หนังสือมอบอํานาจ พิมพ์ได้ไหม

มอบอำนาจ โอนบ้านและที่ดิน

หนังสือ มอบอำนาจที่ดิน เป็นเอกสารสำคัญที่เจ้าของที่ดินทำขึ้นเพื่อมอบให้กับผู้แทน ไปดำเนินการเรื่องการขายให้ โดยการมอบอำนาจโอนที่ดิน จะทำให้ผู้แทนมีสิทธิ์และอำนาจเสมือนกับเจ้าของไปดำเนินการด้วยตนเอง ดังนั้น กรมที่ดินได้ทำแบบฟอร์ม หนังสือมอบอำนาจ ท.ด.21 เพื่อรายละเอียดที่ชัดเจนและความถูกต้องของเอกสาร ซึ่งการมอบอำนาจจะต้องเตรียมเอกสารต่าง ๆ ดังนี้

เอกสารใช้สำหรับมอบอำนาจโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน มีดังนี้

1. หนังสือ มอบอำนาจที่ดิน (ท.ด.21)

2. สำเนาบัตรประชาชน

3. สำเนาทะเบียนบ้าน

4. สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล

” กรณีไถ่ถอนจากจำนอง ผู้มอบอำนาจจะต้องเซ็นต์ชื่อ ให้เหมือนกับเอกสารจำนองที่เคยทำไว้ ณ สำนักงานที่ดินเท่านั้น “

ข้อควรระวังในการทำหนังสือมอบอำนาจที่ดิน

หนังสือ มอบอำนาจที่ดิน เป็นเอกสารที่มอบสิทธิ์และอำนาจให้ตัวแทนทำธุรกรรมแทน ดังนั้นจำเป็นจะต้องรู้จักข้อควรระวังในการทำหนังสือมอบอำนาจที่ดินให้ครบด้วนด้วย ดังนี้

  1. กรอกเครื่องหมายหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เช่น บ้าน ตึก เรือน ให้ชัดเจน
  2. ระบุเรื่องและอำนาจจัดการให้ชัดเจน มอบอำนาจให้ทำอะไร เช่น ไถ่ถอนจำนอง ซื้อขาย เป็นต้น ถ้ามีเงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติมก็ให้ระบุไว้ด้วย
  3. ไม่กรอกข้อความให้ต่างลายมือ หรือถ้าใช้พิมพ์ข้อความในแบบฟอร์ม ก็ควรจะพิมพ์ข้อความทั้งหมด ไม่ผสมการเขียนข้อความด้วยลายมือ
  4. ถ้ามีการขูดลบ เพิ่มเติม แก้ไข ขีดฆ่า ให้ระบุว่า ขีดฆ่าตกเติมกี่คำ และผู้มอบอำนาจต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ด้วยทุกแห่ง
  5. ก่อนกรอกหรือพิมพ์ข้อความครบถ้วน อย่าลงลายมือชื่อผู้มอบอำนาจเพื่อยืนยันว่าถูกต้องตามประสงค์แล้ว หรืออย่าลงชื่อในกระดาษเปล่าซึ่งยังมิได้กรอกข้อความเป็นอันขาด
  6. มีพยานอย่างน้อย 1 คน ถ้าผู้มีอำนาจพิมพ์ลายนิ้วมือ ต้องมีพยาน 2 คน โดยพยานต้องเซ็นต์ชื่อ จะพิมพ์ลายนิ้วมือไม่ได้
  7. สำหรับหนังสือมอบอำนาจที่ดินที่ทำในต่างประเทศ ควรให้สถานทูตหรือสถานกงสุลหรือ Notary Public (อ่านว่า โนตารีปับลิก หมายถึง เจ้าพนักงานที่มีหน้าที่รับสาบานและรับรองเอกสารบางอย่างโดยการลงลายมือชื่อและประทับตรา เพื่อให้เอกสารมีความน่าเชื่อถือและใช้ยืนยันในต่างประเทศได้) รับรองเอกสารด้วย

ที่มา : DDProperty

แบบฟอร์ม ตัวอย่าง หนังสือ มอบอํานาจที่ดิน

  • ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม หนังสือ มอบอำนาจที่ดิน (ท.ด.21)
  • ตัวอย่าง หนังสือมอบอำนาจที่ดิน (ท.ด.21)

เมื่อจำเป็นจะต้องทำหนังสือมอบอำนาจ สิ่งสำคัญมากควรศึกษาตัวอย่างการเขียนมอบอำนาจ ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ และถูกต้องตามที่สำนักงานที่ดินกำหนดด้วย เพราะถ้าทำไม่ถูกต้อง สำนักงานที่ดินจะต้องให้แก้ไข จะทำให้เสียเวลาในการแก้ไขเอกสารและการเดินทางด้วยครับ  

เข้าสู่ระบบ

ระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง ว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ. ๒๕๕๔ ข้อ ๕ การแก้ไข ขีดฆ่า หรือตกเติมคำหรือข้อความในคำขอจดทะเบียน รายการจดทะเบียน และเอกสารประกอบการจดทะเบียนใดๆ ให้หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้เริ่มก่อการ กรรมการ ผู้ชำระบัญชี ซึ่งเป็น ผู้ขอจดทะเบียน หรือผู้รับมอบอำนาจจากบุคคลดังกล่าวโดยหนังสือมอบอำนาจได้ให้อำนาจไว้ เป็นผู้ลงลายมือชื่อกำกับการแก้ไข ขีดฆ่า หรือตกเติม การแก้ไข ขีดฆ่า หรือตกเติมคำหรือข้อความในหนังสือมอบอำนาจ จะต้องให้ผู้มอบอำนาจที่ลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนลงลายมือชื่อกำกับการแก้ไข ขีดฆ่า หรือตกเติมนั้น

22 มีนาคม 2554 18:18:26 IP: 10.6.104.121

    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการมอบอำนาจ

          การมอบอำนาจ คือ การที่บุคคลหนึ่งเรียกว่า ตัวการ มอบให้บุคคลอีกคนหนึ่ง

เรียกว่า ตัวแทน มีอำนาจทำการแทน และการกระทำนั้นมีผลทางกฎหมาย

เสมือนว่าตัวการทำด้วยตนเอง  การมอบอำนาจให้ทำกิจการใด ถ้าหากกฎหมาย

กำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือการมอบอำนาจให้ทำกิจการนั้นก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย

เช่น การซื้อขายที่ดินกฎหมายกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือ การมอบอำนาจให้ขาย

ที่ดินก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย โดยจะใช้แบบพิมพ์ของกรมที่ดินหรือไม่ก็ได้ แต่ต้อง

มีสาระสำคัญครบถ้วน แต่เพื่อความสะดวก ควรใช้แบบพิมพ์ของกรมที่ดิน โดยผู้นั้น

จะต้องทำหลักฐานการมอบอำนาจเป็นหนังสือให้ผู้ไปทำการแทน จะต้องมอบบัตร

ประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านตัวจริง ของผู้มอบอำนาจให้กับผู้รับมอบอำนาจ

ไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ เหตุที่ต้องเอาตัวจริง เพราะถ้าจะมีการปลอมแปลงหนังสือ

มอบอำนาจก็จะต้องทำการปลอมบัตรประชาชน ทะเบียนบ้านด้วย ทำให้ทำทุจริต

ได้ยากขึ้น หากใช้แต่ภาพถ่ายก็ทำปลอมง่ายซึ่งเรื่องนี้จะต้องเข้าใจว่าสำนักงานที่ดิน

ต้องการรักษาผลประโยชน์ของประชาชน(เจ้าของที่ดินและคนซื้อ) ไม่ใช่เพื่อการ

ตุกติกให้ล่าช้าแต่อย่างใด

หนังสือมอบอำนาจมีอยู่ 2 แบบ สำหรับที่ดินมีโฉนดแล้ว กับ ที่ดินที่ยังไม่มีโฉนด

(หรืออสังหาริมทรัพย์อื่นเช่นบ้านอย่างเดียว)  หากจะใช้กระดาษอื่นควรเขียน

ข้อความอนุโลมตามแบบพิมพ์ของกรมที่ดิน เพราะจะได้รายการที่ชัดเจนและถูกต้อง

คำเตือนเพื่อรักษาประโยชน์ของเจ้าของที่ดินและผู้ที่เกี่ยวข้อง

(ข้อความหลังใบมอบอำนาจ)


1. ให้กรอกเครื่องหมายหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินหรือ อสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เช่น

ตึก,บ้านเรือน,โรง,ให้ชัดเจน


2. ให้ระบุเรื่องและอำนาจจัดการให้ชัดเจนว่า มอบอำนาจให้ทำอะไร เช่น ซื้อขาย

จำนอง ฯลฯ ถ้ามีเงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติมก็ให้ระบุไว้ด้วย


3.อย่ากรอกข้อความให้ต่างลายมือและใช้น้ำหมึกต่างสีกันถ้าใช้เครื่องพิมพ์ดีดก็ต้อง

เป็นเครื่องเดียวกัน


4. ถ้ามีการขูดลบ ตกเติม แก้ไข ขีดฆ่า ให้ระบุว่า ขีดฆ่าตกเติมกี่คำ และผู้มอบอำนาจ

ต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ด้วยทุกแห่ง


5. อย่าลงลายมือชื่อผู้มอบอำนาจ ก่อนกรอกข้อความครบถ้วน และถูกต้องตามความ

ประสงค์แล้วหรืออย่าลงชื่อในกระดาษเปล่าซึ่งยังมิได้กรอกข้อความเป็นอันขาด


6. ให้มีพยานอย่างน้อย 1 คน ถ้าผู้มอบอำนาจพิมพ์ลายนิ้วมือต้องมีพยาน 2 คน

พยานต้องเซ็นชื่อจะพิมพ์ลายนิ้วมือไม่ได้


7. หนังสือมอบอำนาจทำในต่างประเทศควรให้สถานทูตหรือสถานกงสุลหรือ

โนตารีปับลิค (notary public) รับรองด้วย บางเรื่องผู้มอบอำนาจเป็นผู้รับมอบ

อำนาจจากทั้งสองฝ่ายคือเป็นตัวแทนทั้งฝ่ายผู้โอน และผู้รับโอนในกรณีเช่นนี้

ผู้มอบอำนาจจะต้องระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจด้วยว่า ยินยอมให้ผู้รับมอบเป็น

ผู้แทนอีกฝ่ายหนึ่งได้ด้วย (มาตรา 805 แห่ง ป.พ.พ.)

ในส่วนผู้รับซื้อหรือผู้รับสิทธิในนิติกรรมมีหน้าที่ระมัดระวังด้วยโดยจะต้องรู้จัก

ตัวเจ้าของที่ดินที่แท้จริง ต้องรู้จักเจ้าของที่ดินว่ามีตัวตนและมีชีวิตอยู่หรือไม่

มีเจตนาจะขายที่ดินจริงหรือไม่ หากไม่รู้จักเจ้าของที่ดินที่แท้จริงเสียเลยย่อม

เป็นการผิดวิสัย ถ้าไม่แน่ใจก็อาจขอตรวจดูหลักฐานที่ดินที่สำนักงานที่ดินก่อนได้

         คำชี้แจงเพิ่มเติม

1. ให้ลอกเครื่องหมายที่ดินจากตัวโฉนดใส่ให้ครบทุกช่อง (ลอกให้หมดแม้ข้อความ

ในวงเล็บ/ถ้ามีด้วย เช่น อำเภอเมือง(นครชัยศรี)) ซึ่งข้อความในแบบพิมพ์หนังสือ

มอบอำนาจชัดเจนอยู่ในตัวแล้ว ยกเว้นเพียงคำว่า เลขที่……..ซึ่งคนส่วนมากจะสงสัย

ว่าเลขที่อะไร เลขที่…….ในที่นี้หมายถึงเลขที่ดิน……. กับอีกเรื่องหนึ่งการนับอายุจะต้อง

นับปีย่างไม่ใช่ครบปีบริบูรณ์ เช่น 21 ปีบริบูรณ์เวลากรอกต้องใส่ว่า 22 ปี ทางที่ดินเขา

ถือปฏิบัติอย่างนี้มาตลอด


2. การเขียนหนังสือมอบอำนาจไม่มีข้อความตายตัว ตัวอย่างที่ยกมาให้ดูนี้มุ่งให้มีความ

ชัดเจนที่สุดไม่ให้เกิดข้อสงสัย ข้อความจึงอาจต่างจากที่เคยพบเห็นได้ และบางกรณี

ผู้เขียนเองก็จงใจจะใช้ข้อความที่ให้แตกต่างหรือสลับลำดับกันออกไปบ้าง ก็เพื่อให้เห็นว่า

อย่างนี้ก็ใช้ได้ ในการกรอกข้อความถ้าหากช่องว่างไม่พอก็ให้เขียนลงไปในที่ว่างที่

ต่อเนื่องกันได้ จนครบข้อความที่ต้องการเขียน และให้สังเกตว่าจะต้องจบลงด้วยคำว่า  

“ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่” เสมอ เพราะการมอบอำนาจให้

ดำเนินการใด ๆ จะต้องมีการสอบสวนให้ถ้อยคำยืนยันเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำ

นิติกรรมเสมอ


3. เนื่องจากข้อความต่าง ๆ เป็นไปตามแบบพิมพ์แล้ว จะมีส่วนที่เปลี่ยนแปลงก็เฉพาะ

ชื่อเรื่องกับสิ่งที่มอบหมายให้ดำเนินการเท่านั้น การให้ตัวอย่างจึงจะยกแต่ชื่อเรื่อง

และการมอบให้จัดการ รวมทั้งลักษณะเหตุการณ์จริงที่ทำให้เกิดการมอบอำนาจ

เท่านั้น (ให้พิจารณาเลือกตัวอย่างให้ตรงกับลักษณะเหตุการณ์จริง บางกรณีก็

ดัดแปลงขอความเอาเองได้ตามรูปเรื่อง)


4. หนังสือมอบอำนาจหนึ่งฉบับจะมีคนมอบอำนาจร่วมกันหลายคนก็ได้ แต่ควรเป็น

การมอบให้ขายด้วยกัน หรือซื้อด้วยกัน เพราะข้อความจะไม่สับสนและต้องกรอกอายุ

ชื่อพ่อแม่  ให้ถูกต้องตรงกับลำดับชื่อคนมอบแต่ถึงแม้ว่าจะมอบอำนาจในฉบับเดียว

กันได้ ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ แล้วไม่ควรมอบอำนาจในฉบับเดียวกัน


5. หนังสือมอบอำนาจฉบับเดียวกันจะมอบให้ดำเนินการหลายเรื่องก็ได้ไม่มีข้อห้าม

แต่ต้องเขียนให้ชัดอย่าสับสน


6. หนังสือมอบอำนาจต้องให้มีพยานเซ็นด้วยหนึ่งคน การให้คู่สมรสของผู้มอบอำนาจ

เซ็นต์เป็นพยานก็เป็นสิ่งที่ทำได้และทำหนังสือยินยอมให้คู่สมรสทำนิติกรรมควบคู่ไปด้วย


7.ในการพิมพ์นิ้วมือ กรมที่ดินให้ใช้พิมพ์หัวแม่มือซ้าย ไม่ใช่ข้างขวา เรื่องนี้เป็นวิธีการ

ปฏิบัติมาแต่ต้นแล้วเพราะเขาเห็นว่ามือขวาส่วนใหญ่ใช้งานหนักลายมืออาจสึกมาก

กว่าด้านซ้าย(ไม่ต้องถามว่าแล้วคนถนัดซ้ายล่ะ นั่นมันก็จริงแต่เขาเอาส่วนใหญ่ไว้ก่อน)


8. หนังสือมอบอำนาจเมื่อทำขึ้นแล้วต้องรีบไปดำเนินการโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

หากปล่อยไว้นานเจ้าหน้าที่อาจไม่ดำเนินการให้ เพราะไม่แน่ใจว่าผู้มอบอำนาจยังมี

ชีวิตอยู่ หรือว่ามีการยกเลิกหนังสือมอบอำนาจหรือไม่


9. กรณีที่คิดว่าจะเซ็นชื่อไม่คล้ายลายเซ็นเดิม และไม่สามารถไปดำเนินการด้วย

ตัวเองได้จริง ๆ ให้ผู้มอบอำนาจไปติดต่อที่อำเภอ เพื่อทำหนังสือมอบอำนาจต่อหน้า

นายอำเภอ ซึ่งนายอำเภอจะดำเนินการให้และจะพิมพ์ข้อความรับรองว่าได้เซ็นต่อหน้า

และประทับตรารับรองมาด้วย ปกติเมื่อเจ้าหน้าที่ที่ดินเห็นมีคำรับรองมาก็จะดำเนินการ

จดทะเบียนให้ (แน่นอนว่าหลังตรวจสอบข้อมูลอื่น ๆ แล้วไม่ผิดพลาด) แม้ว่าลายเซ็นต์

จะไม่คล้ายของเดิมมากนักก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามถ้าลายเซ็นผิดเพี้ยนไม่มีเค้าเดิม

เจ้าหน้าที่ก็อาจไม่ดำเนินการ ให้ เพราะปกติถ้ามาดำเนินการด้วยตนเองและลืมว่า

เดิมเซ็นต์อย่างไร แต่ถ้าเจ้าหน้าที่ให้ดูลายเซ็นเดิมก็มักจะจำได้ และเซ็นต์ได้แบบ

มีเค้าเดิมมากและบางครั้งก็เซ็นต์ได้

เข้าสู่ระบบ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita