การอยู่ร่วมกันกับศาสนาอื่น

หลักธรรมทางศาสนา

กับการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

` ค่านิยม จริยธรรม เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

            ศาสนาทุกศาสนามีเป้าหมายการสอนเพื่อให้คาสนิกชนเป็นคนดี เมื่อคาสนิกชนของแต่ละศาสนาเป็นคนดีตามหลักศาสนาแล้ว ย่อมส่งผลดีต่อสังคม คือ ความสามัคคีปรองดอง ไม่แบ่งแยกเพียงเพราะขับถือศาสนาแตกต่างกัน แต่อยู่ร่วมกันอย่างสงบสันติโดยปฏิบัติตามหลักดำสอนในศาสนาที่ตนทับถืออย่างเคร่งครัด

                ๑.๑ คุณค่าและความสำคัญของค่านิยมและจริยธรรมทางศาสนา

          ศาสนานอกจากจะสอนให้คาสนิกชนเป็นคนดีแล้ว ยังช่วยหล่อหลอมปลูกฝังค่านิยมและจริยธรรมอันดีงามให้แก่ศาสนิกชนด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมที่มีความหลากหลายทางการทับถือศาสนา ศาสนิกชนแต่ละศาสนาย่อมมีค่านิยมที่แตกต่างกัน อันเป็นผลมาจากการหล่อหลอมของศาสนาที่มีความเชื่อและหลักคำสอนแตกต่างกัน

          ถึงแม้แต่ละศาสนาจะมีหลักจริยธรรมเฉพาะแตกต่างกันก็ตาม แต่หลักความดีและเป็นสากลย่อมมีเหมือนกันในทุกศาสนา เช่น หลักดำสอนเรื่องความเมตตาซึ่งได้ชื่อว่าเป็นหลักจริยธรรมสากล ทุกศาสนาจะสอนให้ศาสนิกชนมีเมตตา เอื้อเฟื้อช่วยเหลือกันในสังคม เมตตาจึงเป็นสายใยเส้นเล็ก ๆ ที่ศาสนิกชนต้องช่วยกันถักทอให้เป็นเกราะป้องกันความรุนแรงในสังคมซึ่งประกอบด้วยสมาชิกต่างศาสนา รวมทั้งหลักความดีเพื่อการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม การให้ความเคารพนับถือกันตามฐานะ และหลักการยอมรับในความแตกต่าง นั่นคือ เป้าหมายของคาสนาที่สอนให้คนเป็นคนดีเช่นเดียวกันในทุกศาสนา

          จึงอาจกล่าวได้ว่าค่านิยมและจริยธรรมนั้นฐานล้วนเป็นผลมาจากการหล่อหลอมของศาสนาทั้งสิ้น

          จริยธรรมเป็นคุณค่าภายในตัวบุคคลสามารถรู้เห็นได้ด้วยการแสดงออก เป็นพฤติกรรมทางการพูดและการกระทำ พฤติกรรมการแสดงออกเป็นตัวสะท้อนถึงจริยธรรมและค่านิยมของบุคลว่ามีพื้นฐานเป็นมาอย่างไรดังสำนวนไทย "สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล" แม้จริยธรรมเป็นคุณค่าภายในที่มองไม่เห็น แต่ก็มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอบรมให้เกิดมีขึ้นในตัวบุคคล จริยธรรมจึงเปรียบเสมือนน้ำที่คอยหล่อเลี้ยงและประสานสังคมให้เป็นหนึ่งเดียวกัน รวมทั้งเป็นฐาน เป็นแก่น และเป็นแกนให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมี ความสุข

                จริยธรรมเป็นจุดประสานสัมพันธ์ของคนในสังคมให้อยู่ร่วมกันโดยสันติ จึงกล่าวได้ว่าปัญหาทางจริยธรรมของตังคมประการหนึ่งเกิดจากความห่างเหินจากศาสนาของคาสนิกชนอันหมายถึงความไม่ตระหนักรู้ในคุณค่าของศาสนาจนกลายเป็นสังคมที่ขาดที่พึ่งทางใจ ขาดหลักทางใจในการควบคุมพฤติกรรม ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมล้วนมาจากดวามบกพรุองทางจริยธรรมของสมาชิกในสังคม

          นอfาจากจริยธรรมจะเป็นผลมาจากการหล่อหลอมของคาสนาแล้ว ค่านิยมที่ดีอันพึงประสงค์ของสังคมก็ล้วนเป็นผลผลิตของศาสนาด้วยเช่นกัน ความเชื่อตามหลักศาสนาได้ก่อให้เกิดค่านิยมในด้านต่างๆ เช่น ความเชื่อในเรื่องความดี ความชั่ว บุญ บาป นรก สวรรค์ การเกิดใหม่ เป็นต้นส่งผลให้เกิดค่านิยมในการทำความดีเพื่อหวังผลให้ได้รับความสุข อย่างน้อยที่สุดค่านิยมเหล่านี้ย่อมควบดุมพฤติกรรมของศาสนิกชนมิให้กระทำความชั่วและก่อความเดือดร้อนให้เกิดแก่สังคมในทางตรงกันข้าม หากศาสนิกชนในศาสนาละเลยหลักดำสอนในคาสนา ไม่เชื่อในเรื่องการทำความดี ย่อมมองเห็นสิ่งต่างๆ ว่าไร้คุณค่า รวมทั้งการมองเพื่อนมนุษย์ด้วยกันด้วยความแบ่งแยกอันจะนำไปสู่การประทุษร้ายและการไม่เข้าใจกันในที่สุด

          ๑.๒ ค่านิยมและจริยธรรมที่กำหนดความเชื่อ พฤติกรรมที่แตกต่างของศาสนิกชน

          ศาสนาแม้จะมีความมุ่งหมายเดียวกัน คือ สอนคาสนิกชนให้เป็นคนดี แต่ก็มีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันในแต่ละศาสนา ความเป็นคนดีในแต่ละคาสนาจึงอาจแตกต่างกันในรายละเอียดและการปฏิบัติ อันเป็นผลมาจากความเชื่อและค่านิยมทางคาสนาแตกต่างกัน เราจึงเห็นความหลากหลายทางค่านิยมและจริยธรรมทางคาสนาในด้านต่างๆ ดังนี้

          ๑) ความเชื่อเกี่ยวกับความศรัทธาหรือความเชื่อถือหลัก เป็นพื้นฐานของศาสนา จุดเริ่มต้นของการยอมรับนับถือและปฏิบัติตามหลักดำสอนในศาสนา คือ ศรัทธา ความเลื่อมใสศรัทธาในแต่ละศาสนาแตกต่างกันออกไป เช่น คาสนาพราหมณ์-ฮินดู สอนหลักศรัทธาว่าพระพรหมเป็นผู้สร้าง พระวิษณุหรือพระนารายณ์เป็นผู้พิทักษ์รักษา และพระศิวะหรือพระอิศวรเป็นผู้ทำลาย เรียกว่า "ตรีมูรติ"        ส่วนพระพุทธศาสนาสอนหลักศรัทธาในพระรัตนตรัย  ศาสนาคริสต์สอนหลักศรัทธาในพระตรีเอกภาพ คือ พระบิดา พระบุตร และพระจิต  ส่วนศาสนาอิสลามสอนหลักศรัทธา ๖ ประการ และศาสนาสิขสอนหลักศรัทธาองค์ไตรรัตน์ได้แก่ พระเจ้า ศีลหรือหลักธรรม และอกาลความแน่นอนของพระเป็นเจ้า เป็นต้น

                ๒) การแต่งกาย นอกจากจะเป็นพฤติกรรมอันสะท้อนค่านิยมและความเชื่อทางศาสนาแล้ว ยังแสดงถึงเอกลักษณ์หรือลักษณะเฉพาะทางศาสนาและวัฒนธรรมการแต่งกายทางศาสนาของศาสนิกชนอีกด้วย เช่นการนุ่งขาวห่มขาวของชาวฮินดู การแต่งกายด้วยชุดคลุมใส่หมวกแบบมุสลิม การโพกคีรษะของชาวสิข ล้วนเป็นวัฒนธรรมการแต่งกายตามหลักศาสนา

                ๓) การแสดงความเคารพเป็นพฤติกรรมทางศาสนาที่แสดงถึงความศรัทธาเชื่อมั่นในศาสนาที่ตนขับถือ แม้จะแตกต่างกันในวิธีปฏิบัติ แต่ก็มีเป้าหมายเดียวกัน คือ แสดงถึงความศรัทธาและจงรักภักดี รวมทั้งเป็นการเคารพบูชาสิ่งเคารพสักการะในศาสนาที่ตนนับถือ การแสดงความเคารพดังกล่าวเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "การบูชา" ซึ่งมีปฏิบัติในทุกศาสนา

เรื่องน่ารู้

  การไม่ตัดผม ไม่ถอนคิ้วของชาวสิข

                ศาสนาสิขให้ความสำคัญกับ เกศาหรีอผม (คิ้ว หนวดเครา) ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าของศาสนา สัญลักษณ์ที่ชาวสิขต้องมีประจำกายคือ ผม หวีไม้ กำไล กางเกงขา สั้น และกริช ชาวสิขต้องรักษาผมไม่สามารถตัดหรือเล็มผมได้ เพียงแต่รักษาความสะอาดให้เป็นประจำเท่านั้น เพราะการรักษาผมถือว่าเป็นการแสดงถึงการดำรงชีวิตที่สอดคล้องกับเจตจำนงตามธรรมชาติที่พระเจ้าระทานผมให้แก่มนุษย์ การตัดผมเป็นการแสดงถึงเจตนาที่จะทำลายสิ่งประเสริฐที่ธรรมชาติให้มา และสำคัญตนผิดว่าฉลาด กว่าพระเป็นเจ้า ผู้ชายชาวสิขจะโพกศีรษะตามบัญญัติ

       ๔) การปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาทุกคาสนาได้กำหนดพิธีกรรมเพื่อเป็นเครื่องน้อมนำศรัทธา และหลักปฏิบัติเพื่อความดีงามและเป็นสิริมงคลในชีวิตของศาสนิกชนการปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาจึงเป็นส่วนสำคัญประการหนึ่งในวิถีการดำรงชีวิตของศาสนิกชน

 ๒. การขจัดความขัดแย้งเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

ทุกศาสนาได้ชี้เป้าหมายสูงสุดที่เป็นความสุขที่แท้จริงไว้ ดังนี้

   ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู   ชี้ไปที่การได้กลับไปเป็นอันหนึ่งอันเดียวกลมกลืนกับพรหม

   ศาสนาพุทธ                 ชี้ไปที่พระนิพพานว่าเป็นที่สุดของการปฏิบัติธรรม

   ศาสนาคริสต์              ชี้ไปที่การมีชีวิตนิรันดรอยู่ในอาณาจักรของพระเป็นเจ้าบนสวรรค์

   ศาสนาอิสลาม              ชี้ไปที่การได้อยู่ร่วมกับพระอัลลอฮ์ในสวรรค์

   ศาสนาสิข                  ชี้ไปที่การหลอมมนุษย์รวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับพระเป็นเจ้า

          หากพิจารณาเป้าหมายสูงสุดของศาสนาใหญ่ๆ ทั้ง ๕ ศาสนาในสังคมไทย สามารถแบ่งออกฺเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ ๒ ประเภท ดังนี้

          ประเภทแรก    ศาสนาที่เชื่อพระเป็นเจ้า เรียกเทวนิยม” ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู     ศาสนาคริสต์   ศาสนา                                อิสลาม และศาสนาสิข

          ประเภทกี่สอง ศาสนาที่ไม่เชื่อพระเป็นเจ้า เรียกอเทวนิยม” ได้แก่ พระพุทธศาสนา

๒.๑ การเข้าใจมูลเหตุและแก่นแท้ของศาสนา

          ความแตกต่างเกี่ยวกับความเชื่อหรือไม่เชื่อพระเป็นเจ้านั้น เป็นเพียงสิ่งที่อยู่ภายนอกที่มองเห็นได้ แต่สิ่งที่ศาสนาทั้งที่เชื่อและไม่เชื่อพระเป็นเจ้ายอมรับเหมือนกัน คือ ให้ความสำคัญกับจิตใจซึ่งเป็นเรื่องภายในมากที่สุด

          ศาสนาที่เป็นเทวนิยมเน้นว่าพระเป็นเจ้าประทับอยู่ในตัวเรา เราต้องฟังเสียงของพระองค์ในตัวเรา และสอนให้เรารู้จักภาวนาเพื่อขำระจิตใจให้บริสุทธิ์ ด้วยการอ่านหรือศึกษาคัมภีร์ของศาสนา ไม่ว่าจะเป็นศาสนาพราหมณ์-ฮินดู คริสต์ อิสลาม หรือสิข คำสอนนี้แท้จริงแล้วไม่ได้แตกต่างจากศาสนาที่เป็นอเทวนิยม ซึ่งสอนว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ฉะนั้น จะต้องฝึกอบรมจิตใจของตนให้บริสุทธิ์จากความโลภ ความโกรธ และความหลงเข้าใจผิด เพื่อที่จะได้เข้าถึงแก่นแท้ของชีวิต โดยสอนให้ปฏิบัติเริ่มจากการให้ทาน ซึ่งเป็นการให้ออกไปข้างนอกตัวก่อน เพื่อเป็นการพัฒนาจิตใจให้ลดความเห็นแก่ตัวลงเป็นอันดับแรก ,แล้วจึงค่อยกลับมาฝึกอบรมจิตข้างในภายหลังด้วยการปฏิบัติธรรม ขั้นตอนในการทำความดีเพื่อชำระจิตใจให้บริสุทธิ์จึงดูเหมือนแตกต่างกัน จากข้างนอกมาข้างในและจากข้างในออกไปข้างนอก

          ส่วนเรื่องพิธีกรรมที่แตกต่างกันนั้น พิธีกรรมเป็นเพียงเครื่องมือสร้างความสามัคคีและความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของศาสนิกชนในศาสนาเดียวกันเท่านั้น ซึ่งแตกต่างกันไปตามจารีตประเพณี หาใช่จุดหมายปลายทางที่เป็นคุณค่าสูงสุดที่แท้จริงของคาสนาไม่

          ฉะนั้นโดยหลักการแล้ว ทุกศาสนาไม่ได้แตกต่างกัน คือ ทุกคาสนาสอนให้ทำดี ไม่ให้ทำชั่วให้มีความเมตตา ลดความเห็นแก่ตัว เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน นึกถึงใจเขาใจเรา ศาสนาสอนให้คนดำเนินชีวิตอย่างมีศีลธรรมเหมือนกัน การสอนให้คนมีศีลธรรมก็เพื่อให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุขไม่เบียดเบียนกัน ความแตกต่างของศาสนาต่างๆ ที่เห็นจึงเป็นเพียงความแตกต่างภายนอก และสมควรที่จะมองว่าการมีหลายศาสนานั้นเป็นโอกาสมากกว่าเป็นความขัดแย้ง' คือ เป็นโอกาสให้มวลมนุษย์สามารถเข้าถึงเป้าหมายสูงสุดของชีวิตที่เป็นความสุขที่แท้จริง ด้วยวิถีทางที่เหมาะสมกับความต้องการของเขามากที่สุดตามลักษณะเฉพาะของแต่ละสังคม

        ๒.๒ การปฏิบัติต่อกันระหว่างศาสนิกชนเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

          เมื่อเข้าใจมูลเหตุและแก่นแท้ของศาสนาทุกศาสนาแล้ว การอยู่ร่วมกันของศาสนิกชนของศาสนาต่างๆ ด้วยสันติสุขจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ไม่ยาก หากว่าศาสนิกชนในทุกศาสนายึดหลักปฏิบัติต่อกัน ดังต่อไปนี้

                   ๑)อย่าพยายามเปลี่ยนศาสนิกชนศาสนาอื่นมาทับถือศาสนาของตน โดยหลักการแล้ว ทุกศาสนาล้วนสอนให้ทำความดี ละเว้นความชั่ว สอนว่าจิตใจซึ่งเป็นเรื่องข้างในสำคัญที่สุด สอนให้พัฒนาจิตใจ ให้รู้จักละความโลภ ความโกรธ ความหลงเหมือนกัน รวมทั้งสอนให้รักความยุติธรรม ความเท่าเทียมกัน ถ้าเราเข้าใจว่าทุกคาสนามีประวัติศาสตร์อันยาวนานที่เป็นบ่อเกิดของจารีตประเพณีและวัฒนธรรม รวมถึงพิธีกรรมของศาสนาที่อาจแตกต่างกันไป แต่หัวใจของทุกศาสนาเหมือนกัน คื'อ สอนให้แสวงหาความสุขที่แท้จริงที่เป็นนิรันดร แต่อะไรคือความสุขที่แท้จริงนี้ แต่ละคาสนาอาจต่างกัน รวมไปถึงวิธีการที่จะนำไปสู่ความสุขนิรันดรนี้ก็อาจแสดงออกในรูปแบบที่ต่างกัน ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า ความแตกต่างนี้น่าจะมองว่าเป็นโอกาสให้มนุษย์เลือกศาสนาที่เหมาะสมกับความต้องการของตนมากที่สุด มากกว่าที่จะมองว่าเป็นความขัดแย้ง เมื่อใครเลือกเคารพนับถือศาสนาใดก็ควรให้เกียรติการเลือกของเขา เนื่องจากเป็นเสรีภาพของเขาอย่างแท้จริง และประเทศไทยก็ยอมรับเสรีภาพในการนับถือศาสนา ดังนั้นไม่ว่าใครจะฉับถือศาสนาใด ขอเพียงให้ทำหน้าที่ของการเป็นคนไทยที่มีความรักชาติศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์เท่านั้นก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

                   ๒) อย่าเปรียบเทียบว่าศาสนาใดดีกว่ากัน ศาสนิกชนที่ดีไม่ควรพยายามเปลี่ยนความเชื่อทางคาสนาของศาสนิกชนศาสนาอื่น ในการคิดหรือพูดเปรียบเทียบว่าคาสนาของใครดีกว่ากัน ไม่ควรยกย่องแต่ศาสนาของตนและลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น หรือสิ่งที่ผู้อื่นนับถือและเคารพ เพราะไม่มีใครชอบถูกเปรียบเทียบ โดยเฉพาะเปรียบในทางที่ด้อยกว่าหรือแปลกแยกแตกต่างจากคนทั่วไปในสังคม

                                ศาสนาเป็นเรื่องของความศรัทธา ความเชื่อที่บุคคลพึงพอใจและถือว่าสิ่งใดมีคุณค่าสูงสุดสำหรับเขา และดำเนินชีวิตเพื่อมุ่งไปสู่จุดหมายที่เห็นว่ามีคุณค่า ไม่ว่าความเชื่อหรือพิธีกรรมก็ล้วนมีสาเหตุที่มาที่เหมาะสมกับแต่ละศาสนาทั้งสิ้น ศาสนาเป็นเรื่องของความสงบสุขทางจิตใจไม่ว่าจะทับถือศาสนาใด ก็ให้ความสำคัญแก่จิตใจที่สะอาดบริสุทธ์เหมือนกัน และจิตใจจะสงบได้กายก็ต้องมีความปกติสุขด้วย ทุกคนควรร่วมมือร่วมใจประพฤติปฏิบัติตนแต่ในทางที่จะเป็นประโยชน์เป็นธรรมต่อทุกคน เพื่อให้เกิดความสามัคคี ความสงบสุขในชาติและตนเอง ซึ่งสามารถประพฤติปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาที่ตนนับถือได้

                                ๓) ต้องมีความจริงใจต่อกัน ศาสนิกชนทุกศาสนาควรอยู่ร่วมกันด้วยความจริงใจต่อกัน ความจริงใจนี้ควรเริ่มจากการมีความจริงใจต่อตนเองก่อน คือ มีความละอายและเกรงกลัวต่อการทำความชั่ว ความจริงใจต่อ,ตนเองนี้จะทำให้เป็นคนมีศีลธรรม มีคุณธรรมมีความจริงใจต่อผู้อื่น ไม่ทำสิ่งใดที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน นึกถึงใจเขาใจเรา ให้นึกว่าถ้าเราไม่ชอบให้ใครทำอย่างไรกับเรา คนอื่นก็ไม่ชอบให้ ใครทำอย่างนั้นกับเขาเช่นกัน ความจริงใจต่อกันจะทำให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขไม่ต้องคอยระแวงว่าจะมีผู้ใดกระทำสิ่งที่ไม่ดี ,ลับหลัง และจะไม่มีการให้ร้ายกัน

                                นอกจากนี้ เมื่อมีความจริงใจในการอยู่ร่วมกัน ก็ควรศึกษาข้อห้ามของศาสนาต่างๆไว้ด้วย เพื่อจะได้ไม่ผิดใจกัน หรือเข้าใจผิดว่าเขาดูถูกดูหมิ่นสิ่งเคารพหรือบุคคลที่เราเคารพนับถือเช่น ศาสนาอิสลามห้ามกราบ บุคคลไม่ว่าจะเป็นเจ้านาย บิดามารดา หรือผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือการกราบมีไว้สำหรับกราบพระอัลลอฮ์แต่เพียงองค์เดียวเท่านั้น และห้ามการบูชารูปเคารพใดๆ เป็นต้น ความจริงใจประการสุดท้ายคือ ต้องมีความจริงใจต่อประเทศชาติ รวมถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่กระทำสิ่งใดที่เป็นการบ่อนทำลายความสงบสุขมั่นคงของประเทศชาติ หรือทำให้ประเทศชาติเสื่อมเสีย

                                ๔) อย่ายึดความเห็นของตนเป็นใหญ่ หลายครั้งที่เกิดความไม่สงบสุขในสังคมเพราะต่างคนต่างถือว่าความคิดของตนหรือพวกพ้องของตนถูกต้องที่สุด และคนที่คิดต่างออกไปต้องผิด การคิดเช่นนี้เป็นการใช้อารมณ์ ไมใช้เหตุผล ทำให้ขาดความอดทนอดกลั้น เราจึงต้องไม่ให้อารมณ์เป็นใหญ่ และพยายามใช้เหตุผลเข้าใจความคิดและการกระทำของบุคคลอื่นที่ต่างไปจากเรา ให้หัดมองโลกในแง่ดี ไม่มองว่าเขาต้องมีเจตนาร้าย ต้องรู้จักเปิดใจกว้างรับฟังเหตุผลเของผู้อื่น เพราะอาจมีคำอธิบายที่เราไม่รู้หรือนึกไม่ถึง ซึ่งเมื่อรู้แล้วจะเข้าใจการกระทำและเหตุผลของเขาได้ เมื่อเข้าใจแล้ว ความเห็นอกเห็นใจ ความเมตตาก็เกิดขึ้น ทำให้ข่มความโกรธ ความไม่พอใจได้

                                การใช้เหตุผลไม่ยึดความเห็นของตนเป็นใหญ่จะช่วยยับยั้งการโต้เถียงทะเลาะวิวาทช่วยบรรเทาความโกรธ ซึ่งอาจจะกลายเป็นความเกลียดชังต่อไปภายหลัง และช่วยพัฒนาความเห็นอกเห็นใจ ความเข้าใจซึ่งกันและกันได้

๓. หลักธรรมทางศาสนากับการพัฒนาสังคม

          ศาสนาทุกศาสนาล้วนสอนเรื่องการพัฒนาด้านจิตใจ สอนความมีเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ไม่ละเลยคนที่ด้อยโอกาส ส่งเสริมความยุติธรรม และอื่นๆ การพัฒนาสังคมนั้นควรยึดหลักธรรมของศาสนาที่ตนฉับถือมาประกอบการพัฒนาทางเทคโนโลยีและวัตถุ เพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมที่เจริญรุ่งเรือง และขณะเดียวกันทุกคนก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างผาสุก

          ๓.๑ หลักธรรมของศาสนาคริสต์กับการพัฒนาสังคม

          เป้าหมายสูงสุดของศาสนาคริสต์ คือ การรอดพ้นจากบาปและกลับไปมีชีวิตนิรันดรในอาณาจักรของพระเป็นเจ้าบนสวรรค์ สังคมในอุดมคติ คือ สังคมที่เรียกว่า "อาณาจักรพระเป็นเจ้า"เป็นอาณาจักรทางจิตใจที่เป็นสากล คนที่กลับตัวกลับใจพ้นจากบาป สามารถเดินเข้าสู่อาณาจักรนี้ได้เป็นอาณาจักรที่เดินตามกฎเกณฑ์ของพระเป็นเจ้า นั่นคือ กฎแห่งความรัก พระเยซูเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความรักที่พระเป็นเจ้าทรงมีต่อมนุษย์ ช่วยให้มนุษย์พ้นจากบาป ความรักของพระเป็นเจ้าที่มีต่อมนุษย์เป็นพื้นฐานของความรักที่มนุษย์มีต่อพระเจ้า และมีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

          หลักคำสอนที่ว่าด้วยความรักและความเมตตาถือเป็นแก่นดำสอนข้อหนึ่งของศาสนาคริสต์ พระเยซูทรงกล่าวว่า บัญญัติข้อที่สำคัญที่สุดของศาสนาคริสต์ คือ "จงรักพระเป็นเจ้าด้วยสุดจิตใจ ด้วยสุดกำลังและสุดความคิด และจงรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง" บัญญัตินี้แม้ไม่มีอยู่ในบัญญัติ ๑๐ ประการ แต่พระเยซูได้ทรงกล่าวว่าบัญญัติแห่งความรักก็คือข้อสรุปของบัญญัติ ๑๐ ประการที่ทำให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นนั่นเอง ความรักที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ในที่นี้หมายถึง การรักศัตรูด้วย เพราะว่ามนุษย์ทุกคนเป็นลูกของพระเป็นเจ้าเท่าเทียมกัน ความรักต่อเพื่อนมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่มีความหมายสูงส่งเพราะแสดงถึงความรัก ความเชื่อฟัง และความศรัทธาที่มีต่อพระเป็นเจ้า  

          การปฏิบัติตามคำสอนเรื่องความรักต่อเพื่อนมนุษย์ของชาวคริสต์ มีให้เห็นได้ทั่วไปในรูปแบบของการสร้างสาธารณประโยชน์ ศาสนาคริสต์สอนให้พัฒนาขังคมทั้งด้านรูปธรรมและนามธรรม ทำให้เกิดความเจริญแก่สังคมโดยส่วนรวม เช่น การสร้างโรงเรียน มหาวิทยาลัยองค์กรต่างๆ ด้านสังคมสงเคราะห์

          ตัวอย่างชาวคริสต์ที่โลกรู้จักกันดี คือ แม่ชีเทเรซา ชาวแอลเบเนีย ซึ่งต่อมาได้โอนสัญชาติเป็นอินเดีย ได้อุทิศชีวิตตั้งแต่วัยรุ่นตราบจนวันสุดท้ายของชีวิต เพื่อช่วยเหลือเด็กและคนยากไร้ที่ขาดโอกาส คนป่วยที่ไม่มีใครเหลียวแลในอินเดียและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก และได้ร่วมก่อตั้งองค์กรการกุศลต่างๆ จนกระทั่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒

          ๓.๒ หลักธรรมของศาสนาอิสลามกับการพัฒนาสังคม

          หลักคำสอนของศาสนาอิสลามอาจถือได้ว่ามีลักษณะเป็นวิถีชีวิตที่มุสลิมจะต้องปฏิบัติตาม แต่เกิดจนตาย หลักคำสอนที่สำคัญของคัมภีร์อัลกุรอานมี ๒ อย่าง คือ หลักศรัทธาและหลักปฏิบัติ มุสลิมที่แท้จริงต้องมีครบทั้งสองหลัก

          หลักศรัทธาที่สำคัญ คือ ศรัทธาในเอกานุภาพขององค์อัลลอฮ์แต่เพียงองค์เดียว และศรัทธาในเทวทูตผู้ประกาศโองการของพระเป็นเจ้าหรือพระศาสดาเป็นต้น ส่วนหลักปฏิบัติตามคำสอนมี ๕ ประการ คือ การปฎิญาณตน การละหมาด การถือศีลอด การบริจาคซะกาต และการประกอบพิธีฮัจญ์

          หลักปฏิบัติที่ถือว่าเป็นการพัฒนาสังคมที่เห็นได้ชัดก็คือ การบริจาคซะกาต ดำว่า "ชะะกาต"แปลว่า การซักฟอก  การทำให้สะอาดบริสุทธิ์และการเจริญเติบโต มุสลิมที่ปฏิบัติละหมาดแต่ไม่ยอมจ่ายซะกาตจะถือว่า ความเป็นมุสฺลิมของเขายังไม่สมบูรณ์ การบริจาคซะกาตหรือการให้ทาน แสดงถึงความศรัทธาที่มีต่ออัลลอฮ์มีวัตถุประสงค์เพื่อซักฟอกทรัพย์สินที่หามาได้ด้วยความสุจริตให้บริสุทธิ์ และชำระขัดเกลาจิตใจของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินให้สะอาด ลดความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัว ไม่ให้เกิดความละโมบ และให้มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ผู้ที่ต้องบริจาคซะกาต คือ ผู้ที่มีทรัพย์สินเกินที่กำหนดเมื่อครบรอบปี ยิ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจดีเท่าใด ก็ยิ่งต้องจ่ายซะกาตมากเท่านั้น        

          ผู้มีสิทธิได้รับการบริจาคซะกาต ได้แก่ คนอนาถาไม่มีทรัพย์สิน คนขัดสนหาได้ไม่พอเลี้ยงชีพ คนที่ทำมาหากินอย่างสุจริตแต่มีหนี้สินล้นพ้นตัว คนที่เป็นทาสหรือเชลยที่ควรได้รับการไถ่ตัวเป็นอิสระ เป็นต้น รวมถึงการบริจาคเพื่อสร้างสาธารณประโยชน์ตามแนวทางของพระเป็นเจ้าเช่น สร้างโรงเรียน สาธารณสถานต่างๆ ดังนั้น ถ้าพิจารณาจากแง่สังคม การบริจาคซะกาตเป็นการกระจายรายได้ให้แก่คนที่ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจให้ได้รับการดูแล ไม่ถูกทอดทิ้ง

          นอกจากนี้ คาสนาอิสลามยังมีข้อห้ามเรื่องดอกเบี้ย ผู้ที่ให้กู้เงินโดยคิดดอกเบี้ยจะต้องได้รับโทษอย่างหนักจากอัลลอฮ์ ข้อห้ามนี้เพราะคาสนาอิสลามต้องการให้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ตกอยู่ในความยากลำบากที่ไม่มีเงิน โดยให้เขาขอยืมเงิน การให้ยืมไม่ใช่การให้กู้ ผู้ที่มีเงินให้ยืมแสดงว่ามี ทรัพย์สินที่จะทำให้ดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องทำอะไร การคิดดอกเบี้ยเงินกู้เท่ากับสนับสนุนให้คนไม่ต้องขยันทำงาน และใช้วิธีง่ายๆ หาทรัพย์สมบัติด้วยการเอาเปรียบผู้ที่สมควรได้รับความเห็นอกเห็นใจและการช่วยเหลือ

          ๓.๓ หลักธรรมของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูกับการพัฒนาสังคม

          คัมภีร์พระเวท มีหลักดำสอนเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของชีวิตที่เรียกว่า "ปุรุษารถะ"มี ๔ ประการ คือ ธรรม อรรถ กาม และโมกษะหลักที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาทรัพย์สมบัติหรือสิ่งที่เราต้องการในโลกนี้ คือ หลักที่สองที่เรียกว่า "อรรถ" กล่าวคือ เมื่อบุคคลประสบความสำเร็จทางวัตถุ มีความมั่งคั่งและมีสถานภาพทางสังคมสูงถึงระดับหนึ่งแล้ว เขาไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมโดยไม่ทำอะไรด้านจิตวิญญาณเลย เป้าหมายของศาสนาในที่นี้คือ เมื่อผู้ใดสร้างฐานะจนมั่งคั่งแล้วเขาจะต้องใช้เงินช่วยเหลือจนให้มีชีวิตที่ดีขึ้น ให้ได้รับการศึกษามากขึ้น และเพื่อเปลี่ยนสภาพ คมให้ดีขึ้น จะต้องออกกฎหมายที่จะสร้างความเป็นธรรมและความสุขให้เกิดขึ้นในสังคม เป้าหมายเหล่านี้เป็นเป้าหมายเพื่อการพัฒนาสังคมให้ดีขึ้นทั้งสิ้น

          ๓.๔ หลักธรรมของศาสนาสิขกับการพัฒนาสังคม

          คัมภีร์อาทิครันถ์สอนว่าเมื่อพระเป็นเจ้าทรงสร้างโลกและสรรพสิ่ง พระองค์ทรงแบ่งสิ่งมีชีวิตทั้งหลายออกเป็น ๕ ตระกูลใหญ่ๆ คือ พืชผัก สัตว์จำพวกมด ปลวก แมลง'สัตว์จำพวกนก สัตว์น้ำและสัตว์บก ซึ่งรวมถึงเทพ มนุษย์ เปรต และผี โลกนี้เปรียบเหมือนเรือนจำที่ขังมนุษย์ให้ต้อง เวียนว่ายตายเกิดอยู่ข้างในไม่มีทางหลุดพ้น เพราะกรรมที่กระทำไว้ แต่มนุษย์มีโอกาสมากกว่าสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่จะหนีออกจากเรือนจำนี้ เพราะมนุษย์เป็นสิ่งสูงสุดในบรรดาสิ่งที่พระเป็นเจ้าทรงสร้างและการที่จะหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดนี้ได้ ก็ต่อเมื่อมนุษย์รู้จุดประสงค์ที่แท้จริงที่พระเป็นเจ้าทรงส่งเรามาเกิดเป็นมนุษย์ นั่นคือเพื่อให้วิญญาณของเรากลับสู่บ้านที่แท้จริง

                แต่มนุษย์มัวหลงเพลิดเพลินอยู่กับความสุขทางโลก ยึดถือวัตถุ บุตรภรรยา ญาติมิตร ทรัพย์สมบัติว่าเป็นของตน ทั้งที่เมื่อตายไปแล้วก็ไม่สามารถเอาสิ่งเหล่านี้ติดตัวไปได้ ทุกคนล้วนไปมือเปล่า ดังนั้น เมื่อยังมีชีวิตอยู่จึงควรทำงานที่เป็นหน้าที่ที่แท้จริงของเรา คือ การทำสมาธิภาวนาอยู่กับพระเป็นเจ้า แสวงหาพระเป็นเจ้าในตัวเรา ควรมีดวามสุภาพอ่อนโยน นอบน้อมถ่อมตน ไม่หยิ่งยะโส คัมภีร์สอนว่าเมื่อใดความอ่อนน้อมถ่อมตนเกิดขึ้นภายในตัวเรา เราจะหันไปสู่พระเป็นเจ้าโดยธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม นี่เป็นความกรุณาของพระเป็นเจ้าองค์เดียวเท่านั้นเละมนุษย์ต้องภักดีต่อพระองค์

          หลักธรรมของศสนาสิขมีพื้นฐานอยู่ที่การพัฒนาจิตใจ เมื่อมีชีวิตอยู่ในโลก เราต้องมีจิตใจที่พร้อมจะ "ให้"หรือ "ตอบแทน" แก่ผู้อื่นถือว่าบุคคลเป็นส่วนหนึ่งของดังคมและมีพันธะผูกพันต่อสังคม จึงให้ความสำคัญกับการเป็นพลเมืองดีและการรับใช้ส่วนรวม ชาวสิขพร้อมที่จะทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม เสียสละ ,อุทิศแรงงาน แรงใจ และทุน เพื่อส่วนรวม ชาวสิขได้อุทิศผลกำไรจากรายได้ของตนส่วนหนึ่งมอบให้แก่กิจกรรมสาธารณกุคล เพื่อช่วยพัฒนาสังคมให้เจริญรุ่งเรืองขึ้น

          สมาคมศรีคุรุสิงห์ ภาซึ่งเป็นศูนย์รวมสิขศาสนิกชนในประเทศไทย ได้ช่วยเหลือผู้ประสบทุกข์ยากอยู่เป็นประจำ ได้สร้างโรงเรียน สถานพยาบาล รับรักษาคนไข้ที่ยากจนโดยไม่ต้องเสียเงิน และไม่จำกัดชั้นวรรณะ และศาสนา มีการสร้างห้องสมุด สถานสงเคราะห์คนชรา ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ยากจน ขัดสน และขาดแคลนผู้อุปการะ ตั้งมูลนิธิเพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่เรียนดีแต่ขัดสนทุนทรัพย์ ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการช่วยเหลือสังคม เช่น กรมการศาสนาสภากาชาดไทย เพื่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในหมู่ศาสนิกชนคาสนาต่างๆ ด้วย

๔. แนวทางในการจัดกิจกรรมทางศาสนาเพื่อการพัฒนาสังคม

        ในช่วงที่ประเทศไทยต้องเผชิญวิกฤต โดยเฉพาะทางด้านสังคมและการเมืองอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และยังหาทางออกไม่ได้ ศาสนาเป็นที่พึ่งของจิตใจ ทุกศาสนาได้มีบทบาทช่วยกอบทู้วิกฤตทางสังคม สร้างศรัทธาในศีลธรรม ส่งเสริมคุณธรรมและค่านิยมที่ดีในสังคม รวมทั้งช่วยให้เกิดความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนในศาสนต่าง ๆ เพื่อให้ประเทศก้าวหน้าต่อไปอย่างมั่นคงและประชาชนในชาติมีความสันติสุข

          การจัดกิจกรรมทางศาสนาเพื่อพัฒนาสังคม อาจทำได้หลายแนวทาง เป็นต้นว่า การบริจาคเงินเพื่อการกุศล การสละเวลาทำกิจกรรมทางศาสนาที่เป็นสาธารณประโยชน์ หรือการจัดกิจกรรมทางคาสนาเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระมหากษัตริย์ ในที่นี้ขอเสนอแนวทางในการจัดทำกิจกรรมทางศาสนาเพื่อพัฒนาสังคมไทยดังนี้

                   ๑) การจัดนิทรรศการประกอบการสัมมนา เรื่อง "ความสุขนิรันดรกับการพัฒนาจิตใจในมุมมองของศาสนา"โดยเชิญผู้สอนศาสนาหรือผู้ทรงคุณวุฒิของทุกศาสนามาร่วมสัมมนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศาสนิกชนแต่ละคาสนาเห็นว่า โดยหลักการแล้ว ศาสนาทุกศาสนาไม่ได้แตกต่างกัน และยังเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ถูกต้องจากผู้รู้ หรือแลกเปลี่ยนทัศนคติของกันและกัน เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง อันจะนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ถูกต้องจากผู้รู้ หรือแลกเปลี่ยนทัศนคติของกันและกัน เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง อันจะนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

                   ๒) การจัดงานวันกินเจของคนไทยทุกศาสนาร่วมกัน ได้ทำบุญร่วมกันด้วยการลดการเบียดเบียนชีวิต ให้กำหนดวันและสถานที่ให้ทุกศาสนิกชนร่วมรับประทานอาหารเจด้วยกันโดยไม่มีการแบ่งแยกศาสนา เช่น จัดงานที่ลานพระบรมรูปทรงม้า แนวถนนราชดำเนิน หรือสนามหลวง เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างศาสนิกชนทุกศาสนา ให้ได้มีโอกาสพบปะพูดคุย

                        ๓) การรับบริจาคเงินเพื่อนำไปใช้ในการกุศลในโอกาสวันสำคัญ เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถโดยสมาคม หรือมูลนิธิ หรือศูนย์ของแต่ละคาสนาจัดรถรับบริจาคไปตามสถานที่ต่างๆ โดยมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบทั่วกัน รวมถึงให้ทราบว่าจะนำเงินบริจาคที่ได้ไปใช้ในกิจการใดเช่น สร้างศาสนสถาน สร้างโรงพยาบาล เป็นค่าพาหนะเดินทางให้แก่พระภิกษุสงฆ์ไปแสวงบุญที่สังเวชนียสถาน (สำหรับชาวพุทธ) หรือบำเพ็ญสาธารณประโยชน์อื่นๆ เป็นต้น

                   ๔) การสวดมนต์ข้ามปี เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ประเทศชาติในวาระดิถีขึ้นปีใหม่และเพื่ออุทิศถวายแด่พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ คืนก่อนวันขึ้นปีใหม่ทุกปีจะจัดให้มีการสวดมนต์ในวัด หรือศาสนสถานของตนและจัดให้มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ เพื่อให้ศาสนิกชนที่ไม่สามารถไปร่วมสวดที่วัด สามารถสวดที่บ้านได้พร้อมเพรียงกันทุกศาสนา

         ศาสนานอกจากจะเป็นตัวกลางยึดเหนี่ยวจิตใจของศาสนิกชนผู้ที่นับถือศาสนาเตกต่างกันแล้ว ยังเป็นเครื่องขัดเกลาพฤติกรรมและปลุกฝังค่านิยมที่ดีงามทางศาสนาให้แก่ศาสนิกชน ค่านิยมอันพึงประสงค์ของสังคม โดยทั่วไปถูกพัฒนามาจากค่านิยมทางศาสนา เช่น ค่านิยมการยกย่องนับถือคนดี คนซื่อสัตย์สุจริต ล้วนเป็นค่านิยมที่มีการอบรมสั่งสอนกันในทุกศาสนา และค่านิยมทางศาสนานี้เองเป็นเบ้าหลอมให้เกิดจริยธรรม ความประพฤติดี และปฏิบัติชอบ มีวิถีดำรงชีวิตในสังคมด้วยการยึดหลักศีลธรรมความถูกต้อง ไม่เบียดเบียนทำร้ายกัน ก่อให้เกิดพฤติกรรมคิดดี พูดดี และทำดี เพื่อประโยชน์ในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

                                     สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี                              

สามัคคีของหมู่ ให้เกิดสุข

(ที่มา: พระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ ข้อ ๑๙๔ หมวดที่ ๑๑ ภาษิตที่ ๒)

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita