ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในรถยนต์

การใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในรถยนต์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในระบบควบคุมการขับขี่กึ่งอัตโนมัติ (ADAS) ระบบเชื่อมต่อสื่อสารภายในรถยนต์ (In-Vehicle Infotainment) และระบบส่งกำลังด้วยไฟฟ้า (electrified powertrain) อันเป็นผลจากการใช้ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น รวมถึงการประกาศเป้าหมายในการห้ามขายรถเครื่องยนต์สันดาปภายในในอีก 20-30 ปีข้างหน้าของหลายประเทศ เช่น อินเดีย ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร

  • อีไอซีมองว่าเมื่อระบบอิเล็กทรอนิกส์ในรถยนต์เข้ามาแทนที่ชิ้นส่วนเครื่องกลมากขึ้น ผู้รับจ้างผลิตอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Manufacturing Services: EMS) จะได้ประโยชน์จากการรับจ้างช่วง (sub-contracting) ซึ่งจะช่วยให้มีกระแสรายได้ที่มั่นคงไปอีกอย่างน้อย 3-5 ปี รวมถึงกระจายความเสี่ยงด้วยการขยายฐานลูกค้าจากเดิมที่ผลิตประกอบอุปกรณ์ consumer electronics เช่น โทรศัพท์มือถือ จอโทรทัศน์ เป็นหลักไปสู่การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์มากขึ้น อย่างไรก็ดี ผู้ผลิตอาจจะต้องเผชิญกับการควบคุมคุณภาพชิ้นส่วนที่เข้มงวด รวมถึงต้องมุ่งสร้างพันธมิตรกับผู้ผลิตระบบอิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์ในกลุ่มที่มีแนวโน้มเติบโตดีและมีกลยุทธ์สอดรับกับค่ายรถใหญ่ของโลก เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันและรักษารายได้ในระยะยาว
  • การใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในรถยนต์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามการใช้งานที่เริ่มจากรถยนต์กลุ่ม luxury จากมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์โลกในช่วงปี 2011-2015 พบว่ามีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ยปีละ 5.3% (รูปที่ 1) ซึ่งสูงกว่าการส่งออกชิ้นส่วนอื่นของรถยนต์ เช่น ตัวถัง ระบบส่งกำลัง และระบบช่วงล่าง ทั้งนี้ รถยนต์กลุ่ม luxury ในปัจจุบันมีปริมาณสารกึ่งตัวนำ (semiconductor) ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกนำมาใช้สูงที่สุดเมื่อเทียบกับรถยนต์กลุ่มอื่น คิดเป็นมูลค่าราว 1 พันดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อคันหรือสูงกว่ารถยนต์กลุ่ม compact ในประเทศพัฒนาแล้วราว 10 เท่า นอกจากนี้ มีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2020 มูลค่าของการใช้ semiconductor ในรถยนต์หนึ่งคันจะเพิ่มขึ้นอีก 16% ซึ่งมูลค่าที่มากขึ้นนี้สะท้อนเป็นรายได้ของอุตสาหกรรม semiconductor ที่คาดว่าจะโตขึ้นปีละ 7% จากมูลค่าราว 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2017 เป็น 4.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2020

    ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในระบบ ADAS และ In-Vehicle Infotainment เป็นกลุ่มที่คาดว่าจะเติบโตเร็วที่สุด เนื่องจากข้อกำหนดด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น รวมถึงการออกแบบของรถยนต์รุ่นใหม่ๆ เพื่อให้ตอบโจทย์การขับขี่ได้ดีขึ้น ข้อบังคับด้านความปลอดภัยและมาตรฐานไอเสียรถที่เข้มงวดขึ้นในหลายประเทศ เช่น มาตรฐานความปลอดภัย IIHS ของสหรัฐฯ และ J-NCAP ของญี่ปุ่น หรือมาตรฐานไอเสีย Euro6 ของยุโรป เป็นแรงขับเคลื่อนหลักที่ทำให้ชิ้นส่วนของระบบควบคุมการขับขี่กึ่งอัตโนมัติ (Advanced Driving Assistance Systems: ADAS) เช่น เซนเซอร์ตรวจจับระยะห่างจากรถคันหน้า หรือระบบเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติ (Autonomous Emergency Braking) มีศักยภาพที่จะขยายตัวได้ถึงปีละ 14.5% ระหว่างช่วง 2017-2020 ยิ่งไปกว่านั้น รถยนต์รุ่นใหม่ๆ ยังออกแบบมาเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการขับขี่มากขึ้น ด้วยการเพิ่มระบบเชื่อมต่อสื่อสารในรถยนต์ (In-Vehicle Infotainment) ที่ช่วยให้ผู้ขับขี่เชื่อมต่อโทรศัพท์สมาร์ทโฟนหรือ GPS ได้ง่ายและปลอดภัย รวมถึงสามารถอัพเดทซอฟท์แวร์ของระบบสื่อสารในรถยนต์ผ่านการเชื่อมต่อกับระบบคลาวด์ได้อีกด้วย ส่งผลให้ In-Vehicle Infotainment มีแนวโน้มขยายตัวราวปีละ 7% ในระหว่าง 2017-2020 (รูปที่ 2)

    อีไอซีมองว่ารถเครื่องยนต์สันดาปภายในที่มีชิ้นส่วนระบบ start-stop จะชิงส่วนแบ่งตลาดในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า ในส่วนรถที่ใช้ระบบส่งกำลังด้วยไฟฟ้า (electrified powertrain) ก็มีทิศทางการเติบโตที่ชัดเจนขึ้นในอนาคต ในระยะอย่างน้อย 3-5 ปีจากนี้ จะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีไปสู่ยุคที่มีการใช้อิเล็กทรอนิกส์ในระบบส่งกำลังมากขึ้น โดยรถยนต์โมเดลกลางถึงล่างที่จะขายในอนาคตจะประกอบไปด้วยชิ้นส่วนที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องยนต์และลดไอเสียให้น้อยลง แต่การขายรถเครื่องยนต์สันดาปภายในจะไม่หายไปโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ มุมมองดังกล่าวสอดคล้องกับผลการศึกษาของ  J.P. Morgan ที่ระบุว่าสัดส่วนยอดขายรถเครื่องยนต์สันดาปภายในที่มีชิ้นส่วนระบบ start-stop ซึ่งเป็นระบบที่เครื่องยนต์จะหยุดการทำงานเมื่อรถหยุดนิ่งๆ และสตาร์ทขึ้นใหม่เมื่อแตะคันเร่งเพื่อประหยัดน้ำมันนั้น จะคิดเป็น 55% ของยอดขายรถทั้งหมด ซึ่งสูงกว่ารถยนต์ธรรมดาที่มีส่วนแบ่ง 29% ในปี 2022 (รูปที่ 3) นอกจากนี้ Gartner คาดการณ์ว่ารายได้อุตสาหกรรม semiconductor จากรถที่ใช้ระบบส่งกำลังด้วยไฟฟ้า เช่น รถยนต์ไฟฟ้าและไฮบริดจะโตถึง 10.8% ในขณะที่ชิ้นส่วนระบบส่งกำลังก็จะโตปีละ 5.2% จนถึงปี 2020 อัตราการเติบโตดังกล่าวอาจปรับตัวเร็วขึ้นอีกจากการที่รัฐบาลของประเทศที่เป็นตลาดรถยนต์ขนาดใหญ่อย่างจีนและอินเดียออกมาสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าและไฮบริดมากขึ้น โดยจีนซึ่งเป็นตลาดรถยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนี้ มีมาตรการสนับสนุนทางการเงินและภาษีรวมถึงให้สิทธิพิเศษต่างๆ กับเจ้าของรถ เช่น ให้จอดรถในเขตเมืองฟรี ยกเว้นค่าธรรมเนียมเมื่อขับรถเข้าเขตเมืองชั้นใน และชาร์ตไฟฟรีตามจุดต่างๆ ขณะที่รัฐบาลอินเดีย นอกจากจะมีมาตรการทางการเงินสนับสนุนเช่นเดียวกับจีนแล้ว ยังตั้งเป้าห้ามขายรถเครื่องยนต์สันดาปภายในให้ได้ภายในปี 2030 ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวเป็นไปในทิศทางเดียวกับรัฐบาลฝรั่งเศสที่ได้ออกมาประกาศว่าจะห้ามขายรถยนต์ประเภทดังกล่าวภายในปี 2040 สอดคล้องกับรัฐบาลสหราชอาณาจักรที่มีแผนที่จะห้ามขายในกรอบเวลาเดียวกันเพื่อทำตามสัตยาบันที่ให้ไว้ในความตกลงปารีส (Paris Agreement)

    นอกเหนือจากผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์แล้ว ผู้รับจ้างผลิตอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Manufacturing Services: EMS) จะได้ประโยชน์จากการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์แทนเครื่องกลในรถยนต์มากขึ้น การเข้ามามีบทบาทในห่วงโซ่อุปทานของการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในรถยนต์จะช่วยให้ผู้ผลิต EMS มีกระแสรายได้ในระยะที่ยาวกว่าการผลิต consumer electronics เพียงอย่างเดียว เนื่องจากวัฏจักรการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์นั้นอยู่ที่ราว 3-5 ปี ขณะที่อุปกรณ์ consumer electronics อยู่ที่ราว 1-2 ปี ซึ่งคาดว่ารายได้ของผู้รับจ้างผลิต EMS จากการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์จะขยายตัวที่ 8% ต่อปีจนถึงปี 2019 อย่างไรก็ดี รายได้จากการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ยังคงเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับโครงสร้างรายได้โดยรวมของอุตสาหกรรม EMS ที่กว่า 70% มาจากการผลิตประกอบอุปกรณ์ consumer electronics เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบที่ยังคงมีแนวโน้มที่จะขยายตัวราว 4-5% จนถึงปี 2019 อย่างไรก็ดี การรับจ้างผลิตจากค่ายรถนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับผู้ผลิต EMS โดยบริษัท Flex เคยทำสัญญารับจ้างช่วงกับค่ายรถอย่าง Ford ซึ่งในปี 2010 Ford ต้องการสร้างระบบการเชื่อมต่อสื่อสารในรถยนต์ (In-Vehicle-Infotainment) โดยจ้างบริษัท EMS ซึ่งมีความชำนาญด้านการออกแบบและผลิตอิเล็กทรอนิกส์ให้พัฒนาระบบใหม่ภายใต้ชื่อ MyFord TouchTM โดยระบบดังกล่าวถูกนำไปพัฒนาต่อยอดจนกลายเป็นระบบ SYNC 3 TM ในรถยนต์ของ Ford รุ่น 2016 ซึ่งไม่เพียงรองรับการใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟนและ GPS ได้ดีขึ้นเท่านั้น ยังสามารถสั่งงานด้วยเสียงได้อีกด้วย นอกจาก Flex แล้ว บริษัทอย่าง CTS Corp. ที่มีความชำนาญด้านอิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์เป็นพิเศษยังคงรับจ้างช่วงในการออกแบบและผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ให้ค่ายรถอื่นๆ เช่น Toyota, Honda, Fiat, Nissan และ GM อยู่ในปัจจุบัน

    อย่างไรก็ดี เพื่อให้ได้รับเลือกจากค่ายรถให้ผลิตชิ้นส่วน ผู้ผลิต EMS จะต้องเผชิญความท้าทายด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่สูง เนื่องจากการที่ชิ้นส่วนในรถยนต์ไม่ทำงานอาจมีผลถึงความปลอดภัยของผู้ขับขี่ นอกจากนี้ การเรียกคืนรถยนต์ที่มีปัญหากลับมาแก้ไขจะกระทบต่อรายได้และชื่อเสียงของค่ายรถโดยตรง ดังนั้น มาตรฐานชิ้นส่วนจึงมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อให้มั่นใจว่าชิ้นส่วนต่างๆ จะใช้งานได้ภายใต้สภาวะการทำงานที่อาจร้อนจัด เปียกชื้น หรือมีแรงสั่นสะเทือนจากการเคลื่อนที่ของรถอยู่ตลอด  สำหรับผู้ผลิต EMS ที่ต้องการจะผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในรถยนต์ นอกจากจะต้องได้รับการรับรองในมาตรฐานการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ยังต้องได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์อื่นๆ ด้วย เช่น ISO 26262 เพื่อรับรองความรับผิดชอบของผู้ผลิตตลอดวัฏจักรการพัฒนาชิ้นส่วน มาตรฐาน AEC-Q100 ทดสอบความทนทานต่อแรงเค้น (stress test) ของแผงวงจรรวม (Integrated Circuit: IC) ในรถยนต์ รวมถึง มาตรฐาน AEC-Q101 ซึ่งทดสอบ stress test ของ semiconductor ด้วยเหตุนี้ผู้ผลิตชิ้นอิเล็กทรอนิกส์หน้าใหม่จึงต้องเผชิญความท้าทายอย่างมากจากการผ่านกระบวนการคัดเลือกหลายขั้นตอนเพื่อให้ค่ายรถมั่นใจได้ว่าชิ้นส่วนจะได้คุณภาพ รวมถึงมีกำลังการผลิตที่เพียงพอต่อความต้องการและต้นทุนการผลิตที่แข่งขันได้

    • อีไอซีแนะผู้ผลิต EMS กระจายความเสี่ยงจากการผลิตประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่กี่ประเภทไปสู่การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์มากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาลูกค้ารายใหญ่ไม่กี่รายจากการรับจ้างผลิตสินค้า เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และใช้ข้อได้เปรียบของตลาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์ที่คู่แข่งรายใหม่เข้าตลาดยากจากการที่ต้องผ่านกระบวนการคัดเลือกหลายขั้นตอน

    Toplist

    โพสต์ล่าสุด

    แท็ก

    flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita