กินยาแล้วกินวิตามินซีได้ไหม

           ไม่ว่าจะกินวิตามินหรือยาชนิดไหน ทางที่ดีควรปรึกษาเภสัชกร และแจ้งว่าเรามีโรคประจำตัว หรือกำลังรับประทานยาและวิตามินตัวใดอยู่บ้าง เพื่อที่เภสัชกรจะได้ให้คำแนะนำในการกินยาและวิตามินเสริมต่าง ๆ อย่างปลอดภัยนะคะ

ช่วงนี้หลายๆ คนกำลังมองหาตัวช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ให้ร่างกายเเข็งเเรง ห่างไกลจากความเสี่ยงในสถานการณ์โควิด – 19 เช่นนี้ การทานวิตามินซีเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดี เพราะมีประโยชน์ต่อร่างกาย เเละช่วงสร้างภูมิต้านได้ เเต่หากอยากทานได้ผลดีมากที่สุด เราควรจะรู้ว่า วิตามินซี กินตอนไหนดีที่สุด เพื่อให้ทานเเล้วได้ประโยชน์ที่สุด พี่หมีบิ๊กกี้เลยอยากนำสาระความรู้ดีๆมาฝากกันค่ะ

วิตามินซี กับ 10 ข้อต้องรู้ 

วิตามินซีมีกี่เเบบ กินอย่างไร กินวิตามินซีตอนไหนดี มีประโยชน์อย่างไรต่อร่างกาย

  1. ขนาดวิตามินซี ที่กินแล้วทำให้ร่างกายดูดซับวิตามินซีได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด คือ การกินขนาด 60 มิลลิกรัม ต่อวัน
  2. เวลาที่ควรทานวิตามินซี วิตามินซีจะถูกขับออกจากร่างกายในเวลา 2 -3 ชั่วโมงหลังทานอาหาร ดังนั้นช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการทานวิตามินซีคือ ช่วงเช้าหรือเย็นโดยควรกินพร้อมอาหาร หรือ หลังอาหาร เเละไม่ควรกินวิตามินซี ตอนท้องว่าง 
  3. กินวิตามินอย่างพอดี ไม่ทานน้อยเกินไปเพราะทำให้ร่างกายภูมิคุ้มกันน้อยลง ส่งผลให้เราเป็นหวัดง่ายขึ้น เเต่หากกินในปริมาณมากเกินไปก็จะทำให้ร่างกายได้รับผลกระทบ เช่น ปวดท้อง ท้องเสียได้
  4. ควรเลือกวิตามินให้เหมาะสมกับเรามากที่สุด  วิตามินซีมีหลายแบบ ทั้งเเบบเม็ด จะระคายเคืองกะเพาะอาหารน้อย, เเบบเม็ดอม เหมาะกับคนที่มีปัญหาเรื่องการกลืนยา, วิตามินเเบบเม็ดเคี้ยว เหมาะกับเด็กๆ, วิตามินเม็ดฟู่ ต้องน้ำไปละลายน้ำก่อน เหมาะกับคนมีปัญหาเรื่องการกลืนยา, วิตามินซีเเบบเเคปซูล เเละวิตามินซีเเบบฉีดที่ต้องให้เเพทย์พยาบาลฉีดให้
  5. หากกินวิตามินซีเพื่อบรรเทาหวัด ควรกินในประมาณ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน วันละ 2 เวลา จะช่วยลดระดับสายฮีสตามีนที่ก่อให้เกิดอาการน้ำมูกไหลได้
  6. วิตามินซีเป็นตัวช่วยเสริมคุ้มภูมิกันวิธีหนึ่ง เเต่ควรกินวิตามินซีจากผัก ผลไม้อย่างผลไม้จำพวกมะขามป้อม ฝรั่ง กี่วี่ มะละกอ ด้วย เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย 
  7. วิตามินซีมีประโยชน์ในการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ช่วยให้ผิวสวย 
  8. วิตามินซีมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆในร่างกาย
  9. วิตามินช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งเเรง ป้องกันการเป็นหวัด เเละอาการภูมิแพ้
  10. วิตามินช่วยลดระดับคอเรสเตอรอลในเลือด , ความดันในเลือดได้

ข้อควรระวังในการกินวิตามินซี

  1. ผู้ที่กินยาลดเบาหวานอยู่ หากทานวิตามินซีร่วมด้วย จะทำให้ประสิทธิภาพยารักษาเบาหวานลดลง 
  2. ผู้ที่กินยาคุมกำเนิดอยู่ ควรเพิ่มปริมาณการกินวิตามินซี
  3. หากรับประทานยาแอสไพลินอยู่ ควรเพิ่มปริมาณการกินวิตามินซี เพราะยาแอสไพลินจะทำให้วิตามินซีถูกขับออกไวขึ้น 

จะเห็นว่าการทานวิตามินซี มีข้อควรรู้อยู่มาก เเต่มีข้อต้องพึงระวังอยู่เช่นกัน วิตามินซีหากกินอย่างถูกต้องก็จะเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เเต่หากกินผิดวิธีก็จะเป็นโทษหรือไม่มีประสิทธิภาพนั่นเอง 

ดังนั้นหากคุณอยากทานวิตามินซี เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย หรือ บรรเทาอาการหวัด ควรปรึกษาเภสัชกรก่อนกินวิตามินซี 

อยู่บ้านแบบไม่ต้องกังวล เภสัชกรร้านยาเพรียวพร้อมแนะนำวิธีการดูแลสุขภาพให้คุณ ทั้งแชทหรือโทร เป็นเพื่อนกับร้านยาเพรียว เลือกสาขาใกล้บ้าน คลิก >> //bit.ly/3bkwZLN

การรับประทานอาหารเสริม เพื่อให้ร่างกายได้รับแร่ธาตุและวิตามินที่จำเป็น ชดเชยในบางมื้ออาหารที่เรารับประทานไม่ครบหมู่ แต่ก็พบว่าในบางคนมีการรับประทานอาหารเสริมมากเกินไป ซึ่งจะกลายเป็นผลเสียมากกว่าผลดี ส่งผลเสียต่อตับ รวมถึงผลข้างเคียงอื่นๆ นอกจากนี้อาหารเสริมบางชนิด ไม่ควรรับประทานคู่กับยาบางรายการ เพราะอาจเกิดอาการที่ไม่พึงประสงค์ ลดประสิทธิภาพของยาที่รับประทาน หรือทำให้เกิดพิษในร่างกายได้ ฉะนั้น มาดูกันว่า กลุ่มยา-วิตามิน-อาหาร ประเภทใดที่ควรรับประทานร่วมกัน หรือควรหลีกเลี่ยง
เปิดวิธีรับประทานวิตามินซีที่ถูกต้องเพื่อ “รักษาโรคหวัด”
6 ข้อแนะนำ เสริมระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ดีขึ้น ช่วงโควิด-19
"วิตามิน" เป็นอันตรายต่อสุขภาพมากกว่าที่เราคิด

5 กลุ่ม ยา วิตามินและอาหาร ที่ไม่ควรรับประทานร่วมกัน

1.ยารักษาเบาหวาน
     ไม่ควรรับประทานร่วมกับ : มะระขี้นก,ว่านหางจระเข้, โสม, แมงลัก, พืชตระกูลลูกซัด, ผักเชียงดา, และ อาหารเสริมที่มีแร่ธาตุโครเมียม
     ผลลัพธ์เมื่อรับประทานร่วมกัน : เสริมการออกฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดทำให้น้ำตาลลดลงมากเกินไป อาจเกิดอาการหัวใจเต้นเร็ว เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ สายตาพร่า เหงื่อออกมาก หิวบ่อย อ่อนเพลีย

2.ยาลดความดันโลหิต, ยาลดไขมันในเลือด
     ไม่ควรรับประทานร่วมกับ : น้ำเกรปฟรุต
     ผลลัพธ์เมื่อรับประทานร่วมกัน : ทำให้ปริมาณยาสูงหลายเท่าในกระแสเลือด อาจให้เกิดพิษจากยาได้

3.ยาละลายลิ่มเลือด
     ไม่ควรรับประทานร่วมกับ : น้ำมันดอกคำฝอย, น้ำมันปลา, น้ำมันดอกอีฟนิ่ง, ตังกุย, กระเทียม, แป๊ะก๊วย, ขิง
     ผลลัพธ์เมื่อรับประทานร่วมกัน : หากรับประทานมากไป จะเสริมฤทธิ์ของยาทำให้เลือดออกง่ายขึ้น

4.ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
     ไม่ควรรับประทานร่วมกับ : ผักใบเขียว ยอ ชาเขียว ถั่วเหลือง บรอกโคลี และ อาหารเสริมโคเอ็นไซม์คิวเท็น
     ผลลัพธ์เมื่อรับประทานร่วมกัน : ต้านการออกฤทธิ์ของยา

5.ยาปฏิชีวนะกลุ่ม fluoroquinolone และกลุ่ม tetracycline
     ไม่ควรรับประทานร่วมกับ : นม โยเกิร์ตหรือยาลดกรด ยาเคลือบกระเพาะอาหาร และแคลเซียม
     ผลลัพธ์เมื่อรับประทานร่วมกัน : ทำให้ยาดูดซึมได้ลดลง ระดับยาในเลือดไม่เพียงพอต่อการรักษา

5 กลุ่ม ยา วิตามินและอาหาร ที่ควรรับประทานร่วมกัน

1.วิตามินเอ ดี อี เค
     ควรรับประทานร่วมกับ : อาหารที่มีไขมันจากสัตว์ หรือจากพืช หรืออาหารเสริมกลุ่มน้ำมันปลา
     ผลลัพธ์เมื่อรับประทานร่วมกัน : ช่วยให้วิตามินดูดซึมได้ดี

2.ธาตุเหล็ก
     ควรรับประทานร่วมกับ : วิตามินซี ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว
     ผลลัพธ์เมื่อรับประทานร่วมกัน : ช่วยให้การดูดซึมธาตุเหล็กดีขึ้น

3.แคลเซียม
     ควรรับประทานร่วมกับ : วิตามินดี หรืออาหารที่มีวิตามินดี
     ผลลัพธ์เมื่อรับประทานร่วมกัน : ช่วยให้แคลเซียมดูดซึมได้ดีขึ้นในลำไส้เล็ก

4.คอลลาเจนเปปไทด์
     ควรรับประทานร่วมกับ : วิตามินซี
     ผลลัพธ์เมื่อรับประทานร่วมกัน : การกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนของผิวพรรณ

5.โคเอนไซม์คิวเท็น
     ควรรับประทานร่วมกับ : หลังอาหารมื้อใหญ่หรือมื้อที่มีไขมันจากสัตว์หรือจากพืช
     ผลลัพธ์เมื่อรับประทานร่วมกัน : ช่วยให้โคเอนไซม์คิวเท็นดูดซึมได้ดีในร่างกาย

ที่มา รพ.สมิติเวช 

ข่าวที่คุณอาจพลาด

แข้งดัง-ตำนาน ทวีตส่งกำลังใจให้แผ่นดินไหวตุรกี-ซีเรีย

BDMS เดินหน้าฝึกไรเดอร์ทำCPR เพิ่มโอกาสคนรอดชีวิตจากเหตุฉุกเฉิน

"วิษณุ" ชี้เป็นหน้าที่กกต. ตรวจสอบการลงพื้นที่ "บิ๊กป้อม" ผิดหรือไม่

ผู้นำยูเครนกล่าวสุนทรพจน์ขออังกฤษหนุนเครื่องบินรบ

ยากับวิตามินกินพร้อมกันได้ไหม

ยา วิตามิน สมุนไพร และอาหารเสริมจึงเปรียบเสมือนดาบสองคม หากรับประทานร่วมกันโดยไม่ได้ระมัดระวังอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆ โดยไม่รู้ตัว ในปัจจุบัน เราสามารถตรวจระดับวิตามินแร่ธาตุในร่างกายได้โดยการเจาะเลือด เพื่อค้นหาวิตามินและแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการจริง นำไปสู่การเลือกรับประทานอาหารหรืออาหารเสริมในแบบเฉพาะบุคคล

กินวิตามินซีกับยาคุมได้ไหม

1.วิตามินซี การกินยาคุมกำเนิดพร้อมวิตามินซี วิตามินซีจะช่วยดูดซึมยาคุมกำเนิดมากขึ้น ทำให้เกิดผลข้างเคียงมากขึ้นคือคลื่นไส้อาเจียน การอาเจียนเอายาคุมออกมา อาจมีผลต่อประสิทธิภาพการคุมกำเนิด

ห้ามกินวิตามินกับยาอะไร

5 กลุ่มยา-วิตามิน-อาหาร ที่ "ควร" และ "ไม่ควร" รับประทานร่วมกัน.
ยารักษาเบาหวาน ... .
ยาลดความดันโลหิต, ยาลดไขมันในเลือด ... .
ยาละลายลิ่มเลือด ... .
ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ... .
ยาปฏิชีวนะกลุ่ม fluoroquinolone และกลุ่ม tetracycline..

ใครไม่ควรกินวิตามินซี

ข้อควรระวังในการกินวิตามินซี.
ผู้ที่กินยาลดเบาหวานอยู่ หากทานวิตามินซีร่วมด้วย จะทำให้ประสิทธิภาพยารักษาเบาหวานลดลง.
ผู้ที่กินยาคุมกำเนิดอยู่ ควรเพิ่มปริมาณการกินวิตามินซี.
หากรับประทานยาแอสไพลินอยู่ ควรเพิ่มปริมาณการกินวิตามินซี เพราะยาแอสไพลินจะทำให้วิตามินซีถูกขับออกไวขึ้น.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita