400 สาขา ผ่านการใช้รูปแบบแฟรนไชส์ และจูงใจด้วยโอกาสธุรกิจที่ยังมี

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita