สาเหตุปัญหาการขาดแคลนอาหาร

ปัญหาการขาดแคลนอาหารของโลก บทบาทและความสำคัญของอินเดียในอนาคต

จากประชากรโลกมากกว่า 7 พันล้านคน มีเพียงร้อยละ 14 เท่านั้นที่ใช้ชีวิตอยู่โดยมีมาตรฐานสุขอนามัยและคุณภาพการบริโภคอาหารที่ดี ประชากรส่วนที่เหลือของโลกนั้นยังต้องเผชิญกับปัญหาสุขอนามัย สภาวะขาดแคลนอาหาร และขาดแคลนกำลังซื้อสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และเพียงพอกับความต้องการ

ความต้องการผลผลิตทางการเกษตรและสินค้าโภคภัณฑ์ในอินเดียมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งด้วยจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น และกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการอาหารที่มีคุณภาพดีและปลอดภัย โดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูปที่ได้มาตรฐาน ความต้องการที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ทำให้ราคาของสินค้าเกษตรกรรมและโภคภัณฑ์มีการปรับตัวสูงขึ้น และส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อกลุ่มผู้บริโภคซึ่งเดิมมีกำลังซื้อน้อยอยู่แล้วให้มีความสามารถในการซื้อลดลงไปอีกจนไม่สามารถเข้าถึงสินค้าเกษตรกรรมที่มีคุณภาพดีเหล่านั้นได้ ประกอบกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของอากาศที่เห็นได้อย่างชัดเจนและส่งผลกระทบมากขึ้นในทุกๆ ปี เช่น แผ่นดินไหว ความแห้งแล้ง อุทกภัย หรือการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ซึ่งเกิดขึ้นได้ง่ายและทวีความรุนแรงขึ้นในแต่ละปี สร้างปัญหาเรื่องการขนส่ง ความอดอยาก และอาหารเป็นพิษ นอกจากนี้ สินค้าที่ได้จากการผลิตโดยเกษตรกร กว่าที่จะผ่านกระบวนการต่างๆ จนออกสู่ตลาดและมาถึงผู้บริโภคในที่สุดนั้น มีการสูญเสียสินค้าถึงร้อยละ 40 หรือมากกว่าหนึ่งในสามของสินค้าที่มีการผลิตได้ ทำให้โอกาสสำหรับประชากรที่รายได้ต่ำหรือยากจนที่จะสามารถเข้าถึงสินค้าที่มีคุณภาพดีลดต่ำลงเรื่อยๆ

ปัญหาเรื่องของความต้องการสินค้าเกษตรกรรมและโภคภัณฑ์จึงกลายเป็นปัญหาอันดับหนึ่งที่รัฐบาลของอินเดียพยายามที่จะแก้ไข โดยในปี2011 อินเดีย จีน และบราซิล ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการประชุม G20 และ World Economic Forum เนื่องจากเป็นประเทศที่มีกำลังการผลิตสินค้าสูง จากการประชุมของประเทศกลุ่ม G20 ในปี 2011 เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นในปี 2012 จากสภาวะอากาศและภัยพิบัติที่รุนแรงขึ้น (โดยเฉพาะปัญหาฝนแล้ง) ราคาสินค้าที่สูงขึ้น การแพร่กระจายของโรคระบาด และคุณภาพสินค้าที่ต่ำลง ทำให้มีการวางโครงการเพื่อความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ ในระบบการผลิตสินค้าสำหรับอาหารและสินค้าเกษตรกรรมในเรื่องคุณภาพของสินค้าและความปลอดภัย รวมทั้งยังรวมถึงการผลิตโดยคำนึงถึงการประหยัดทรัพยากรและลดปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตที่ในขณะเดียวกันก็จะต้องช่วยในการประหยัดต้นทุนและสามารถปรับให้ราคาสินค้าอยู่ในระดับที่ผู้บริโภคทุกกลุ่มเข้าถึงได้เพื่อเป็นการรับมือกับปัญหาใหม่ๆ ที่รัฐบาลจะต้องเจอหลังจากนี้ซึ่งได้แก่ ปัญหาการขาดแคลนน้ำและพื้นที่เพาะปลูก ปัญหาการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของโรคและศัตรูพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการเสื่อมสภาพของดินซึ่งทำให้พื้นที่เพาะปลูกทั่วโลกลดลงไปถึงปีละ 12 ล้านเฮกเตอร์ โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการไถกลบหน้าดินหลังการเก็บเกี่ยวที่ไม่ดี และระบบการผลิตที่เกิด Organic waste และ Chemical Waste ในปริมาณมาก

ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสถานการณ์ของสินค้าเกษตรกรรมและสินค้าอาหารของอินเดีย คือ พฤติกรรมการบริโภคของชาวอินเดียที่เปลี่ยนแปลงไป ช่องว่างระหว่างชนชั้น ระดับรายได้ และความรู้ของประชากร การเสื่อมสภาพของพื้นที่เพาะปลูกและทรัพยากรธรรมชาติ และผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลงทั้งในด้านปริมาณ คุณภาพ และความปลอดภัย

ในอนาคต รัฐบาลอินเดียมีความพยายามที่จะแก้ไขโดยการออกกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ต่อการลงทุนในการเกษตรและการผลิตอาหารแบบยั่งยืน การลงทุนในด้านข้อมูลและเทคโนโลยีเพื่อลดความเสียหายของสินค้าเกษตรกรรม และรัฐบาลมีนโยบายที่จะให้ความสำคัญมากที่สุดกับผู้บริโภคที่มีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบมากที่สุดซึ่งก็คือผู้มีรายได้ต่ำ รวมทั้งการสร้างความร่วมมือกับเอกชนในการสร้างระบบตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า

ในขณะที่ประเทศต่างๆ มีการบริโภคเพิ่มขึ้น จนปริมาณสินค้าในตลาดไม่เพียงพอต่อความต้องการ และการเพิ่มกำลังการผลิตต่อไปอยู่ในปริมาณที่ยากที่จะรักษาสมดุลของทรัพยากรที่ลดลงอย่างรวดเร็ว อินเดียยังคงเป็นประเทศที่มีกำลังในการผลิตสินค้าเกษตรกรรมที่สูงมาก และด้วยปริมาณการผลิตที่แท้จริงในแต่ละปีของอินเดียจะช่วยให้สามารถรักษาสมดุลของการบริโภคสินค้าเกษตรกรรมในตลาดโลกไว้ได้ อย่างไรก็ตาม อินเดียยังคงต้องใช้เวลาและการพัฒนาอีกมากมายในทุกๆ ด้านเพื่อที่จะรักษาไม่ให้ผลผลิตทางการเกษตรต้องสูญเสียไปในกระบวนการที่ไม่ได้มาตรฐานถึงร้อยละ 40 เช่นในปัจจุบัน

นายศศินทร์ สุขเกษ

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองมุมไบ

พฤษภาคม 2555

สถานการณ์การขาดแคลนอาหารทั่วโลกมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปี 2014 โดยโครงการอาหารโลก องค์การสหประชาชาติเปิดเผยว่า ในปี 2019 ประชากรโลกกว่า 135 ล้านคนกำลังเข้าสู่ภาวะอดอยาก สะท้อนถึงวิกฤตความมั่นคงทางอาหารที่มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ซึ่งการแพร่ระบาดของ COVID-19 ก็เป็นอีกปัจจัยที่เข้ามาเพิ่มแรงกดดันต่อวิกฤตความมั่นคงทางอาหารเช่นกัน เนื่องจากการประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพในหลายประเทศตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม 2020 ที่ทำให้เกิดการปิดประเทศและจำกัดการเคลื่อนย้ายทั้งสินค้าและแรงงานระหว่างประเทศหรือระหว่างเมือง จนนำไปสู่ปัญหาการขาดช่วงของห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมอาหาร รวมถึงการจำกัดการส่งออกและนำเข้าอาหารในบางประเทศ โดยสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ยังยืดเยื้อจะยังคงเป็นความเสี่ยงต่อปัญหาการขาดแคลนอาหารในปี 2021 เช่นกัน


ความมั่นคงทางอาหารคืออะไร?

ความมั่นคงทางอาหาร หรือ Food Security ตามนิยามขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO) หมายถึง สภาวะที่คนมีความสามารถทั้งทางกายภาพและทางเศรษฐกิจในการเข้าถึงอาหารที่เพียงพอ ปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการ ในทุกขณะเวลา ทั้งนี้ FAO ได้แบ่งองค์ประกอบของความมั่นคงทางอาหารเป็น 4 ด้าน ได้แก่

1. การมีอาหารเพียงพอ (Food Availability): การมีอาหารในปริมาณที่เพียงพออยู่อย่างสม่ำเสมอ
2. การเข้าถึงอาหาร (Food Access): การมีทรัพยากรที่เพียงพอในการได้มาซึ่งอาหาร
3. การใช้ประโยชน์จากอาหาร (Food Utilization): การมีความเข้าใจและสามารถใช้ประโยชน์จากอาหารได้อย่างเหมาะสม และสามารถจัดเตรียมอาหารให้ถูกสุขอนามัย
4. การมีเสถียรภาพด้านอาหาร (Food Stability): การเข้าถึงอาหารได้อย่างเพียงพอตลอดเวลา

FAO เปิดเผยว่า ในปี 2019 ประชากรโลกกว่า 2 พันล้านคน ได้เผชิญกับความไม่มั่นคงทางอาหาร หรือคิดเป็นประมาณ 25.9% ของประชากรโลก ซึ่งสัดส่วนของประชากรโลกที่เผชิญกับความไม่มั่นคงทางอาหารเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2014 ทุกภูมิภาคทั่วโลกยกเว้นอเมริกาเหนือและยุโรป โดยเอเชียมีประชากรที่เผชิญความไม่มั่นคงทางอาหารมากที่สุดถึง 1 พันล้านคน อย่างไรก็ดี แอฟริกามีสัดส่วนประชากรที่เผชิญกับความไม่มั่นคงทางอาหารสูงที่สุดที่ 51.6% ของประชากรในภูมิภาค ขณะที่สัดส่วนของเอเชียอยู่ที่ประมาณ 22.4% ทั้งนี้ภูมิภาคลาตินอเมริกาและแคริบเบียนมีสัดส่วนประชากรที่เผชิญกับความไม่มั่นคงทางอาหารเพิ่มขึ้นเร็วที่สุดโดยเพิ่มจาก 22.9% ในปี 2014 ไปอยู่ที่ 31.7% ในปี 2019

 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารคืออะไร?

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารไม่ได้มีเพียงความยากจนเท่านั้น แม้ความยากจนจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ครัวเรือนไม่สามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างเพียงพอ แต่ครัวเรือนที่มีรายได้สูงกว่าเส้นความยากจน (World Bank ประกาศเส้นความยากจนไว้ที่ 1.90 ดอลลาร์สหรัฐต่อวันในปี 2015) ก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับความไม่มั่นคงทางอาหารเช่นกัน โดยปัจจัยส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารของประชากรโลก ได้แก่

1. การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากรโลก
2. ภาวะโลกร้อนที่ส่งผลโดยตรงต่อการลดลงของพื้นที่ทำการเกษตร
3. การขาดแคลนน้ำที่เป็นปัจจัยการผลิตสำคัญในการเกษตร
4. การขาดแคลนแรงงานภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้น
5. พฤติกรรมการบริโภคที่ก่อให้เกิดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร

นอกจากปัจจัยข้างต้นแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหาร เช่น พื้นที่ทำการเกษตรที่ลดลงจากการขยายของเขตเมือง ปัญหาดินที่เสื่อมโทรมจากการทำการเกษตรที่มากเกินไป รวมถึงการครองตลาดของบริษัทขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมเกษตร ที่ทำให้เกษตรกรรายย่อยมีข้อจำกัดในการผลิตและขายสินค้าเกษตร และราคาสินค้าเกษตรที่ถูกกำหนดจากบริษัทใหญ่ นอกจากนี้ การที่บริษัทใหญ่เพียงไม่กี่บริษัทควบคุมสัดส่วนปริมาณการผลิตอาหารที่มากเกินไปจะเป็นความเสี่ยงต่อความมั่นคงทางอาหาร ถ้าหากว่าบริษัทใหญ่ปฏิเสธที่จะส่งอาหารไปจำหน่ายในบางภูมิภาค หรือประสบปัญหาในกระบวนการผลิต

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลอย่างไรต่อความมั่นคงทางอาหารในระดับโลก?

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้รัฐบาลทั่วโลกมีการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศหรือระหว่างเมือง ซึ่งส่งผลต่อเนื่องไปยังการจำกัดการขนส่งสินค้า (การขนส่งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ) การเคลื่อนย้ายแรงงาน และนโยบายการค้าระหว่างประเทศที่ถูกจำกัด โดยภายหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในเดือนมีนาคม 2020 ประเทศส่งออกสำคัญ เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี สหราชอาณาจักร จีน และเนเธอร์แลนด์ มีการใช้มาตรการควบคุมการเดินทางข้ามพรมแดนทั้งสิ้น ส่งผลกระทบต่อการส่งออกอาหารของประเทศเหล่านี้ไปยังตลาดอาหารโลก รวมถึงการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศที่ถูกจำกัดจากมาตรการจำกัดการเดินทางข้ามประเทศยังทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตร นอกจากนี้วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังส่งผลให้มีการปิดโรงงานผลิตอาหาร ทั้งนี้กลุ่มประเทศที่จะได้รับผลกระทบและเสี่ยงต่อความไม่มั่นคงทางอาหารในช่วงการแพร่ระบาดมาก ได้แก่ ประเทศที่ไม่สามารถผลิตอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของคนในประเทศและต้องพึ่งการนำเข้าอาหารจากต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่ยากจนหรือประเทศหมู่เกาะเล็ก ๆ ที่สูญเสียรายได้หลักจากการท่องเที่ยวที่หยุดชะงัก

ห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอาหารที่หยุดชะงักจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 นั้น จะยิ่งกดดันราคาอาหารในตลาดโลกให้สูงขึ้น โดยราคาอาหารโลก (Food Price Index) ของ FAO สูงขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมิถุนายน และแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี ณ เดือนธันวาคม ปี 2020 (รูปที่ 1) ซึ่งในช่วงครึ่งหลังของปี 2020 กลุ่มอาหารที่มีราคาเพิ่มขึ้นสูง ได้แก่ กลุ่มน้ำมันพืช กลุ่มธัญญพืช กลุ่ม dairy product ขณะที่ราคาอาหารกลุ่มเนื้อสัตว์ลดลง (รูปที่ 2) ทั้งนี้ราคาอาหารมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในปี 2021 ซึ่งจะยิ่งเพิ่มแรงกดดันต่อรายจ่ายในการซื้ออาหารของครัวเรือนทั่วโลก

นอกจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 จะกระทบการนำเข้า-ส่งออกอาหาร และปัจจัยการผลิตอาหารแล้ว รายได้ที่ลดลงของประชากรก็ถูกกระทบโดยการแพร่ระบาดของ COVID-19 จากการหดตัวของเศรษฐกิจเช่นกัน โดยธนาคารโลกคาดว่า การแพร่ระบาดของ COVID-19 จะทำให้ประชากรโลกประมาณ 88-115 ล้านคนเข้าสู่ความยากจนขั้นรุนแรง (Extreme poverty) ในปี 2020 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 150 ล้านคนภายในปี 2021 ส่งผลให้ความยากจนขั้นรุนแรงทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี โดย FAO คาดการณ์ว่า ผลกระทบจาก COVID-19 ทั้งในด้านการขนส่ง ห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอาหาร และรายได้ของประชากร จะทำให้จำนวนประชากรโลกที่ขาดสารอาหารเพิ่มขึ้นที่ราว 83 – 132 ล้านคน ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้าที่จะมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั้งนี้ปัญหาการขาดความมั่นคงทางอาหารจะนำไปสู่รายจ่ายด้านสุขภาพที่สูงขึ้นของทั้งครัวเรือนและภาครัฐ และส่งผลต่อเนื่องไปยังทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่ได้รับการพัฒนาทักษะอย่างเต็มประสิทธิภาพจากสุขภาพร่างกายที่อ่อนแอจากการขาดสารอาหาร

 สถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารของประเทศไทยน่ากังวลหรือไม่?

FAO มีการเผยแพร่ข้อมูล Prevalence of Undernourishment (PoU) หรือสัดส่วนประชากรที่ขาดแคลนสารอาหารต่อจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งสามารถสะท้อนถึงความเสี่ยงที่แต่ละประเทศจะเผชิญกับความไม่มั่นคงทางอาหารได้ ในปี 2018 ประเทศไทยมีสัดส่วน PoU อยู่ที่ 9.3% ของประชากรทั้งหมด เพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2016 (รูปที่ 3) และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่ 8.9% ขณะที่กลุ่มประเทศรายได้สูงมี PoU อยู่ที่เพียง 2.7% นอกจากนี้ จากข้อมูล Global Food Security Index (GFSI) ที่จัดทำโดย The Economist Intelligence Unit ในปี 2019 พบว่า ประเทศไทยมีระดับความมั่นคงทางอาหารอยู่ในอันดับที่ 52 จากทั้งหมด 113 ประเทศ ด้วยคะแนน 65.1 (รูปที่ 4) ทั้งนี้จากข้อมูล PoU และ GFSI จะสังเกตได้ว่า ปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารของไทยนั้นยังไม่ถึงขั้นที่รุนแรง แต่ขณะเดียวกันไทยก็ยังมีประชากรที่ขาดแคลนสารอาหารในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจสะท้อนว่าประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารอาหารที่เพียงพอและหลากหลายของประชากรในประเทศ

การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารอาหารที่เพียงพอของไทยนั้น อาจเริ่มจากนโยบายภาครัฐที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงอาหารของคนไทย เช่น การสนับสนุนเกษตรกรให้ผลิตและคงความหลากหลายของอาหารเพื่อให้ผู้บริโภคเลือกบริโภคได้มากขึ้น สนับสนุนให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจด้านโภชนาการที่มากขึ้น รวมไปถึงมาตรการที่ช่วยประคับประคองรายได้ของกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อยที่เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะเผชิญความไม่มั่นคงทางอาหารมากกว่าครัวเรือนกลุ่มอื่น ๆ เป็นต้น

เผยแพร่ในการเงินธนาคาร คอลัมน์ เกร็ดการเงิน วันที่ 22 ก.พ. 2021

ทุกขพิษภัย เกิดจากอะไร

(ทุบพิกขะไพ) น. ภัยอันเกิดจากข้าวยากหมากแพงหรือการขาดแคลนอาหารในบ้านเมือง.

วิกฤตการณ์อาหารโลกเกิดขึ้นจากสาเหตุใด และส่งผลกระทบอย่างไร

ฉบับย่อ โลกเข้าสู่ภาวะวิกฤตราคาอาหารแพงแล้ว หลังดัชนีราคาอาหารโลกพุ่งขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 30 ปี โดยมีสาเหตุหลักมาจากภาวะสงครามรัสเซีย-ยูเครน ผนวกกับภาวะโลกร้อน ราคาอาหารที่แพงขึ้นอย่างรวดเร็ว เสี่ยงก่อให้เกิดภาวะอดอยากและขาดโภชนาการมากขึ้น รวมทั้งอาจเป็นชนวนให้เกิดจลาจลและวิกฤตการเมืองตามมา

วิธีการป้องกันอย่างไรให้โลกไม่อยู่ในภาวะขาดแคลนอาหาร

หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกที่ Z-world..
ลดการบริโภคเนื้อ ... .
เปลี่ยนวิธีการผลิตอาหาร ... .
เปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อาหาร (Supply chain) ... .
จัดการอาหารเหลือ ... .
การผลิตแบบเข้มข้น ... .
มาตรการลงโทษ ... .
แหล่งโปรตีนใหม่.

วิกฤตอาหาร คืออะไร

วิกฤติราคาอาหารโลก ที่เกิดขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2550 - 2551 เป็นภาวะที่ราคาอาหารเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอย่างมาก จนทำให้เกิดความไม่มั่นคงทางการเมืองและเศรษฐกิจ รวมไปถึงความวุ่นวายในสังคมทั้งในประเทศที่ยากจนและประเทศพัฒนาแล้ว

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita