ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ แผนที่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT)

ประเทศพื้นที่แพร่ภาพเครือข่ายคำขวัญสำนักงานใหญ่แบบรายการระบบภาพความเป็นเจ้าของเจ้าของบุคลากรหลักช่องรองประวัติเริ่มออกอากาศยุติออกอากาศชื่อเดิมลิงก์เว็บไซต์ออกอากาศภาคพื้นดินดิจิทัลเคเบิลทีวีทีวีดาวเทียมทรูวิชั่นส์พีเอสไอจีเอ็มเอ็มแซทไอพีเอ็มไทยแซทไอเดียแซทเคเอสทีวีดีทีวีไทยคม 6 C-Bandสื่อสตรีมมิงPRD
ไทย
ประเทศไทย
สถานีโทรทัศน์/สถานีวิทยุ
ช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล
ประเภทบริการสาธารณะ
ข่าวสาร ความรู้ คู่รัฐและประชาชน
เลขที่ 236 ถนนวิภาวดีรังสิต
แขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร
1080i (16:9 คมชัดสูง)
576i (16:9 คมชัดปกติ/กล่องโทรทัศน์ดาวเทียม)
กรมประชาสัมพันธ์
สำนักนายกรัฐมนตรี

  • พลโทสรรเสริญ แก้วกำเนิด
    อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์
  • ทัศนีย์ ผลชานิโก
    รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์
  • จริยา ประสพทรัพย์
    ผู้อำนวยการ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย

  • สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ส่วนภูมิภาค
  • เอ็นบีทีเวิลด์
  • สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

ระบบแอนะล็อก:
1 ตุลาคม พ.ศ. 2528 (37 ปี)
วันสถาปนา:
11 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 (34 ปี)
ระบบดิจิทัล:
1 เมษายน พ.ศ. 2557 (8 ปี)
ระบบดาวเทียมเคเบิลทีวีและดิจิทัล:
2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (6 ปี)
ระบบแอนะล็อก:
15 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (32 ปี 287 วัน)
สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11
(2528 - 2551)
nbt2hd.prd.go.th
ช่อง 2 (มักซ์#1 : พีอาร์ดี)
ช่อง 2
ช่อง 2
ช่อง 2
ช่อง 2
ช่อง 2
ช่อง 2
ช่อง 2
ช่อง 2
ช่อง 2
3920 H 30000 (3/4)
4150 H 12000 (3/4)
ชมรายการสด

สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ชื่อย่อ: เอ็นบีที; อังกฤษ: The National Broadcasting Services of Thailand) หรือ เอ็นบีที 2 เอชดี (อังกฤษ: NBT 2HD; อ่านว่า เอ็นบีที ทูเอชดี) เป็นหน่วยงานสถานีวิทยุโทรทัศน์ของรัฐบาล มีสถานะเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติของประเทศไทย สังกัดกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ปัจจุบันคือ อนุชา นาคาศัย), รองนายกรัฐมนตรี วิษณุ เครืองาม[1] และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (ปัจจุบันคือ นางพัชราภรณ์ อินทรียงค์) เป็นผู้กำกับดูแล โดยมีการเปลี่ยนชื่อพร้อมปรับปรุงระบบการบริหารงาน และรูปแบบของสถานีฯ เพื่อให้สมเจตนารมณ์ของการก่อตั้งสถานีฯ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551 เวลา 06.00 น. เป็นต้นไปในวันที่ใช้ชื่อเอ็นบีที และได้เปลี่ยนอัตลักษณ์ใหม่ของสถานีฯ ที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน

ประวัติ

สืบเนื่องจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ ไจกา (Japan International Cooperation Agency; JICA) ให้การสนับสนุนงบประมาณและอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับถ่ายทอดวิทยุกระจายเสียง และถ่ายทำรายการโทรทัศน์ภายในห้องถ่ายทำ (Studio) แก่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) เพื่อให้ มสธ. นำไปใช้ก่อตั้ง ศูนย์ผลิตรายการวิทยุและโทรทัศน์ (Educational Broadcasting Production Center; EBPC) ระหว่างปี พ.ศ. 2525 - 2527 ทว่าในขณะนั้น ประเทศไทยไม่มีสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเพื่อรองรับเนื้อหาที่ผลิตขึ้นจากศูนย์ผลิตรายการดังกล่าว ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2528 คณะรัฐมนตรีจึงลงมติให้กรมประชาสัมพันธ์ จัดทำโครงการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่เป็นสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษา เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของราชการสู่ประชาชน และเพื่อประโยชน์สาธารณะ รวมไปถึงการเสริมสร้างความเข้าใจอันดี ระหว่างรัฐบาลกับประชาชน ตลอดจนเป็นสถานีโทรทัศน์แม่ข่ายให้แก่สถานีโทรทัศน์ส่วนภูมิภาคในเครือกรมประชาสัมพันธ์ทั่วประเทศ

จากนั้นกรมประชาสัมพันธ์ได้ย้ายเครื่องส่งโทรทัศน์สีจากสถานีส่งที่อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ มาใช้แพร่ภาพชั่วคราว ด้วยระบบวีเอชเอฟความถี่สูง ทางช่องสัญญาณที่ 11 (Band 3, VHF CH-11) จากอาคารศูนย์ระบบโทรทัศน์ของกรมประชาสัมพันธ์ ริมถนนเพชรบุรีตัดใหม่ จัดตั้งขึ้นเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และเริ่มต้นทดลองออกอากาศเป็นครั้งแรก ประมาณต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2528[2] ก่อนจะแพร่ภาพเป็นประจำทุกวัน ระหว่างเวลา 16:30-21:00 น. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2529 แต่ด้วยข้อจำกัดทางงบประมาณของกรมประชาสัมพันธ์ รวมทั้งเครื่องส่งโทรทัศน์มีกำลังส่งต่ำ เป็นผลให้ดำเนินการแพร่ภาพออกอากาศได้ไม่สะดวก ศาสตราจารย์ ยามาซากิ, ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิคม ทาแดง ผู้ร่วมดำเนินการก่อตั้ง ศูนย์ผลิตรายการวิทยุและโทรทัศน์ มสธ. จึงร่วมกันจัดทำร่างโครงการขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งต่อมาอนุมัติวงเงิน 2,062 ล้านเยน (ขณะนั้นคิดเป็นประมาณ 300 ล้านบาท) แบบให้เปล่าผ่านไจกา เพื่อดำเนินการก่อสร้างอาคารที่ทำการ จัดซื้อและติดตั้งอุปกรณ์ เครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์ ระหว่างวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 ถึงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2531 รวมระยะเวลาประมาณ 9 เดือน โดยระหว่างนั้น สทท. ยุติการออกอากาศเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 เพื่อดำเนินการโอนย้ายระบบออกอากาศดังกล่าว

ต่อมาในวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 เวลา 10:00 นาฬิกา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด อาคารที่ทำการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย อย่างเป็นทางการ[3] จากนั้นเป็นต้นมาจึงกำหนดให้วันที่ 11 กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนาสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ต่อมาจึงเริ่มกลับมาออกอากาศรายการภาคเช้า ข่าวภาคค่ำ รายการเพื่อการศึกษา และรายการประเภทอื่น ไปยังสถานีเครือข่ายส่วนภูมิภาคตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 จนถึงปัจจุบัน

สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ในฐานะที่เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ ดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของราชการ และนำเสนอรายการที่เป็นสาระความรู้ โดยเฉพาะด้านการศึกษา, ศิลปวัฒนธรรม และประเพณี มาโดยตลอด ซึ่งรูปแบบการดำเนินงานนั้น สทท.11 ในส่วนกลางที่กรุงเทพมหานคร จะดำเนินการถ่ายทอดรายการเป็นส่วนมาก และบางช่วงเวลาจะให้สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยในส่วนภูมิภาค ดำเนินการถ่ายทอดรายการของตนเฉพาะท้องถิ่นไป แล้วแต่ช่วงเวลานั้น ๆ อย่างไรก็ดี ในช่วงระยะแรก สทท.11 มักถูกมองข้ามจากผู้ชมส่วนใหญ่ เนื่องด้วยความเป็นสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาล ซึ่งไม่มีรายการที่สามารถดึงดูดผู้ชมได้ โดยเฉพาะรายการประเภทบันเทิง เช่นละครโทรทัศน์หรือเกมโชว์ และประกอบกับเป็นสถานีโทรทัศน์ที่ไม่สามารถหารายได้ด้วยการโฆษณา จึงทำให้ประเภทรายการที่ออกอากาศทาง สทท.11 มีอยู่อย่างจำกัด ส่งผลให้มีผู้ติดตามรับชมจำนวนไม่มากนัก

อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 2539 สทท.11 มีข้อเสนอให้หน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะภาครัฐ สามารถแสดงภาพสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายการค้าบนหน้าจอโทรทัศน์ได้ นอกจากนั้นก็ยังต่อยอดจากข้อเสนอข้างต้น ด้วยการผลิตภาพยนตร์โฆษณาของสถานีฯ เพื่อออกอากาศด้วยตนเอง ซึ่งดำเนินมาจนกระทั่งมีการตราพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ซึ่งตามกฎหมายดังกล่าวมีการกำหนดไม่ให้กรมประชาสัมพันธ์หารายได้จากการโฆษณาเชิงพาณิชย์[4] แต่ สทท.11 ยังคงมีโฆษณาเชิงพาณิชย์อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งเมื่อสำนักงาน กสทช. แจ้งเตือนให้ สทท. ห้ามมีการโฆษณาเชิงพาณิชย์ในรายการในช่วงปี พ.ศ. 2561[5] ทำให้มีการย้ายบางรายการที่ไม่สามารถปรับตัวให้ปลอดการโฆษณาเชิงพาณิชย์ได้ ไปออกอากาศทางช่องโทรทัศน์ของเอกชนแทน แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้อำนาจหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งรับรองโดยมาตรา 265 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 อนุญาตให้กรมประชาสัมพันธ์สามารถมีโฆษณาได้เท่าที่จำเป็นและเพียงพอต่อการผลิตรายการตามวัตถุประสงค์โดยต้องไม่เป็นการมุ่งต่อการแสวงหากำไรทางธุรกิจ ซึ่งส่งผลให้ สทท. สามารถหารายได้จากการโฆษณาได้เทียบเท่ากับ ททบ.5 โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ กสทช. กำหนด [6]

อนึ่ง สทท.11 เริ่มมีชื่อเสียงในการถ่ายทอดการแข่งขันกีฬา จากการริเริ่มนำเทปการแข่งขันมวยปล้ำอาชีพมาออกอากาศในระยะหนึ่ง และถ่ายทอดสดฟุตบอลยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ในช่วงปี พ.ศ. 2540 - 2543 จนกระทั่งในช่วงปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา สทท.11 ก็กลับมามีชื่อเสียงในเรื่องนี้อีกครั้ง เมื่อร่วมกับบริษัท ทศภาค จำกัด บริษัทลูกที่ประกอบกิจการโฆษณาในเครือไทยเบฟเวอเรจ, สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี และสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2002 ซึ่งจัดขึ้นที่สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) และประเทศญี่ปุ่น โดยไม่มีภาพยนตร์โฆษณาระหว่างการแข่งขัน ซึ่งหลังจากนั้น สทท.11 ก็ดำเนินการถ่ายทอดสดกีฬาอีกหลายรายการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน อนึ่ง กรณีถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2002 นับเป็นเรื่องแปลกใหม่ของวงการโทรทัศน์ไทยในขณะนั้น เนื่องจากตามธรรมเนียมปกติที่ผ่านมา การถ่ายทอดโทรทัศน์ในมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติ ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินช่องต่างๆ มักรวมตัวกันในนามโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทีวีพูล) เพื่อซื้อลิขสิทธิ์การเผยแพร่ในประเทศไทย และหารายได้ทดแทนค่าลิขสิทธิ์ ด้วยการเสนอภาพยนตร์โฆษณาสินค้าบริการต่างๆ คั่นระหว่างการถ่ายทอด

ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2551 สมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช จักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีขณะนั้น ในฐานะกำกับดูแลกรมประชาสัมพันธ์ มีแนวความคิดเปลี่ยนแปลง สทท.11 เพื่อปรับปรุงระบบการบริหารงาน และตอบสนองเจตนารมณ์ของการก่อตั้งสถานีฯ ดังนั้นในวันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551 ตั้งแต่เวลา 06.00 น. สทท.11 จึงเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (National Broadcasting Services of Thailand; เอ็นบีที) ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้จดทะเบียนสมาชิกกับสหภาพวิทยุ-โทรทัศน์แห่งเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Broadcasting Union; ABU) และเปลี่ยนสีประจำสถานีเป็นสีแดง พร้อมกันนั้น ยังเริ่มออกอากาศรายการรูปแบบใหม่ เพื่อให้สมเจตนารมณ์ในการก่อตั้งสถานีและเพื่อประโยชน์สาธารณะ ทั้งนี้ เอ็นบีทีจะนำเสนอข่าวที่ผลิตโดยกองบรรณาธิการข่าวของสถานีฯ เอง ซึ่งแยกออกมาจากสำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ ต่างจากในยุค สทท.11 ซึ่งจะนำเสนอข่าวที่ผลิตจากสำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์แทบทั้งสิ้น

ทั้งนี้ สถานีโทรทัศน์เอ็นบีที นำอดีตผู้ประกาศข่าวหลายคนของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีเดิม ที่ไม่เข้าร่วมงานกับสถานีฯต่อเมื่อเปลี่ยนชื่อไปเป็นสถานีโทรทัศน์ทีวีไทยมาทำหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็นตวงพร อัศววิไล, จอม เพชรประดับ, จิรายุ ห่วงทรัพย์, ปนัดดา วงศ์ผู้ดี, สร้อยฟ้า โอสุคนธ์ทิพย์ เป็นต้น ซึ่งเอ็นบีทีนำเสนอภาพลักษณ์สถานีโทรทัศน์ข่าวสาร โดยให้เวลานำเสนอข่าวในผังรายการ มากกว่า 13 ชั่วโมงต่อวัน และปรับรูปลักษณ์ของสถานีฯ เพื่อให้มีความทันสมัยมากกว่าเดิม ซึ่งในช่วงแรก เอ็นบีทีถูกจับตาอย่างยิ่งจากหลายฝ่าย จากการประกาศตัวเป็นคู่แข่งกับสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย (ปัจจุบันคือสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส) ในลักษณะของ "สงครามสื่อโทรทัศน์ภาครัฐ" เนื่องจากเอ็นบีทีนำเสนอความเป็นทีวีสาธารณะของภาครัฐบาล ขึ้นรับมือกับไทยพีบีเอส ที่ประกาศตัวเป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะแห่งแรกของประเทศไทยไปก่อนหน้า และนอกจากนี้ เอ็นบีทียังถูกจับตามองอย่างยิ่งในแง่มุมของการเสนอข่าว ซึ่งมีบางฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ว่า เอ็นบีทีนำเสนอข่าวในลักษณะเข้าข้างรัฐบาลเป็นพิเศษ

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 มีการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี จากสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รัฐบาลขณะนั้นมีนโยบายปฏิรูปสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย โดยจัดประกวดตราสัญลักษณ์ใหม่ ซึ่งกำหนดแนวคิดตราสัญลักษณ์ ให้สื่อถึงความเป็นโทรทัศน์แห่งชาติ มีความทันสมัยผสมผสานกับความเป็นไทย และเริ่มใช้ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 1 ปี การใช้ชื่อเอ็นบีที โดยสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีขณะนั้น เป็นผู้เปิดตราสัญลักษณ์ใหม่ และเปิดตัวสถานีฯ ในฐานะสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ จากนั้นจึงมีการเลิกสัญญาบริษัทผลิตข่าว ซึ่งเดิมเป็นของ บริษัท ดิจิทัลมีเดียโฮลดิ้ง จำกัด มาประมูลใหม่ ซึ่งหน่วยงานที่ได้รับการคัดเลือก จากการประกวดราคานี้ได้แก่บริษัท โพสต์พับลิชชิง จำกัด (มหาชน) เจ้าของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ กระทั่งต่อมาเอ็นบีทีก็ได้เรียกเวลารายการข่าวคืนมาผลิตเองทั้งหมด

ในยุคที่ เอ็นบีที ก้าวสู่การแพร่ภาพโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 สถานีได้เปลี่ยนอักษรย่อที่กำกับด้านล่าง จากอักษรไทยเป็นอักษรอังกฤษ และทดลองออกอากาศผ่านโครงข่ายกรมประชาสัมพันธ์ทางช่องหมายเลข 2 โดยระยะแรกออกอากาศในอัตราส่วน 4:3 โดยมีแถบสีม่วงอยู่ที่บริเวณด้านซ้ายและขวาของหน้าจอ แต่ต่อมาได้ปรับอัตราส่วนจอเป็น 16:9 แต่ในปีเดียวกัน กรมประชาสัมพันธ์ ประสบปัญหาโครงข่ายโทรทัศน์ดิจิทัลที่ล่าช้า ประกอบกับการจัดซื้อจัดจ้าง ประกวดราคา ประมูลโครงข่าย และขั้นตอนการจัดระเบียบทางราชการ นำไปสู่การเลื่อนเปิดใช้โครงข่ายทีวีดิจิทัลออกไป จนกระทั่งเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 กรมประชาสัมพันธ์ ได้เปิดใช้โครงข่ายทีวีระบบดิจิทัล ตั้งแต่ที่ กรุงเทพมหานคร และจังหวัดอื่นๆ ทยอยเปิดใช้โครงข่ายในอนาคต ระนาบเดียวกัน มีการปรับรูปแบบรายการข่าวใหม่ด้วยรูปแบบห้องส่งใหม่ที่มีคุณภาพเทียบเท่าช่องโทรทัศน์บริการธุรกิจ เช่น ฉากกำแพงวิดีทัศน์ (Video Wall) ขนาดใหญ่ โดยใช้ฉากหลังเป็นภาพสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ๆ ในประเทศไทย หรือ ฉากที่มีข้อความรณรงค์ต่าง ๆ และกลางปี พ.ศ. 2559 มีการปรับรูปแบบรายการข่าวใหม่โดยใช้ชื่อรายการข่าวแนวเดียวกับช่องโทรทัศน์บริการธุรกิจทั่วไป ส่วนกราฟิกเปิดรายการข่าวยังคงเดิม เพียงแต่มีการปรับสีเล็กน้อย รวมถึง เอ็นบีที.ได้นำเทคโนโลยี VTag QRCode ซึ่งจะนำคิวอาร์โค้ดซึ่งเชื่อมโยงสื่อสังคมออนไลน์ของ สทท. โดยนำมาแสดงที่บริเวณมุมจอล่างขวาถัดจากสัญลักษณ์ของสถานีฯ บนหน้าจอ (หรือกรอบล่ามผู้บรรยายภาษามือในบางรายการ เช่น ข่าวภาคค่ำ ฯลฯ)

ปี พ.ศ. 2560 เอ็นบีที เริ่มใช้เพลงประกอบและไตเติ้ลข่าวใหม่ รวมถึงปรับรูปแบบไตเติ้ลข่าวภูมิภาคให้เป็นมาตรฐานเดียวกันกับส่วนกลาง จนกระทั่งเริ่มมีการออกอากาศช่องรายการส่วนภูมิภาคผ่านโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลของ สทท. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 จึงได้ยุติการใช้กราฟิกและเพลงประกอบจากส่วนกลาง

ในช่วง อุทกภัยในภาคใต้ของประเทศไทย พ.ศ. 2560 สทท.ได้ปรับรูปแบบการนำเสนอเพื่อเป็นสถานีสื่อกลางในการรายงานข่าวเหตุอุทกภัยและรายงานการช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยใช้แถบ L-Bar ในการนำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับอุทกภัยภาคใต้ที่ด้านขวามือของจอ สลับกับรายการปกติตามผังซึ่งจะลดขนาดลงมากึ่งหนึ่ง ยกเว้นบางรายการ เช่น ข่าวในพระราชสำนัก การถ่ายทอดสดพระราชพิธี รวมถึงรายการภาคบังคับจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ยังคงแสดงเต็มหน้าจอ

การยุติการออกอากาศโทรทัศน์ระบบแอนะล็อก

ในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 สทท. ได้ทำการยุติการออกอากาศโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกจากสถานีส่ง 12 สถานีทั่วประเทศที่เหลือ (โดยเลื่อนแผนออกไปจากเดิมที่ก่อนหน้านี้มีแผนกำหนดว่าจะให้ยุติการออกอากาศในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ซึ่ง 37 สถานีได้ยุติระบบอนาล็อกตามแผนกำหนด)[7] ซึ่งเป็นไปตามที่ทางสถานีฯได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ สังกัดคณะกรรมการ กสทช. ว่าด้วยแผนการยุติการออกอากาศระบบอนาล็อกของสถานีเอง เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 และจะเหลือแต่เพียงแค่การออกอากาศในระบบดิจิทัลภาพคมชัดสูง หมายเลข 2 เท่านั้น ในวันถัดไป (ก่อนหน้านั้น เอ็นบีทีได้ยุติการออกอากาศโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกในพื้นที่ อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559)[8]

สทท.ได้ยุติการออกอากาศโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกจากสถานีส่ง 12 สถานีทั่วประเทศโดยสมบูรณ์ เมือวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เวลา 00:01 น.

โครงสร้างการบริหาร

สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย บริหารงานแบบองค์กรราชการ จัดแบ่งการบริหารงานออกเป็น 3 ส่วน 2 ฝ่าย และ 1 กลุ่ม คือ

  • ส่วนจัดและควบคุมรายการ มีหน้าที่ จัดสรร และควบคุมเนื้อหารายการ รวมถึงการออกอากาศรายการต่างๆ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
  • ส่วนผลิตรายการ มีหน้าที่ ผลิตรายการเพื่อป้อนให้กับ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย เพื่อการออกอากาศต่อไป
  • ส่วนเทคโนโลยี มีหน้าที่ กำกับดูแลในด้านเทคโนโลยีการออกอากาศ และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น คอมพิวเตอร์กราฟิก เป็นต้น
    • ฝ่ายบริหารทั่วไป มีหน้าที่ บริหารงานทั่วๆ ไป เช่น ฝ่ายบัญชีการเงิน ฝ่ายบุคคล เป็นต้น
    • ฝ่ายแผนงานและประสานงาน มีหน้าที่ วางแผนงาน และประสานงานกับฝ่ายต่างๆ ในสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
      • กลุ่มงานวิชาการ มีหน้าที่ ศึกษา ค้นคว้า และ ประสานงาน ด้านวิชาการสื่อสารมวลชน โดยได้จัดทำโครงการ เพื่อศึกษา วิเคราะห์ วิจัย รวมทั้งเพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิตงานวิจัย และบทความเพื่อการประชาสัมพันธ์

ที่ทำการ

สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย เริ่มเปิดทำการในอาคารเลขที่ 90-91 ถนนกำแพงเพชร 7 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ต่อมา สทท.ทยอยดำเนินการย้ายฐานปฏิบัติงาน ไปยังอาคารที่ทำการหลังใหม่ ซึ่งก่อสร้างขึ้นภายในบริเวณเดียวกับที่ทำการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เลขที่ 236 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันย้ายมาอย่างสมบูรณ์แล้ว ส่วนอาคารหลังเดิม เอ็นบีทีโอนให้เป็นที่ทำการของสำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์(รวมไปถึงสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีเวิลด์) จนถึงปัจจุบัน

เครือข่ายในส่วนภูมิภาค

สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย มีสถานีโทรทัศน์เครือข่ายในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 12 แห่ง ตั้งอยู่ในภาคเหนือ 2 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 แห่ง ภาคกลาง 1 แห่ง ภาคตะวันออก 1 แห่ง และภาคใต้ 6 แห่ง โดยในแต่ละสถานี จะมีการเชื่อมโยงรับส่งสัญญาณกับสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยส่วนกลาง ด้วยระบบดาวเทียม โดยที่ทางสถานีฯ ได้เช่าช่องสัญญาณดาวเทียมไทยคม 6

รายการโทรทัศน์ที่มีชื่อเสียง

  • เพลงเงินล้าน - (พ.ศ. 2531 - ปัจจุบัน) รายการประกวดร้องเพลงโดยโรงเรียนวาทินี ออกอากาศทุกบ่ายวันอาทิตย์ สัปดาห์ที่ 4 ของเดือน
  • โลกใบจิ๋ว - (พ.ศ. 2533-พ.ศ. 2550) เป็นรายการสำหรับเด็ก ออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา 18.30 น.
  • มอร์นิงทอล์ก - (พ.ศ. 2545) รายการสนทนาภาคภาษาอังกฤษ ออกอากาศต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
  • บทเรียนชีวิต - (พ.ศ. 2549) ละครโทรทัศน์เรื่องแรกของสถานี และเป็นละครโทรทัศน์เรื่องแรกของประเทศไทยที่สร้างและออกอากาศร่วมกับต่างประเทศ (ประเทศลาว)
  • เสียงสวรรค์เมื่อวันวาน - (พ.ศ. 2550) เป็นรายการเพลงอมตะของวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ โดยผลิตรายการร่วมกับสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ออกอากาศเป็นประจำทุกวันเสาร์
  • ร่วมมือร่วมใจ - (พ.ศ. 2551 - 2555) รายการที่จะเป็นช่องทางในการรับเรื่องร้องทุกข์ในเรื่องราวและปัญหาต่างๆ ดำเนินรายการโดย อ.ประมาณ เลืองวัฒนะวณิช ปิยะฉัตร กรุณานนท์ และ สิริเสาวภา เอกเอี่ยมสิน ออกอากาศทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ 14.00-15.00 น. ปัจจุบันย้ายไปออกอากาศช่องสปริงนิวส์
  • ติวเข้ม เติมเต็มความรู้ (ชื่อเดิม ติวเตอร์ แชนแนล) - (พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน) รายการให้ความรู้ทางวิชาการแก่นักเรียนทั่วประเทศ ผลิตรายการโดย สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 09.00-10.00 น.
  • กรองสถานการณ์ - (พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2554) รายการสนทนาข่าวประจำวัน ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลาหลังข่าวภาคค่ำ
  • ความจริงวันนี้ - (พ.ศ. 2551) รายการโทรทัศน์ประเภทความเห็นทางการเมืองของประเทศไทย ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 22.00 น.
  • คลายปม - (28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 - ยุติออกอากาศแล้ว) รายการวิเคราะห์ เจาะลึก สถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน และเปิดโปงที่มาที่ไปของปัญหาบ้านเมืองนั้นๆ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ดำเนินรายการโดย ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ดร.เสรี วงศ์มณฑา และ อ.วันชัย สอนศิริ (ดร.เสรี กับ อ.วันชัย จะสลับกันมาร่วมรายการกับ ดร.เจิมศักดิ์) ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 21.00 น. - 22.00 น.
  • เจาะข่าวร้อน ล้วงข่าวลึก - (10 สิงหาคม พ.ศ. 2552 - 26 กันยายน พ.ศ. 2554) รายการสารคดีเชิงข่าวของสำนักข่าวทีนิวส์ ปัจจุบันย้ายไปออกอากาศช่องไบรท์ทีวี
  • ลงเอยอย่างไร - (พ.ศ. 2552 - ยุติออกอากาศแล้ว) รายการสนทนาปัญหาต่างๆ ของบ้านเมือง เพื่อร่วมกันหาทางออกของปัญหาต่างๆ โดยมีแขกรับเชิญมาร่วมรายการซึ่งจะเปลี่ยนไปในแต่ละสัปดาห์ ดำเนินรายการโดย ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ออกอากาศทุกคืนวันพุธ 21.00-22.00 น.
  • เกาที่คัน - (พ.ศ. 2552 - ยุติออกอากาศแล้ว) รายการวิเคราะห์สถานการณ์บ้านเมือง วิเคราะห์ที่มาที่ไปของปัญหาแบบเจาะลึก ดำเนินรายการโดย ดร.เสรี วงศ์มณฑา และ รณชาติ บุตรแสนคม ออกอากาศทุกคืนวันศุกร์ 21.00-22.00 น. ปัจจุบันย้ายไปออกอากาศช่องทีเอ็นเอ็น 2
  • ศึกมวยดีวิถีไทย (พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน) รายการถ่ายทอดสดการแข่งขันชกมวยไทยที่นำเสนอภายใต้แนวคิด "มวยไทยบันเทิง" มีจุดเด่น คือ การนำเด็กมาทำหน้าที่นำนักมวยเข้าสู่เวทีก่อนการชกในแต่ละคู่ หรือที่เรียกกันว่า "เยาวชนต้นกล้ามวยไทย" (ปัจจุบันย้ายไปถ่ายทอดสดทางจีเอ็มเอ็ม 25)
  • ศึกยอดมวยไทย (2 มกราคม - 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2559) รายการถ่ายทอดสดการแข่งขันชกมวยไทย ออกอากาศทุกวันเสาร์ 14.00-16.00 น. (ปัจจุบันย้ายไปถ่ายทอดสดทางทรูโฟร์ยู ในชื่อรายการมวยมันส์วันศุกร์)[9]

คำขวัญ

  • โทรทัศน์แห่งประเทศไทย ทางเลือกใหม่ของปวงชน (1 ตุลาคม พ.ศ. 2528 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2551)

ผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าว

ผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าวที่มีชื่อเสียง

  • ถนอม อ่อนเกตุพล
  • ปรเมษฐ์ ภู่โต
  • นันทิยา จิตตโสภาวดี
  • ฐิติวัฒน์ อุดมสิริวัฒน์
  • ส.กรกช ยอดไชย
  • กรองแก้ว ชัยกหา
  • สุภนันท์ ฤทธิ์มนตรี
  • ปัฐมาภรณ์ หาญชาญชัย
  • วีระศักดิ์ ขอบเขต
  • จิรภิญญา ปิติมานะอารี
  • ศิริลักษณ์ รัตนวโรภาส
  • เมธี ฉิมจิ๋ว
  • ศตคุณ ดำเกลี้ยง
  • ณิชชา เดชสีหธนานนท์
  • จินตนา ทิพย์รัตน์กุล
  • วรภัทร ภัททิยากุล
  • อาคืระ กิจธนาโสภา
  • กัญญ์ณาณัฏฐ์ ภาธรสืบนุกุล
  • อารียานันท์ สัทธรรมสกุล
  • ประเทศ ทาระ
  • สถานุ ณ พัทลุง
  • ภัชชาร์ ภัทรเดชาธรรม
  • กฤตยา รอดรัตนาทูล
  • ปารินทร์ เจือสุวรรณ
  • ชลพรรษา นารูลา (ข่าวภาษาอังกฤษ)
  • ดารา ธีรเกาศักย์ (ข่าวภาษาอังกฤษ)
  • แซนดร้า หาญอุตสาหะ (ข่าวภาษาอังกฤษ)
  • สุรพันธุ์ เหล่าธารณาฤทธิ์ (ข่าวภาษาอังกฤษ)

ผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าวในอดีต

  • จิรายุ ห่วงทรัพย์ - ข่าวเช้า (1 เมษายน พ.ศ. 2551 - 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552) (ปัจจุบันเป็นทีมโฆษกพรรคเพื่อไทย)
  • ปนัดดา วงศ์ผู้ดี - ข่าวเช้า (1 เมษายน พ.ศ. 2551 - 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552) (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
  • ณยา คัตตพันธ์ - ข่าวต้นชั่วโมง (ปัจจุบันอยู่เจเคเอ็น 18)
  • จอม เพชรประดับ - ถามจริง ตอบตรง (ปัจจุบันลี้ภัยการเมืองในต่างประเทศและทำรายการผ่านยูทูบในชื่อ "เสียงไทยเพื่อเสรีภาพของคนไทย (jom voice)")
  • กฤต เจนพานิชการ - ข่าวเที่ยง (ปัจจุบันอยู่ช่องวัน 31และจีเอ็มเอ็ม 25ในนามสำนักข่าววันนิวส์)
  • สุมนา แจวเจริญวงศ์ - ผู้สื่อข่าว (ปัจจุบันอยู่ช่อง 3 เอชดี)
  • ตวงพร อัศววิไล - ข่าวค่ำ (1 เมษายน พ.ศ. 2551 - 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
  • วสุ แสงสิงห์แก้ว - ฮอทนิวส์; จันทร์-ศุกร์) (พ.ศ. 2552)
  • วรวีร์ วูวนิช - ฮอทนิวส์, ข่าวค่ำ (1 เมษายน พ.ศ. 2551 - 30 เมษายน พ.ศ. 2553)
  • สัญญลักษณ์ เจริญเปี่ยม - ข่าวในพระราชสำนัก (11 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2554 , เป็นข้าราชการของกรมประชาสัมพันธ์[ต้องการอ้างอิง] ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่ดังกล่าวที่ว่าไปแล้ว)
  • ธีระ ธัญญอนันต์ผล - ข่าวค่ำ (1 เมษายน พ.ศ. 2552 - 29 เมษายน พ.ศ. 2553, ปัจจุบันอยู่ ช่อง 8)
  • ชนิตร์นันทน์ ปุณณะนิธิ - ข่าวค่ำ (1 เมษายน พ.ศ. 2552 - 30 เมษายน พ.ศ. 2553, ปัจจุบันอยู่ ช่อง 8)
  • ชมะนันทน์ วรรณวินเวศร์ - ฮอทนิวส์ (1 เมษายน พ.ศ. 2551 - 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552), ข่าวเช้า (1 เมษายน พ.ศ. 2552 - 30 เมษายน พ.ศ. 2553)
  • พิชญทัฬห์ จันทร์พุฒ - ข่าวค่ำ เสาร์-อาทิตย์ (ปัจจุบันอยู่ช่อง 3 เอชดี)
  • จุฑารัตน์ เอี่ยมอำพันธ์ - ข่าวเที่ยง (ปัจจุบันอยู่ไทยรัฐทีวี)
  • พิชาญพงศ์ วงศ์ศรีแก้ว - ข่าวต้นชั่วโมง, ข่าวดึก (1 เมษายน พ.ศ. 2551 - 30 เมษายน พ.ศ. 2553)
  • ศศิพงศ์ ชาติพจน์ - ข่าวต้นชั่วโมง, ข่าวค่ำ ช่วงสกายนิวส์, ข่าวดึก (1 เมษายน พ.ศ. 2551 - 30 เมษายน พ.ศ. 2553) (ปัจจุบันกลับมาอยู่ สทท. ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556) (ปัจจุบันอยู่ช่อง 8)
  • กาญจนา ปลื้มจิตต์ - ข่าวต้นชั่วโมง, ข่าวดึก (1 เมษายน พ.ศ. 2552 - 30 เมษายน พ.ศ. 2553)
  • รัชนีวรรณ ดวงแก้ว - ห้องข่าวภูมิภาค (1 เมษายน พ.ศ. 2551 - 30 เมษายน พ.ศ. 2553) (ปัจจุบันอยู่ททบ.5)
  • อภิรักษ์ หาญพิชิตวนิชย์ - ข่าวค่ำ, คัดข่าวเด่น (ไม่ทราบ - พ.ศ. 2558 (ปัจจุบันอยู่ไทยพีบีเอส)
  • จตุพร สุวรรณรัตน์ - ผู้สื่อข่าว (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
  • บุญเลิศ มโนสุจริตชน - ผู้สื่อข่าว
  • อนุรักษ์ ทรัพย์เพ็ง - ผู้สื่อข่าว
  • อภิวัฒน์ บุราคร - ผู้สื่อข่าว
  • กัมพล บุรานฤทธิ์ - ผู้สื่อข่าว (ปัจจุบันอยู่ช่อง 7 เอชดี)
  • ศิริรัตน์ อานนท์ - ข่าวดึก (เสาร์-อาทิตย์)
  • ฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ - ข่าวเช้า (จันทร์-ศุกร์) (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 - 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) (ปัจจุบันอยู่ช่อง 3 เอชดี)
  • วิลาสินี แวน ฮาเรน - ข่าวค่ำ (จันทร์-ศุกร์) (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 - 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) (ปัจจุบันอยู่เนชั่นทีวี)
  • กอบชัย หงษ์สามารถ ผู้สื่อข่าวสายอาชญากรรม/กระทรวงมหาดไทย/ท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม 11 มีนาคม พ.ศ. 2543 - 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2549) (ปัจจุบันอยู่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย)
  • ธนากร ริตุ ผู้สื่อข่าวสายอาชญากรรม
  • สุภาดา วิจักรไชยวงศ์ - ข่าวเที่ยง (ปัจจุบันอยู่พีพีทีวี)
  • ศิรวิทย์ ชัยเกษม - ผู้สื่อข่าว (ปัจจุบันอยู่ท็อปนิวส์)
  • ปวีณา ฟักทอง - ข่าวเที่ยง, ข่าวค่ำ (ปัจจุบันอยู่ไทยพีบีเอส)

ข้อวิพากษ์วิจารณ์และเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานี

กระบอกเสียงรัฐบาล

ในปี พ.ศ. 2551 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่าย ว่าเป็นกระบอกเสียงให้กับรัฐบาล (คณะรัฐมนตรีคณะที่ 57 ของไทย) โดยเฉพาะให้มีรายการความจริงวันนี้ ซึ่งเป็นรายการกระบอกเสียงของรัฐบาล โดยมีผู้เสียหายจากข้อเท็จจริง จนต้องออกมาฟ้องหมิ่นประมาทอยู่บ่อยครั้ง เช่นตุลาการรัฐธรรมนูญ หรือ ป.ป.ช. รวมไปถึงสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จนนำไปสู่การบุกยึดสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยของกลุ่มพันธมิตรเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม

การบุกยึดที่ทำการ สวท. และ สสท.

ภาพขณะพันธมิตรฯ ทำลายประตูรั้ว เพื่อเข้าชุมนุมภายในเอ็นบีที เมื่อเวลา 8.30 น.

ภาพขณะถูกระงับการออกอากาศจากห้องส่งชั่วคราวแห่งที่ 1

เมื่อเวลา 05.30 น.วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551 มีกลุ่มชายฉกรรจ์สวมหมวกไอ้โม่งปิดหน้าอย่างมิดชิด ซึ่งอ้างตัวเป็นกลุ่มนักรบศรีวิชัย หน่วยรักษาความปลอดภัยของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จำนวนประมาณ 80 คน บุกเข้ายึดอาคารที่ทำการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ริมถนนวิภาวดีรังสิต โดยสั่งให้เจ้าหน้าที่งดออกอากาศรายการข่าวเช้า ซึ่งต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถเข้าควบคุมสถานการณ์ได้ โดยตรวจพบอาวุธปืน ไม้กอล์ฟ มีดดาบสปาตา และใบกระท่อม ในตัวกลุ่มชายฉกรรจ์ดังกล่าว

จากนั้น เวลาประมาณ 06.00 น. สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ขึ้นประกาศบนเวทีใหญ่ของพันธมิตรที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ว่า กลุ่มพันธมิตรได้บุกยึดสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยเป็นผลสำเร็จแล้ว ตนจะนำกลุ่มดาวกระจายตามไปสมทบที่สถานีฯ

ต่อมา เวลาประมาณ 08.30 น. แนวร่วมกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรที่นำโดยสมเกียรติและอมร อมรรัตนานนท์ ได้พังประตูรั้วเข้ายึดที่ทำการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ตลอดจนห้องส่งกระจายเสียง และห้องส่งออกอากาศ ถือเป็นการเข้ายึดสถานีโทรทัศน์โดยประชาชนครั้งแรกในประเทศไทย[10]

กลุ่มผู้ชุมนุมยุติการส่งกระจายเสียงของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เอฟเอ็ม 92.5 และ 97.0 เมกะเฮิรตซ์ ตลอดจนมีความพยายามของเจ้าหน้าที่เทคนิค สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี ในการนำสัญญาณโทรทัศน์ของเอเอสทีวี มาออกอากาศในคลื่นความถี่โทรทัศน์ของเอ็นบีทีแทน เป็นผลให้เอ็นบีทีไม่สามารถออกอากาศได้ในช่วงแรก แต่หลังจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคเปลี่ยนระบบการออกอากาศ โดยใช้สัญญาณแอนะล็อกแทนสัญญาณดิจิทัล ทำให้สามารถออกอากาศได้โดยไม่มีคลื่นแทรก กลุ่มผู้ชุมนุมไม่พอใจจึงตัดสายไฟฟ้าของเครื่องส่ง เพื่อให้เกิดความเสียหายแทน[ต้องการอ้างอิง]

แต่ก็ยังคงมีความพยายามออกอากาศรายการข่าวทางเอ็นบีทีอย่างต่อเนื่องของพนักงานฝ่ายข่าว นำโดยตวงพร อัศววิไล, จิรายุ ห่วงทรัพย์, สร้อยฟ้า โอสุคนธ์ทิพย์, อดิศักดิ์ ศรีสม, วรวีร์ วูวนิช, กฤต เจนพานิชการ เป็นต้น โดยใช้วิธีการหลายรูปแบบ กล่าวคือ

  • ส่งสัญญาณโทรทัศน์จากรถถ่ายทอดสดนอกสถานที่ แล้วให้สำนักงานสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยส่วนกลางที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ รับสัญญาณผ่านดาวเทียม ส่งไปยังเสารับสัญญาณโทรทัศน์บนอาคารใบหยก 2 เพื่อส่งออกอากาศทั่วประเทศอีกชั้นหนึ่ง โดยออกอากาศจากห้องส่งชั่วคราวภายในบริเวณสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จนกระทั่งกลุ่มผู้ชุมนุมเข้ามาพบ จึงถูกระงับการออกอากาศไปอีก
  • ส่งสัญญาณโทรทัศน์จากสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยส่วนภูมิภาค (ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี และ จังหวัดเชียงใหม่)[ต้องการอ้างอิง] มาที่ส่วนกลาง แล้วไปตามเส้นทางเดิม
  • ส่งสัญญาณโทรทัศน์จากรถถ่ายทอดสดนอกสถานที่เช่นเดิม และต่อมาใช้ห้องส่งที่โมเดิร์นไนน์ทีวี เป็นห้องส่งชั่วคราว[10]

จนกระทั่งเมื่อเวลาประมาณ 18.30 น. วันเดียวกัน กลุ่มผู้ชุมนุมประกาศถอนกำลังออกจากสถานีฯ เนื่องจากความพยายามเชื่อมต่อสัญญาณเอเอสทีวีไม่ประสบผล แล้วไปสมทบกับกลุ่มใหญ่ ณ บริเวณสนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล จากนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าตรวจสอบบริเวณสถานีฯ พบว่ามีการบุกรุกเข้าไปห้องต่าง ๆ ภายในอาคาร สถานที่ถูกทำลายไปเป็นบางส่วน อีกทั้งมีทรัพย์สินเสียหายและสูญหายไปจำนวนหนึ่ง โดยเฉพาะมีการบุกรุกเข้าไปรื้อค้นสิ่งของ ภายในห้องประทับรับรองของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ที่มีหมายกำหนดการเสด็จทรงบันทึกเทปรายการทูบีนัมเบอร์วันวาไรตี้ ที่เอ็นบีทีในวันดังกล่าวด้วย หลังจากการตรวจสอบในเบื้องต้น จึงอนุญาตให้เจ้าหน้าที่สถานีฯ กลับเข้าปฏิบัติงานภายในอาคารได้[ต้องการอ้างอิง]

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่และผู้ประกาศข่าวส่วนหนึ่ง ยังคงรายงานข่าวที่สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกในช่วงคืนวันที่ 26 ต่อเช้าวันที่ 27 สิงหาคม จนกระทั่งสามารถกลับมาออกอากาศรายการข่าวภายในสถานีได้ตามปกติ ในช่วงข่าวเที่ยง วันที่ 27 สิงหาคม[ต้องการอ้างอิง]

ดูเพิ่ม

  • รายชื่อละครโทรทัศน์ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
  • สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ส่วนภูมิภาค
  • กรมประชาสัมพันธ์
  • เอ็นบีทีเวิลด์
  • สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
  • สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์
  • ช่อง 3 เอชดี
  • ช่อง 5 เอชดี
  • ช่อง 7 เอชดี
  • เอ็มคอตเอชดี
  • สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

อ้างอิง

  1. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 165/2562 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี, สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, สืบค้นวันที่ 1 สิงหาคม 2562
  2. ขุดกรุ:จากสถานี HS1PJ ถึงโทรทัศน์สีสเตอริโอ(บางส่วน) จากเว็บไซต์รถไฟไทยดอตคอม
  3. ข่าวพระราชกรณียกิจ ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2530-กันยายน พ.ศ. 2531 บทที่ 11 หน้า 6[ลิงก์เสีย] จากเว็บไซต์สำนักราชเลขาธิการ
  4. พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 เก็บถาวร 2018-08-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, มาตรา 20 ในการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กรมประชาสัมพันธ์ ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการสาธารณะประเภทที่หนึ่งและประเภทที่สาม จะหารายได้จากการโฆษณาไม่ได้ เว้นแต่เป็นการหารายได้โดยการโฆษณาหรือเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับงานหรือกิจการของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ สมาคม มูลนิธิ หรือนิติบุคคลอื่นที่มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยไม่แสวงหากำไรในทางธุรกิจ หรือการเสนอภาพลักษณ์ขององค์กร บริษัท และกิจการโดยมิได้มีการโฆษณาสรรพคุณ หรือคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด.
  5. 'มวยดีวิถีไทย' ย้ายวิกเปิดชมฟรี 1 เม.ย.นี้!
  6. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๙/๒๕๖๑ เรื่อง มาตรการบรรเทาผลกระทบต่อผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
  7. "ช่อง 11 หรือ NBT" สถานีโทรทัศน์ระบบแอนะล็อก 50 สถานี ยุติแล้ว 38 สถานี ยังออกอากาศ 12 สถานี (ข้อมูล ณ วันที 26 กุมภาพันธ์ 2561), Facebook ของสำนักวิศวกรรมและเทคโนโลยีกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช.
  8. แผนการยุติการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ในระบบแอนะล็อก (ข้อมูล ณ วันที 19 มิถุนายน 2560) เก็บถาวร 2020-07-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สำนักกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
  9. “ทรูโฟร์ยู ช่อง 24” จับมือ “เพชรยินดี” ส่งรายการ “ทรูโฟร์ยู มวยมันส์วันศุกร์”เขย่าจอ เก็บถาวร 2020-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน adslthailand.com
  10. ↑ 10.0 10.1 พันธมิตรฯบุกยึด เอ็นบีที จากเว็บไซต์เดลินิวส์ออนไลน์

แหล่งข้อมูลอื่น

  • เว็บไซต์ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
  • เว็บไซต์ กรมประชาสัมพันธ์
  • ดึงชาลอตช่วย โพสต์ฯขึ้น20%ค่าโฆษณาเอ็นบีทีดึงเลือดใหม่ลุย
  • “น้องเดียว” หนุนทีมโพสต์ฯปลุกเรตช่องสทท. มั่นใจกระฉูดแน่
  • สาทิตย์ล้างบางเอ็นบีที ยกเลิกสัญญา1มีนาคม ปั้นช่อง11ทีวีแห่งชาติ เก็บถาวร 2010-11-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • สาทิตย์ ชี้ ดิจิทัลฯ มีเดีย เลิกสัญญา ดีต่อการปรับผัง เก็บถาวร 2009-02-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • เพลงสรรเสริญพระบารมีตอน เปิด-ปิด สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11
  • เพลงสรรเสริญพระบารมีตอนเปิดสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (เอ็นบีที)

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita