โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล ประวัติ

อุบัติเหตุครั้งประวัติศาสตร์ต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลในอดีตสหภาพโซเวียต (ปัจจุบันเป็นประเทศยูเครน) เกิดขึ้นในช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 26 เมษายน 1986 ตามเวลาท้องถิ่น ระหว่างการทดสอบระบบความปลอดภัยของเครื่องปฏิกรณ์หมายเลข 4 ซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน เพื่อทดสอบว่าเครื่องปั่นไฟสำรองที่ให้พลังงานแก่เครื่องสูบน้ำหล่อเย็นหลักจะสามารถทำงานได้นานเพียงใดหากระบบไฟฟ้าหลักถูกตัดขาด ซึ่งที่ผ่านมาทางโรงไฟฟ้าเคยทำการทดสอบลักษณะเดียวกันมาก่อนแล้ว

สมาคมนิวเคลียร์โลกองค์กรส่งเสริมการใช้พลังงานนิวเคลียร์ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษอ้างว่า อุบัติเหตุจากการทดสอบดังกล่าวเป็นผลมาจากการออกแบบที่บกพร่องบวกกับการขาดความชำนาญและการประสานงานของเจ้าหน้าที่

Encyclopedia Britannica อธิบายเหตุดังกล่าวว่า ก่อนการทดสอบซึ่งออกแบบมาไม่ดีนัก คนงานได้ปิดระบบควบคุมพลังงานของเครื่องปฏิกรณ์รวมถึงระบบป้องกันภัยในภาวะฉุกเฉิน และยังถอดแท่งควบคุมปฏิกริยา (control rod เครื่องมือควบคุมปฏิกริยาฟิชชั่น) ออกจากแกนเครื่องปฏิกรณ์เกือบทั้งหมดในขณะที่ปล่อยให้เครื่องปฏิกรณ์เดินเครื่องด้วยระดับพลังงาน 7 เปอร์เซนต์ เมื่อบวกกับความผิดพลาดประการอื่นๆ ถึงเวลา 1.23 นาฬิกาตามเวลาท้องถิ่น ของวันที่ 26 เมษายน ปฏิกริยาลูกโซ่ในแกนเครื่องปฏิกริยาไม่อยู่ในภาวะที่ควบคุมได้อีก เกิดการระเบิดขึ้นหลายครั้งทำให้ทั้งเหล็กและคอนกรีตที่สร้างครอบเครื่องปฏิกรณ์แตกกระจาย ปล่อยกัมมันตรังสีออกสู่ชั้นบรรยากาศ

วันที่ 27 เมษายน ชาวบ้านในเมืองพริพยาท (Prypyat) กว่า 3 หมื่นคนถูกอพยพออกจากเมือง ขณะที่รัสเซียพยายามปกปิดเหตุที่เกิดขึ้น แต่ในวันที่ 28 เมษายน มีการตรวจพบระดับรังสีที่สูงผิดปกติในสวีเดน หลังถูกกดดันให้อธิบายถึงสาเหตุ รัฐบาลโซเวียตยอมรับว่าเกิดอุบัติเหตุขึ้นในโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล แต่ยังพยายามปัดป้องถึงอันตรายจากกัมมันตรังสีที่เล็ดลอดออกมา

ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 1986 แสดงการซ่อมแซมโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลหลังเกิดเหตุการณ์ระเบิด (AFP PHOTO / TASS / ZUFAROV)

เบื้องต้นอุบัติเหตุดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิต 32 ราย อีกหลายรายต้องเจ็บป่วยจากรังสีอย่างรุนแรงและเสียชีวิตในเวลาต่อมา และยังมีผู้คนอีกหลายสิบล้านคนที่ได้รับรังสีในระดับที่สูงผิดปกติ ด้วยรังสีที่ถูกพัดไปตามกระแสลมไกลถึงฝรั่งเศสและอิตาลี และมีระดับที่เข้มข้นกว่ารังสีจากระเบิดปรมาณูที่ถูกทิ้งในฮิโรชิมะ และนางาซางิหลายเท่า

แม้จะมีการอพยพผู้คนนับหมื่นออกจากพื้นที่ แต่ยังมีประชาชนอีกนับแสนคนที่ยังอาศัยในพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนกัมมันตรังสี หลายปีต่อมาพบปศุสัตว์ในพื้นที่จำนวนมากที่คลอดลูกออกมาพิกลพิการ เช่นเดียวกับประชาชนบางส่วนที่มีอาการเจ็บป่วยเนื่องจากการกระตุ้นของรังสี และคาดว่าจะมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งในระยะยาว เป็นความเจ็บปวดในหน้าประวัติศาสตร์

อย่างไรก็ดี ปัญหาผลกระทบจากกัมมันตรังสีในระยะยาวยังคงเป็นที่ถกเถียง สมาคมนิวเคลียร์โลกอ้างรายงานของคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ด้านผลกระทบจากรังสีอะตอมแห่งองค์การสหประชาชาติ (UNSCEAR) ว่า นอกจากการเพิ่มขึ้นของมะเร็งไทรอยด์แล้ว “ไม่มีหลักฐานของผลกระทบต่อสุขภาพที่ร้ายแรงจากการได้รับรังสีในช่วง 20 ปี หลังการเกิดอุบัติเหตุ”

ย้อนรอยภัยพิบัติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ “เชอร์โนบิล” ระเบิด หลังรัสเซียโจมตี “ซาโปรีเจีย” โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใหญ่สุดในยุโรป หากระเบิดจะรุนแรงกว่ารุ่นพี่ในอดีตถึง 10 เท่า

วันที่ 4 มีนาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ “ซาโปรีเจีย” โรงไฟฟ้าที่ใหญ่สุดในยุโรปถูกกองทัพรัสเซียโจมตีใส่จากทุกทิศทางจนเกิดเหตุไฟไหม้ โดยรัฐมนตรีต่างประเทศของยูเครนได้เรียกร้องให้รัสเซียหยุดโจมตีสถานที่ดังกล่าวทันที เพราะหากเกิดการระเบิดจะรุนแรงกว่าเหตุการณ์ “เชอร์โนบิล” ถึง 10 เท่า

  • ดีลบางจาก 55,500 ล้าน ปิดตำนาน เอสโซ่ สะเทือนถึง ปตท.
  • เปิดวิบากกรรมการเมือง ยงยุทธ วิชัยดิษฐ เคยร้องไห้กับ “ยิ่งลักษณ์”
  • สถิติหวย ตรวจหวย ผลสลากกินแบ่งรัฐบาลงวด 17 มกราคม ย้อนหลัง 10 ปี

“ประชาชาติธุรกิจ” จะพาผู้อ่านย้อนรอยหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญของโลก เพื่อฉายให้เห็นภาพของความเสียหายและผลกระทบด้านรังสีที่ตามมาหากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกิดการระเบิด

ภัยพิบัติเชอร์โนบิล

ภัยพิบัติเชอร์โนบิล เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน ปี 2529 เมื่อเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 4 เกิดระเบิดขึ้น ณ สถานีพลังงานนิวเคลียร์เชอร์โนบิลในสหภาพโซเวียต นับเป็นภัยพิบัติที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของการผลิตพลังงานนิวเคลียร์

เชอร์โนบิล ตั้งอยู่ที่นิคมเชอร์โนบิล ริมฝั่งแม่น้ำนีเปอร์ ใกล้เมืองปริเปียต แคว้นเคียฟ ทางตอนเหนือของยูเครน ใกล้ชายแดนเบลารุส โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนี้ประกอบด้วยเตาปฏิกรณ์สี่เครื่อง แต่ละเครื่องสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 1,000 เมกะวัตต์ ตามรายงานของบริทแทนนิกา

เชอร์โนบิล ภาพจาก REUTERS/Gleb Garanich

การระเบิดของหมายเลข 4 และการยับยั้ง

การระเบิดเกิดขึ้นเมื่อวิศวกรของแกนปฏิกรณ์หมายเลข 4 ได้ทำการทดสอบการทำงานของระบบหล่อเย็น และระบบทำความเย็นฉุกเฉินของแกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์

แต่การทดสอบระบบได้ล่าช้ากว่ากำหนดจนต้องทำการทดสอบโดยวิศวกรกะกลางคืน แต่กลับเกิดแรงดันไอน้ำสูงขึ้นอย่างฉับพลันและระบบตัดการทำงานอัตโนมัติไม่ทำงาน ส่งผลให้เกิดความร้อนสูงขึ้นจนทำให้แกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์หลอมละลาย และเกิดระเบิดขึ้น

ผลจากการระเบิดทำให้ขี้เถ้าปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีพวยพุ่งขึ้นสู่บรรยากาศ กระแสลมพัดไกลออกไปจนปกคลุมทางตะวันตกของสหภาพโซเวียต ยุโรปตะวันออก ยุโรปตะวันตก ยุโรปเหนือ ทางการยูเครน เบลารุส และรัสเซีย ต้องอพยพประชากรกว่า 300,000 คนออกจากพื้นที่อย่างฉุกเฉิน

ต่อมาในวันที่ 27 เมษายน 2529 ประชาชนชาวปริเปียตกว่า 30,000 คนเริ่มอพยพ รัฐบาลพยายามปกปิดข่าวการระเบิด แต่ในวันต่อมา สถานีเฝ้าระวังของสวีเดนรายงานว่าระดับกัมมันตภาพรังสีในอากาศสูงกว่าผิดปกติ และต้องการคำอธิบาย

Advertisement

ทางรัฐบาลโซเวียตออกมายอมรับว่าเกิดอุบัติเหตุที่เชอร์โนบิล ส่งผลให้เกิดข้อครหาจากนานาชาติตามมาเกี่ยวกับอันตรายของกัมมันตภาพรังสี

เศษกัมมันตภาพรังสีถูกฝังกลบไว้ที่ไซต์ชั่วคราวประมาณ 800 แห่ง และในปีเดียวกันนั้น แกนเครื่องปฏิกรณ์กัมมันตภาพรังสีถูกปิดตายในโลงคอนกรีตและเหล็กกล้า

ภาพจาก pexels

ความเสียหาย

บางแหล่งข้อมูลระบุว่ามีผู้เสียชีวิต 2 รายในการระเบิดครั้งแรก ขณะที่แหล่งอื่น ๆ รายงานว่าตัวเลขดังกล่าวเกือบแตะ 50 คน ผู้คนจำนวนมากป่วยจากการอาบรังสีร้ายแรง ซึ่งบางคนเสียชีวิตในเวลาต่อมา

สารกัมมันตภาพรังสีจำนวน 50 ถึง 185 ล้านคิว หลุดออกสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งเป็นปริมาณที่มากกว่าระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ ในญี่ปุ่นหลายเท่า

อุบัติเหตุครั้งนี้เป็นหนึ่งในสองครั้งที่ได้รับการจัดระดับความรุนแรงไว้ที่ระดับ 7 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดตามมาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์ ซึ่งเกิดอีกครั้งหนึ่งในภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิในปี 2554 อ้างอิงจาก

นอกจากนี้กัมมันตภาพรังสียังพัดตามลมเหนือไปยังเบลารุส รัสเซีย และยูเครน และในไม่ช้าก็ไปถึงตะวันตกไกลถึงฝรั่งเศสและอิตาลี

พื้นที่ป่าและพื้นที่เพาะปลูกหลายล้านเอเคอร์ปนเปื้อน และแม้ผู้คนหลายพันคนจะอพยพออกไป แต่ยังมีอีกหลายแสนคนยังคงอยู่ในพื้นที่ปนเปื้อน นอกจากนี้ ในปีต่อ ๆ มา ปศุสัตว์จำนวนมากเกิดมาพิการ และในหมู่มนุษย์ก็เกิดโรคที่คาดว่าเป็นเพราะการอาบรังสี รวมถึงการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งหลายพันรายอีกต่อไปเป็นเวลานาน

ภัยพิบัติเชอร์โนบิลทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ขั้นตอนที่ไม่ปลอดภัยและข้อบกพร่องในการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ของสหภาพโซเวียต และเกิดการต่อต้านการสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์

เชอร์โนบิลหมายเลข 2 ถูกปิดตัวลงหลังเกิดเหตุเพลิงไหม้ในปี 2534 ส่วนหมายเลข 1 ยังคงเปิดใช้งานอยู่จนถึงปี 2539 ด้านหมายเลข 3 เปิดใช้งานจนถึงปี 2543 เป็นเวลาที่เชอร์โนบิลถูกปิดอย่างเป็นทางการ

ภาพจาก pexels

การสร้างเขตยกเว้นเชอร์โนบิล

หลังภัยพิบัติ สหภาพโซเวียตสร้างเขตยกเว้นรูปวงกลมขึ้น มีรัศมีประมาณ 30 กิโลเมตรโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เชอร์โนบิล

เขตยกเว้นครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2,634 ตารางกิโลเมตรรอบโรงงาน และขยายเป็น 4,143 ตารางกิโลเมตรในภายหลัง เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ที่มีการแผ่รังสีรุนแรงนอกเขตเริ่มแรก

แม้ว่าจะไม่มีใครอาศัยอยู่ในเขตยกเว้น แต่นักวิทยาศาสตร์ คนเก็บขยะ และคนอื่น ๆ อาจยื่นขออนุญาตที่อนุญาตให้พวกเขาเข้ามาได้ภายในระยะเวลาที่จำกัด

และจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 2534 การควบคุมไซต์ดังกล่าวได้ส่งผ่านไปยังยูเครน

ในปี 2554 รัฐบาลยูเครนได้เปิดพื้นที่บางส่วนของเขตยกเว้นเพื่อจัดกลุ่มทัวร์ รวมถึงเยี่ยมชมเชอร์โนบิลและเมืองปริเปียตที่ถูกทิ้งร้าง และกลายเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวสายดาร์ก

ระหว่างการรุกรานยูเครนของรัสเซียที่กำลังเกิดขึ้น กองกำลังรัสเซียที่โจมตีจากเบลารุสได้เข้ายึดเชอร์โนบิลได้หลังจากการสู้รบช่วงสั้น ๆ

ทั้งนี้การต่อสู้ในพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัตินิวเคลียร์ครั้งร้ายแรงที่สุดในโลกทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความเสียหายต่อโครงสร้างกักกันและความเป็นไปได้ของการปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีในวงกว้าง

ภาพจาก pixabay

ผลกระทบดี-ร้าย ในระยะยาว

เนชั่นแนลจีโอกราฟิก รายงานว่า ผลกระทบเกิดขึ้นกับป่าไม้และสัตว์ป่าโดยรอบ และยังคงเป็นพื้นที่สำหรับการวิจัยเชิงรุก ภายหลังการระเบิด พื้นที่ประมาณ 10 ตารางกิโลเมตรกลายเป็นพื้นที่ที่เรียกว่า “ป่าแดง” เนื่องจากต้นไม้จำนวนมากเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงและตายลงหลังจากดูดซับรังสีในระดับสูง

ทุกวันนี้แม้ว่าต้นไม้จำนวนมากจะเติบโตใหม่ แต่นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบหลักฐานของการเกิดต้อกระจกและโรคผิวเผือกมากขึ้น รวมถึงจำนวนแบคทีเรียมีประโยชน์ที่น้อยลงในหมู่สัตว์ป่าบางชนิดในพื้นที่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

แต่ถึงอย่างนั้น เนื่องจากเป็นเขตหวงห้ามมนุษย์โดยรอบโรงไฟฟ้า ทำให้จำนวนสัตว์ป่าบางชนิดเพิ่มขึ้น ตั้งแต่แมวป่าไปจนถึงกวางเอลก์ ในขณะที่ปี 2558 นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่ามีหมาป่าในเขตยกเว้นมากกว่าถึง 7 เท่าเมื่อเทียบกับเขตสงวนที่ใกล้เคียงกัน เนื่องจากไม่มีมนุษย์อยู่

ส่วนผลกระทบในด้านอื่น ๆ อย่างเศรษฐกิจหรือการเมือง ภัยพิบัติเชอร์โนบิลเร่งการล่มสลายของสหภาพโซเวียตและจุดชนวนให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านนิวเคลียร์ทั่วโลก การระเบิดครั้งนี้คาดว่าสร้างความเสียหายประมาณ 235,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

ปัจจุบันเบลารุสมีพื้นที่ปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีประมาณ 23% สูญเสียพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 1 ใน 5 และในปี 2534 เบลารุสใช้งบประมาณ 22% ของทั้งหมดเกี่ยวข้องกับการจัดการเชอร์โนบิล

ทุกวันนี้ เชอร์โนบิลกวักมือเรียกนักท่องเที่ยวที่รู้สึกทึ่งกับประวัติศาสตร์และหลงใหลในอันตรายของมัน แม้ว่าเชอร์โนบิลจะเป็นสัญลักษณ์ของความหายนะที่อาจเกิดขึ้นจากพลังงานนิวเคลียร์ แต่รัสเซียก็ไม่เคยก้าวไปไกลกว่ามรดกหรือเทคโนโลยีของรัสเซียเลย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita