เปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อรถมอไซค์ ไฮเวย์

สวัสดีค่ะ คือหนูมีเรื่องจะปรึกษา คือหนูได้ทำการเช่าซื้อรถมอเตอร์ไซค์ กับบริษัทหนึ่งในปี พ.ศ2550หรือ2551 ประมานนี้ค่ะ ผ่อนไปได้ประมานสามงวด เกิดปันหาทางด้านการเงินทำให้ไม่สามารถผ่อนต่อได้ จึงคืนรถไป วันที่คืนรถ บริษัทไม่ได้ให้หลักฐานอะไรไว้ หลังจากนั้น ประมานสองเดือน มีจดหมายแจงค่าส่วนต่าง ให้ไปชำระยอดประมาน8,000-10,000 หนูจำไม่ค่อยได้ แต่ไม่เกิน 10000 พี่สาวเลยได้มีการโทรไปคุยกับบริษัท ว่าทำไมต้องจ่ายยอดนี้ เจ้าหน้าที่แจ้งว่าจะมีการโทรติดต่อกลับ แต่หลังจากนั้นไม่มีการติดต่อของบริษัทนี้อีกเลย ไม่ว่าจะเป็บเบอร์บ้าน เบอร์มือถือ หรือจดหมายค่ะ แล้วเมื่อเดือนกุมภาพันธ์2557 ที่ผ่านมา ได้มีจดหมายแจ้ง จากบริษัท ที่เค้าแจ้งว่าเป็นผู้ซื้อยอดหนี้ทั้งหมดไปจากบริษัทไฟแนนซ์ที่หนูเช่าซื้อว่าเป็นผู้ติดตามยอดหนี้ของบริษัท ให้ไปชำระยอดหนี้ค้าง 45,200 บาท เลยได้มีการโทรไปคุยตามเบอร์ที่บริษัท ให้มาค่ะ ปรากฎคือเค้าบอกว่า ถ้าสามารถปิดบัญชีได้ในครั้งเดียวเค้าจะ ลดให้เหลือยอด22,000บาท แต่ทางหนูซึ่งไม่มีรายได้ ไม่มีเงินเดือนเพราะตกงาน หนูเลยแจ้งว่ายังไม่สามารถหามาจ่ายให้ได้ ทางบริษัท เลยส่งหนังสือ อีกฉบับมาที่บ้าน เป็นหนังสือ อนุมัติฟ้อง เค้าแจ้งว่าจะบังคับคดี อายัติเงินเดือน ซึ่งหนูไม่มีงานทำไม่มีเงินเดือน แล้วทำไมยอดจาก8,000-10,000 กลายมาเป็นยอด45,000คะ หนูบอกให้เค้าแจงมาเป็นรายละเอียดยอดค่าใช้จ่ายทั้งหมด ขอเป็นจดหมายมา เค้าตอบกลับหนูว่า กลัวหนูเอาเอกสารไปปลอมแปลง ถ้าให้แจงยอดเต็ม45,000ว่ามีค่าอะไรบ้างหนูก็ต้องจ่ายราคาเต็ม45,000 ถึงแม่จะปิดบัญชีในครั้งเดียวก็ตามเค้าแจ้งมาว่างี้อ้ะค่ะ คือหนูอยากปรึกษาว่า หนูควรทำอย่างไรดีคะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

.

อนุมัติฟ้อง

www.debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=7&id=4428&Itemid=64

อายุความในคดีเช่าซื้อ

- ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ อายุความ 2 ปี
- ค่าเสียหายจากการที่ผู้เช่าซื้อใช้ทรัพย์สิน อายุความ 6 เดือน
- ค่าขาดราคา ค่าขาดประโยชน์ ค่าติดตาม เรียกให้ส่งคืนหรือใช้ราคาแทน อายุความ 10 ปี

อ่านแล้ว “งง” ไหมครับ?...งั้นผมขอแปลภาษากฏหมาย ให้เป็นภาษาชาวบ้านตามสไตล์ “ชาวยิ้มสู้หนี้” ให้ก็แล้วกัน

- ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ
กฎหมายว่าด้วยการเช่าซื้อ ไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความเอาไว้โดยตรง แต่ค่าเช่าซื้อก็เป็นค่าเช่าในการใช้ทรัพย์สินอย่างหนึ่ง ดังนั้น หากผู้เจ้าหนี้ซึ่งเป็นพ่อค้าฟ้องเรียกร้องเอาค่าเช่าซื้อสังหาริมทรัพย์(ทรัพย์สิน) ที่ค้างชำระอยู่ จึงต้องฟ้องภายในอายุความ 2 ปี…กล่าวคือ ศาลฎีฏาท่านมองว่า เงื่อนไขในระหว่างที่ผิดนัดชำระของ “การทำสัญญาเช่าซื้อ” ก็ไม่ได้มีอะไรแตกต่างไปจากเงื่อนไขในระหว่างที่ผิดนัดชำระของ “การทำสัญญาเช่าสังหาริมทรัพย์” แบบธรรมดาทั่วไป...หากลูกหนี้ มีหนี้ค้างค่าเช่าสังหาริมทรัพย์กับเจ้าหนี้(ซึ่งมีอายุความ 2 ปี) ก็ให้นำเอา“อายุความ”เดียวกันนั้น มาใช้กับ “การทำสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ด้วย” เช่นกัน
กฏหมายในข้อนี้ พูดถึงเฉพาะ ค่าเช่าที่ยังค้างอยู่ (หรือเรียกว่า ค่าส่งงวดในอดีตที่มันผ่านมาแล้ว แต่ลูกหนี้ยังไม่ได้จ่าย) เท่านั้น

- ค่าเสียหายจากการที่ผู้เช่าซื้อใช้ทรัพย์สิน
ในความหมายนี้...หมายถึง การที่ลูกหนี้ไม่ยอมผ่อนจ่ายค่างวด จนถึงขั้นที่เจ้าหนี้บอกยกเลิกสัญญา และส่งคนมายึดทรัพย์สินกลับคืนไป
แต่เมื่อเจ้าหนี้ได้ทรัพย์สินกลับคืนมาแล้ว กลับพบว่าทรัพย์สินนั้นๆ มีความชำรุดเสียหาย และเมื่อนำเอาทรัพย์สินนั้นออกไปประมูลขายแล้ว ได้เป็นเงินกลับมาน้อยกว่ามูลค่าของทรัพย์สินที่พึงจะได้รับ(หรือเรียกว่าขายแล้วขาดทุน) เจ้าหนี้มีสิทธิ์ในการฟ้องลูกหนี้ ให้ชดใช้ค่าส่วนต่างที่ขาดทุนดังกล่าว โดยมีอายุความในการฟ้อง 6 เดือน โดยนับตั้งแต่วันที่ยึดทรัพย์สินกลับคืนมา
กฏหมายในข้อนี้ พูดถึงเฉพาะ ส่วนต่างที่ขาดทุน จากการขายของที่ยึดกลับมาได้ เท่านั้น

- ค่าขาดราคา ค่าขาดประโยชน์ ค่าติดตาม เรียกให้ส่งคืนหรือใช้ราคาแทน
ในความหมายนี้...หมายถึง ค่าใช้จ่ายใดๆที่เจ้าหนี้ต้องเสียเงินจ่ายเพิ่ม หรือเจ้าหนี้อดได้ใช้ผลประโยชน์ จากทรัพย์สินของตัวเจ้าหนี้เอง หลังจากบอกยกเลิกสัญญาแล้วเช่น

*** ค่าติดตามทวงถามในการทวงทรัพย์สินของเจ้าหนี้คืน หลังจากที่บอกยกเลิกสัญญาแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่ยอมคืนทรัพย์สินให้
*** ค่าจ้างนักสืบ ในการสืบหาทรัพย์สิน ที่ลูกหนี้ไม่ยอมคืนทรัพย์สินให้กับเจ้าหนี้ หลังจากที่บอกยกเลิกสัญญาแล้ว
*** ลูกหนี้ได้หลบหนีไปพร้อมกับทรัพย์สินนั้นๆ(ไม่ยอมคืนของให้) ทำให้เจ้าหนี้ไม่มีโอกาสที่จะได้ใช้ทรัพย์สินของตนเอง เพราะยึดทรัพย์คืนไม่ได้ (เรียกได้ว่า อดได้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น...เอาไว้ใช้เอง , ให้คนอื่นเอาไปใช้แล้วเก็บค่าเช่า , หรือเอาทรัพย์นั้นไปขาย) ภาษากฏหมายเรียกว่า “ค่าขาดราคา” , “ค่าขาดผลประโยชน์”
เหล่านี้ทั้งหมด มีอายุความ 10 ปี
กฏหมายในข้อนี้ พูดถึงเฉพาะ ค่าใช้จ่ายต่างๆ , ค่าความขาดทุน , ค่าความเสียหาย จากการที่ลูกหนี้ไม่ยอมคืนของ เท่านั้น

เกร็ดความรู้เพิ่มเติม

- หากลูกหนี้ไม่ยอมคืนของ เจ้าหนี้มีสิทธิ์ที่จะติดตามทวงเอาของคืนในฐานะเจ้าของทรัพย์กรรมสิทธิ์ได้ตลอด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ไม่มีอายุความ
- ทรัพย์สินที่เช่าซื้อสูญหาย ลูกหนี้ต้องชำระค่าเช่าซื้อทั้งสิ้นจนครบ เพราะถือว่าเป็นการฟ้องขอให้ชำระราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อจนครบตามสัญญา กรณีนี้ไม่ถือว่าเป็นการเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ ใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
- ถ้าลูกหนี้นำทรัพย์สินไปจำหน่ายจ่ายโอน และไม่ยอมชำระเงิน ถือว่าผิดสัญญาเช่าซื้อ เจ้าของมีสิทธิ์บอกเลิกสัญญา และลูกหนี้อาจมีความผิดอาญาฐานยักยอกทรัพย์ด้วย(เป็นคดีอาญา) เนื่องจากกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น ยังเป็นของเจ้าหนี้อยู่

ดังนั้น...ถ้าจะอ้างตามข้อกฏหมายที่ถูกต้องแล้ว ขอให้อ้างอิงจากคำพิพากษาของศาลฎีกา ตามที่ผมอธิบายไว้ด้านบนจึงจะชัดเจนและถูกต้องกว่านะครับ

จึงขอสรุปข้อมูลที่เกี่ยวกับ “อายุความของสัญญาเช่าซื้อ” ว่ามีอายุความต่างๆ ดังต่อไปนี้
- 6 เดือน
- 2 ปี
- 10 ปี
แล้วแต่มูลเหตุ และประเภทของหนี้ที่ถูกตั้งเรื่องฟ้อง ตามรายละเอียดที่ผมได้อธิบายไว้แล้วในด้านบน

ดังนั้น...หากใครเป็นลูกหนี้ที่ได้ทำสัญญาเช่าซื้อเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นการเช่าซื้อสังหาริมทรัพย์ใดๆก็ตาม
ถ้ารู้ตัวเองว่าจ่ายไม่ไหวแล้ว ก็หยุดจ่ายซะเถอะครับ พร้อมกับบอกยกเลิกสัญญากับเจ้าหนี้ซะ...แล้วก็คืนทรัพย์นั้นๆให้กับเขาไป โดยต้องขอหลักฐานในการคืนทรัพย์ เก็บเอาไว้ด้วย (อย่าไปทำการ ขาย , ถ่ายเท , โยกย้าย , โอน , หลบหนี...ทรัพย์ของเจ้าหนี้ เป็นอันขาด)
เท่านี้...ประเด็นอายุความ ในการฟ้องร้องลูกหนี้ ก็จะเหลือเพียงแค่ 6 เดือน และ 2 ปี เท่านั้น

สามารถตัดประเด็นในเรื่อง อายุความ 10 ปี

พร้อมกับคดีอาญา ออกไปได้เลยครับ...ฟันธง!

คำว่า คดีขาดอายุความ มีความหมายว่า "ไม่สามารถเอาผิดได้ตามกฏหมายที่บัญญัติไว้"...แต่ไม่ได้หมายความว่า ฟ้องไม่ได้ หรือห้ามฟ้อง นะครับ...กล่าวคือถ้าอยากจะฟ้องก็ฟ้องไป แต่ฟ้องแล้วก็ไม่สามารถเอาผิดกับจำเลยได้
ที่สำคัญที่สุด...ถ้าคุณถูกฟ้องแล้ว และคุณมั่นใจว่าคดีนี้ขาดอายุความแน่ๆ...แต่คุณไม่ยอมไปศาลเพื่อต่อสู้คดีว่า คำฟ้องขาดอายุความตามกฏหมาย คุณจะถูกพิพากษาให้มีความผิด และต้องชดใช้หนี้ตามมูลฟ้องทันที ถึงแม้ว่าคดีจะขาดอายุความไปแล้วก็ตาม (การที่คุณไม่ยอมขึ้นไปศาล ท่านจะพิจารณาว่า คุณหนีศาล...ดังนั้นศาลท่านจะไม่ช่วยเหลือคุณใดๆทั้งสิ้น)

ถ้าเจ้าหนี้มันรู้ว่า...คุณเองก็พอมีความรู้ในเรื่อง "คดีขาดอายุความ" และหนี้ของมันที่มีอยู่กับคุณ ได้ขาดอายุความในการฟ้องไปแล้ว...มันอาจจะไม่ฟ้องคุณก็ได้ เนื่องจากต้องเสียเงินและเสียเวลาในการฟ้องไปเปล่าๆ...แต่มันจะใช้วิธีในการทวงหนี้ไปเรื่อยๆแทน เพราะกฏหมายไม่ได้ระบุไว้นี่ครับว่า ถ้าไม่ฟ้อง...แล้วห้ามทวงหนี้โดยเด็ดขาด หรือทวงไม่ได้

ที่สำคัญอย่าลืมว่า ถึงแม้คดีจะขาดอายุความไปแล้วก็ตาม แต่ถ้าเจ้าหนี้มันดันยื่นฟ้องมา แล้วลูกหนี้ไม่ยื่นคำให้การ ในการต่อสู้คดี…ลูกหนี้จะเป็นผู้ “แพ้คดี” ทันที...ดังนั้นเมื่อลูกหนี้ยื่นคำให้การต่อสู้คดี ลูกหนี้จะต้องต่อสู้คดีในประเด็นที่ว่า คดีของโจทก์ “ได้ขาดอายุความไปแล้ว” มิฉะนั้นศาลก็ไม่อาจหยิบยกเรื่องคดีขาดอายุความ ขึ้นมาเป็นเหตุให้ยกฟ้องของโจทก์ได้ (ตามมาตรา 193 / 29 )

มีตัวอย่างมากมาย ที่แม้เจ้าหนี้จะรู้ว่าคดีขาดอายุความไปแล้ว แต่เจ้าหนี้ก็ยังเสือกให้ทนายความ ยื่นฟ้องลูกหนี้อีก โดยหวังว่าถ้าฟลุ๊คๆขึ้นมา ไปเจอเอาลูกหนี้ที่ไม่รู้เรื่อง ไม่ใส่ใจที่จะต่อสู้คดี เพราะรับรู้ว่าตนเองเป็นหนี้เขาจริงๆ แต่หารู้ไม่ว่าคดีขาดอายุความแล้ว จึงไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่าขาดอายุความแต่อย่างใด นั่นนับว่าเป็นคราวเฮงของเจ้าหนี้ และเป็นคราวซวยของลูกหนี้ ศาลก็จะต้องพิพากษาตามพยานหลักฐานให้เจ้าหนี้ชนะคดีไป และลูกหนี้ก็ต้องรับผิดชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลต่อไป

สรุปให้ชัดๆก็คือ

ลูกหนี้ส่วนมากจะเข้าใจว่า เมื่อขาดอายุความแล้วเจ้าหนี้ฟ้องไม่ได้ก็จบกันแค่นั้น หรือถ้าฟ้อง ศาลก็คงจะไม่รับคำฟ้องเพราะขาดอายุความ แต่ความจริงกลับไม่เป็นอย่างที่ทุกคนเข้าใจ เพราะถึงจะขาดอายุความไปแล้ว แต่ทางฝ่ายเจ้าหนี้ก็สามารถยื่นฟ้องได้ โดยศาลก็จะดำเนินการไปตามกระบวนการของกฎหมายตามขั้นตอนต่างๆต่อไป

การที่จะให้ศาลหยิบยกเอาเรื่อง การขาดอายุความขึ้นมาพิจารณานั้น ลูกหนี้จะต้องยื่นคำให้การต่อสู้คดีในเรื่องของการขาดอายุความ ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในชั้นศาล ซึ่งศาลก็จะนำมาพิจารณาตรวจสอบดูข้อเท็จจริง และถ้าหากเป็นจริงตามที่ลูกหนี้ยื่นคำให้การต่อสู้มา ทางศาลก็จะทำการ"ยกฟ้อง"ต่อเจ้าหนี้ต่อไป

ซึ่งในเรื่องนี้ได้มีกฎหมายรองรับอยู่ตามมาตรา 193/29 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า เมื่อไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจะอ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้

เปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อรถมอไซค์ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

การเปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อรถ สามารถยื่นเอกสารแจ้งความจำนงได้ที่ทางบริษัทสินเชื่อที่ทำเรื่องชำระค่างวดโดยมีเอกสารที่ต้องใช้หลัก ๆ ดังนี้ สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของสัญญาเดิม ผู้รับช่วงสัญญาใหม่ และผู้ค้ำประกันของผู้รับช่วงสัญญาใหม่ สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของสัญญาเดิม ผู้รับช่วงสัญญาใหม่ และผู้ค้ำประกันของผู้รับช่วงสัญญาใหม่

เปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อรถมอไซค์ กี่บาท

ค่าเปลี่ยนสัญญา หรือ ค่าทำเองการเปลี่ยนชื่อบุคคลหนึ่งไปสู่อีกบุคคลหนึ่งจะมีค่าใช้จ่ายค่าดำเนินการประมาณ 2,000-3,000 บาท ในการทำเอกสารของไฟแนนซ์

เปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ต้องทำยังไง

วิธีเปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อรถยนต์แทนได้เช่นกัน รถที่ต้องการเปลี่ยนสัญญาต้องจดทะเบียนกับกรมขนส่งแล้ว ไม่ใช่รถใหม่ป้ายแดง เจ้าของรถต้องไม่ค้างค่างวดหรือค้างเบี้ยปรับค่าชำระหนี้ล่าช้าใด ๆ กับทางสถาบันการเงิน รถที่ต้องการเปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้ และมีการเช็กสภาพในวันที่ยื่นเอกสารขอโอนสิทธิ์

เปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อรถมอไซค์ กรุงศรี ไปที่ไหน

ช่องทางการส่งเอกสารเปลี่ยนแปลงที่อยู่จดทะเบียน FAX : 0-2787-0020. E-mail : customer.care@krungsri.com. ไปรษณีย์ : ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน) ตู้ ป.ณ.1 ปณศ. รองเมือง กรุงเทพมหานคร 10330.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita