โอนที่ดินผู้รับโอนไม่ไปได้ไหม

การโอนที่ดิน มีรายละเอียดขั้นตอน เอกสารสำคัญ รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ผู้โอนและผู้รับโอนต้องทำการบ้านและเตรียมพร้อมให้ดีที่สุด เพื่อเมื่อถึงเวลาดำเนินการที่กรมที่ดินจะได้เป็นไปอย่างราบรื่นและจบในครั้งเดียว โดยในบทความนี้เราจะพาไปดูรายละเอียดการโอนที่ดิน กรณีที่พ่อ-แม่ ต้องการโอนให้กับลูกที่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย

บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย คือใคร?

บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย คือ บุตรที่กฎหมายรับรอง และมีสิทธิหน้าที่ต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งยังสามารถใช้สิทธิ์ที่มีเรียกร้อง หรือยืนยันต่อบุคคลอื่นได้

ในทางกฎหมายถือว่าบุตรเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของมารดาเสมอ ไม่ว่ามารดานั้นจะมีคู่สมรสหรือไม่ เพราะถือว่าเป็นผู้อุ้มท้องและให้กำเนิด

ทำอย่างไรจึงเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา?

จากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547 เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร

ดังนั้นบุตรจะเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา มี 4 แนวทาง คือ

1) บุตรที่เกิดจากบิดามารดาจดทะเบียนสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

2) บุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แล้วบิดามารดาได้จดทะเบียนสมรสกันภายหลัง

3) บุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่บิดาจดทะเบียนรับรองบุตรในภายหลัง

4) บุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน และในภายหลังศาลได้มีการพิพากษาว่าบิดาเป็นบิดาของบุตร

เอกสารสำคัญสำหรับโอนที่ดิน

การโอนที่ดิน มีเอกสารสำคัญซึ่งเป็นเอกสารราชการที่ไม่ควรตกหล่นอย่างยิ่ง เพราะนั่นหมายถึงการเสียเวลาในการจองคิว เดินทาง หรือการลางาน โดยเอกสารที่ต้องใช้มีรายละเอียด ดังนี้

ฝ่ายโอน (พ่อและแม่)

เอกสารที่ใช้ แบ่งเป็น 2 กรณี คือ

1. พ่อและแม่ สามารถมาดำเนินการโอนที่ดินให้ลูกได้ ใช้เอกสารดังนี้

• โฉนดที่ดิน (ฉบับจริง)

• บัตรประจำตัวประชาชนของพ่อและแม่

• ทะเบียนบ้านของพ่อและแม่

• ทะเบียนสมรส

 

2. พ่อหรือแม่ คนใดคนหนึ่งไม่สามารถมาดำเนินการโอนที่ดินให้ลูกได้ ใช้เอกสารดังนี้

• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของพ่อหรือแม่ที่ไม่ได้มา พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง

• สำเนาทะเบียนบ้านของพ่อหรือแม่ที่ไม่ได้มา พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง

• ใบยินยอมคู่สมรส

ฝ่ายรับโอน (บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย)

การรับโอนที่ดินนั้น บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่จำเป็นต้องมาดำเนินการรับโอนเอง สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาแทนได้ ดังนั้นเอกสารที่ใช้ แบ่งเป็น 2 กรณี คือ

1. บุตรสามารถมาดำเนินการรับโอนที่ดินได้ด้วยตนเอง ใช้เอกสารดังนี้

• บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง

• ทะเบียนบ้านตัวจริง

2. บุตรไม่สามารถมารับโอนที่ดินได้ด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน โดยใช้เอกสารดังนี้

• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงของบุตร พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง

• สำเนาทะเบียนบ้านของบุตร พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง

• บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ตัวจริง)

• ทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ (ตัวจริง)

• ใบมอบอำนาจหรือ ท.ด.21

 

ค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดินให้บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย

ระยะเวลาในการดำเนินการโอนที่ดิน

• การโอนที่ดินกรณีพ่อและแม่โอนให้บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย สามารถทำให้เสร็จสิ้นได้ภายใน 1 วัน โดยใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง หากเอกสารสำคัญต่างๆ มีครบถ้วน

การโอนที่ดินมีรายละเอียดอีกหลายแบบ ซึ่งนอกจากการโอนให้กับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ยังมีการโอนให้บุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การโอนให้ทายาท รวมถึงการโอนแบบซื้อ-ขาย ซึ่งมีรายละเอียดและเอกสารสำคัญที่แตกต่างกัน อย่างไรแล้วธรรมนิติจะนำข้อมูลมาฝากกันอีกครั้ง หรือสามารถดูข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ของ กรมที่ดิน

รวมเอกสารที่จำเป็นสำหรับผู้ซื้อและผู้ขายเพื่อใช้ในการโอนที่ดิน โอนบ้าน โอนคอนโดมิเนียม และสรุปขั้นตอนการโอนกรรมสิทธิ์ ณ สำนักงานที่ดิน

เอกสารการโอนที่ดิน (สำหรับผู้ซื้อ)

เอกสารโอนที่ดิน กรณีผู้ซื้อเป็นบุคคลธรรมดาชาวไทย

  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ซื้อ พร้อมสำเนา
  • ทะเบียนบ้านตัวจริงของผู้ซื้อ พร้อมสำเนา
  • เอกสารการเปลี่ยนชื่อและนามสกุล (กรณีมีการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล)
  • บัตรประชาชนหรือพาสปอร์ตตัวจริงพร้อมสำเนาของคู่สมรส (กรณีจดทะเบียนสมรส)
  • ทะเบียนบ้านตัวจริงของผู้ซื้อพร้อมสำเนาของคู่สมรส (กรณีจดทะเบียนสมรส)
  • เอกสารยินยอมจากคู่สมรส (กรณีจดทะเบียนสมรส)
  • สำเนาใบทะเบียนสมรสของผู้ซื้อ (กรณีหย่าให้เตรียมสำเนาใบจดทะเบียนหย่า, กรณีคู่สมรสเสียชีวิตให้เตรียมสำเนาใบมรณะบัตร)
  • หนังสือมอบอำนาจ (กรณีผู้ซื้อมอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ดำเนินการแทน)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีผู้ซื้อมอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ดำเนินการแทน)

เอกสารโอนที่ดิน กรณีผู้ซื้อเป็นบุคคลธรรมดาชาวต่างชาติ

บุคคลธรรมดาชาวต่างชาติ สามารถซื้อได้เฉพาะห้องชุดเท่านั้น กรณีที่ดินเปล่าหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจะไม่สามารถซื้อได้

  • บัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทางตัวจริงพร้อมสำเนา
  • เอกสารใบอนุญาตทำงาน (work permit) พร้อมสำเนา (ถ้ามี)
  • ทะเบียนบ้านตัวจริงพร้อมสำเนา 
  • บัตรประชาชนหรือพาสปอร์ตตัวจริงและสำเนาของคู่สมรส (ถ้ามี)
  • สำเนาใบทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
  • เอกสารยินยอมจากคู่สมรส (ถ้ามี)
  • เงินสดหรือแคชเชียร์เช็คตามราคาซื้อขายที่ตกลง
  • เอกสารยืนยันการโอนเงินจากต่างประเทศ (FET หรือ Credit Advice)

สามารถดูข้อมูลโดยละเอียดเพิ่มเติมในบทความการโอนกรรมกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้ชาวต่างชาติ 

เอกสารโอนที่ดิน กรณีผู้ซื้อเป็นนิติบุคคล

  • หนังสือรับรองนิติบุคคล (อายุไม่เกินกว่า 1 เดือน) ขอหนังสือรับรองนิติบุคคลได้ที่ //ecert.dbd.go.th/e-service/index.xhtml
  • บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น อายุไม่เกิน 1 เดือน และรายละเอียดในบัญชีรายชื่อของนิติบุคคลที่สามารถซื้อที่ดิน หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างได้ หากมีบุคคลต่างชาติถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วน จะต้องไม่ถึงร้อยละ 40 ของผู้ถือหุ้นทั้งหมดหรือผู้เป็นหุ้นส่วน
  • รายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัท ระบุวัตถุประสงค์ในการซื้อ และแหล่งที่มาของเงิน
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลและตราประทับของนิติบุคคล
  • หนังสือแสดงตัวอย่างลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล
  • หนังสือมอบอำนาจ (กรณีผู้ซื้อมอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ดำเนินการแทน)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีผู้ซื้อมอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ดำเนินการแทน)

เอกสารการโอนที่ดิน (สำหรับผู้ขาย)

เอกสารโอนที่ดิน กรณีผู้ขายเป็นบุคคลธรรมดาชาวไทย

  • โฉนดตัวจริง
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขาย พร้อมสำเนา
  • ทะเบียนบ้านตัวจริงของผู้ขาย พร้อมสำเนา
  • เอกสารการเปลี่ยนชื่อและนามสกุล (กรณีมีการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล)
  • บัตรประชาชนหรือพาสปอร์ตตัวจริงพร้อมสำเนาของคู่สมรส (กรณีจดทะเบียนสมรส)
  • ทะเบียนบ้านตัวจริงของผู้ซื้อพร้อมสำเนาของคู่สมรส (กรณีจดทะเบียนสมรส)
  • เอกสารยินยอมจากคู่สมรส (กรณีจดทะเบียนสมรส)
  • สำเนาใบทะเบียนสมรสของผู้ซื้อ (กรณีหย่าให้เตรียมสำเนาใบจดทะเบียนหย่า, กรณีคู่สมรสเสียชีวิตให้เตรียมสำเนาใบมรณะบัตร)
  • หนังสือมอบอำนาจ (กรณีผู้ซื้อมอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ดำเนินการแทน)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีผู้ซื้อมอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ดำเนินการแทน)

เอกสารเพิ่มเติม กรณีโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด

  • ใบปลอดหนี้
  • เอกสารแสดงสัดส่วนพื้นที่ในโครงการที่ชาวต่างชาติครอบครองกรรมสิทธิ์ได้ (Foreigner Quota) กรณีผู้ซื้อเป็นชาวต่างชาติ

เอกสารโอนที่ดิน กรณีผู้ขายเป็นบุคคลธรรมดาชาวต่างชาติ

  • โฉนดตัวจริง
  • บัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทางตัวจริงพร้อมสำเนา
  • เอกสารใบอนุญาตทำงาน (work permit) พร้อมสำเนา (ถ้ามี)
  • ทะเบียนบ้านตัวจริงพร้อมสำเนา (ถ้ามี)
  • บัตรประชาชนหรือพาสปอร์ตตัวจริงและสำเนาของคู่สมรส (ถ้ามี)
  • สำเนาใบทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
  • เอกสารยินยอมจากคู่สมรส (ถ้ามี)
  • หนังสือมอบอำนาจ (กรณีผู้ขายมอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ดำเนินการแทน)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีผู้ขายมอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ดำเนินการแทน)
  • ใบปลอดหนี้ (กรณีโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด)
  • เอกสารแสดงสัดส่วนพื้นที่ในโครงการที่ชาวต่างชาติครอบครองกรรมสิทธิ์ได้ Foreigner Quota (กรณีโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดและผู้ซื้อเป็นชาวต่างชาติ)

เอกสารโอนที่ดิน กรณีผู้ขายเป็นนิติบุคคล

  • หนังสือรับรองนิติบุคคล (อายุไม่เกินกว่า 1 เดือน) ขอหนังสือรับรองนิติบุคคลได้ที่ //ecert.dbd.go.th/e-service/index.xhtml
  • บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น อายุไม่เกิน 1 เดือน 
  • รายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัท 
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลและตราประทับของนิติบุคคล
  • หนังสือแสดงตัวอย่างลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล
  • หนังสือมอบอำนาจ (กรณีผู้ขายมอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ดำเนินการแทน)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีผู้ขายมอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ดำเนินการแทน)
  • ใบปลอดหนี้ (กรณีโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด)
  • เอกสารแสดงสัดส่วนพื้นที่ในโครงการที่ชาวต่างชาติครอบครองกรรมสิทธิ์ได้ Foreigner Quota (กรณีโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดและผู้ซื้อเป็นชาวต่างชาติ)

ขั้นตอนการโอนที่ดิน บ้าน คอนโด ณ สำนักงานที่ดิน

หลังจากที่ได้ทำการนัดหมายกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเรียบร้อยแล้ว ให้เตรียมเอกสารที่จำเป็นสำหรับการโอนที่ดินทั้งหมด ไปสำนักงานที่ดิน เพื่อทำการการโอนที่ดินต่อหน้าเจ้าหน้าที่พนักงานกรมที่ดิน โดยจะมีที่ขั้นตอนการโอนที่ดินไม่ยุ่งยากมาก ใช้เวลาเพียงไม่นานก็เสร็จสิ้นทุกกระบวนการ

ขั้นตอนที่ 1: ผู้ซื้อและผู้ขาย หรือตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจ เดินทางไปยังสำนักงานที่ดินที่เป็นพื้นที่รับผิดชอบของที่ดินแปลงนั้นๆ (สามารถนำโฉนดไปตรวจสอบในเวปไซต์ //landsmaps.dol.go.th/) แนะนำการใช้งานเวปไซต์ค้นหาแปลงที่ดิน

ขั้นตอนที่ 2: นำเอกสารที่เตรียมมาของทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ยื่นให้พนักงานหน้าเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและรับบัตรคิว

ขั้นตอนที่ 3: เมื่อถึงคิว เจ้าหน้าที่จะเรียกผู้ซื้อและผู้ขาย หรือตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจไปทำการเซ็นต์เอกสารต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้ง2ฝ่าย ไม่ได้มาดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ด้วยตัวเอง เจ้าหน้าที่มีสิทธิ์ขอโทรศัพท์/วีดีโอคอล หาผู้ซื้อหรือผู้ขาย ที่ไม่ได้มา เพื่อยืนยันการโอนกรรมสิทธิ์

ขั้นตอนที่ 4: เจ้าหน้าที่จะทำการประเมินทุนทรัพย์ และคำนวณค่าธรรมเนียมการโอนและภาษีอากร เพื่อออกเอกสารสรุปค่าใช้จ่าย เพื่อไปชำระที่เคาน์เตอร์การเงิน (ค่าใช้จ่ายนี้ ผู้ซื้อและผู้ขายควรตกลงกันให้แล้วเสร็จว่าฝ่ายไหนจะเป็นผู้รับผิดชอบชำระ หรือรับผิดชอบชำระร่วมกันตามสัดส่วนที่ตกลง)

ขั้นตอนที่ 5: หลังจากชำระค่าธรรมเนียมและภาษีอากรแล้ว จะได้รับใบเสร็จ 2 ใบ โดยนำใบเสร็จสีเหลืองกลับมายื่นที่เคาน์เตอร์ที่จัดทำเอกสารการโอนกรรมสิทธิ์ ส่วนใบเสร็จสีฟ้าให้ผู้ซื้อหรือผู้ขายเก็บไว้เป็นหลักฐาน (สามารถถ่ายสำเนาไว้ได้)

ขั้นตอนที่ 6: รอรับโฉนดตัวจริงและตรวจสอบชื่อผู้รับกรรมสิทธิ์และรายละเอียดอื่นๆให้ครบถ้วน นับว่าเป็นการเสร็จสิ้นการโอนกรรมสิทธิ์ ในกรณีที่เป็นการกู้ซื้อผ่านสถาบันการเงิน สถาบันการเงินจะเป็นผู้เก็บโฉนดตัวจริงไว้โดยทางผู้ซื้อจะได้รับสำเนา และจะด้านหลังโฉนดจะระบุชื่อธนาคารเป็นผู้รับจำนอง

โอน ที่ดิน เจ้าตัว ไม่ ไป ได้ไหม

ข้อมูลควรรู้เกี่ยวกับหนังสือมอบอำนาจที่ดิน ใบมอบอำนาจที่ดิน หรือรู้จักกันอีกชื่อว่า หนังสือมอบอำนาจที่ดิน (ท.ด.21) คือ เอกสารสำคัญที่เจ้าของที่ดินร่างขึ้นมาเพื่อมอบให้กับผู้แทนที่จะไปดำเนินการเรื่องการซื้อ ขาย โอนให้ โดยการมอบอำนาจโอนที่ดินจะทำให้ผู้แทนมีสิทธิ์และอำนาจเสมือนกับเจ้าของไปดำเนินการด้วยตนเอง

โอนที่ดินให้ คนอื่นได้ไหม

โอนที่ดินให้บุคคลอื่นต้องจ่ายค่าอะไรบ้าง ภาษีธุรกิจเฉพาะจะต้องจ่าย 3.3% ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมินแล้ว หากถือครองเกิน 5 ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านที่จะโอนเกินกว่า 1 ปีจะไม่ต้องจ่าย แต่หากจ่ายค่าอากรแสตมป์แล้วจะไม่ต้องเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ

รับโฉนดที่ดินแทนได้ไหม

หากไม่สะดวกไปดำเนินการโอนที่ดินด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นทำแทนได้ อ่านเพิ่มเติมใช้หนังสือมอบอำนาจที่ดิน ซื้อ-ขาย-โอนสะดวกสบาย

โอนที่ดินต้องไปด้วยตัวเองไหม

สำหรับสถานที่ทำเรื่องในการโอนที่ดินจะต้องทำเรื่องที่สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสาขา หรือส่วนแยกสำนักงานที่ดินอำเภอ หรือกิ่งอำเภอท้องที่ที่ที่ดินตั้งอยู่ โดยต้องติดต่อตัวเอง ณ หน่วยงาน หากไม่สะดวกไปดำเนินการโอนที่ดินด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นทำแทนได้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita